ทำเนียบรัฐบาล--28 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2531 - 2539) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2541 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2531 - 2539) ประกอบด้วย 6 แผนงาน ดังนี้
1.1 แผนการพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐาน ได้ส่งเสริมและกระตุ้นให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาเร่งพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนเล่นกีฬาและดูกีฬามากขึ้น ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง
1.2 แผนพัฒนาการกีฬาเพื่อสุขภาพ ได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของการเล่นกีฬา และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ทำให้ประชาชนสนใจและใส่ใจต่อสุขภาพของตนเองมากขึ้น จากการสำรวจพฤติกรรมการเล่นกีฬาและการดูกีฬาของประชาชน พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2535 พบว่ามีผู้ไม่เล่นกีฬา ร้อยละ 78.5 และ 74.3 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าประชาชนที่ไม่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายลดลง ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง
1.3 แผนพัฒนาการกีฬาเพื่อการแข่งขัน ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ กีฬาซีเกมส์ และกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ฯลฯ รวมทั้งจัดผู้ฝึกสอนชาวไทย ชาวต่างประเทศ เพื่อให้นักกีฬาไทยได้รับความรู้ ทักษะ เทคนิค และประสบการณ์ต่าง ๆ ทางการกีฬา ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการดำเนินงานของแผนงานี้คือ การสร้างสนามกีฬาสมบูรณ์แบบให้ได้มาตรฐานนั้นทำได้ไม่ครบตามแผนและไม่สามารถจัดตั้งศูนย์วัสดุ และอุปกรณ์กีฬาในระดับท้องถิ่นได้ตามเป้าหมาย
1.4 แผนพัฒนาโภชนาการกับการกีฬา ได้รณรงค์ส่งเสริมให้ความรู้ด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และเล่นกีฬาให้แก่เด็ก เยาวชน ครู ฯลฯ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับโภชนาการ รวมทั้งศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทางวิชาการผลการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อย เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณในการดำเนินงาน
1.5 แผนพัฒนาการบริหารและองค์กรในการพัฒนาการกีฬา ได้จัดสรรงบประมาณ บุคลากร และจัดตั้งสมาคมกีฬาจังหวัดทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารทางการกีฬาทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ มีระบบสารสนเทศที่เหมาะสม ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง
1.6 แผนพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพ ได้ดำเนินการร่วมกับกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสมาคมกีฬาต่าง ๆ เพื่อกำหนดฤดูการจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ ร่วมมือกับภาคเอกชนในการสนับสนุนกีฬา รวมทั้งวางแนวทางสนับสนุนให้มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ เพื่อรองรับการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อย เนื่องจากมีผู้ประกอบอาชีพกีฬาค่อนข้างน้อย ขาดแคลนผู้บริหารและการสนับสนุนด้านการเงิน
2. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2531 - 2539) ดังนี้
2.1 การวางแผนพัฒนาการกีฬาในระดับหน่วยงาน ขาดความต่อเนื่อง ข้อมูลและสารสนเทศมีไม่เพียงพอ และผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการวางแผน
2.2 ขาดทิศทาง และแนวทางในการพัฒนาการกีฬา เกิดความไม่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน และขาดเอกภาพในการพัฒนากีฬา
2.3 ขาดแคลนบุคลากรในการดำเนินงาน การประสานงานยังไม่มีประสิทธิภาพ และขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาการกีฬาของประเทศ
2.4 การประชาสัมพันธ์ยังไม่เหมาะสม และขาดการติดตามและประเมินผล
3. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า การกีฬาแห่งประเทศไทยได้ดำเนินงานตามแผนฯ ฉบับที่ 1ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 4 แผนงาน และในระดับน้อย จำนวน 2 แผนงาน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
4. การกีฬาแห่งประเทศไทยได้นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2531 - 2539) ไปวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวคิดและทิศทางการพัฒนาการกีฬาในช่วงแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2540 - 2544) แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กรกฎาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2531 - 2539) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2541 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2531 - 2539) ประกอบด้วย 6 แผนงาน ดังนี้
1.1 แผนการพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐาน ได้ส่งเสริมและกระตุ้นให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาเร่งพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนเล่นกีฬาและดูกีฬามากขึ้น ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง
1.2 แผนพัฒนาการกีฬาเพื่อสุขภาพ ได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของการเล่นกีฬา และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ทำให้ประชาชนสนใจและใส่ใจต่อสุขภาพของตนเองมากขึ้น จากการสำรวจพฤติกรรมการเล่นกีฬาและการดูกีฬาของประชาชน พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2535 พบว่ามีผู้ไม่เล่นกีฬา ร้อยละ 78.5 และ 74.3 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าประชาชนที่ไม่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายลดลง ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง
1.3 แผนพัฒนาการกีฬาเพื่อการแข่งขัน ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ กีฬาซีเกมส์ และกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ฯลฯ รวมทั้งจัดผู้ฝึกสอนชาวไทย ชาวต่างประเทศ เพื่อให้นักกีฬาไทยได้รับความรู้ ทักษะ เทคนิค และประสบการณ์ต่าง ๆ ทางการกีฬา ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการดำเนินงานของแผนงานี้คือ การสร้างสนามกีฬาสมบูรณ์แบบให้ได้มาตรฐานนั้นทำได้ไม่ครบตามแผนและไม่สามารถจัดตั้งศูนย์วัสดุ และอุปกรณ์กีฬาในระดับท้องถิ่นได้ตามเป้าหมาย
1.4 แผนพัฒนาโภชนาการกับการกีฬา ได้รณรงค์ส่งเสริมให้ความรู้ด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และเล่นกีฬาให้แก่เด็ก เยาวชน ครู ฯลฯ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับโภชนาการ รวมทั้งศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทางวิชาการผลการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อย เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณในการดำเนินงาน
1.5 แผนพัฒนาการบริหารและองค์กรในการพัฒนาการกีฬา ได้จัดสรรงบประมาณ บุคลากร และจัดตั้งสมาคมกีฬาจังหวัดทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารทางการกีฬาทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ มีระบบสารสนเทศที่เหมาะสม ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง
1.6 แผนพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพ ได้ดำเนินการร่วมกับกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสมาคมกีฬาต่าง ๆ เพื่อกำหนดฤดูการจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ ร่วมมือกับภาคเอกชนในการสนับสนุนกีฬา รวมทั้งวางแนวทางสนับสนุนให้มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ เพื่อรองรับการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อย เนื่องจากมีผู้ประกอบอาชีพกีฬาค่อนข้างน้อย ขาดแคลนผู้บริหารและการสนับสนุนด้านการเงิน
2. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2531 - 2539) ดังนี้
2.1 การวางแผนพัฒนาการกีฬาในระดับหน่วยงาน ขาดความต่อเนื่อง ข้อมูลและสารสนเทศมีไม่เพียงพอ และผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการวางแผน
2.2 ขาดทิศทาง และแนวทางในการพัฒนาการกีฬา เกิดความไม่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน และขาดเอกภาพในการพัฒนากีฬา
2.3 ขาดแคลนบุคลากรในการดำเนินงาน การประสานงานยังไม่มีประสิทธิภาพ และขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาการกีฬาของประเทศ
2.4 การประชาสัมพันธ์ยังไม่เหมาะสม และขาดการติดตามและประเมินผล
3. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า การกีฬาแห่งประเทศไทยได้ดำเนินงานตามแผนฯ ฉบับที่ 1ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 4 แผนงาน และในระดับน้อย จำนวน 2 แผนงาน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
4. การกีฬาแห่งประเทศไทยได้นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2531 - 2539) ไปวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวคิดและทิศทางการพัฒนาการกีฬาในช่วงแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2540 - 2544) แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กรกฎาคม 2541--