ทำเนียบรัฐบาล--11 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (จัดตั้งสำนักการเมืองต่างประเทศ) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้แก้ไขในส่วนของอำนาจหน้าที่ตามร่างมาตรา 4 (ข) ตามที่สำนักเลขา-ธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ แล้วให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ จัดตั้งสำนักการเมืองต่างประเทศขึ้นในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2539 เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานรองรับงานด้านการต่างประเทศเป็นการเฉพาะ โดยงานดังกล่าวถือเป็นงานหลักของรัฐบาลและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นสมควรจัดตั้งสำนักการเมืองต่างประเทศขึ้น ให้มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญในการปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งข้าราชการการเมืองของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดทำข้อมูลประเด็นสนทนากับผู้นำ หรือบุคคลสำคัญของประเทศต่าง ๆ และองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งหน่วยงานเอกชนของต่างประเทศที่เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตลอดจนจัดทำบันทึกสนทนา จัดทำรายงานเพื่อแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ และติดตามผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 11 มีนาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (จัดตั้งสำนักการเมืองต่างประเทศ) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้แก้ไขในส่วนของอำนาจหน้าที่ตามร่างมาตรา 4 (ข) ตามที่สำนักเลขา-ธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ แล้วให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ จัดตั้งสำนักการเมืองต่างประเทศขึ้นในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2539 เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานรองรับงานด้านการต่างประเทศเป็นการเฉพาะ โดยงานดังกล่าวถือเป็นงานหลักของรัฐบาลและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นสมควรจัดตั้งสำนักการเมืองต่างประเทศขึ้น ให้มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญในการปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งข้าราชการการเมืองของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดทำข้อมูลประเด็นสนทนากับผู้นำ หรือบุคคลสำคัญของประเทศต่าง ๆ และองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งหน่วยงานเอกชนของต่างประเทศที่เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตลอดจนจัดทำบันทึกสนทนา จัดทำรายงานเพื่อแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ และติดตามผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 11 มีนาคม 2540--