ทำเนียบรัฐบาล--21 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการ อุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจากร่างที่สำนัก งานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้วและให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิ จารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) รายงานว่าจากการร่วมของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติเดิมซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2539 ยังมีความไม่เหมาะสมและชัดเจนหลายประการ อาจเป็นปัญหาในการบังคับใช้ กล่าวคือ
1. มีบทบัญญัติโดยทั่วไปยากแก่ความเข้าใจและมีการใช้ถ้อยคำที่มีช่องโหว่และมีปัญหาใน การตีความมากมาย
นอกจากนั้นยังมีหลักการสำคัญหลายกรณีที่กำหนดไว้โดยไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายว่าด้วย การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนอันเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ
2. มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการอุดหนุนไว้ในร่างมาตรา 16 เพียงมาตราเดียว ซึ่ง ตามความตกลงทั่วไปที่ออกตามความในข้อ 6 และข้อ 16 ของ GATT 1994 นั้น ได้กำหนดหลักเกณฑ์สำ คัญไว้หลายประการ โดยเฉพาะประโยชน์ที่ผู้ได้รับการอุดหนุนได้รับซึ่งจะนำมาใช้เป็นฐานในการกำ หนดอากรตอบโต้การอุดหนุน จึงควรนำมาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ มิใช่มอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ประกาศกำหนด
3. ขั้นตอนการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนตั้งแต่หมวด 3 และหมวด 4 นั้น ยังมีความสับสน เพราะตามความตกลงทั่วไปซึ่งออกตามข้อ 6 และข้อ 16 ของ GATT นั้น กระบวนการพิจารณาจะเริ่มจากผู้ทำการแทนอุตสาหกรรมภายในร้องขอหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจ เห็นสมควรให้มีการพิจารณาการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน แล้วเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออกประกาศการไต่ สวนให้ผู้มีส่วนได้เสียได้เสนอข้อเท็จจริงและแสดงความเห็น
เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจวินิจฉัยเบื้องต้นว่ามีการทุ่มตลาดหรือมีการอุดหนุนและม ความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายในแล้วแต่กรณี ก็จะมีการนำมาตรการชั่วคราวมาใช้ และมีการทำ ความตกลงเพื่อระงับการทุ่มตลาดหรือมีการปรึกษาหารือเพื่อระงับการอุดหนุน หลังจากนั้นจึงจะมีการวิ นิจฉัยชั้นที่สุดและกำหนดอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรืออากรตอบโต้การอุดหนุนแล้วแต่กรณี แต่ตามร่างพระ ราชบัญญัติฯ ขั้นตอนการพิจารณามิได้เป็นไปตามนั้น และในรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนก็ไม่มีความชัดเจน
4. องค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน ตามร่างพระราช บัญญัติฯ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวง 4 กระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการระดับอธิบดีและรองอธิบดีอีก 8 ท่าน ซึ่งการมีตำแหน่งประจำอาจทำให้ไม่ได้รับความเชื่อถือจากต่างประเทศว่าการพิจารณาเป็น การกระทำโดยสุจริตใจเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรม ภายในโดยไม่ได้อยู่ใต้อิทธิพลทางการเมือง และผู้ดำ รงตำแหน่งบางท่านอาจมิใช่ผู้เชี่ยวชาญในการนี้ก็ได้ เพราะการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนเป็น งานที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์ การบัญชี นิติศาสตร์ และการอุตสาหกรรมองค์ประกอบตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน ควรจะแก้ไขปรับปรุงโดยใช้วิธีผสมผสานระหว่างข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้องกับผู้ทรงคุณวุฒิ
กระทรวงพาณิชย์ได้จัดแปลร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ แล้วส่งไปใ ห้องค์การการค้าโลก (WTO) พิจารณาให้ความเห็น (informal comments) ซึ่งเจ้าหน้าที่ WTO ได้ มีบันทึกข้อสังเกตว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ของประเทศไทยยังไม่สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่า ด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 (GATT) (ข้อ 6 ว่าด้วยการกำหนดให้มีการใช้อากรตอบโต้การทุ่ม ตลาดและอากรตอบโต้การอุดหนุน และข้อ 16 ว่าด้วยการอุดหนุน) ความตกลงว่า
ด้วยการปฏิบัติตามข้อ 6 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 และ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ รวม 60 ประเด็นด้วยกัน ซึ่งครอบคลุมเกือบ ทุกมาตราของร่างพระราชบัญญัติ (ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีทั้งหมด 69 มาตรา) ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่า ประเทศสมาชิกของ GATT ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการออกกฎหมายภายในประเทศของตน
โดยมีบทบัญญัติในเรื่องการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนสอดคล้องหรือเหมือน กับความตกลงทั่วไปว่าด้วยการกำหนดให้มีการใช้อากรตอบโต้การทุ่มตลาดและอากรตอบโต้การอุดหนุน และความตกลงทั่วไปว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป (EU) ได้ออก COUNCIL REGULATION (EU) No 384/96 of 22 December 1995 และ COUNCIL REGULATION (EC) No 3284/94 of 22 December 1994
โดยการนำบทบัญญัติว่าด้วยความตกลงทั่วไปทั้งสองฉบับดังกล่าวมาเขียนคำอธิบายเพิ่มเติม แต่ร่างพระราชบัญญัติของประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมหลักการสำคัญของความตกลงทั้งสองฉบับทั้งหมด จึง อาจไม่เป็นที่ยอมรับของประเทศสมาชิกอื่นได้
ในการนี้ จึงเห็นสมควรแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซื้อ สินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. ....
โดยนำหลักการสำคัญของความตกลงทั่วไปว่าด้วยการกำหนดให้มีการใช้อากรตอบโต้การทุ่ม ตลาดและอากรตอบโต้การอุดหนุน และความตกลงทั่วไปว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้มาบัญญัติ ไว้ในร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขใหม่นี้ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยได้บัญญัติให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระ ทรวงและตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนด และสำหรับองค์ประกอบของคณะกรรม การพิจารณาการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนที่ได้บัญญัติให้ผสมผสานกันระหว่างข้าราชการประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสัดส่วน 7 ต่อ 6 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ ซึ่ง องค์ประกอบของคณะกรรมการเช่นนี้จะทำให้ประเทศสมาชิกมีความเชื่อถือมากขึ้น การแก้ไขเพิ่มเติม ต่าง ๆ ในครั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีมติให้กระทรวงพาณิชย์จัดทำประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วย การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษซึ่งสินค้าขาเข้าเพื่อตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน พ.ศ. .... เพื่อเป็นการแก้ไขการทุ่มตลาดของสินค้าบางชนิด เช่น เหล็ก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 20 สิงหาคม 2539--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการ อุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจากร่างที่สำนัก งานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้วและให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิ จารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) รายงานว่าจากการร่วมของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติเดิมซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2539 ยังมีความไม่เหมาะสมและชัดเจนหลายประการ อาจเป็นปัญหาในการบังคับใช้ กล่าวคือ
1. มีบทบัญญัติโดยทั่วไปยากแก่ความเข้าใจและมีการใช้ถ้อยคำที่มีช่องโหว่และมีปัญหาใน การตีความมากมาย
นอกจากนั้นยังมีหลักการสำคัญหลายกรณีที่กำหนดไว้โดยไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายว่าด้วย การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนอันเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ
2. มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการอุดหนุนไว้ในร่างมาตรา 16 เพียงมาตราเดียว ซึ่ง ตามความตกลงทั่วไปที่ออกตามความในข้อ 6 และข้อ 16 ของ GATT 1994 นั้น ได้กำหนดหลักเกณฑ์สำ คัญไว้หลายประการ โดยเฉพาะประโยชน์ที่ผู้ได้รับการอุดหนุนได้รับซึ่งจะนำมาใช้เป็นฐานในการกำ หนดอากรตอบโต้การอุดหนุน จึงควรนำมาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ มิใช่มอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ประกาศกำหนด
3. ขั้นตอนการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนตั้งแต่หมวด 3 และหมวด 4 นั้น ยังมีความสับสน เพราะตามความตกลงทั่วไปซึ่งออกตามข้อ 6 และข้อ 16 ของ GATT นั้น กระบวนการพิจารณาจะเริ่มจากผู้ทำการแทนอุตสาหกรรมภายในร้องขอหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจ เห็นสมควรให้มีการพิจารณาการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน แล้วเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออกประกาศการไต่ สวนให้ผู้มีส่วนได้เสียได้เสนอข้อเท็จจริงและแสดงความเห็น
เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจวินิจฉัยเบื้องต้นว่ามีการทุ่มตลาดหรือมีการอุดหนุนและม ความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายในแล้วแต่กรณี ก็จะมีการนำมาตรการชั่วคราวมาใช้ และมีการทำ ความตกลงเพื่อระงับการทุ่มตลาดหรือมีการปรึกษาหารือเพื่อระงับการอุดหนุน หลังจากนั้นจึงจะมีการวิ นิจฉัยชั้นที่สุดและกำหนดอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรืออากรตอบโต้การอุดหนุนแล้วแต่กรณี แต่ตามร่างพระ ราชบัญญัติฯ ขั้นตอนการพิจารณามิได้เป็นไปตามนั้น และในรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนก็ไม่มีความชัดเจน
4. องค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน ตามร่างพระราช บัญญัติฯ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวง 4 กระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการระดับอธิบดีและรองอธิบดีอีก 8 ท่าน ซึ่งการมีตำแหน่งประจำอาจทำให้ไม่ได้รับความเชื่อถือจากต่างประเทศว่าการพิจารณาเป็น การกระทำโดยสุจริตใจเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรม ภายในโดยไม่ได้อยู่ใต้อิทธิพลทางการเมือง และผู้ดำ รงตำแหน่งบางท่านอาจมิใช่ผู้เชี่ยวชาญในการนี้ก็ได้ เพราะการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนเป็น งานที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์ การบัญชี นิติศาสตร์ และการอุตสาหกรรมองค์ประกอบตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน ควรจะแก้ไขปรับปรุงโดยใช้วิธีผสมผสานระหว่างข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้องกับผู้ทรงคุณวุฒิ
กระทรวงพาณิชย์ได้จัดแปลร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ แล้วส่งไปใ ห้องค์การการค้าโลก (WTO) พิจารณาให้ความเห็น (informal comments) ซึ่งเจ้าหน้าที่ WTO ได้ มีบันทึกข้อสังเกตว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ของประเทศไทยยังไม่สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่า ด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 (GATT) (ข้อ 6 ว่าด้วยการกำหนดให้มีการใช้อากรตอบโต้การทุ่ม ตลาดและอากรตอบโต้การอุดหนุน และข้อ 16 ว่าด้วยการอุดหนุน) ความตกลงว่า
ด้วยการปฏิบัติตามข้อ 6 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 และ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ รวม 60 ประเด็นด้วยกัน ซึ่งครอบคลุมเกือบ ทุกมาตราของร่างพระราชบัญญัติ (ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีทั้งหมด 69 มาตรา) ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่า ประเทศสมาชิกของ GATT ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการออกกฎหมายภายในประเทศของตน
โดยมีบทบัญญัติในเรื่องการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนสอดคล้องหรือเหมือน กับความตกลงทั่วไปว่าด้วยการกำหนดให้มีการใช้อากรตอบโต้การทุ่มตลาดและอากรตอบโต้การอุดหนุน และความตกลงทั่วไปว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป (EU) ได้ออก COUNCIL REGULATION (EU) No 384/96 of 22 December 1995 และ COUNCIL REGULATION (EC) No 3284/94 of 22 December 1994
โดยการนำบทบัญญัติว่าด้วยความตกลงทั่วไปทั้งสองฉบับดังกล่าวมาเขียนคำอธิบายเพิ่มเติม แต่ร่างพระราชบัญญัติของประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมหลักการสำคัญของความตกลงทั้งสองฉบับทั้งหมด จึง อาจไม่เป็นที่ยอมรับของประเทศสมาชิกอื่นได้
ในการนี้ จึงเห็นสมควรแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซื้อ สินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. ....
โดยนำหลักการสำคัญของความตกลงทั่วไปว่าด้วยการกำหนดให้มีการใช้อากรตอบโต้การทุ่ม ตลาดและอากรตอบโต้การอุดหนุน และความตกลงทั่วไปว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้มาบัญญัติ ไว้ในร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขใหม่นี้ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยได้บัญญัติให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระ ทรวงและตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนด และสำหรับองค์ประกอบของคณะกรรม การพิจารณาการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนที่ได้บัญญัติให้ผสมผสานกันระหว่างข้าราชการประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสัดส่วน 7 ต่อ 6 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ ซึ่ง องค์ประกอบของคณะกรรมการเช่นนี้จะทำให้ประเทศสมาชิกมีความเชื่อถือมากขึ้น การแก้ไขเพิ่มเติม ต่าง ๆ ในครั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีมติให้กระทรวงพาณิชย์จัดทำประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วย การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษซึ่งสินค้าขาเข้าเพื่อตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน พ.ศ. .... เพื่อเป็นการแก้ไขการทุ่มตลาดของสินค้าบางชนิด เช่น เหล็ก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 20 สิงหาคม 2539--