ทำเนียบรัฐบาล--26 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนอาหารและโภชนาการแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้ม ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม สภาพและการเปลี่ยนแปลงด้านประชากร ด้านการศึกษา วิถีชีวิตและการออกกำลังกาย สภาพและการเปลี่ยนแปลงด้านอาหาร การบริโภคอาหารปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร สถานการณ์โภชนาการ และกลไกในการดำเนินงานและประสานงาน
2. วิสัยทัศน์คนไทยทุกเพศ ทุกวัย มีภาวะโภชนาการที่ดี เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเต็มศักยภาพ และผู้ใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดี อายุยืนยาว และเป็นสุข
3. วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อให้ประชาชนทั้งระดับครอบครัวและชุมชน มีความมั่นคงทางด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี
4. วัตถุประสงค์
1) มีความมั่นคงด้านอาหาร กล่าวคือ มีอาหารเพียงพอสามารถผลิตหรือซื้อหาอาหารที่ปริมาณ คุณภาพ และความปลอดภัยเหมาะสม และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
2) ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมตามวัย
3) ประชาชนได้รับการคุ้มครองด้านอาหารและโภชนาการด้วยกลไกต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
4) เร่งรัดการขจัดหรือลดปัญหาทุพโภชนาการในกลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจัง
5) ให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีการเจริญเติบโตสมวัยทั้งร่างกายและสติปัญญา
5. เป้าหมาย
1) ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
2) เด็กอายุ 1 ปี มีน้ำหนักมัธยฐาน 9 กิโลกรัม ความยาวมัธยฐาน 75 เซนติเมตร
3) เด็กอายุ 2 ปี มีน้ำหนักมัธยฐาน 12 กิโลกรัม และความสูงมัธยฐาน 85 เซนติเมตร
4) เด็กอายุ 6 ปี มีน้ำหนักมัธยฐาน 20 กิโลกรัม ความสูงมัธยฐาน 114 เซนติเมตร
5) คนวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน และวัยสูงอายุ มีน้ำหนักเหมาะสมกับความสูง โดยมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง18.5 - 24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร
6. ประเด็นปัญหาและการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลิต แปรรูป และกระจายอาหารเพื่อโภชนาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสื่อสารด้านอาหารและโภชนาการเพื่อพฤติกรรมที่เหมาะสม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและโภชนาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมคุ้มครอง และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการให้อาหารเสริมสำหรับทารก
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การควบคุม ป้องกัน ปัญหาทุพโภชนาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเฝ้าระวังทางโภชนาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเสริมบทบาทของครอบครัวและชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาบุคลากรและงานวิจัย
ยุทธศาสตร์ที่ 9 พัฒนาการบริหารจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 พฤษภาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนอาหารและโภชนาการแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้ม ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม สภาพและการเปลี่ยนแปลงด้านประชากร ด้านการศึกษา วิถีชีวิตและการออกกำลังกาย สภาพและการเปลี่ยนแปลงด้านอาหาร การบริโภคอาหารปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร สถานการณ์โภชนาการ และกลไกในการดำเนินงานและประสานงาน
2. วิสัยทัศน์คนไทยทุกเพศ ทุกวัย มีภาวะโภชนาการที่ดี เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเต็มศักยภาพ และผู้ใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดี อายุยืนยาว และเป็นสุข
3. วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อให้ประชาชนทั้งระดับครอบครัวและชุมชน มีความมั่นคงทางด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี
4. วัตถุประสงค์
1) มีความมั่นคงด้านอาหาร กล่าวคือ มีอาหารเพียงพอสามารถผลิตหรือซื้อหาอาหารที่ปริมาณ คุณภาพ และความปลอดภัยเหมาะสม และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
2) ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมตามวัย
3) ประชาชนได้รับการคุ้มครองด้านอาหารและโภชนาการด้วยกลไกต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
4) เร่งรัดการขจัดหรือลดปัญหาทุพโภชนาการในกลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจัง
5) ให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีการเจริญเติบโตสมวัยทั้งร่างกายและสติปัญญา
5. เป้าหมาย
1) ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
2) เด็กอายุ 1 ปี มีน้ำหนักมัธยฐาน 9 กิโลกรัม ความยาวมัธยฐาน 75 เซนติเมตร
3) เด็กอายุ 2 ปี มีน้ำหนักมัธยฐาน 12 กิโลกรัม และความสูงมัธยฐาน 85 เซนติเมตร
4) เด็กอายุ 6 ปี มีน้ำหนักมัธยฐาน 20 กิโลกรัม ความสูงมัธยฐาน 114 เซนติเมตร
5) คนวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน และวัยสูงอายุ มีน้ำหนักเหมาะสมกับความสูง โดยมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง18.5 - 24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร
6. ประเด็นปัญหาและการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลิต แปรรูป และกระจายอาหารเพื่อโภชนาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสื่อสารด้านอาหารและโภชนาการเพื่อพฤติกรรมที่เหมาะสม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและโภชนาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมคุ้มครอง และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการให้อาหารเสริมสำหรับทารก
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การควบคุม ป้องกัน ปัญหาทุพโภชนาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเฝ้าระวังทางโภชนาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเสริมบทบาทของครอบครัวและชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาบุคลากรและงานวิจัย
ยุทธศาสตร์ที่ 9 พัฒนาการบริหารจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 พฤษภาคม 2542--