ทำเนียบรัฐบาล--21 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบความคืบหน้ามาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการส่งออกระยะเร่งด่วน ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
คณะกรรมการพัฒนาการส่งออก ในการประชุมครั้งที่ 3/2542 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2542 ได้พิจารณาในเรื่องดังกล่าวแล้ว และมีความเห็นว่าสำหรับหน่วยงานที่ยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินงาน ขอให้เร่งรัดดำเนินการโดยด่วน เพื่อรายงานคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจต่อไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามมติดังกล่าวแล้วสรุปได้ดังนี้
กระทรวงการคลัง
1. การเร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม : ได้เร่งรัดการปรับปรุงกฎหมายและติดตามผลการคืนภาษีอยู่เสมอ
2. การเปลี่ยนมือบัตรผู้เสียภาษี : ตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 ผู้ส่งออกสามารถโอนบัตรภาษีได้อยู่แล้ว
3. การปรับปรุงโครงสร้างภาษี : คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ในปลายเดือนมิถุนายน 2542
4. ความชัดเจนเรื่องการสนับสนุนของรัฐบาลเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ : อยู่ระหว่างการศึกษาและปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างภาษี
5. การพิจารณาปรับเพิ่มเงินชดเชย : จะมีการปรับปรุงการชดเชยได้บางกรณี แต่ผู้ส่งออกสามารถยื่นคำขอต่อคณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรได้
6. การยกเลิกการเก็บภาษีสรรพสามิต : ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต 2527 ได้มีการยกเว้นภาษีสรรพสามิตในสินค้าที่ส่งออกอยู่แล้ว
7. การปรับลดและยกเลิกการเก็บภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของนิติบุคคลจากการขายสินค้าเกษตร : อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล
กระทรวงพาณิชย์
การประสานภาคเอกชน กรณีมีปัญหา NPL แต่ได้รับคำสั่งซื้อ หรือมี L/C : ได้ประสานสินเชื่อกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยแล้ว 18 ราย วงเงิน 861.6 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
1. การสร้างความเข้าใจกับภาคเอกชนเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ : ได้จัดส่งประกาศและสรุปการปรับปรุงให้ผู้เกี่ยวข้องทราบแล้ว
2. การพิจารณาหลักเกณฑ์เรื่องดุลยพินิจไม่สอดคล้องกัน และการมอบอำนาจให้ผู้จัดการสาขาในชายแดนมีอำนาจในการอนุมัติเงินกู้ : เป็นเรื่องที่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะพิจารณาเอง แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้หารือกับสมาคมธนาคารไทยเพื่อขอความร่วมมือเป็นรูปธรรมอีกครั้ง
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
1. การเพิ่มวงเงิน Packing Credit :
- กรณี Direct Credit ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้เพิ่มวงเงินเป็น ร้อยละ 90 ของ L/C
- กรณี Packing Credit ผ่านธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้ให้กู้เต็มมูลค่าของ L/C แล้ว
2. การขยายระยะเวลา Credit Term ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้ขยายระยะเวลามากกว่า180 วันอยู่แล้ว ภายใต้เงื่อนไข L/C
ภาคเอกชน (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
การรวบรวมผู้ประกอบการที่มีปัญหาด้านภาษีและแจ้งกระทรวงการคลัง : อยู่ระหว่างการประสานงานกับกระทรวงการคลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มิถุนายน 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบความคืบหน้ามาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการส่งออกระยะเร่งด่วน ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
คณะกรรมการพัฒนาการส่งออก ในการประชุมครั้งที่ 3/2542 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2542 ได้พิจารณาในเรื่องดังกล่าวแล้ว และมีความเห็นว่าสำหรับหน่วยงานที่ยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินงาน ขอให้เร่งรัดดำเนินการโดยด่วน เพื่อรายงานคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจต่อไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามมติดังกล่าวแล้วสรุปได้ดังนี้
กระทรวงการคลัง
1. การเร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม : ได้เร่งรัดการปรับปรุงกฎหมายและติดตามผลการคืนภาษีอยู่เสมอ
2. การเปลี่ยนมือบัตรผู้เสียภาษี : ตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 ผู้ส่งออกสามารถโอนบัตรภาษีได้อยู่แล้ว
3. การปรับปรุงโครงสร้างภาษี : คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ในปลายเดือนมิถุนายน 2542
4. ความชัดเจนเรื่องการสนับสนุนของรัฐบาลเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ : อยู่ระหว่างการศึกษาและปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างภาษี
5. การพิจารณาปรับเพิ่มเงินชดเชย : จะมีการปรับปรุงการชดเชยได้บางกรณี แต่ผู้ส่งออกสามารถยื่นคำขอต่อคณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรได้
6. การยกเลิกการเก็บภาษีสรรพสามิต : ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต 2527 ได้มีการยกเว้นภาษีสรรพสามิตในสินค้าที่ส่งออกอยู่แล้ว
7. การปรับลดและยกเลิกการเก็บภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของนิติบุคคลจากการขายสินค้าเกษตร : อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล
กระทรวงพาณิชย์
การประสานภาคเอกชน กรณีมีปัญหา NPL แต่ได้รับคำสั่งซื้อ หรือมี L/C : ได้ประสานสินเชื่อกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยแล้ว 18 ราย วงเงิน 861.6 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
1. การสร้างความเข้าใจกับภาคเอกชนเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ : ได้จัดส่งประกาศและสรุปการปรับปรุงให้ผู้เกี่ยวข้องทราบแล้ว
2. การพิจารณาหลักเกณฑ์เรื่องดุลยพินิจไม่สอดคล้องกัน และการมอบอำนาจให้ผู้จัดการสาขาในชายแดนมีอำนาจในการอนุมัติเงินกู้ : เป็นเรื่องที่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะพิจารณาเอง แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้หารือกับสมาคมธนาคารไทยเพื่อขอความร่วมมือเป็นรูปธรรมอีกครั้ง
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
1. การเพิ่มวงเงิน Packing Credit :
- กรณี Direct Credit ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้เพิ่มวงเงินเป็น ร้อยละ 90 ของ L/C
- กรณี Packing Credit ผ่านธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้ให้กู้เต็มมูลค่าของ L/C แล้ว
2. การขยายระยะเวลา Credit Term ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้ขยายระยะเวลามากกว่า180 วันอยู่แล้ว ภายใต้เงื่อนไข L/C
ภาคเอกชน (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
การรวบรวมผู้ประกอบการที่มีปัญหาด้านภาษีและแจ้งกระทรวงการคลัง : อยู่ระหว่างการประสานงานกับกระทรวงการคลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มิถุนายน 2542--