ทำเนียบรัฐบาล--7 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างแผนหลักการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกเสนอ และให้ใช้เป็นกรอบนโยบายและแผนหลักในการพัฒนาระบบการจราจรในราชอาณาจักร โดยให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจราจรและขนส่ง ทุกหน่วยงานนำแผนหลักการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งฯ ฉบับนี้ไปใช้เป็นกรอบในการแปลงแผนสู่การปฏิบัติและการจัดทำแผนงาน/โครงการของหน่วยงาน รวมทั้งมาตรการที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนระบบถนน ระบบบริการขนส่งสาธารณะและการจัดระบบการจราจรทางบกอย่างครบวงจร เพื่อพัฒนาระบบการจราจรให้เกิดประสิทธิผล ซึ่งแผนดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เป้าหมาย กำหนดเป้าหมายระบบการจราจรและขนส่งในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ ลดเวลาการเดินทางของยานพาหนะ และรถโดยสารสาธารณะประจำทาง เพิ่มความปลอดภัยและลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเนื่องจากการจราจรและพัฒนาองค์กรการบริหารและจัดการด้วยการปฏิรูปองค์กรพัฒนาระบบการจราจรให้เป็นเอกภาพ
2. การดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายดังกล่าว รัฐจะต้องกำหนดเป็นนโยบายของรัฐที่จะพัฒนาและปรับปรุงระบบโครงข่ายถนนต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์ เพิ่มการลงทุนระบบโครงสร้างและบริการขั้นพื้นฐานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้รถใช้ถนน จัดตั้งกองทุนและเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาการจราจร และปรับปรุงกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบการจราจร
3. ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุนโยบาย ได้แก่ การเร่งรัดการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน การปรับระบบโครงข่ายถนนต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ การจัดระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการจราจรและขนส่งการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการบริการขนส่งสาธารณะทางบก และการสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีทางด้านคมนาคม รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและขนส่งกรณีเร่งด่วนและฉุกเฉิน
4. งบประมาณการลงทุน ตามแผนงาน/โครงการนี้จะใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นประมาณ 620.6 พันล้านบาท หรือหากไม่รวมงบบริหารและบำรุงรักษาจะเท่ากับ 374.7 พันล้านบาท แต่เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณการลงทุนที่รวบรวมได้จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ประมาณ 1,214.6 พันล้านบาท แล้วจะยังขาดอยู่อีก 839.9 พันล้านบาท จึงควรพิจารณาชะลอโครงการที่ไม่จำเป็นออกไป และควรจะพิจารณาการให้สัมปทานชนิดพิเศษด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 7 ตุลาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างแผนหลักการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกเสนอ และให้ใช้เป็นกรอบนโยบายและแผนหลักในการพัฒนาระบบการจราจรในราชอาณาจักร โดยให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจราจรและขนส่ง ทุกหน่วยงานนำแผนหลักการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งฯ ฉบับนี้ไปใช้เป็นกรอบในการแปลงแผนสู่การปฏิบัติและการจัดทำแผนงาน/โครงการของหน่วยงาน รวมทั้งมาตรการที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนระบบถนน ระบบบริการขนส่งสาธารณะและการจัดระบบการจราจรทางบกอย่างครบวงจร เพื่อพัฒนาระบบการจราจรให้เกิดประสิทธิผล ซึ่งแผนดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เป้าหมาย กำหนดเป้าหมายระบบการจราจรและขนส่งในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ ลดเวลาการเดินทางของยานพาหนะ และรถโดยสารสาธารณะประจำทาง เพิ่มความปลอดภัยและลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเนื่องจากการจราจรและพัฒนาองค์กรการบริหารและจัดการด้วยการปฏิรูปองค์กรพัฒนาระบบการจราจรให้เป็นเอกภาพ
2. การดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายดังกล่าว รัฐจะต้องกำหนดเป็นนโยบายของรัฐที่จะพัฒนาและปรับปรุงระบบโครงข่ายถนนต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์ เพิ่มการลงทุนระบบโครงสร้างและบริการขั้นพื้นฐานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้รถใช้ถนน จัดตั้งกองทุนและเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาการจราจร และปรับปรุงกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบการจราจร
3. ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุนโยบาย ได้แก่ การเร่งรัดการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน การปรับระบบโครงข่ายถนนต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ การจัดระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการจราจรและขนส่งการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการบริการขนส่งสาธารณะทางบก และการสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีทางด้านคมนาคม รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและขนส่งกรณีเร่งด่วนและฉุกเฉิน
4. งบประมาณการลงทุน ตามแผนงาน/โครงการนี้จะใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นประมาณ 620.6 พันล้านบาท หรือหากไม่รวมงบบริหารและบำรุงรักษาจะเท่ากับ 374.7 พันล้านบาท แต่เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณการลงทุนที่รวบรวมได้จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ประมาณ 1,214.6 พันล้านบาท แล้วจะยังขาดอยู่อีก 839.9 พันล้านบาท จึงควรพิจารณาชะลอโครงการที่ไม่จำเป็นออกไป และควรจะพิจารณาการให้สัมปทานชนิดพิเศษด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 7 ตุลาคม 2540--