แท็ก
ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สภาผู้แทนราษฎร
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--20 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. .... และ ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทน ราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ....
1.1 ให้จัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่ไม่มีฐานะเป็นส่วน ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกำหนดให้กองทุนไม่ต้องนำรายได้ส่ง กระทรวงการคลัง มีคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวง การคลัง เป็นประธาน กรรมการโดยตำแหน่งรวม 6 คน กรรมการซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมาชิก รวม 6 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก รวม 3 คน เป็นผู้บริหารกองทุน
1.2 สมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย
1) ผู้ซึ่งเข้ารับราชการหรือโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ตั้งแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
2) ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และสมัครใจเข้า เป็นสมาชิก
1.3 ให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยให้รัฐจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกผู้นั้นในจำนวนที่เท่ากัน และให้รัฐจ่ายเงินประเดิมเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่ง เป็นข้าราชการมาก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเลือกรับบำนาญ
1.4 สมาชิกมีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เมื่อสมาชิกภาพ ของสมาชิกสิ้นสุดลง แต่สมาชิกผู้ซึ่งออกจากราชการเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยไม่มีสิทธิได้รับ บำเหน็จบำนาญ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนเงินสมทบ
1.5 นอกจากสมาชิกจะได้รับบำเหน็จบำนาญตามปกติแล้ว ยังมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เนื่องจากเหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน และเหตุสูงอายุ และยังมีสิทธิกู้เงินจากกองทุนได้ไม่เกินจำนวนเงิน สะสมเงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินรายบุคคล เพื่อใช้จ่ายตาม วัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
1.6 การคำนวณบำเหน็จบำนาญ
1) บำเหน็จให้คำนวณจากอัตราเงินเดือน เดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
2)บำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ หารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย
3) บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของสมาชิก ให้คำนวณจากเงินเดือน เดือนสุด ท้าย คูณด้วยเวลาราชการของผู้ตาย
4) บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญ ให้จ่ายสามสิบเท่าของอัตรา บำเหน็จบำนาญที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับ
1.7 กำหนดให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดของทายาทของสมาชิกหรือของผู้รับบำนาญเป็นอันยุติ ลงในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อนแล้ว
2. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
2.1 ปรับปรุงบทนิยามคำว่า ข้าราชการพลเรือน ให้มีความหมายครอบคลุมถึงข้าราชการทุก ประเภทในฝ่ายพลเรือนที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
2.2 ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญของข้าราชการให้ สอดคล้องกับหลักการในร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ....
2.3 ปรับปรุงวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญให้เหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น เพื่อให้ข้าราช การทุกประเภทใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ดังนี้
1) บำเหน็จ ให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการ
2) บำนาญ ให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้าย หารด้วยห้าสิบ คูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการ
2.4 ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด โดยตัดข้อจำกัด สิทธิรับบำเหน็จบำนาญออก รวมทั้งกำหนดให้บุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดได้ ในกรณีไม่มีทายาทผู้มีสิทธิด้วย ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดดังกล่าวให้ชัด เจน ทั้งนี้ เพื่อความเป็นธรรมและสอดคล้องกับหลักการในร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ พ.ศ. ....
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 19 กันยายน 2539--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. .... และ ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทน ราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ....
1.1 ให้จัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่ไม่มีฐานะเป็นส่วน ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกำหนดให้กองทุนไม่ต้องนำรายได้ส่ง กระทรวงการคลัง มีคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวง การคลัง เป็นประธาน กรรมการโดยตำแหน่งรวม 6 คน กรรมการซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมาชิก รวม 6 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก รวม 3 คน เป็นผู้บริหารกองทุน
1.2 สมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย
1) ผู้ซึ่งเข้ารับราชการหรือโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ตั้งแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
2) ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และสมัครใจเข้า เป็นสมาชิก
1.3 ให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยให้รัฐจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกผู้นั้นในจำนวนที่เท่ากัน และให้รัฐจ่ายเงินประเดิมเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่ง เป็นข้าราชการมาก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเลือกรับบำนาญ
1.4 สมาชิกมีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เมื่อสมาชิกภาพ ของสมาชิกสิ้นสุดลง แต่สมาชิกผู้ซึ่งออกจากราชการเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยไม่มีสิทธิได้รับ บำเหน็จบำนาญ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนเงินสมทบ
1.5 นอกจากสมาชิกจะได้รับบำเหน็จบำนาญตามปกติแล้ว ยังมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เนื่องจากเหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน และเหตุสูงอายุ และยังมีสิทธิกู้เงินจากกองทุนได้ไม่เกินจำนวนเงิน สะสมเงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินรายบุคคล เพื่อใช้จ่ายตาม วัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
1.6 การคำนวณบำเหน็จบำนาญ
1) บำเหน็จให้คำนวณจากอัตราเงินเดือน เดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
2)บำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ หารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย
3) บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของสมาชิก ให้คำนวณจากเงินเดือน เดือนสุด ท้าย คูณด้วยเวลาราชการของผู้ตาย
4) บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญ ให้จ่ายสามสิบเท่าของอัตรา บำเหน็จบำนาญที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับ
1.7 กำหนดให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดของทายาทของสมาชิกหรือของผู้รับบำนาญเป็นอันยุติ ลงในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อนแล้ว
2. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
2.1 ปรับปรุงบทนิยามคำว่า ข้าราชการพลเรือน ให้มีความหมายครอบคลุมถึงข้าราชการทุก ประเภทในฝ่ายพลเรือนที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
2.2 ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญของข้าราชการให้ สอดคล้องกับหลักการในร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ....
2.3 ปรับปรุงวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญให้เหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น เพื่อให้ข้าราช การทุกประเภทใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ดังนี้
1) บำเหน็จ ให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการ
2) บำนาญ ให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้าย หารด้วยห้าสิบ คูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการ
2.4 ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด โดยตัดข้อจำกัด สิทธิรับบำเหน็จบำนาญออก รวมทั้งกำหนดให้บุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดได้ ในกรณีไม่มีทายาทผู้มีสิทธิด้วย ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดดังกล่าวให้ชัด เจน ทั้งนี้ เพื่อความเป็นธรรมและสอดคล้องกับหลักการในร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ พ.ศ. ....
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 19 กันยายน 2539--