ทำเนียบรัฐบาล--14 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความสำเร็จและบทบาทการส่งออกของไทยในตลาดการค้าโลก ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ประเทศไทยได้จัดงานฉลองการส่งออกครบ 1 ล้านล้านบาท เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ศกนี้ เพื่อประกาศความสำเร็จของการส่งออกของไทยที่สามารถขยายตัวกว่า 5 เท่า ภายในเวลา 10 ปี โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ต่อปี สูงกว่ามูลค่าการค้าโลก ซึ่งขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 7.6 ต่อปี
2. ไทยสามาถเลื่อนอันดับจากผู้ส่งออกอันดับที่ 44 ของโลก เมื่อปี 2527 ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 24 ในปี 2536 โดยในกลุ่มอาเซียน ไทยอยู่อันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ไทยยังเป็นผู้ ส่งออกอันดับหนึ่งของโลกในสินค้าหลายชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สับปะรดกระ ป๋อง และปลากระป๋อง นอกจากนี้ยังส่งออกกุ้งสดแช่เย็น ไก่สดแช่เย็น อัญมนีและประดับได้ในอันดับต้น ๆ อีกด้วย
3. โครงสร้างการส่งออกของไทยมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ดังนี้
3.1 การส่งออกมีสินค้าอุตสาหกรรมเป็นตัวนำ ส่งผลให้โครงสร้างการส่งออกมีการเปลี่ยน แปลงค่อนข้างชัดเจนในช่วง 10 ปี จากที่เคยพึ่งสินค้าเกษตรมาเป็นสินค้าอุตสาหกรรม
3.2 ประเภทสินค้ามีการกระจายมากขึ้นในช่วงปี 2531 - 2536 ที่น่าสังเกตุคือสินค้าที่ทำ รายได้แก่ประเทศสูงสุด 4 อันดับแรกเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่ส่งออกเกินกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท มี มากกว่า 50 รายการ
3.3 ตลาดส่งออกมีการกระจายมากขึ้น แม้ว่าสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป จะยัง คงเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยซึ่งมีสัดส่วนรวมกันสูงกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าส่งออกรวม แต่ การส่งออกของไทยก็มีการกระจายไปยังตลาดในภูมิภาคเอเซียมากขึ้น เช่น อินโดจีน จีน ไต้หวัน และ สิงคโปร์ เฉพาะฮ่องกงและสิงคโปร์มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องจนมีสัดส่วนรวมกันถึงเกือบร้อยละ 20 ของมูลค่าส่งออกรวมในปีนี้
4. ปัจจัยที่เอื้ออำนวนให้การส่งออกขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง
4.1 อัตราแลกเปลี่ยน ได้มีการลดค่าเงินบาท ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งออก เพราะทำให้ ราคาสินค้าออกของไทยถูกลงในสายตาชาวต่างประเทศ
4.2 ด้านการคลัง รัฐบาลมีนโยบายที่จะปฎิรูประบบภาษีอากรโดยเฉพาะการปรับปรุง โครงสร้างอัตราอากรขาเข้าและการนำระบบจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า เพื่อลดต้นทุน การผลิตสินค้าออก
4.3 ด้านการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายการเงินที่สนับสนุนภาค การส่งออกโดยดูแลให้ได้รับสินเชื่ออย่างเพียงพอในต้นทุนที่เหมาะสม ทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
4.4 มีการปรับใช้เทคโนโลยีในการผลิตเพื่อการส่งออกมากยิ่งขึ้น
5. ทิศทางการส่งออกในอนาคตของประเทศไทย หากต้องการจะผลักดันการส่งออกของไทย ให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 15.5 ต่อปีในช่วงปี 2538 - 2543 และเพิ่มสัดส่วนการส่งออก ของไทยในตลาดโลกเป็นร้อยละ 1.74 หรือมีมูลค่า 2.5 ล้านล้านบาท (1 แสนล้านเหรียญ) ในปี 2543 ได้สำเร็จตามเป้าหมายแล้วมาตรการที่ควรเร่งดำเนินการได้แก่
5.1 กำหนดทิศทางการปรับตัวด้านการผลิตสินค้าให้ใช้เทคโนโลยีหรือมูลค่าเพิ่มสูงสอดคล้อง กับทิศทางการส่งออก
5.2 กำหนดยุทธการเพิ่มขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ของ ระบบเศรษฐกิจของไทยที่ค่าแรงสูงขึ้นจนกระทบฐานะแข่งขันในสินค้าที่ใช้แรงงานสูง ในขณะเดียวกันเพื่อ เตรียมรับ สถานการณ์การค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและการกัดกันการค้าที่มีแนวโน้มรุน แรงขึ้น
5.3 ภาครัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาที่จะผลกระทบต่อ ขีดความสามารถในการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้เพียงพอ เร่งรัดการปรับโครงสร้างภาษีและพิธีศุลกากร การพัฒนาบุคคลากรในสาขาวิชาที่ขาดแคลน เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 ธันวาคม 2537--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความสำเร็จและบทบาทการส่งออกของไทยในตลาดการค้าโลก ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ประเทศไทยได้จัดงานฉลองการส่งออกครบ 1 ล้านล้านบาท เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ศกนี้ เพื่อประกาศความสำเร็จของการส่งออกของไทยที่สามารถขยายตัวกว่า 5 เท่า ภายในเวลา 10 ปี โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ต่อปี สูงกว่ามูลค่าการค้าโลก ซึ่งขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 7.6 ต่อปี
2. ไทยสามาถเลื่อนอันดับจากผู้ส่งออกอันดับที่ 44 ของโลก เมื่อปี 2527 ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 24 ในปี 2536 โดยในกลุ่มอาเซียน ไทยอยู่อันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ไทยยังเป็นผู้ ส่งออกอันดับหนึ่งของโลกในสินค้าหลายชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สับปะรดกระ ป๋อง และปลากระป๋อง นอกจากนี้ยังส่งออกกุ้งสดแช่เย็น ไก่สดแช่เย็น อัญมนีและประดับได้ในอันดับต้น ๆ อีกด้วย
3. โครงสร้างการส่งออกของไทยมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ดังนี้
3.1 การส่งออกมีสินค้าอุตสาหกรรมเป็นตัวนำ ส่งผลให้โครงสร้างการส่งออกมีการเปลี่ยน แปลงค่อนข้างชัดเจนในช่วง 10 ปี จากที่เคยพึ่งสินค้าเกษตรมาเป็นสินค้าอุตสาหกรรม
3.2 ประเภทสินค้ามีการกระจายมากขึ้นในช่วงปี 2531 - 2536 ที่น่าสังเกตุคือสินค้าที่ทำ รายได้แก่ประเทศสูงสุด 4 อันดับแรกเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่ส่งออกเกินกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท มี มากกว่า 50 รายการ
3.3 ตลาดส่งออกมีการกระจายมากขึ้น แม้ว่าสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป จะยัง คงเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยซึ่งมีสัดส่วนรวมกันสูงกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าส่งออกรวม แต่ การส่งออกของไทยก็มีการกระจายไปยังตลาดในภูมิภาคเอเซียมากขึ้น เช่น อินโดจีน จีน ไต้หวัน และ สิงคโปร์ เฉพาะฮ่องกงและสิงคโปร์มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องจนมีสัดส่วนรวมกันถึงเกือบร้อยละ 20 ของมูลค่าส่งออกรวมในปีนี้
4. ปัจจัยที่เอื้ออำนวนให้การส่งออกขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง
4.1 อัตราแลกเปลี่ยน ได้มีการลดค่าเงินบาท ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งออก เพราะทำให้ ราคาสินค้าออกของไทยถูกลงในสายตาชาวต่างประเทศ
4.2 ด้านการคลัง รัฐบาลมีนโยบายที่จะปฎิรูประบบภาษีอากรโดยเฉพาะการปรับปรุง โครงสร้างอัตราอากรขาเข้าและการนำระบบจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า เพื่อลดต้นทุน การผลิตสินค้าออก
4.3 ด้านการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายการเงินที่สนับสนุนภาค การส่งออกโดยดูแลให้ได้รับสินเชื่ออย่างเพียงพอในต้นทุนที่เหมาะสม ทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
4.4 มีการปรับใช้เทคโนโลยีในการผลิตเพื่อการส่งออกมากยิ่งขึ้น
5. ทิศทางการส่งออกในอนาคตของประเทศไทย หากต้องการจะผลักดันการส่งออกของไทย ให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 15.5 ต่อปีในช่วงปี 2538 - 2543 และเพิ่มสัดส่วนการส่งออก ของไทยในตลาดโลกเป็นร้อยละ 1.74 หรือมีมูลค่า 2.5 ล้านล้านบาท (1 แสนล้านเหรียญ) ในปี 2543 ได้สำเร็จตามเป้าหมายแล้วมาตรการที่ควรเร่งดำเนินการได้แก่
5.1 กำหนดทิศทางการปรับตัวด้านการผลิตสินค้าให้ใช้เทคโนโลยีหรือมูลค่าเพิ่มสูงสอดคล้อง กับทิศทางการส่งออก
5.2 กำหนดยุทธการเพิ่มขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ของ ระบบเศรษฐกิจของไทยที่ค่าแรงสูงขึ้นจนกระทบฐานะแข่งขันในสินค้าที่ใช้แรงงานสูง ในขณะเดียวกันเพื่อ เตรียมรับ สถานการณ์การค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและการกัดกันการค้าที่มีแนวโน้มรุน แรงขึ้น
5.3 ภาครัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาที่จะผลกระทบต่อ ขีดความสามารถในการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้เพียงพอ เร่งรัดการปรับโครงสร้างภาษีและพิธีศุลกากร การพัฒนาบุคคลากรในสาขาวิชาที่ขาดแคลน เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 ธันวาคม 2537--