ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎ ก.พ. ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
โดยร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ
1. ให้ใช้บังคับกฎ ก.พ. นี้เมื่อพ้นกำหนดสี่สิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. กำหนดระยะเวลาในการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเวลาหกเดือน
3. ในกรณีที่เห็นสมควร ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุสามารถขยายระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ครบกำหนดหกเดือนแล้วได้อีกสามเดือน
4. ให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปฏิบัติราชการมาแล้วสามเดือน ครั้งที่สองเมื่อปฏิบัติครบหกเดือน และในกรณีที่มีการขยายระยะเวลาทดลองฯ ให้ประเมินเมื่อครบระยะเวลาที่ขยายอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ได้กำหนดผู้ประเมิน วิธีการประเมิน และการแจ้งผลรายงานประเมินด้วย
5. ในกรณีที่นับระยะเวลาทดลองปฏิบัติราชการเป็นเดือน ให้นับวันเข้าปฏิบัติราชการวันแรกเป็นวันเริ่มต้นวันทดลองปฏิบัติราชการ และให้นับวันก่อนหน้าจะถึงวันที่ตรงกับวันเริ่มต้นนั้นของเดือนสุดท้ายของระยะเวลา เป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา ถ้าไม่มีวันตรงกัน ให้ถือวันสุดท้ายของเดือนเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา และในระหว่างทดลองฯ ให้นับวันที่ไม่มาปฏิบัติราชการ รวมเป็นวันทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
สำหรับข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีข้อสังเกต ดังนี้
1. การกำหนดให้ร่างกฎ ก.พ. ตามข้อ 1 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสี่สิบห้าวันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา (ร่างข้อ 1) นั้น มีผลทำให้ กฎ ก.พ. ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 สิ้นผลบังคับลงทันทีที่ครบกำหนดตามร่าง กฎ ก.พ. ฉบับนี้ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติตามมาได้สำหรับผู้ที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ก่อนตาม กฎ ก.พ. ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2518) ฯ และระยะเวลาการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการยังไม่สิ้นสุดลงก่อนร่าง กฎ ก.พ. ฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับ กล่าวคือ เมื่อ กฎ ก.พ. ฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ผู้ที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กล่าวมาแล้ว จะนับระยะเวลาที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนที่จะมี กฎ ก.พ. ฉบับนี้เข้ามารวมกับระยะเวลาตาม กฎ ก.พ. ฉบับนี้ได้หรือไม่เพียงใด และอาจจะดูไม่เป็นธรรมได้ในกรณีที่จะให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการใหม่ตาม กฎ ก.พ. ที่ใช้บังคับใหม่นี้ เพราะบุคคลดังกล่าวอาจจะทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาจนเกือบจะครบกำหนดระยะเวลาตาม กฎ ก.พ. ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2518) ฯ แล้ว ซึ่งจะเกิดความลักลั่นกันขึ้นระหว่างผู้ที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ก่อนกับผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการภายหลังที่ กฎ ก.พ. นี้มีผลบังคับ
2. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามข้อ 1 จึงสมควรเพิ่มเติมบทบัญญัติในร่าง กฎ ก.พ. ฉบับนี้ให้ชัดเจนในลักษณะเป็นบทเฉพาะกาล โดยครอบคลุมถึงผู้ที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ก่อนวันที่ กฎ ก.พ. ฉบับนี้มีผลใช้บังคับว่าจะให้บุคคลเหล่านี้ปฏิบัติต่อไปอย่างไร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กันยายน 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎ ก.พ. ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
โดยร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ
1. ให้ใช้บังคับกฎ ก.พ. นี้เมื่อพ้นกำหนดสี่สิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. กำหนดระยะเวลาในการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเวลาหกเดือน
3. ในกรณีที่เห็นสมควร ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุสามารถขยายระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ครบกำหนดหกเดือนแล้วได้อีกสามเดือน
4. ให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปฏิบัติราชการมาแล้วสามเดือน ครั้งที่สองเมื่อปฏิบัติครบหกเดือน และในกรณีที่มีการขยายระยะเวลาทดลองฯ ให้ประเมินเมื่อครบระยะเวลาที่ขยายอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ได้กำหนดผู้ประเมิน วิธีการประเมิน และการแจ้งผลรายงานประเมินด้วย
5. ในกรณีที่นับระยะเวลาทดลองปฏิบัติราชการเป็นเดือน ให้นับวันเข้าปฏิบัติราชการวันแรกเป็นวันเริ่มต้นวันทดลองปฏิบัติราชการ และให้นับวันก่อนหน้าจะถึงวันที่ตรงกับวันเริ่มต้นนั้นของเดือนสุดท้ายของระยะเวลา เป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา ถ้าไม่มีวันตรงกัน ให้ถือวันสุดท้ายของเดือนเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา และในระหว่างทดลองฯ ให้นับวันที่ไม่มาปฏิบัติราชการ รวมเป็นวันทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
สำหรับข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีข้อสังเกต ดังนี้
1. การกำหนดให้ร่างกฎ ก.พ. ตามข้อ 1 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสี่สิบห้าวันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา (ร่างข้อ 1) นั้น มีผลทำให้ กฎ ก.พ. ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 สิ้นผลบังคับลงทันทีที่ครบกำหนดตามร่าง กฎ ก.พ. ฉบับนี้ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติตามมาได้สำหรับผู้ที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ก่อนตาม กฎ ก.พ. ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2518) ฯ และระยะเวลาการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการยังไม่สิ้นสุดลงก่อนร่าง กฎ ก.พ. ฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับ กล่าวคือ เมื่อ กฎ ก.พ. ฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ผู้ที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กล่าวมาแล้ว จะนับระยะเวลาที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนที่จะมี กฎ ก.พ. ฉบับนี้เข้ามารวมกับระยะเวลาตาม กฎ ก.พ. ฉบับนี้ได้หรือไม่เพียงใด และอาจจะดูไม่เป็นธรรมได้ในกรณีที่จะให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการใหม่ตาม กฎ ก.พ. ที่ใช้บังคับใหม่นี้ เพราะบุคคลดังกล่าวอาจจะทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาจนเกือบจะครบกำหนดระยะเวลาตาม กฎ ก.พ. ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2518) ฯ แล้ว ซึ่งจะเกิดความลักลั่นกันขึ้นระหว่างผู้ที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ก่อนกับผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการภายหลังที่ กฎ ก.พ. นี้มีผลบังคับ
2. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามข้อ 1 จึงสมควรเพิ่มเติมบทบัญญัติในร่าง กฎ ก.พ. ฉบับนี้ให้ชัดเจนในลักษณะเป็นบทเฉพาะกาล โดยครอบคลุมถึงผู้ที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ก่อนวันที่ กฎ ก.พ. ฉบับนี้มีผลใช้บังคับว่าจะให้บุคคลเหล่านี้ปฏิบัติต่อไปอย่างไร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กันยายน 2541--