ทำเนียบรัฐบาล--13 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบการติดตามมาตรการเศรษฐกิจระยะปานกลางตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะใช้เป็นกรอบในการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานภายใต้นโยบายและแผน ดังนี้
1. การปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2541 - 2544)
2. นโยบายรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย)
3. แผนปฏิบัติของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
4. แผนงานและภารกิจของคณะกรรมการระดับชาติที่สำคัญหลายชุด ได้แก่
4.1 คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ
4.2 คณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
4.3 คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
4.4 คณะกรรมการนโยบายบรรเทาปัญหาการว่างงานแห่งชาติ
4.5 คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ
4.6 คณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น
4.7 คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
สำหรับสาระสำคัญของกรอบการติดตามมาตรการเศรษฐกิจระยะปานกลาง แบ่งมาตรการหลักเป็น 4 มาตรการ ได้แก่การเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินการคลัง การปรับโครงสร้างการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการหารายได้เงินตราต่างประเทศการลดผลกระทบต่อคนและสังคม และการปฏิรูประบบบริหารจัดการ ในรายละเอียดของรายงานแต่ละเรื่องจะประมวลแนวนโยบายที่สำคัญ มาตรการที่ดำเนินการแล้ว และมาตรการที่ต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งจะต้องเร่งรัดให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรอบการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา ในแต่ละมาตรการมีประเด็นสำคัญ ๆ ที่รัฐบาลควรจะได้ติดตามให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ดังนี้
1. การเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินการคลัง
กลไกการประสานงานระดับนโยบาย : คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ
1.1 การแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินและการเสริมสภาพคล่องแก่ธุรกิจ เช่น การจำหน่ายจ่ายโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินในความดูแลของ ปรส. เร่งรัดการร่วมทุนจากต่างประเทศในกิจการธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นต้น
1.2 การรักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยการวางแผนปฏิบัติและวางระบบติดตามผลด้านรายรับและรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกด้าน
1.3 การเพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เช่น การเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมส่งออก โดยการปรับปรุงกลไกค้ำประกันสินเชื่อของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และขจัดอุปสรรคด้านการส่งออก ทั้งด้านภาษีศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
1.4 การดำเนินนโยบายการคลังให้เป็นไปตามข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เช่น ติดตามการบริหารงบประมาณรายเดือนของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามกรอบการเบิกจ่ายงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ การจัดเตรียมงบประมาณปี 2542ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ และจัดลำดับความสำคัญของการใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นต้น
2. การปรับโครงสร้างการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการหารายได้เงินตราต่างประเทศ
กลไกการประสานงานระดับนโยบาย : คณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ และคณะกรรมการพัฒนาแรงงาน และประสานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
2.1 สาขาการเกษตร เช่น ส่งเสริมการจัดการผลิตข้าวหอมมะลิเชิงอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกในเขตเหมาะสม ส่งเสริมสาธิต "เกษตรทฤษฎีใหม่" ตามแนวพระราชดำริ เป็นต้น
2.2 สาขาอุตสาหกรรม เช่น พิจารณาทบทวนนโยบายการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาพิจารณาจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะด้านเพิ่มเติม นำแผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมสู่การปฏิบัติ เร่งรัดการใช้เงินกองทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอ ออกระเบียบเกี่ยวกับการให้เอกชนสามารถหักค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีได้ร้อยละ 200 ให้ชัดเจนในทางปฏิบัติ ปรับปรุงโครงสร้างภาษีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมให้เหมาะสม เป็นต้น
2.3 สาขาพาณิชย์และบริการ เช่น การจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีหรือประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ตามมติคณะรัฐมนตรีควบคู่กับการผลักดันให้พระราชบัญญัติตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาโดยเร็ว การสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศให้ปลอดพ้นจากอุปสรรคด้านกฎระเบียบที่ยังไม่ได้แก้ไข (ปว. 281) การขจัดอุปสรรคการส่งออกด้วยการเจรจาแก้ไขปัญหาการค้า การพัฒนาสินค้า Brand Name การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น การขนส่งสินค้าทางเรือ ทางรถไฟ ทางถนนและทางอากาศ รวมทั้งพัฒนาทางด้านโทรคมนาคม ส่งเสริมการขนส่งแบบ Mass Transport เช่น รถไฟ รถโดยสารขนส่งมวลชน การเพิ่มโครงข่ายทางรถไฟ รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ เพื่อลดค่าขนส่งลดการนำเข้าปิโตรเลียม การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การดำเนินการค้าต่างตอบแทน เพิ่มและกวดขันมาตรฐานด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาธุรกิจเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เป็นต้น
2.4 การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ เช่น ออกพระราชบัญญัติทุนของรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งกองทุนชดเชยและพัฒนาทักษะแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทยแปลงสัญญาสัมปทานให้แล้วเสร็จ เสนอนโยบายเกี่ยวกับขอบเขตการกำกับกิจการโทรคมนาคมของ กสช. ต่อคณะรัฐมนตรี เป็นต้น
3. การลดผลกระทบต่อคนและสังคม
กลไกการประสานงานระดับนโยบาย : คณะกรรมการนโยบายบรรเทาปัญหาการว่างงานแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น
3.1 การลดผลกระทบจากการว่างงานโดยรวม เช่น เร่งรัดการบรรจุงานใหม่ให้แก่แรงงานที่ถูกเลิกจ้าง อบรมทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ดำเนินการปราบปรามการลักลอบใช้แรงงานต่างชาติไร้ฝีมือผิดกฎหมาย เป็นต้น
3.2 การส่งเสริมการมีงานทำในชนบท เช่น ให้มีการใช้แรงงานในโครงการก่อสร้างของรัฐในสัดส่วนที่มากขึ้น เป็นต้น
3.3 การดูแลด้านสวัสดิการและการคุ้มครองแรงงาน เช่น ลดภาระของนายจ้างและผู้ประกันตนในการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในระยะเวลาที่เศรษฐกิจชะลอตัว การดูแลฟื้นฟูและพัฒนาผู้ด้อยโอกาสและบุคคลที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษเป็นต้น
3.4 การประกันโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนที่ครอบครัวได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เช่น ให้ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการสำรวจผู้มีแนวโน้มลาออกหรือไม่เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
3.5 การแก้ไขปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มรุนแรง เช่น จัดคลีนิกคลายเครียดในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้ครอบคลุมมากขึ้น
3.6 การปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานแก่เด็กและเยาวชน เช่น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนประหยัดและรณรงค์การใช้ของไทยโดยผ่านสื่อมวลชนทุกประเภท
3.7 การป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด เช่น เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสายตรวจและจัดสายตรวจให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เป็นต้น
4. การปฏิรูประบบบริหารจัดการ
กลไกการประสานงานระดับนโยบาย : คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ และคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น
4.1 การปฏิรูประบบราชการ เช่น จัดทำแผนปรับปรุงโครงสร้างบทบาทหน้าที่ภารกิจ และขนาดกำลังคนของส่วนราชการ จัดทำแผนปรับปรุงมาตรฐานและคุณภาพบริการประชาชน พัฒนาระบบตรวจสอบมาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของส่วนราชการได้ ศึกษาการปรับปรุงระบบการวางแผนและการบริหารงบประมาณตามแผนแม่บทด้านการงบประมาณ ทบทวนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฉบับใหม่เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติโดยเร็ว เป็นต้น
4.2 การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เช่น เร่งออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ ร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก และร่างพระราชบัญญัติรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ท้องถิ่น จัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อเทศบาล เป็นต้น
4.3 การเสริมสร้างกระบวนการประชาสังคม เช่น เร่งสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ธุรกิจเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนที่จะต้องเข้ามาร่วมกันในการพัฒนาประเทศ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในกระบวนการประชาสังคมตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 พฤษภาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบการติดตามมาตรการเศรษฐกิจระยะปานกลางตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะใช้เป็นกรอบในการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานภายใต้นโยบายและแผน ดังนี้
1. การปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2541 - 2544)
2. นโยบายรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย)
3. แผนปฏิบัติของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
4. แผนงานและภารกิจของคณะกรรมการระดับชาติที่สำคัญหลายชุด ได้แก่
4.1 คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ
4.2 คณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
4.3 คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
4.4 คณะกรรมการนโยบายบรรเทาปัญหาการว่างงานแห่งชาติ
4.5 คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ
4.6 คณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น
4.7 คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
สำหรับสาระสำคัญของกรอบการติดตามมาตรการเศรษฐกิจระยะปานกลาง แบ่งมาตรการหลักเป็น 4 มาตรการ ได้แก่การเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินการคลัง การปรับโครงสร้างการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการหารายได้เงินตราต่างประเทศการลดผลกระทบต่อคนและสังคม และการปฏิรูประบบบริหารจัดการ ในรายละเอียดของรายงานแต่ละเรื่องจะประมวลแนวนโยบายที่สำคัญ มาตรการที่ดำเนินการแล้ว และมาตรการที่ต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งจะต้องเร่งรัดให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรอบการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา ในแต่ละมาตรการมีประเด็นสำคัญ ๆ ที่รัฐบาลควรจะได้ติดตามให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ดังนี้
1. การเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินการคลัง
กลไกการประสานงานระดับนโยบาย : คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ
1.1 การแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินและการเสริมสภาพคล่องแก่ธุรกิจ เช่น การจำหน่ายจ่ายโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินในความดูแลของ ปรส. เร่งรัดการร่วมทุนจากต่างประเทศในกิจการธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นต้น
1.2 การรักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยการวางแผนปฏิบัติและวางระบบติดตามผลด้านรายรับและรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกด้าน
1.3 การเพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เช่น การเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมส่งออก โดยการปรับปรุงกลไกค้ำประกันสินเชื่อของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และขจัดอุปสรรคด้านการส่งออก ทั้งด้านภาษีศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
1.4 การดำเนินนโยบายการคลังให้เป็นไปตามข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เช่น ติดตามการบริหารงบประมาณรายเดือนของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามกรอบการเบิกจ่ายงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ การจัดเตรียมงบประมาณปี 2542ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ และจัดลำดับความสำคัญของการใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นต้น
2. การปรับโครงสร้างการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการหารายได้เงินตราต่างประเทศ
กลไกการประสานงานระดับนโยบาย : คณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ และคณะกรรมการพัฒนาแรงงาน และประสานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
2.1 สาขาการเกษตร เช่น ส่งเสริมการจัดการผลิตข้าวหอมมะลิเชิงอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกในเขตเหมาะสม ส่งเสริมสาธิต "เกษตรทฤษฎีใหม่" ตามแนวพระราชดำริ เป็นต้น
2.2 สาขาอุตสาหกรรม เช่น พิจารณาทบทวนนโยบายการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาพิจารณาจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะด้านเพิ่มเติม นำแผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมสู่การปฏิบัติ เร่งรัดการใช้เงินกองทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอ ออกระเบียบเกี่ยวกับการให้เอกชนสามารถหักค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีได้ร้อยละ 200 ให้ชัดเจนในทางปฏิบัติ ปรับปรุงโครงสร้างภาษีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมให้เหมาะสม เป็นต้น
2.3 สาขาพาณิชย์และบริการ เช่น การจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีหรือประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ตามมติคณะรัฐมนตรีควบคู่กับการผลักดันให้พระราชบัญญัติตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาโดยเร็ว การสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศให้ปลอดพ้นจากอุปสรรคด้านกฎระเบียบที่ยังไม่ได้แก้ไข (ปว. 281) การขจัดอุปสรรคการส่งออกด้วยการเจรจาแก้ไขปัญหาการค้า การพัฒนาสินค้า Brand Name การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น การขนส่งสินค้าทางเรือ ทางรถไฟ ทางถนนและทางอากาศ รวมทั้งพัฒนาทางด้านโทรคมนาคม ส่งเสริมการขนส่งแบบ Mass Transport เช่น รถไฟ รถโดยสารขนส่งมวลชน การเพิ่มโครงข่ายทางรถไฟ รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ เพื่อลดค่าขนส่งลดการนำเข้าปิโตรเลียม การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การดำเนินการค้าต่างตอบแทน เพิ่มและกวดขันมาตรฐานด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาธุรกิจเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เป็นต้น
2.4 การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ เช่น ออกพระราชบัญญัติทุนของรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งกองทุนชดเชยและพัฒนาทักษะแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทยแปลงสัญญาสัมปทานให้แล้วเสร็จ เสนอนโยบายเกี่ยวกับขอบเขตการกำกับกิจการโทรคมนาคมของ กสช. ต่อคณะรัฐมนตรี เป็นต้น
3. การลดผลกระทบต่อคนและสังคม
กลไกการประสานงานระดับนโยบาย : คณะกรรมการนโยบายบรรเทาปัญหาการว่างงานแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น
3.1 การลดผลกระทบจากการว่างงานโดยรวม เช่น เร่งรัดการบรรจุงานใหม่ให้แก่แรงงานที่ถูกเลิกจ้าง อบรมทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ดำเนินการปราบปรามการลักลอบใช้แรงงานต่างชาติไร้ฝีมือผิดกฎหมาย เป็นต้น
3.2 การส่งเสริมการมีงานทำในชนบท เช่น ให้มีการใช้แรงงานในโครงการก่อสร้างของรัฐในสัดส่วนที่มากขึ้น เป็นต้น
3.3 การดูแลด้านสวัสดิการและการคุ้มครองแรงงาน เช่น ลดภาระของนายจ้างและผู้ประกันตนในการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในระยะเวลาที่เศรษฐกิจชะลอตัว การดูแลฟื้นฟูและพัฒนาผู้ด้อยโอกาสและบุคคลที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษเป็นต้น
3.4 การประกันโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนที่ครอบครัวได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เช่น ให้ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการสำรวจผู้มีแนวโน้มลาออกหรือไม่เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
3.5 การแก้ไขปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มรุนแรง เช่น จัดคลีนิกคลายเครียดในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้ครอบคลุมมากขึ้น
3.6 การปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานแก่เด็กและเยาวชน เช่น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนประหยัดและรณรงค์การใช้ของไทยโดยผ่านสื่อมวลชนทุกประเภท
3.7 การป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด เช่น เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสายตรวจและจัดสายตรวจให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เป็นต้น
4. การปฏิรูประบบบริหารจัดการ
กลไกการประสานงานระดับนโยบาย : คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ และคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น
4.1 การปฏิรูประบบราชการ เช่น จัดทำแผนปรับปรุงโครงสร้างบทบาทหน้าที่ภารกิจ และขนาดกำลังคนของส่วนราชการ จัดทำแผนปรับปรุงมาตรฐานและคุณภาพบริการประชาชน พัฒนาระบบตรวจสอบมาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของส่วนราชการได้ ศึกษาการปรับปรุงระบบการวางแผนและการบริหารงบประมาณตามแผนแม่บทด้านการงบประมาณ ทบทวนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฉบับใหม่เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติโดยเร็ว เป็นต้น
4.2 การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เช่น เร่งออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ ร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก และร่างพระราชบัญญัติรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ท้องถิ่น จัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อเทศบาล เป็นต้น
4.3 การเสริมสร้างกระบวนการประชาสังคม เช่น เร่งสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ธุรกิจเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนที่จะต้องเข้ามาร่วมกันในการพัฒนาประเทศ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในกระบวนการประชาสังคมตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 พฤษภาคม 2541--