ทำเนียบรัฐบาล--7 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้จัดตั้งสถาบันเฉพาะทาง ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เนื่องจากการจัดตั้งสถาบันอิสระของกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออก เป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทอุตสาหกรรมตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว ดังนี้
1. ให้จัดตั้งสถาบันยานยนต์ และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นองค์กรอิสระภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดตั้งขึ้นแล้ว
2. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันยานยนต์ และคณะกรรมการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3. ให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนเงินงบประมาณสำหรับใช้จัดตั้งและดำเนินงานของสถาบันยานยนต์ และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตามความเหมาะสมและความจำเป็น ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้ทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
นอกจากนี้ สำนักงบประมาณมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การดำเนินงานของสถาบันทั้งสองบรรลุประโยชน์สูงสุด สมควรที่จะได้ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันอิสระเฉพาะทางที่ได้ดำเนินการแล้ว คือสถาบันอาหาร และสถาบันสิ่งทอเพื่อให้ได้ข้อมูล ปัญหา อุปสรรค มาเป็นข้อพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินงานของสถาบันทั้งสองที่จะจัดตั้งใหม่ โดยเฉพาะการบริหารจัดการควรจะเป็นไปในเชิงธุรกิจเอกชน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสนองต่อความต้องการของภาคเอกชนอย่างแท้จริงด้วย
4. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมให้การสนับสนุนด้านบุคลากร สถานที่และเครื่องมือเป็นพิเศษแก่สถาบันยานยนต์ และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในระยะแรกของการก่อตั้งสถาบันทั้งสอง
การจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สถาบันยานยนต์ สถาบันดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกยานยนต์ของภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแนวทาง บทบาท และกรอบความรับผิดชอบของสถาบันไว้ดังกล่าว ดังนี้
1.1 บาทบาทและหน้าที่ของสถาบัน ได้แก่ ส่งเสริมการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์โดยเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เสนอแนะแนวทาง แผนกลยุทธและมาตรการในการพัฒนา สนับสนุน และประสานงานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้บริการที่จำเป็นแก่ผู้ประกอบการด้วย
1.2 ความรับผิดชอบของสถาบัน จะครอบคลุมถึงงานศึกษาวิจัยงานพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต งานออกแบบผลิตภัณฑ์ งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี งานด้านมาตรฐานและทดสอบผลิตภัณฑ์ งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และงานระบบข้อมูล
1.3 การดำเนินงานของสถาบัน จะกำกับและดูแลโดยคณะกรรมการสถาบันยานยนต์ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ โดยสถาบันจะอยู่ภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิของกระทรวงอุตสาหกรรม
1.4 เงินทุนในการดำเนินงานของสถาบัน จะมาจาก 4 แหล่งคือ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินอุดหนุนจากผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เงินกู้จากในประเทศและต่างประเทศ และรายได้จากการดำเนินงาน ในระยะแรกสถาบันจะร่วมดำเนินงานกับหน่วยงานภายนอกที่พร้อมให้บริการอยู่แล้วในบางกิจกรรม จึงไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนสูงแต่อย่างใด และกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้หารือกับสำนักงบประมาณเกี่ยวกับเงินทุนดำเนินการระยะแรกในภายหลังต่อไป
2. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมและเป็นศูนย์ประสานงานที่มีความคล่องตัวเพื่อเอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ และมีการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของภาคอุตสาหกรรม แต่โดยที่การแข่งขันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นจากการที่มีคู่แข่งขันทางการค้าเป็นจำนวนมาก ตลอดจนการเปิดตลาดทางการค้าเสรีภายใต้ข้อตกลงขององค์การการค้าโลกหลายเวทีจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมในการวางพื้นฐานโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแนวทาง บทบาท และกรอบความรับผิดชอบของสถาบันดังกล่าวไว้ ดังนี้
2.1 บทบาทของสถาบัน ได้แก่ เป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้คำปรึกษาเสนอแนะเชิงนโยบาย และมาตรการในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของอุตสาหกรรมด้านนี้ นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์กลางการประสานงานและดำเนินการระหว่างองค์กร สถาบันต่าง ๆ ในการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยีและมาตรฐานด้านต่าง ๆ ให้กับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการให้การสนับสนุนการดำเนินการแก่หน่วยงานราชการและการพัฒนาธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย
2.2 เงินทุนในการดำเนินงานของสถาบัน ได้จาก 4 แหล่ง คือ เงินสนับสนุนจากรัฐบาล เงินช่วยเหลือและเงินกู้จากในประเทศและต่างประเทศ เงินสมทบจากภาคเอกชน และรายได้จากการดำเนินงาน
ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จัดตั้งสถาบันแล้ว สถาบันทั้งสองจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายใน 1 ปี
สถาบันทั้งสองจะจัดตั้งขึ้นในบริเวณที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้การสนับสนุน โดยจะใช้อาคาร ครุภัณฑ์ และบุคลากรบางส่วนของศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฯ ของกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู และในช่วง 2 ปีแรกสถาบันยังไม่มีความต้องการบุคลากรมากนัก โดยจะยืมตัวเจ้าหน้าที่จากหน่วยราชการมาช่วยงานก่อน
นอกจากนี้ สถาบันจะจัดหาพนักงานและครุภัณฑ์เพิ่มเติม เพื่อขยายงานและให้บริการด้วยตนเอง ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไปเงินทุนที่ใช้ขยายงานของแต่ละสถาบันมาจากเงินอุดหนุนของรัฐบาล โดยใช้เงินจากแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมจำนวน 100 ล้านบาทและทยอยจ่ายให้ปีละ 20 ล้านบาท เป็นเวลา 5 ปี นับจากปีที่ 2 เพื่อเป็นการกระจายภาระทางการเงินของรัฐ คาดว่าหลังจากปีที่ 6 สถาบันจะมีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินงานของตนเอง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กรกฎาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้จัดตั้งสถาบันเฉพาะทาง ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เนื่องจากการจัดตั้งสถาบันอิสระของกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออก เป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทอุตสาหกรรมตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว ดังนี้
1. ให้จัดตั้งสถาบันยานยนต์ และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นองค์กรอิสระภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดตั้งขึ้นแล้ว
2. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันยานยนต์ และคณะกรรมการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3. ให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนเงินงบประมาณสำหรับใช้จัดตั้งและดำเนินงานของสถาบันยานยนต์ และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตามความเหมาะสมและความจำเป็น ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้ทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
นอกจากนี้ สำนักงบประมาณมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การดำเนินงานของสถาบันทั้งสองบรรลุประโยชน์สูงสุด สมควรที่จะได้ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันอิสระเฉพาะทางที่ได้ดำเนินการแล้ว คือสถาบันอาหาร และสถาบันสิ่งทอเพื่อให้ได้ข้อมูล ปัญหา อุปสรรค มาเป็นข้อพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินงานของสถาบันทั้งสองที่จะจัดตั้งใหม่ โดยเฉพาะการบริหารจัดการควรจะเป็นไปในเชิงธุรกิจเอกชน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสนองต่อความต้องการของภาคเอกชนอย่างแท้จริงด้วย
4. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมให้การสนับสนุนด้านบุคลากร สถานที่และเครื่องมือเป็นพิเศษแก่สถาบันยานยนต์ และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในระยะแรกของการก่อตั้งสถาบันทั้งสอง
การจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สถาบันยานยนต์ สถาบันดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกยานยนต์ของภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแนวทาง บทบาท และกรอบความรับผิดชอบของสถาบันไว้ดังกล่าว ดังนี้
1.1 บาทบาทและหน้าที่ของสถาบัน ได้แก่ ส่งเสริมการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์โดยเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เสนอแนะแนวทาง แผนกลยุทธและมาตรการในการพัฒนา สนับสนุน และประสานงานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้บริการที่จำเป็นแก่ผู้ประกอบการด้วย
1.2 ความรับผิดชอบของสถาบัน จะครอบคลุมถึงงานศึกษาวิจัยงานพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต งานออกแบบผลิตภัณฑ์ งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี งานด้านมาตรฐานและทดสอบผลิตภัณฑ์ งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และงานระบบข้อมูล
1.3 การดำเนินงานของสถาบัน จะกำกับและดูแลโดยคณะกรรมการสถาบันยานยนต์ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ โดยสถาบันจะอยู่ภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิของกระทรวงอุตสาหกรรม
1.4 เงินทุนในการดำเนินงานของสถาบัน จะมาจาก 4 แหล่งคือ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินอุดหนุนจากผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เงินกู้จากในประเทศและต่างประเทศ และรายได้จากการดำเนินงาน ในระยะแรกสถาบันจะร่วมดำเนินงานกับหน่วยงานภายนอกที่พร้อมให้บริการอยู่แล้วในบางกิจกรรม จึงไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนสูงแต่อย่างใด และกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้หารือกับสำนักงบประมาณเกี่ยวกับเงินทุนดำเนินการระยะแรกในภายหลังต่อไป
2. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมและเป็นศูนย์ประสานงานที่มีความคล่องตัวเพื่อเอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ และมีการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของภาคอุตสาหกรรม แต่โดยที่การแข่งขันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นจากการที่มีคู่แข่งขันทางการค้าเป็นจำนวนมาก ตลอดจนการเปิดตลาดทางการค้าเสรีภายใต้ข้อตกลงขององค์การการค้าโลกหลายเวทีจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมในการวางพื้นฐานโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแนวทาง บทบาท และกรอบความรับผิดชอบของสถาบันดังกล่าวไว้ ดังนี้
2.1 บทบาทของสถาบัน ได้แก่ เป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้คำปรึกษาเสนอแนะเชิงนโยบาย และมาตรการในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของอุตสาหกรรมด้านนี้ นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์กลางการประสานงานและดำเนินการระหว่างองค์กร สถาบันต่าง ๆ ในการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยีและมาตรฐานด้านต่าง ๆ ให้กับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการให้การสนับสนุนการดำเนินการแก่หน่วยงานราชการและการพัฒนาธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย
2.2 เงินทุนในการดำเนินงานของสถาบัน ได้จาก 4 แหล่ง คือ เงินสนับสนุนจากรัฐบาล เงินช่วยเหลือและเงินกู้จากในประเทศและต่างประเทศ เงินสมทบจากภาคเอกชน และรายได้จากการดำเนินงาน
ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จัดตั้งสถาบันแล้ว สถาบันทั้งสองจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายใน 1 ปี
สถาบันทั้งสองจะจัดตั้งขึ้นในบริเวณที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้การสนับสนุน โดยจะใช้อาคาร ครุภัณฑ์ และบุคลากรบางส่วนของศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฯ ของกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู และในช่วง 2 ปีแรกสถาบันยังไม่มีความต้องการบุคลากรมากนัก โดยจะยืมตัวเจ้าหน้าที่จากหน่วยราชการมาช่วยงานก่อน
นอกจากนี้ สถาบันจะจัดหาพนักงานและครุภัณฑ์เพิ่มเติม เพื่อขยายงานและให้บริการด้วยตนเอง ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไปเงินทุนที่ใช้ขยายงานของแต่ละสถาบันมาจากเงินอุดหนุนของรัฐบาล โดยใช้เงินจากแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมจำนวน 100 ล้านบาทและทยอยจ่ายให้ปีละ 20 ล้านบาท เป็นเวลา 5 ปี นับจากปีที่ 2 เพื่อเป็นการกระจายภาระทางการเงินของรัฐ คาดว่าหลังจากปีที่ 6 สถาบันจะมีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินงานของตนเอง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กรกฎาคม 2541--