ทำเนียบรัฐบาล--1 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ - เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม งวดที่ 2 ของปีงบประมาณ 2537 (เมษายน 2537 - กันยายน 2537) ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.1 ส่งเสริมให้ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันสมัยและนำมาใช้สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้านเกษตร อุตสาหกรรม และการบริหาร รวมทั้งการจัดตั้งเขตประมวลและบริการสารสนเทศ ได้ดำเนินการจัดตั้งเขตประมวลและบริการสารสนเทศ (DPZ) เป็นเงินงบประมาณ 7.73 ล้านบาท สนับสนุนการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรมขององค์กรภาครัฐ ในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ 13 โครงการ เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ 21 โครงการ เทคโนโลยีชีวภาพ 6 โครงการ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ 4 โครงการ ส่วนโครงการต่อเนื่องที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ 59 โครงการ สาขาเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ 33 โครงการ และเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ 42 โครงการ โครงการศูนย์ปฏิบัติการวิจัยแห่งชาติ ได้ดำเนินการก่อสร้างศูนย์ และโครงสร้างความสามารถของสถาบันฯ ในด้านต่าง ๆ เช่น งานวิจัย การปรับปรุงห้องสมุด สนับสนุนโครงการและนักศึกษาที่ทำวิจัยในต่างประเทศ
วิจัยและพัฒนาส่งเสริมอาชีพในเขตดินทรายชายทะเล ส่งเสริมการจัดทำแปลงพืชผักยืนต้นและรั้วกินได้ ในแปลงเกษตรกร ผลิตกล้ามะม่วงหิมพานต์ ชะอม ผักหวาน แจกจ่ายให้เกษตรกรนำไปปลูก ทำแปลงสาธิตการปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยหมัก และแปลงสาธิตโดยใช้ฮอร์โมนเร่งผลผลิตของมันสำปะหลัง และจัดฝึกอบรมเกษตรกรเรื่องการขยายพันธุ์ไม้ผล จัดทำต้นแบบชุดลดควันดำ (Diesel Particulate Trap) ขนาด 6x6x20 นิ้ว และทำการทดลองศึกษาประสิทธิภาพการสร้างเครื่องควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จัดทำระบบโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องกลึง ส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการบริการ โดยมีโครงการปรึกษาอุตสาหกรรมและการรับจ้างวิจัย
ศึกษาและจัดทำคู่มือควบคุมการผลิตอาหารกระป๋อง สำรวจโรงงานผัก ผลไม้กระป๋องจำนวน 6โรงงาน และเปรียบเทียบข้อมูลการสำรวจโรงงานกับข้อมูลหลักการ Good Manufacturing Practices (GMP) การผลิตอาหารกระป๋องอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนำผลทุเรียนมาเคลือบผิวด้วยแฝก ร่วมกับการใช้สารกำจัดเชื้อราและโฮร์โมนพืช ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการใช้สารเคลือบผิว และการปฏิบัติหลักการเก็บเกี่ยวผลทุเรียนแก่ผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ
วิจัยเพื่อผลิตฉนวนความร้อนชนิด Ceramic Fiber ด้วย ARC-Plasma ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของ Ceramic Fiber และศึกษาแหล่งวัตถุดิบภายในประเทศ โครงการผลิตเยื่อกระดาษจากวัตถุดิบในประเทศแบบช่วยลดภาวะ ทำการผลิตเยื่อและฟอกเยื่อปอแก้วไทยและปอคิวบา วิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์หญ้าแฝก ขณะนี้กลั่นไปได้ 40% ของตัวอย่างทั้งหมด
พัฒนาเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานในอุตสาหกรรมอาหาร ทำ Spouted bedburmer จำลองศึกษาระบบควบคุมหม้อไอน้ำโดยใช้ PLC (Programable Logic Controller) และทดลองเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของระบบ Spouted bed burner พัฒนาเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานในเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และตู้แช่ อยู่ระหว่างการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าเป้าหมาย และศึกษาแนวทางการตรวจวัดประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าเป้าหมาย พัฒนาการใช้ประโยชน์ป่านศรนารายณ์ครบวงจร
1.2 สนับสนุนความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐกับเอกชนอย่างจริงจังโดยร่วมกันกำหนดทิศทาง ลำดับความสำคัญ และเป้าหมายให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว ได้ดำเนินการจัดสัมมนาเรื่องผลงานวิจัยและเทคโนโลยีจากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สู่ภาคธุรกิจ ฝึกอบรมเรื่องการแปรรูปผลผลิตการเกษตร การใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพในนาข้าว จัดนิทรรศการแสดงผลงานของหน่วยงานในสังกัด และได้ให้ทุนอุดหนุน โครงการประดิษฐ์กรรมเพื่อการพัฒนาชนบท 11 โครงการวางแผนการพัฒนาและนโยบายโดยให้บริการการปรึกษาอุตสาหกรรมในลักษณะต่าง ๆ ให้การสนับสนุนโครงการต่อเนื่อง จัดอบรมหลักสูตร "การวางแผนครบวงจร" จัด NSTDA Forum ครั้งที่ 2 ให้บริการลักษณะ On-Off-Line/CD-ROM Search และ Document Services จัดทำบทความ เอกสารเผยแพร่ 12 เรื่อง และจัดประชุมคณะอนุกรรมการฯ คณะทำงานฯ และสัมมนา 12 ครั้ง
1.3 เร่งรัดให้มีการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการผลิตอย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทในการผลิตและพัฒนาบุคลากรเพิ่มขึ้นโดยจัดสรรทุนการศึกษา การฝึกอบรม การวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น โครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุนิวเคลียร์ ความก้าวหน้าอยู่ในระดับการวิจัยและพัฒนาเบี้องต้น และการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการประกอบการวิจัยและพัฒนา เนื่องจากปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาธาตุหายาก ซึ่งเป็นโครงการแปรสภาพแร่โมนาไซด์ขนาดกึ่งอุตสาหกรรมเป็นโรงงานต้นแบบที่แยกออกจากโครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุนิวเคลียร์ที่ต้องอาศัยบุคลากรในการปฏิบัติงานกลุ่มเดียวกัน ประกอบกับโครงการก่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาธาตุหายากไม่มีบุคคลากรประจำ จึงจำเป็นต้องใช้บุคลากรจากโครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุนิวเคลียร์ดำเนินการเกือบทั้งหมด และโดยเหตุที่โครงการศูนย์วิจัยฯ เป็นการก่อสร้างโรงงานต้นแบบพร้อมเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับใช้แปรสภาพแร่โมนาโซด์ด้วยกระบวนการทางเคมี ที่ใช้เงินงบประมาณดำเนินการแล้วกว่า 180 ล้านบาท งานให้บริการฉายรังสีอาหารและผลิตผลการเกษตร จำนวน 6 แห่ง เป็นผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น 13 ชนิด ได้รับค่าธรรมเนียมการให้บริการ จำนวน 642,757.89 บาท สำรวจสภาวะแวดล้อมทางรังสีดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหารทะเล และศึกษาวิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์โบโลเนียม 210 และตะกั่ว -210 ด้วยวิธีเคมีรังสีในตัวอย่างอาหารทะเลได้ดำเนินการทดสอบการใช้งานของชุดวิเคราะห์รังสีแบบเคลื่อนที่โดยได้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งมีระยะทางไม่เกิน 100 กิโลเมตร ศึกษาวิจัยและสำรวจระดับรังสีในอาคารบ้านเรือนโดย Servey Meter และสำรวจระดับปริมาณเรคอน -222 ในอาคารบ้านเรือนโดยใช้ Carcoal Camister และ CR-39 เป็น Detecter ดำเนินการต่อเนื่องทุกช่วงระยะเวลา 3 เดือน
1.4 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนในการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ทดแทนการนำเข้า โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีหรือสิทธิพิเศษอื่น มีโครงการจัดตั้งอุทยานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและดำเนินการด้านอื่น ๆ เช่น ศึกษา จัดทำแผนธุรกิจของ Science Park ศึกษาการเชื่อมโยงระหว่าง Science Park และภาคเอกชนใน U.S.A. โดยได้รับความร่วมมือด้านการเงินจากองค์การยูเสด และมีการดำเนินงานตามแผนเพิ่มประสิทธิภาพการจัดหาและถ่ายเทคโนโลยีได้มีการจัดประชุมทางด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ได้ดำเนินงานแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทเอกชนไทยและสหพันธรัฐเยอรมัน
1.5 ขยายความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการโครงการความร่วมมือระหว่างไทย - สหรัฐอเมริกา ได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินในการดำเนินงานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Process Development of Cell Culture เรื่อง Biosensor Technology และเรื่อง Optical Fiber : Technology Application and Business Opportunity in Thailand โครงการความร่วมมือระหว่างไทย - สหพันธรัฐเยอรมัน ได้จัดสัมมนาเรื่อง Technology Transfer and Strategic Alliance โครงการความร่วมมือระหว่างไทย - เบลเยี่ยม จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ จัดส่งให้สถานทูตเบลเยี่ยม และกรมวิเทศสหการเกี่ยวกับโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
2. นโยบายเศรษฐกิจ
2.1 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ติตตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศและระดับเสียงในชุมชน ประกาศมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารและประกาศประเภทอาคารที่จะต้องถูกควบคุมการระบายน้ำทิ้งลงในราชกิจจานุเบกษา ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดภูเก็ต กำลังพิจารณาจัดซื้อที่ดิน สำหรับการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่เร่งด่วน (หาดกะรน หาดราไวย์ หาดกมลา) และดำเนินการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางน้ำ มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำภาคกลาง และก่อสร้างสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง แห่งละ 1 สถานี ฝึกอบรมการใช้สารพิษอย่างถูกต้องและปลอดภัยป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากสารอันตราย ได้จัดทำแผนป้องกันอุบัติภัยบริเวณท่าเรือกรุงเทพฯจัดทำแผนปฏิบัติเพื่อลดอุบัติภัยจากเคมีภัณฑ์ในโกดังสินค้า และจัดทำมาตรการด้านความปลอดภัย จัดทำแผนป้องกันอุบัติภัยจากสารอันตรายจากแหล่งกำเนิด และจัดทำแนวทางควบคุมสารอันตรายจากโรงงาน ผลิตสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ติดตามตรวจสอบสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม และจัดทำระบบเครือข่ายข้อมูลสารอันตราย จัดทำ "ข่าวสารอันตราย"
โครงการศูนย์สมุทรศาสตร์และทรัพยากรทะเลแห่งชาติ บำรุงรักษาทุ่นสำรวจสมุทรศาสตร์ ปรับปรุงระบบ THAINET V.2.0 และ V.2.1 ประสานงานติดตั้งระบบ THAINET ให้ข้อมูลทุ่นในรูปตัวเลขรายชั่วโมง เป็นข้อมูลเกี่ยวกับคลื่น, กระแสน้ำ, อุณหภูมิ. พารามิเตอร์ โครงการ EC-ASEAN Radar Remote Sensing ERS-1 Project พัฒนาด้านอุทกวิทยาเพื่อความสอดคล้องกับแผนพัฒนาทรัพยากรน้ำของชาติ จัดทำทะเบียนปกติและแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาในประเทศไทย และกิจกรรมใช้ดาวเทียมด้านความมั่นคงแห่งชาติ นำข้อมูลดาวเทียมรายละเอียดสูงจากดาวเทียม SPOT และดาวเทียม LANDSAT บริเวณชายแดนภาคเหนือ และภาคตะวันตกเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนและชายแดนบริเวณติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก และน่าน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเคลื่อนย้ายของหมู่บ้านชาวเขา และการขยายตัวของพื้นที่ปลูกพืชเสพติด รวบรวมข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้บริการข้อมูลด้านความมั่นคงแห่งชาติ การจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเล ดำเนินการมาตรการเร่งด่วนการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลด้านป่าชายเลนและปะการัง จัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลภูเก็ตบริเวณหาดป่าตอง กะตะ และกะรน ดำเนินการติดตั้งทุ่นผูกเรือเพื่อป้องกันแนวปะการังบริเวณพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาระบบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ปี 2537 จัดจ้างทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ 5 จังหวัด คือ พิจิตร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ฉะเชิงเทรา และกระบี่ พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการ และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (MIS) ได้จัดจ้างการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดมาตรฐานการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูลลุ่มน้ำโดยใช้พื้นที่ลุ่มน้ำพองเป็นกรณีศึกษา และทำแผนหลักของการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.2 ด้านพลังงาน ติดตามตรวจสอบผลกระทบเรื่องมลพิษทางอากาศอันเนื่องมาจากโรงไฟฟ้าและเหมืองถ่านหินลิกไนต์ แม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้ตรวจวัดคุณภาพอากาศ ติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ และพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อคาดการณ์การแพร่กระจายของมลพิษในพื้นที่แม่เมาะ ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ขยายเครือข่ายระบบติดตาม ปรับปรุงสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 16 แห่ง จัดซื้อและติดตั้งสถานีฯ ใหม่ 10 แห่ง และติดตั้งศูนย์ควบคุมและประมวลผลข้อมูลฯ ที่กรุงเทพฯ และภูมิภาค 4 แห่ง ติดตามตรวจสอบสภาพอากาศและเสียงอย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบประเมินและคาดการณ์มลพิษภาวะทางอากาศ และระบบฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ และกำหนดมาตรฐานโดยปรัปปรุงและศึกษายกร่างมาตรฐานมลพิษทางอากาศจากอุตสาห-กรรมที่ต้องการควบคุมการระบายสารมลพิษสำรวจรูปแบบของเตาอิฐ และศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเตาประชุมเชิงปฏิบัติการแผนปฏิบัติการการวิจัยและพัฒนาพลังงานสาขาแปรรูปชีวมวลเพื่อพลังงานโดยกระบวนการความร้อน ให้บริการตรวจวิเคราะห์และแนะนำการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาคารธุรกิจ อาคารหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยการดำเนินการเองและว่าจ้างไปแล้วรวม 460 แห่ง ให้บริการตรวจสอบเครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานที่ยื่นขอลดอัตราอากรศุลกากร 12 แห่ง ฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ของโรงงาน และรณรงค์เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ สร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพลตั้งแต่ปี 2532 จนถึง 30 กันยายน 2537 มีผลการก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 40 ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำผ่านกำแพงเพชร กำหนดระยะเวลาการก่อสร้าง 7 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2537 ถึงปี 2543 สำหรับปีงบประมาณ 2537 จนถึง30 กันยายน 2537 ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทเอกชนดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537 กำหนดแล้วเสร็จ 15 กันยายน 2538 พัฒนาไฟฟ้าพลังงานระดับหมู่บ้านในปีงบประมาณ 2537 ได้ทำการก่อสรต้างจำนวน 3 โครงการ มีโครงการไฟฟ้าพลังน้ำห้วยทราย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 68 โครงการไฟฟ้าพลังน้ำห้วยแม่ซ้าย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างแล้วประมาณร้อยละ 65 โครงการไฟฟ้าพลังน้ำห้วยน้ำปุ่น (2) อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย การก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 68 โครงการติดตั้งสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับชนบท ได้จัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับชนบทแล้วเสร็จใน 5 หมู่บ้าน ปรับปรุงและขยายงานมาตรวิทยาทางวิทยาศาสตร์ โดยศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีการวัดให้สอดคล้องกับเกณฑ์กำหนดตามมาตรฐานสากลด้านวิทยาทางวิทยาศาสตร์ ผลสำเร็จร้อยละ 60 จัดหา เก็บรักษาเครื่องมือมาตรวิทยามาตรฐานขั้นปฐม ผลสำเร็จร้อยละ 50 จัดสร้างห้องปฏิบัติการมาตรวิทยาพิเศษหรือเฉพาะกิจผลสำเร็จร้อยละ 45 และศึกษาและถ่ายทอดระบบความถูกต้องในระดับต่าง ๆ สำหรับดำเนินงานด้านมาตรวิทยาฯ ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ กำหนดมาตรฐานสากลด้านมาตรวิทยาทางวิทยาศาสตร์ ผลสำเร็จร้อยละ 60
2.3 ด้านการเกษตร จัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 220 สถานี ก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีตสายซอย พร้อมอาคารชลประทาน จำนวน 150 สถานี สำรวจทำแผนที่และออกแบบสถานีสูบน้ำ จำนวน 225 สถานี โครงการฝ่ายลำชี ได้ออกแบบรายละเอียดทดแทนที่ดินบริเวณหัวงานก่อสร้างร้อยละ 70 ก่อสร้างโครงการหัวงานและส่วนประกอบเสร็จประมาณร้อยละ 10 ประชุมและสัมมนาวิชาการเรื่องสับปะรด ข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 1 : ก้าวใหม่ของข้าวไทย ไม้ผลแห่งชาติ ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ ไม้สัก ภาคเอกชน เกษตรกรปลอดสารพิษ และโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องขนาดเล็กสำหรับกลุ่มเกษตรกรสวนปาล์มรายย่อยของประเทศไทย พัฒนาผลิตภัณฑ์จากหญ้าหวาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ - เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม งวดที่ 2 ของปีงบประมาณ 2537 (เมษายน 2537 - กันยายน 2537) ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.1 ส่งเสริมให้ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันสมัยและนำมาใช้สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้านเกษตร อุตสาหกรรม และการบริหาร รวมทั้งการจัดตั้งเขตประมวลและบริการสารสนเทศ ได้ดำเนินการจัดตั้งเขตประมวลและบริการสารสนเทศ (DPZ) เป็นเงินงบประมาณ 7.73 ล้านบาท สนับสนุนการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรมขององค์กรภาครัฐ ในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ 13 โครงการ เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ 21 โครงการ เทคโนโลยีชีวภาพ 6 โครงการ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ 4 โครงการ ส่วนโครงการต่อเนื่องที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ 59 โครงการ สาขาเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ 33 โครงการ และเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ 42 โครงการ โครงการศูนย์ปฏิบัติการวิจัยแห่งชาติ ได้ดำเนินการก่อสร้างศูนย์ และโครงสร้างความสามารถของสถาบันฯ ในด้านต่าง ๆ เช่น งานวิจัย การปรับปรุงห้องสมุด สนับสนุนโครงการและนักศึกษาที่ทำวิจัยในต่างประเทศ
วิจัยและพัฒนาส่งเสริมอาชีพในเขตดินทรายชายทะเล ส่งเสริมการจัดทำแปลงพืชผักยืนต้นและรั้วกินได้ ในแปลงเกษตรกร ผลิตกล้ามะม่วงหิมพานต์ ชะอม ผักหวาน แจกจ่ายให้เกษตรกรนำไปปลูก ทำแปลงสาธิตการปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยหมัก และแปลงสาธิตโดยใช้ฮอร์โมนเร่งผลผลิตของมันสำปะหลัง และจัดฝึกอบรมเกษตรกรเรื่องการขยายพันธุ์ไม้ผล จัดทำต้นแบบชุดลดควันดำ (Diesel Particulate Trap) ขนาด 6x6x20 นิ้ว และทำการทดลองศึกษาประสิทธิภาพการสร้างเครื่องควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จัดทำระบบโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องกลึง ส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการบริการ โดยมีโครงการปรึกษาอุตสาหกรรมและการรับจ้างวิจัย
ศึกษาและจัดทำคู่มือควบคุมการผลิตอาหารกระป๋อง สำรวจโรงงานผัก ผลไม้กระป๋องจำนวน 6โรงงาน และเปรียบเทียบข้อมูลการสำรวจโรงงานกับข้อมูลหลักการ Good Manufacturing Practices (GMP) การผลิตอาหารกระป๋องอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนำผลทุเรียนมาเคลือบผิวด้วยแฝก ร่วมกับการใช้สารกำจัดเชื้อราและโฮร์โมนพืช ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการใช้สารเคลือบผิว และการปฏิบัติหลักการเก็บเกี่ยวผลทุเรียนแก่ผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ
วิจัยเพื่อผลิตฉนวนความร้อนชนิด Ceramic Fiber ด้วย ARC-Plasma ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของ Ceramic Fiber และศึกษาแหล่งวัตถุดิบภายในประเทศ โครงการผลิตเยื่อกระดาษจากวัตถุดิบในประเทศแบบช่วยลดภาวะ ทำการผลิตเยื่อและฟอกเยื่อปอแก้วไทยและปอคิวบา วิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์หญ้าแฝก ขณะนี้กลั่นไปได้ 40% ของตัวอย่างทั้งหมด
พัฒนาเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานในอุตสาหกรรมอาหาร ทำ Spouted bedburmer จำลองศึกษาระบบควบคุมหม้อไอน้ำโดยใช้ PLC (Programable Logic Controller) และทดลองเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของระบบ Spouted bed burner พัฒนาเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานในเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และตู้แช่ อยู่ระหว่างการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าเป้าหมาย และศึกษาแนวทางการตรวจวัดประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าเป้าหมาย พัฒนาการใช้ประโยชน์ป่านศรนารายณ์ครบวงจร
1.2 สนับสนุนความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐกับเอกชนอย่างจริงจังโดยร่วมกันกำหนดทิศทาง ลำดับความสำคัญ และเป้าหมายให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว ได้ดำเนินการจัดสัมมนาเรื่องผลงานวิจัยและเทคโนโลยีจากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สู่ภาคธุรกิจ ฝึกอบรมเรื่องการแปรรูปผลผลิตการเกษตร การใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพในนาข้าว จัดนิทรรศการแสดงผลงานของหน่วยงานในสังกัด และได้ให้ทุนอุดหนุน โครงการประดิษฐ์กรรมเพื่อการพัฒนาชนบท 11 โครงการวางแผนการพัฒนาและนโยบายโดยให้บริการการปรึกษาอุตสาหกรรมในลักษณะต่าง ๆ ให้การสนับสนุนโครงการต่อเนื่อง จัดอบรมหลักสูตร "การวางแผนครบวงจร" จัด NSTDA Forum ครั้งที่ 2 ให้บริการลักษณะ On-Off-Line/CD-ROM Search และ Document Services จัดทำบทความ เอกสารเผยแพร่ 12 เรื่อง และจัดประชุมคณะอนุกรรมการฯ คณะทำงานฯ และสัมมนา 12 ครั้ง
1.3 เร่งรัดให้มีการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการผลิตอย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทในการผลิตและพัฒนาบุคลากรเพิ่มขึ้นโดยจัดสรรทุนการศึกษา การฝึกอบรม การวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น โครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุนิวเคลียร์ ความก้าวหน้าอยู่ในระดับการวิจัยและพัฒนาเบี้องต้น และการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการประกอบการวิจัยและพัฒนา เนื่องจากปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาธาตุหายาก ซึ่งเป็นโครงการแปรสภาพแร่โมนาไซด์ขนาดกึ่งอุตสาหกรรมเป็นโรงงานต้นแบบที่แยกออกจากโครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุนิวเคลียร์ที่ต้องอาศัยบุคลากรในการปฏิบัติงานกลุ่มเดียวกัน ประกอบกับโครงการก่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาธาตุหายากไม่มีบุคคลากรประจำ จึงจำเป็นต้องใช้บุคลากรจากโครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุนิวเคลียร์ดำเนินการเกือบทั้งหมด และโดยเหตุที่โครงการศูนย์วิจัยฯ เป็นการก่อสร้างโรงงานต้นแบบพร้อมเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับใช้แปรสภาพแร่โมนาโซด์ด้วยกระบวนการทางเคมี ที่ใช้เงินงบประมาณดำเนินการแล้วกว่า 180 ล้านบาท งานให้บริการฉายรังสีอาหารและผลิตผลการเกษตร จำนวน 6 แห่ง เป็นผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น 13 ชนิด ได้รับค่าธรรมเนียมการให้บริการ จำนวน 642,757.89 บาท สำรวจสภาวะแวดล้อมทางรังสีดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหารทะเล และศึกษาวิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์โบโลเนียม 210 และตะกั่ว -210 ด้วยวิธีเคมีรังสีในตัวอย่างอาหารทะเลได้ดำเนินการทดสอบการใช้งานของชุดวิเคราะห์รังสีแบบเคลื่อนที่โดยได้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งมีระยะทางไม่เกิน 100 กิโลเมตร ศึกษาวิจัยและสำรวจระดับรังสีในอาคารบ้านเรือนโดย Servey Meter และสำรวจระดับปริมาณเรคอน -222 ในอาคารบ้านเรือนโดยใช้ Carcoal Camister และ CR-39 เป็น Detecter ดำเนินการต่อเนื่องทุกช่วงระยะเวลา 3 เดือน
1.4 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนในการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ทดแทนการนำเข้า โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีหรือสิทธิพิเศษอื่น มีโครงการจัดตั้งอุทยานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและดำเนินการด้านอื่น ๆ เช่น ศึกษา จัดทำแผนธุรกิจของ Science Park ศึกษาการเชื่อมโยงระหว่าง Science Park และภาคเอกชนใน U.S.A. โดยได้รับความร่วมมือด้านการเงินจากองค์การยูเสด และมีการดำเนินงานตามแผนเพิ่มประสิทธิภาพการจัดหาและถ่ายเทคโนโลยีได้มีการจัดประชุมทางด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ได้ดำเนินงานแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทเอกชนไทยและสหพันธรัฐเยอรมัน
1.5 ขยายความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการโครงการความร่วมมือระหว่างไทย - สหรัฐอเมริกา ได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินในการดำเนินงานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Process Development of Cell Culture เรื่อง Biosensor Technology และเรื่อง Optical Fiber : Technology Application and Business Opportunity in Thailand โครงการความร่วมมือระหว่างไทย - สหพันธรัฐเยอรมัน ได้จัดสัมมนาเรื่อง Technology Transfer and Strategic Alliance โครงการความร่วมมือระหว่างไทย - เบลเยี่ยม จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ จัดส่งให้สถานทูตเบลเยี่ยม และกรมวิเทศสหการเกี่ยวกับโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
2. นโยบายเศรษฐกิจ
2.1 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ติตตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศและระดับเสียงในชุมชน ประกาศมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารและประกาศประเภทอาคารที่จะต้องถูกควบคุมการระบายน้ำทิ้งลงในราชกิจจานุเบกษา ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดภูเก็ต กำลังพิจารณาจัดซื้อที่ดิน สำหรับการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่เร่งด่วน (หาดกะรน หาดราไวย์ หาดกมลา) และดำเนินการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางน้ำ มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำภาคกลาง และก่อสร้างสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง แห่งละ 1 สถานี ฝึกอบรมการใช้สารพิษอย่างถูกต้องและปลอดภัยป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากสารอันตราย ได้จัดทำแผนป้องกันอุบัติภัยบริเวณท่าเรือกรุงเทพฯจัดทำแผนปฏิบัติเพื่อลดอุบัติภัยจากเคมีภัณฑ์ในโกดังสินค้า และจัดทำมาตรการด้านความปลอดภัย จัดทำแผนป้องกันอุบัติภัยจากสารอันตรายจากแหล่งกำเนิด และจัดทำแนวทางควบคุมสารอันตรายจากโรงงาน ผลิตสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ติดตามตรวจสอบสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม และจัดทำระบบเครือข่ายข้อมูลสารอันตราย จัดทำ "ข่าวสารอันตราย"
โครงการศูนย์สมุทรศาสตร์และทรัพยากรทะเลแห่งชาติ บำรุงรักษาทุ่นสำรวจสมุทรศาสตร์ ปรับปรุงระบบ THAINET V.2.0 และ V.2.1 ประสานงานติดตั้งระบบ THAINET ให้ข้อมูลทุ่นในรูปตัวเลขรายชั่วโมง เป็นข้อมูลเกี่ยวกับคลื่น, กระแสน้ำ, อุณหภูมิ. พารามิเตอร์ โครงการ EC-ASEAN Radar Remote Sensing ERS-1 Project พัฒนาด้านอุทกวิทยาเพื่อความสอดคล้องกับแผนพัฒนาทรัพยากรน้ำของชาติ จัดทำทะเบียนปกติและแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาในประเทศไทย และกิจกรรมใช้ดาวเทียมด้านความมั่นคงแห่งชาติ นำข้อมูลดาวเทียมรายละเอียดสูงจากดาวเทียม SPOT และดาวเทียม LANDSAT บริเวณชายแดนภาคเหนือ และภาคตะวันตกเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนและชายแดนบริเวณติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก และน่าน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเคลื่อนย้ายของหมู่บ้านชาวเขา และการขยายตัวของพื้นที่ปลูกพืชเสพติด รวบรวมข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้บริการข้อมูลด้านความมั่นคงแห่งชาติ การจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเล ดำเนินการมาตรการเร่งด่วนการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลด้านป่าชายเลนและปะการัง จัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลภูเก็ตบริเวณหาดป่าตอง กะตะ และกะรน ดำเนินการติดตั้งทุ่นผูกเรือเพื่อป้องกันแนวปะการังบริเวณพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาระบบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ปี 2537 จัดจ้างทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ 5 จังหวัด คือ พิจิตร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ฉะเชิงเทรา และกระบี่ พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการ และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (MIS) ได้จัดจ้างการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดมาตรฐานการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูลลุ่มน้ำโดยใช้พื้นที่ลุ่มน้ำพองเป็นกรณีศึกษา และทำแผนหลักของการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.2 ด้านพลังงาน ติดตามตรวจสอบผลกระทบเรื่องมลพิษทางอากาศอันเนื่องมาจากโรงไฟฟ้าและเหมืองถ่านหินลิกไนต์ แม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้ตรวจวัดคุณภาพอากาศ ติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ และพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อคาดการณ์การแพร่กระจายของมลพิษในพื้นที่แม่เมาะ ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ขยายเครือข่ายระบบติดตาม ปรับปรุงสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 16 แห่ง จัดซื้อและติดตั้งสถานีฯ ใหม่ 10 แห่ง และติดตั้งศูนย์ควบคุมและประมวลผลข้อมูลฯ ที่กรุงเทพฯ และภูมิภาค 4 แห่ง ติดตามตรวจสอบสภาพอากาศและเสียงอย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบประเมินและคาดการณ์มลพิษภาวะทางอากาศ และระบบฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ และกำหนดมาตรฐานโดยปรัปปรุงและศึกษายกร่างมาตรฐานมลพิษทางอากาศจากอุตสาห-กรรมที่ต้องการควบคุมการระบายสารมลพิษสำรวจรูปแบบของเตาอิฐ และศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเตาประชุมเชิงปฏิบัติการแผนปฏิบัติการการวิจัยและพัฒนาพลังงานสาขาแปรรูปชีวมวลเพื่อพลังงานโดยกระบวนการความร้อน ให้บริการตรวจวิเคราะห์และแนะนำการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาคารธุรกิจ อาคารหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยการดำเนินการเองและว่าจ้างไปแล้วรวม 460 แห่ง ให้บริการตรวจสอบเครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานที่ยื่นขอลดอัตราอากรศุลกากร 12 แห่ง ฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ของโรงงาน และรณรงค์เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ สร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพลตั้งแต่ปี 2532 จนถึง 30 กันยายน 2537 มีผลการก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 40 ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำผ่านกำแพงเพชร กำหนดระยะเวลาการก่อสร้าง 7 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2537 ถึงปี 2543 สำหรับปีงบประมาณ 2537 จนถึง30 กันยายน 2537 ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทเอกชนดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537 กำหนดแล้วเสร็จ 15 กันยายน 2538 พัฒนาไฟฟ้าพลังงานระดับหมู่บ้านในปีงบประมาณ 2537 ได้ทำการก่อสรต้างจำนวน 3 โครงการ มีโครงการไฟฟ้าพลังน้ำห้วยทราย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 68 โครงการไฟฟ้าพลังน้ำห้วยแม่ซ้าย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างแล้วประมาณร้อยละ 65 โครงการไฟฟ้าพลังน้ำห้วยน้ำปุ่น (2) อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย การก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 68 โครงการติดตั้งสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับชนบท ได้จัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับชนบทแล้วเสร็จใน 5 หมู่บ้าน ปรับปรุงและขยายงานมาตรวิทยาทางวิทยาศาสตร์ โดยศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีการวัดให้สอดคล้องกับเกณฑ์กำหนดตามมาตรฐานสากลด้านวิทยาทางวิทยาศาสตร์ ผลสำเร็จร้อยละ 60 จัดหา เก็บรักษาเครื่องมือมาตรวิทยามาตรฐานขั้นปฐม ผลสำเร็จร้อยละ 50 จัดสร้างห้องปฏิบัติการมาตรวิทยาพิเศษหรือเฉพาะกิจผลสำเร็จร้อยละ 45 และศึกษาและถ่ายทอดระบบความถูกต้องในระดับต่าง ๆ สำหรับดำเนินงานด้านมาตรวิทยาฯ ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ กำหนดมาตรฐานสากลด้านมาตรวิทยาทางวิทยาศาสตร์ ผลสำเร็จร้อยละ 60
2.3 ด้านการเกษตร จัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 220 สถานี ก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีตสายซอย พร้อมอาคารชลประทาน จำนวน 150 สถานี สำรวจทำแผนที่และออกแบบสถานีสูบน้ำ จำนวน 225 สถานี โครงการฝ่ายลำชี ได้ออกแบบรายละเอียดทดแทนที่ดินบริเวณหัวงานก่อสร้างร้อยละ 70 ก่อสร้างโครงการหัวงานและส่วนประกอบเสร็จประมาณร้อยละ 10 ประชุมและสัมมนาวิชาการเรื่องสับปะรด ข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 1 : ก้าวใหม่ของข้าวไทย ไม้ผลแห่งชาติ ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ ไม้สัก ภาคเอกชน เกษตรกรปลอดสารพิษ และโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องขนาดเล็กสำหรับกลุ่มเกษตรกรสวนปาล์มรายย่อยของประเทศไทย พัฒนาผลิตภัณฑ์จากหญ้าหวาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538--