คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้องค์การเภสัชกรรมเพิ่มงบลงทุนในโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ เพื่อให้ได้มาตรฐานการผลิตที่ดีขององค์การอนามัยโลก (WHO-GMP) จากเดิมที่เคยได้รับอนุมัติไว้จำนวน 525 ล้านบาท (ไม่รวม VAT) เป็น 950 ล้านบาท (รวม VAT) โดยใช้รายได้ขององค์การเภสัชกรรมระยะเวลาดำเนินโครงการ 480 วัน และพิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2.1 (ฝ่ายการศึกษาและการสาธารณสุข) ซึ่งมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธาน ดังนี้
1. รัฐมีเป้าหมายให้การรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้ได้มาก ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงควรตั้งเป้าหมายให้บริการรักษาพยาบาลในปริมาณผู้ป่วยที่มีอยู่ให้มากขึ้นในจำนวนที่เหมาะสม และหาแนวทางให้ผลิตยาที่มีคุณภาพในต้นทุนต่ำเพื่อให้สามารถรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น
2. ในระหว่างการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ขององค์การเภสัชกรรมตามที่มีสิทธิบัตรเหลืออีก 6 ปี จำนวน 800 ล้านเม็ด นอกจากจะต้องใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพจากต่างประเทศแล้ว องค์การเภสัชกรรมควรแสวงหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพที่มีราคาต่ำกว่าโดยเฉพาะจากวัตถุดิบภายในประเทศด้วย
3. จากเหตุผลขององค์การเภสัชกรรมที่ชี้แจงว่าเนื่องจากองค์การเภสัชกรรมมีแผนย้ายโรงงานผลิตยาปัจจุบันที่ตั้งที่ถนนพระราม 6 อยู่แล้ว เพราะมีความไม่เหมาะสมในสถานที่ตั้งของโรงงานอยู่ในเขตเมืองและมีอัตราค่าเช่าสูงมาก ที่ประชุมจึงเห็นควรให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขได้ แต่องค์การเภสัชกรรมควรมีแผนการบริหารความเสี่ยงโดยกระจายความเสี่ยงให้เอกชนที่มีโรงงานที่มีมาตรฐานสูงรับผลิตยาและรองรับกรณีที่อาจไม่ได้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์อีกต่อไป ว่าจะปรับเปลี่ยนไปผลิตยาประเภทใดแทนซึ่งจะคุ้มค่ากับการลงทุนและตอบสนองต่อความต้องการรักษาพยาบาลของประชาชนได้อย่างแท้จริง
4. กระทรวงสาธารณสุขควรติดตามและพิจารณาตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการฯ ในฐานะเป็นผู้ซื้อ และควรศึกษาผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตยา และการใช้ยาเพื่อรักษาพยาบาล ซึ่งรัฐต้องซื้อจากองค์การเภสัชกรรมตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่า มีผลต่อราคายาแพงขึ้น หรือทำให้ผู้ผลิตต่างประเทศมีความสนใจ มาลงทุนผลิตยาในประเทศน้อยลงหรือไม่อย่างใด และให้กระทรวงสาธารณสุขรายงานผลเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
5. ควรมอบให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติศึกษาผลกระทบจากการผูกขาดการผลิตและซื้อขายยา รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปรับปรุงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็วด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--
1. รัฐมีเป้าหมายให้การรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้ได้มาก ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงควรตั้งเป้าหมายให้บริการรักษาพยาบาลในปริมาณผู้ป่วยที่มีอยู่ให้มากขึ้นในจำนวนที่เหมาะสม และหาแนวทางให้ผลิตยาที่มีคุณภาพในต้นทุนต่ำเพื่อให้สามารถรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น
2. ในระหว่างการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ขององค์การเภสัชกรรมตามที่มีสิทธิบัตรเหลืออีก 6 ปี จำนวน 800 ล้านเม็ด นอกจากจะต้องใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพจากต่างประเทศแล้ว องค์การเภสัชกรรมควรแสวงหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพที่มีราคาต่ำกว่าโดยเฉพาะจากวัตถุดิบภายในประเทศด้วย
3. จากเหตุผลขององค์การเภสัชกรรมที่ชี้แจงว่าเนื่องจากองค์การเภสัชกรรมมีแผนย้ายโรงงานผลิตยาปัจจุบันที่ตั้งที่ถนนพระราม 6 อยู่แล้ว เพราะมีความไม่เหมาะสมในสถานที่ตั้งของโรงงานอยู่ในเขตเมืองและมีอัตราค่าเช่าสูงมาก ที่ประชุมจึงเห็นควรให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขได้ แต่องค์การเภสัชกรรมควรมีแผนการบริหารความเสี่ยงโดยกระจายความเสี่ยงให้เอกชนที่มีโรงงานที่มีมาตรฐานสูงรับผลิตยาและรองรับกรณีที่อาจไม่ได้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์อีกต่อไป ว่าจะปรับเปลี่ยนไปผลิตยาประเภทใดแทนซึ่งจะคุ้มค่ากับการลงทุนและตอบสนองต่อความต้องการรักษาพยาบาลของประชาชนได้อย่างแท้จริง
4. กระทรวงสาธารณสุขควรติดตามและพิจารณาตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการฯ ในฐานะเป็นผู้ซื้อ และควรศึกษาผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตยา และการใช้ยาเพื่อรักษาพยาบาล ซึ่งรัฐต้องซื้อจากองค์การเภสัชกรรมตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่า มีผลต่อราคายาแพงขึ้น หรือทำให้ผู้ผลิตต่างประเทศมีความสนใจ มาลงทุนผลิตยาในประเทศน้อยลงหรือไม่อย่างใด และให้กระทรวงสาธารณสุขรายงานผลเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
5. ควรมอบให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติศึกษาผลกระทบจากการผูกขาดการผลิตและซื้อขายยา รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปรับปรุงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็วด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--