เรื่อง สรุปผลความคืบหน้าความร่วมมือด้านพลังงานในโอกาสการเดินทางเยือนราชอาณาจักรฮัชไมต์-
จอร์แดนและรัฐสุลต่านโอมานของนายกรัฐมนตรี และการเยือนสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านของ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพลังงานรายงานสรุปผลความคืบหน้าความร่วมมือด้านพลังงาน ในโอกาสการเดินทางเยือนราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนและรัฐสุลต่านโอมานของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 24 - 28 เมษายน 2548 และการเยือนสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระหว่างวันที่ 29 - 30 เมษายน 2548 ดังนี้
1. การเยือนจอร์แดน
ได้มีการพบหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับ Eng. Azmi Al-Said Khreisat รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศจอร์แดน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของจอร์แดนได้แจ้งให้ทราบว่า ภายในกลางเดือนพฤษภาคมนี้ จะเปิดสัมปทานปิโตรเลียมบนบก รวม 7 แปลงสัมปทาน เชิญบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทย (ปตท.สผ.) เข้าร่วมประมูล หาก ปตท.สผ. สนใจ กระทรวงพลังงานของจอร์แดนพร้อมที่จะให้สัมปทาน โดยเฉพาะแหล่ง Harns ที่อยู่ติดกับประเทศซาอุดิอาราเบีย
นอกจากนี้ประเทศจอร์แดนยังมีปริมาณสำรองหินน้ำมัน (Oilshale) สูงถึง 40,000 ล้านตัน หากฝ่ายไทยสนใจยินดีให้สัมปทานทันที กระทรวงพลังงานของจอร์แดนได้มอบข้อมูลเบื้องต้นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเชิญ ปตท.สผ. ไปจอร์แดนเพื่อศึกษาข้อมูลในรายละเอียดต่อไปในปลายเดือนนี้
2. การลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ (Gas Sale Agreement) จากแหล่งชามส์ (Shams) แปลงบนบกหมายเลข 44 ระหว่าง ปตท.สผ. กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันและก๊าซของโอมาน
ปตท.สผ.ได้รับสัมปทานแปลง 44 เมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้สำรวจพบก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลวแหล่งชามส์ในเชิงพาณิชย์ และลงนามขายก๊าซธรรมชาติในอัตราวันละ 50 ล้านลูกบาศก์ฟุตให้กับกระทรวงน้ำมันและก๊าซของโอมาน เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 โดยมีกำหนดส่งก๊าซฯ ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 นอกจากนี้ยังสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้อีกวันละ 5,000 บาเรล นับเป็นการผลิตปิโตรเลียมของไทยแหล่งแรกในภูมิภาคตะวันออกกลาง
โอมานเป็นเส้นทางลำเลียงน้ำมันที่สำคัญของภูมิภาคตะวันออกกลาง ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากโอมานมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศสหรัฐอาหรับอามิเรตส์ ประมาณวันละ 118,000 บาเรล คิดแป็นมูลค่าปีละ 63,034 ล้านบาท คิดเป็น 17% ของการใช้น้ำมันของประเทศ ความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างไทยกับโอมาน จะช่วยขยายฐานการลงทุนสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมของบริษัท ปตท. และ ปตท.สผ. สู่ภูมิภาคตะวันออกกลางต่อไป นอกจากนี้บริษัท Oman Oil Company ของโอมานได้ลงทุน บริษัท ไทยโอลิฟินส์ โดยถือหุ้นร้อยละ 3 และบริษัทยังสนใจลงทุนในธุรกิจโรงกลั่นและโครงการศูนย์กลางพลังงานของไทย ส่วน ปตท.สผ. สนใจที่จะร่วมทุนกับโอมานในประเทศอื่น เช่น แอลจีเรีย และลิเบีย เป็นต้น
3. การลงนามสัมปทานปิโตรเลียมแปลงบนบก หมายเลข 14 Saveh
ต้นปี พ.ศ. 2547 ปตท.สผ. ได้เข้าร่วมประมูลสัมปทานปิโตรเลียม 2 แปลงปลายหมายเลข 4 (Khoramalead) และแปลงหมายเลข 14 (Saveh) บริษัท น้ำมันแห่งชาติของอิหร่าน (National Iranian Oil Company, NIOC) เห็นชอบให้ ปตท.สผ. เป็นผู้รับสัมปทานแปลงหมายเลข 14 (Saveh) โดยได้จัดพิธีลงนามเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2548
อิหร่านเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบเป็นอันดับสองของโลก (130,000 ล้านบาเรล) รองจากซาอุดิ-อาราเบีย และมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับสองของโลก (942 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต) รองจากรัสเซีย แหล่งปิโตรเลียมในประเทศอิหร่านยังมีการสำรวจพัฒนาในระดับต่ำ เป็นโอกาสอันดีของบริษัท ปตท.สผ. ที่จะเข้าไปสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียม นอกจากนี้ยังเป็นประตูที่จะก้าวสู่ประเทศกลุ่มเครือรัฐเอกราช เช่น คาซัคสถาน อูเบกิสถาน และเทิคมินิสถาน เป็นต้น
นอกจากนี้ อิหร่านได้เชิญชวน ปตท. เข้าร่วมโครงการพัฒนาแหล่งก๊าซ Pass ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อทำ Liquefied Natural Gas (LNG) นำมาใช้ในประเทศไทยหลังปี พ.ศ. 2554 ขณะนี้ ปตท.อยู่ในระหว่างศึกษารายละเอียดโครงการดังกล่าวอยู่ ส่วนการพัฒนารถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas Vehicles (NGV) และการผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งอิหร่านมีความสนใจที่จะร่วมกับไทย ในการผลิตรถยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ NGV โดยมีไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคต่อไป
4. กระทรวงพลังงานได้มุ่งเน้นการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบสองในสามของปริมาณสำรองน้ำมันดิบของโลก เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานลดผลกระทบจากปัจจัยราคาที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งชดเชยการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ ควบคู่ไปกับการเร่งพัฒนาพลังงานทางเลือก เช่น การใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ (NGV), Gasohol และ Biodiesel รวมทั้งมาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อลดผลกระทบจากการขาดดุลการค้าในการนำเข้าน้ำมันดิบ และให้ประเทศมีพลังงานใช้อย่างยั่งยืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
จอร์แดนและรัฐสุลต่านโอมานของนายกรัฐมนตรี และการเยือนสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านของ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพลังงานรายงานสรุปผลความคืบหน้าความร่วมมือด้านพลังงาน ในโอกาสการเดินทางเยือนราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนและรัฐสุลต่านโอมานของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 24 - 28 เมษายน 2548 และการเยือนสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระหว่างวันที่ 29 - 30 เมษายน 2548 ดังนี้
1. การเยือนจอร์แดน
ได้มีการพบหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับ Eng. Azmi Al-Said Khreisat รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศจอร์แดน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของจอร์แดนได้แจ้งให้ทราบว่า ภายในกลางเดือนพฤษภาคมนี้ จะเปิดสัมปทานปิโตรเลียมบนบก รวม 7 แปลงสัมปทาน เชิญบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทย (ปตท.สผ.) เข้าร่วมประมูล หาก ปตท.สผ. สนใจ กระทรวงพลังงานของจอร์แดนพร้อมที่จะให้สัมปทาน โดยเฉพาะแหล่ง Harns ที่อยู่ติดกับประเทศซาอุดิอาราเบีย
นอกจากนี้ประเทศจอร์แดนยังมีปริมาณสำรองหินน้ำมัน (Oilshale) สูงถึง 40,000 ล้านตัน หากฝ่ายไทยสนใจยินดีให้สัมปทานทันที กระทรวงพลังงานของจอร์แดนได้มอบข้อมูลเบื้องต้นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเชิญ ปตท.สผ. ไปจอร์แดนเพื่อศึกษาข้อมูลในรายละเอียดต่อไปในปลายเดือนนี้
2. การลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ (Gas Sale Agreement) จากแหล่งชามส์ (Shams) แปลงบนบกหมายเลข 44 ระหว่าง ปตท.สผ. กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันและก๊าซของโอมาน
ปตท.สผ.ได้รับสัมปทานแปลง 44 เมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้สำรวจพบก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลวแหล่งชามส์ในเชิงพาณิชย์ และลงนามขายก๊าซธรรมชาติในอัตราวันละ 50 ล้านลูกบาศก์ฟุตให้กับกระทรวงน้ำมันและก๊าซของโอมาน เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 โดยมีกำหนดส่งก๊าซฯ ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 นอกจากนี้ยังสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้อีกวันละ 5,000 บาเรล นับเป็นการผลิตปิโตรเลียมของไทยแหล่งแรกในภูมิภาคตะวันออกกลาง
โอมานเป็นเส้นทางลำเลียงน้ำมันที่สำคัญของภูมิภาคตะวันออกกลาง ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากโอมานมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศสหรัฐอาหรับอามิเรตส์ ประมาณวันละ 118,000 บาเรล คิดแป็นมูลค่าปีละ 63,034 ล้านบาท คิดเป็น 17% ของการใช้น้ำมันของประเทศ ความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างไทยกับโอมาน จะช่วยขยายฐานการลงทุนสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมของบริษัท ปตท. และ ปตท.สผ. สู่ภูมิภาคตะวันออกกลางต่อไป นอกจากนี้บริษัท Oman Oil Company ของโอมานได้ลงทุน บริษัท ไทยโอลิฟินส์ โดยถือหุ้นร้อยละ 3 และบริษัทยังสนใจลงทุนในธุรกิจโรงกลั่นและโครงการศูนย์กลางพลังงานของไทย ส่วน ปตท.สผ. สนใจที่จะร่วมทุนกับโอมานในประเทศอื่น เช่น แอลจีเรีย และลิเบีย เป็นต้น
3. การลงนามสัมปทานปิโตรเลียมแปลงบนบก หมายเลข 14 Saveh
ต้นปี พ.ศ. 2547 ปตท.สผ. ได้เข้าร่วมประมูลสัมปทานปิโตรเลียม 2 แปลงปลายหมายเลข 4 (Khoramalead) และแปลงหมายเลข 14 (Saveh) บริษัท น้ำมันแห่งชาติของอิหร่าน (National Iranian Oil Company, NIOC) เห็นชอบให้ ปตท.สผ. เป็นผู้รับสัมปทานแปลงหมายเลข 14 (Saveh) โดยได้จัดพิธีลงนามเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2548
อิหร่านเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบเป็นอันดับสองของโลก (130,000 ล้านบาเรล) รองจากซาอุดิ-อาราเบีย และมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับสองของโลก (942 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต) รองจากรัสเซีย แหล่งปิโตรเลียมในประเทศอิหร่านยังมีการสำรวจพัฒนาในระดับต่ำ เป็นโอกาสอันดีของบริษัท ปตท.สผ. ที่จะเข้าไปสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียม นอกจากนี้ยังเป็นประตูที่จะก้าวสู่ประเทศกลุ่มเครือรัฐเอกราช เช่น คาซัคสถาน อูเบกิสถาน และเทิคมินิสถาน เป็นต้น
นอกจากนี้ อิหร่านได้เชิญชวน ปตท. เข้าร่วมโครงการพัฒนาแหล่งก๊าซ Pass ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อทำ Liquefied Natural Gas (LNG) นำมาใช้ในประเทศไทยหลังปี พ.ศ. 2554 ขณะนี้ ปตท.อยู่ในระหว่างศึกษารายละเอียดโครงการดังกล่าวอยู่ ส่วนการพัฒนารถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas Vehicles (NGV) และการผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งอิหร่านมีความสนใจที่จะร่วมกับไทย ในการผลิตรถยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ NGV โดยมีไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคต่อไป
4. กระทรวงพลังงานได้มุ่งเน้นการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบสองในสามของปริมาณสำรองน้ำมันดิบของโลก เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานลดผลกระทบจากปัจจัยราคาที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งชดเชยการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ ควบคู่ไปกับการเร่งพัฒนาพลังงานทางเลือก เช่น การใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ (NGV), Gasohol และ Biodiesel รวมทั้งมาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อลดผลกระทบจากการขาดดุลการค้าในการนำเข้าน้ำมันดิบ และให้ประเทศมีพลังงานใช้อย่างยั่งยืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--