ทำเนียบรัฐบาล--5 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการโครงการความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรและระบบบริการสาธารณสุขของรัฐในภาคใต้ ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับกระทรวงสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2538 - 2547 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานีอนามัยในภาคใต้ ให้มีความรู้ความสามารถ และเจตคติในการปฏิบัติงาน โดยจัดการเรียนการสอนที่ทำให้บุคลากรเหล่านี้เข้าสู่คุณวุฒิในระดับปริญญาตรี เพื่อพัฒนาสถานบริการระดับท้องถิ่น ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัยให้มีคุณภาพที่เหมาะสมตามข้อกำหนดของทศวรรษพัฒนาสถานีอนามัย โดยจัดให้สถานบริการเหล่านี้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเรียนการสอนในหลักสูตรและเพื่อขยายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับกระทรวงสาธารณสุขในการแก้ปัญหาสาธารณสุขของภาคใต้ โดยจัดรูปแบบการศึกษาและการดำเนินงาน ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนส่วนหนึ่ง (ประมาณหนึ่งในสาม) จะอยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และอีกสองในสามของเวลาเรียนจะอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงานของผู้เรียน โดยใช้โรงพยาบาลชุมชนและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเป็นฐานของการเรียนการสอน ภายใต้การนิเทศติดตามของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. การดำเนินงานประกอบด้วยการพัฒนาหลักสูตร ผู้สอนสื่อการเรียนการสอนซึ่งใช้ในพื้นที่ของจังหวัดที่เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน การติดตาม นิเทศ และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักสูตรเพื่อปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ประกอบด้วย 4 ภาคการศึกษา (2 ปี) เป็นการจัดการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและกระทรวงสาธารณสุข ภาคการศึกษาแรกของทั้งปีแรกและปีที่สอง การเรียนการสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่วนในภาคการศึกษาที่สอง การเรียนการสอนใช้โรงพยาบาลชุมชนตามจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้เป็นฐานและมีนักวิชาการสาธารณสุขทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ที่ผ่านการอบรมจากโครงการแล้วเป็นผู้สอนสื่อการเรียนการสอนจะพัฒนาโดยความร่วมมือของอาจารย์ และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยกับนักวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข โดยโครงการความร่วมมือในการผลิตสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นผู้ผลิตสื่อการสอนมีเป้าหมายของโครงการ ดังนี้
1. ปีแรกของโครงการจะมีโรงพยาบาลที่พร้อม จำนวน 6 แห่ง เพิ่มเป็น 12 แห่ง ในปีที่ 3 และ 24 แห่งในปีที่ 6 และเพิ่มอัตราเดียวกันจนถึงปีที่ 10
2. จำนวนนักศึกษาในแต่ละปี ขึ้นกับโรงพยาบาลชุมชนในภาคใต้ที่สามารถใช้เป็นฐานของการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 2 คือ จำนวนนักศึกษา 5 - 6 คน ต่อโรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง ทำให้รับนักศึกษาได้ปีละ 30 คน ในสองปีแรก ปีละ 60 คน ในปีที่ 3 - 5 และปีละ 120 คน ตั้งแต่ปีที่ 6 ของโครงการ ทำใ้ห้คาดว่าจะมีบัณฑิตที่จบการศึกษาเมื่อสิ้นระยะ 10 ปีแรกของโครงการ จำนวน 720 คน หลังจากนั้นจะผลิตได้ปีละ 120 คน
3. สถานีอนามัยที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการนี้ จะเป็นไปตามจำนวนเจ้าหน้าที่ที่เข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวม 14 จังหวัด โรงพยาบาลชุมชนที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 24 โรงพยาบาล และสถานีอนามัยที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องประมาณ 600 สถานีอนามัย
ในด้านงบประมาณ ให้วงเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายในระหว่างปี 2538 - 2547 ไม่เกิน 55,378,500 บาท ประกอบด้วยงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข 31,610,700 บาท และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์23,767,800 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2538 ให้กระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พิจารณาเจียดจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปก่อน ส่วนงบประมาณรายจ่ายในปีต่อ ๆ ไป สำนักงบประมาณจะพิจารณาตั้งงบประมาณรายจ่ายตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป
นอกจากนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการ ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับกระทรวงสาธารณสุข จำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุขกว่า 30 แห่ง ตลอดจนเจ้าหน้าที่และนักวิชาการเข้าร่วมดำเนินการประมาณปีละ 100 - 200 คน ในทางปฏิบัติอาจเกิดปัญหาทำให้สถานบริการขาดอัตรากำลังที่จะดำเนินงานตามภารกิจปกติได้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับกระทรวงสาธารณสุขจึงควรจัดระบบบริหารจัดการด้านการหมุนเวียนบุคลากรที่จะช่วยสนับสนุนให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ในขณะที่สถานบริการยังคงมีศักยภาพต่อการให้บริการแก่ประชาชนอย่างเพียงพอ
2. งบประมาณรายจ่ายทั้งหมดที่กำหนดไว้ ระยะเวลา 10 ปีนั้น ประมาณร้อยละ 38 เป็นงบครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง ร้อยละ 7.7 เป็นค่าจัดอบรมครู (นักวิชาการ) ในท้องถิ่น และร้อยละ 54.3 เป็นงบดำเนินการ จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซึ่งได้แก่ค่าตอบแทนอาจารย์ผู้สอน เงินเดือนและค่าจ้าง เป็นสัดส่วนที่สูงมาก ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการในการพัฒนาบุคลากรและสถานบริการระดับท้องถิ่น จึงควรเพิ่มความสำคัญกับกิจกรรมจัดฝึกอบรมและพัฒนานักวิชาการในท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น
3. ควรให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกระทรวงสาธารณสุขติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรและสถานบริการสอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
4. กระทรวงสาธารณสุข ควรพิจารณาให้โอกาสในความก้าวหน้าทางการงานแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย ควบคู่ไปกับการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาการ เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่มีขวัญและกำลังใจ ทุ่มเทปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 เมษายน 2538--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการโครงการความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรและระบบบริการสาธารณสุขของรัฐในภาคใต้ ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับกระทรวงสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2538 - 2547 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานีอนามัยในภาคใต้ ให้มีความรู้ความสามารถ และเจตคติในการปฏิบัติงาน โดยจัดการเรียนการสอนที่ทำให้บุคลากรเหล่านี้เข้าสู่คุณวุฒิในระดับปริญญาตรี เพื่อพัฒนาสถานบริการระดับท้องถิ่น ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัยให้มีคุณภาพที่เหมาะสมตามข้อกำหนดของทศวรรษพัฒนาสถานีอนามัย โดยจัดให้สถานบริการเหล่านี้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเรียนการสอนในหลักสูตรและเพื่อขยายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับกระทรวงสาธารณสุขในการแก้ปัญหาสาธารณสุขของภาคใต้ โดยจัดรูปแบบการศึกษาและการดำเนินงาน ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนส่วนหนึ่ง (ประมาณหนึ่งในสาม) จะอยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และอีกสองในสามของเวลาเรียนจะอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงานของผู้เรียน โดยใช้โรงพยาบาลชุมชนและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเป็นฐานของการเรียนการสอน ภายใต้การนิเทศติดตามของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. การดำเนินงานประกอบด้วยการพัฒนาหลักสูตร ผู้สอนสื่อการเรียนการสอนซึ่งใช้ในพื้นที่ของจังหวัดที่เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน การติดตาม นิเทศ และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักสูตรเพื่อปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ประกอบด้วย 4 ภาคการศึกษา (2 ปี) เป็นการจัดการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและกระทรวงสาธารณสุข ภาคการศึกษาแรกของทั้งปีแรกและปีที่สอง การเรียนการสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่วนในภาคการศึกษาที่สอง การเรียนการสอนใช้โรงพยาบาลชุมชนตามจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้เป็นฐานและมีนักวิชาการสาธารณสุขทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ที่ผ่านการอบรมจากโครงการแล้วเป็นผู้สอนสื่อการเรียนการสอนจะพัฒนาโดยความร่วมมือของอาจารย์ และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยกับนักวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข โดยโครงการความร่วมมือในการผลิตสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นผู้ผลิตสื่อการสอนมีเป้าหมายของโครงการ ดังนี้
1. ปีแรกของโครงการจะมีโรงพยาบาลที่พร้อม จำนวน 6 แห่ง เพิ่มเป็น 12 แห่ง ในปีที่ 3 และ 24 แห่งในปีที่ 6 และเพิ่มอัตราเดียวกันจนถึงปีที่ 10
2. จำนวนนักศึกษาในแต่ละปี ขึ้นกับโรงพยาบาลชุมชนในภาคใต้ที่สามารถใช้เป็นฐานของการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 2 คือ จำนวนนักศึกษา 5 - 6 คน ต่อโรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง ทำให้รับนักศึกษาได้ปีละ 30 คน ในสองปีแรก ปีละ 60 คน ในปีที่ 3 - 5 และปีละ 120 คน ตั้งแต่ปีที่ 6 ของโครงการ ทำใ้ห้คาดว่าจะมีบัณฑิตที่จบการศึกษาเมื่อสิ้นระยะ 10 ปีแรกของโครงการ จำนวน 720 คน หลังจากนั้นจะผลิตได้ปีละ 120 คน
3. สถานีอนามัยที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการนี้ จะเป็นไปตามจำนวนเจ้าหน้าที่ที่เข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวม 14 จังหวัด โรงพยาบาลชุมชนที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 24 โรงพยาบาล และสถานีอนามัยที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องประมาณ 600 สถานีอนามัย
ในด้านงบประมาณ ให้วงเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายในระหว่างปี 2538 - 2547 ไม่เกิน 55,378,500 บาท ประกอบด้วยงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข 31,610,700 บาท และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์23,767,800 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2538 ให้กระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พิจารณาเจียดจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปก่อน ส่วนงบประมาณรายจ่ายในปีต่อ ๆ ไป สำนักงบประมาณจะพิจารณาตั้งงบประมาณรายจ่ายตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป
นอกจากนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการ ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับกระทรวงสาธารณสุข จำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุขกว่า 30 แห่ง ตลอดจนเจ้าหน้าที่และนักวิชาการเข้าร่วมดำเนินการประมาณปีละ 100 - 200 คน ในทางปฏิบัติอาจเกิดปัญหาทำให้สถานบริการขาดอัตรากำลังที่จะดำเนินงานตามภารกิจปกติได้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับกระทรวงสาธารณสุขจึงควรจัดระบบบริหารจัดการด้านการหมุนเวียนบุคลากรที่จะช่วยสนับสนุนให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ในขณะที่สถานบริการยังคงมีศักยภาพต่อการให้บริการแก่ประชาชนอย่างเพียงพอ
2. งบประมาณรายจ่ายทั้งหมดที่กำหนดไว้ ระยะเวลา 10 ปีนั้น ประมาณร้อยละ 38 เป็นงบครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง ร้อยละ 7.7 เป็นค่าจัดอบรมครู (นักวิชาการ) ในท้องถิ่น และร้อยละ 54.3 เป็นงบดำเนินการ จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซึ่งได้แก่ค่าตอบแทนอาจารย์ผู้สอน เงินเดือนและค่าจ้าง เป็นสัดส่วนที่สูงมาก ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการในการพัฒนาบุคลากรและสถานบริการระดับท้องถิ่น จึงควรเพิ่มความสำคัญกับกิจกรรมจัดฝึกอบรมและพัฒนานักวิชาการในท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น
3. ควรให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกระทรวงสาธารณสุขติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรและสถานบริการสอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
4. กระทรวงสาธารณสุข ควรพิจารณาให้โอกาสในความก้าวหน้าทางการงานแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย ควบคู่ไปกับการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาการ เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่มีขวัญและกำลังใจ ทุ่มเทปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 เมษายน 2538--