ทำเนียบรัฐบาล--3 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการวิจัยเรื่อง "ออมบุดส์แมน : การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งผู้ตรวจราชการแผนดินของรัฐบาลในประเทศไทย" ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมได้อนุมัติทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทเร่งด่วนประจำปี 2533แก่นายพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อดำเนินการวิจัยเรื่องดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1.สถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นกลไกทางการเมืองที่ใช้กับการร้องทุกข์ของประชาชนมีลักษณะเป็นเจ้าหน้าที่อิสระของรัฐสภาทำหน้าที่ดูแลการประพฤติมิชอบในการบริหารงานแผ่นดินรับเรื่องราวร้องทุกข์ของสาธารณชน และมีอำนาจสืบสวนในกรณีต่างๆ ของการบริหารราชการที่มีการร้องทุกข์เกิดขึ้น
2. การถ่ายทอดสถาบันดังกล่าวมาสู่ระบบการเมืองทำได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงสถาบันใด ๆเนื่องจากประเทศไทยมีโครงสร้างทางการเมืองการปกครองคล้ายคลึงประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายที่รับสถาบันนี้ไว้ประกอบกับสถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา มีความคล่องตัวในการถ่ายทอดสูง เน้นการปฏิบัติที่ไม่เป็นทางการ และประเทศไทยยังขาดสถาบันรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะขยายกลไก ของสถาบันนิติบัญญัติ แบ่งเบาภาระ และช่วยทำให้สถาบันต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผลที่น่าจะเกิดขึ้นในการจัดตั้งผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา
3.1 ผลดี
(1) สถาบันรัฐสภาทรงคุณค่า และได้รับความเชื่อถือจากประชาชนมากขึ้น
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีความระมัดระวังในการปฏิบัติตน และสามารถควบคุมฝ่ายปฏิบัติราชการได้
(3) ประชาชนมีส่วนร่วมและมีศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น
(4) องค์กรหน่วยงานและสถาบันอื่น ๆ มีความรอบคอบ รัดกุม และระมัดระวังในการปฏิบัติราชการมากยิ่งขึ้น
3.2 ผลเสีย
(1) ความช้ำซ้อน หรือแทรกแซงอำนาจหน้าที่ของสถาบันอื่น
(2) การคัดเลือกผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา หากเลือกคนได้ไม่ดีพอ หรือใช้ ระบบอุปถัมภ์ในการเลือกสรร จะเกิดความเสียหายต่อบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง
(3) ถ้าผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นคนไม่ดีพอ ประชาชนจะขาดความเชื่อถือต่อองค์กรนี้ และต่อระบอบการปกครองโดยส่วนร่วม
4. ทางเลือกในการจัดตั้ง อาจทำได้ 2 ทาง คือ
4.1 ปรับปรุงคณะกรรมการ ป.ป.ป. ให้สังกัดรัฐสภา และให้มีอำนาจครอบคลุมถึงการตรวจสอบการประพฤติมิชอบของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการทั้งหมด รวมทั้งข้าราชการการเมือง ตลอดจนปรับหน้าที่มาเน้นการให้ข้อสังเกตแนะนำมากกว่าการจับทุจริต หรือ
4.2 จัดตั้งสถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาขึ้นใหม่ทั้งหมด
5. โครงสร้างของสถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา
5.1 ชื่อ ควรใช้ชื่อว่า "ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา"
5.2 แหล่งอำนาจ ควรออกเป็นพระราชบัญญัติผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา สถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาจะต้องไม่ก้าวก่ายแทรกแซงอำนาจหน้าที่ของสถาบันการเมืองอื่น เช่น อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เป็นต้น
5.3 จำนวน จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ทั้งนี้ หากสามารถจัดหาบุคคลที่สามารถจะรับตำแหน่งหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมได้ก็สมควรให้มีคนเดียว โดยให้มีผู้ช่วยและกรรมการกลั่นกรองเรื่องราวต่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม การตำรงตำแหน่งนี้แต่เพียงคนเดียวอาจประสบปัญหาต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น การถูกขู่เข็นคุกคามจากผู้เสียประโยชน์ การสรรหาบุคคลที่มีความพร้อมในทุกด้าน เป็นต้น จึงอาจพิจารณากำหนดเป็นรูปคณะกรรมการ จำนวน 5 - 9 คน
5.4ผู้แต่งตั้งควรให้รัฐสภาคัดเลือกจากการเสนอขององค์การและหน่วยงานต่างๆ โดยการลงคะแนนเสียงแบบข้างมากเด็ดขาดหลักจากนั้นให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่งตั้ง และเป็นผู้รับสนองพระบรมราช-โองการ
5.5 วาระ ควรให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และเกษียณเมื่อมีอายุ 70 ปี (ถ้าสุขภาพสมบูรณ์) และดำรงตำแหน่งเกิน 2 สมัยติดต่อกันไม่ได้
5.6 การพ้นตำแหน่ง นอกจากการตาย ลาออก อายุครบ 70 ปี และสุขภาพไม่สมบูรณ์แล้วอาจถอดถอนโดยรัฐสภา ด้ายคะแนนเสียง 3 ใน 4 ครบองค์ประชุม แต่หากเป็นนอกสมัยประชุม ให้ถอดถอนโดยมติ 3 ใน 4 ของประธานกรรมาธิการทุกคณะของรัฐสภา หรือให้พักการปฏิบัติงานไว้ก่อนจนกว่าจะถึงสมัยเปิดประชุม
5.7 ขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ ควรมีอำนาจครอบคลุมข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท ทั้งทหาร พลเรือน รัฐวิสาหกิจ ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งฝ่ายตุลาการด้วย (ตรวจสอบในประเด็นของการประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เช่น ความล่าช้า เป็นต้น ไม่ใช่ประเด็นทางด้านเนื้อหาของการปฏิบัติหน้าที่) ประเด็นสำคัญในด้านอำนาจหน้าที่ก็คือ ถ้าควบคุมมากจนเกินไปก็จะเกิดภาวะซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของสถาบันอื่น ถ้าควบคุมน้อยก็อาจไม่เกิดประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญ
5.8 ความเป็นอิสระ สถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาควรมีอำนาจโดยอิสระ ไม่อยู่ใต้อาณัติของใคร ไม่ต้องแต่งตั้งผู้ใดไปควบคุมดูแลผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาอีก และควรให้ได้รับเงินเดือนเท่าประธานรัฐสภามีสิทธิเกียรติและศักดิ์ศรีเหมือนศาลแต่ให้มีกระบวนการตรวจสอบความประพฤติมิชอบและความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่โดยรัฐสภา
5.9 ผู้มีสิทธิร้องทุกข์ ผู้มีสิทธิร้องทุกข์อาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล นิติบุคคล คนต่างด้าวในราชอาณาจักร และผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณานำกรณีที่เห็นสมควรขึ้นมาตรวจสอบเองได้
5.10 ลักษณะคำร้องทุกข์ ลักษณะคำร้องทุกข์อาจเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีที่ไม่สามารถเขียนคำร้องทุกข์ได้เอง อาจให้เจ้าหน้าที่ของสถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาเขียนให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งนี้ ต้องระบุชื่อ และที่อยู่ให้ชัดเจน รวมทั้งเป็นผู้เสียหายเองด้วย
5.11 เงื่อนไขการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ให้ร้องทุกข์ภายใน 1 ปี นับแต่รู้เหตุเรื่องที่ร้องทุกข์ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล หรือเรื่องที่ศาลได้ตัดสินแล้ว
5.12 กระบวนการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจในการตรวจสอบเอกสาร ออกหมายเรียก ให้ผู้เกี่ยวข้องมาให้คำชี้แจงได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาควรดำเนินงานแบบ "ไม้นวม" พยายามหาทางแก้ไขการประพฤติมิชอบยิ่งกว่าการมุ่งลงโทษ ข้อสังเกตหรือความเห็นของผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาคือเป็นอันสิ้นสุด (โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ใดอีก)
5.13 การรายงานผล ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาสรุปและรายงานผลการพิจารณาต่อรัฐสภาและสื่อมวลชนในแต่ละเดือน และรวมสรุปเป็นรายงานประจำปีพิมพ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ การตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นภาระกิจสำคัญในการอาศัยอำนาจสาธารณะบังคับ (public sanction) ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามที่ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาได้ให้ข้อสังเกตไว้
5.14 ความคุ้มครอบ ผู้ตวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาจะต้องไม่ถูกติดตาม จับกุม คุมขัง หรือถูกพิพากษาในการกระทำ หรือการแสดงความคิดเห็นใด ๆ ซึ่งได้กระทำในขณะปฏิบัติหน้าที่
6. ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาประสบความสำเร็จ
6.1 การกำหนดขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ (jurisdiction) โดยเน้นที่การประพฤติมิชอบในวงราชการ
6.2 รูปแบบของการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ โดยเน้นวิธีการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นทางการยิ่งกว่าการสอบสวนและลงโทษตามวิธีการทางศาล
6.3 การมีบุคลากรที่เหมาะสม และทำงานในหน้าที่นี้อย่างจริงจัง
6.4 การทำให้สถาบันเป็นที่ยอมรับของบุคคลและสถาบันอื่น
6.5 บุคลากรของสถาบันมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในหน้าที่เป็นอย่างดี
6.6 บุคลากรของสถาบันเข้าใจสถานการณ์ โดยเฉพาะปฏิกิริยาอันอาจจะเกินขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ต่าง ๆ
6.7 บุคลากรปฏิบัติหน้าที่อย่างมีทักษะและมีความละมุนละไม
6.8 สถาบันสามารถสร้างความเป็นสถาบันให้มีความเข็มแข็งขึ้นได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 พฤษภาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการวิจัยเรื่อง "ออมบุดส์แมน : การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งผู้ตรวจราชการแผนดินของรัฐบาลในประเทศไทย" ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมได้อนุมัติทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทเร่งด่วนประจำปี 2533แก่นายพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อดำเนินการวิจัยเรื่องดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1.สถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นกลไกทางการเมืองที่ใช้กับการร้องทุกข์ของประชาชนมีลักษณะเป็นเจ้าหน้าที่อิสระของรัฐสภาทำหน้าที่ดูแลการประพฤติมิชอบในการบริหารงานแผ่นดินรับเรื่องราวร้องทุกข์ของสาธารณชน และมีอำนาจสืบสวนในกรณีต่างๆ ของการบริหารราชการที่มีการร้องทุกข์เกิดขึ้น
2. การถ่ายทอดสถาบันดังกล่าวมาสู่ระบบการเมืองทำได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงสถาบันใด ๆเนื่องจากประเทศไทยมีโครงสร้างทางการเมืองการปกครองคล้ายคลึงประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายที่รับสถาบันนี้ไว้ประกอบกับสถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา มีความคล่องตัวในการถ่ายทอดสูง เน้นการปฏิบัติที่ไม่เป็นทางการ และประเทศไทยยังขาดสถาบันรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะขยายกลไก ของสถาบันนิติบัญญัติ แบ่งเบาภาระ และช่วยทำให้สถาบันต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผลที่น่าจะเกิดขึ้นในการจัดตั้งผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา
3.1 ผลดี
(1) สถาบันรัฐสภาทรงคุณค่า และได้รับความเชื่อถือจากประชาชนมากขึ้น
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีความระมัดระวังในการปฏิบัติตน และสามารถควบคุมฝ่ายปฏิบัติราชการได้
(3) ประชาชนมีส่วนร่วมและมีศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น
(4) องค์กรหน่วยงานและสถาบันอื่น ๆ มีความรอบคอบ รัดกุม และระมัดระวังในการปฏิบัติราชการมากยิ่งขึ้น
3.2 ผลเสีย
(1) ความช้ำซ้อน หรือแทรกแซงอำนาจหน้าที่ของสถาบันอื่น
(2) การคัดเลือกผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา หากเลือกคนได้ไม่ดีพอ หรือใช้ ระบบอุปถัมภ์ในการเลือกสรร จะเกิดความเสียหายต่อบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง
(3) ถ้าผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นคนไม่ดีพอ ประชาชนจะขาดความเชื่อถือต่อองค์กรนี้ และต่อระบอบการปกครองโดยส่วนร่วม
4. ทางเลือกในการจัดตั้ง อาจทำได้ 2 ทาง คือ
4.1 ปรับปรุงคณะกรรมการ ป.ป.ป. ให้สังกัดรัฐสภา และให้มีอำนาจครอบคลุมถึงการตรวจสอบการประพฤติมิชอบของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการทั้งหมด รวมทั้งข้าราชการการเมือง ตลอดจนปรับหน้าที่มาเน้นการให้ข้อสังเกตแนะนำมากกว่าการจับทุจริต หรือ
4.2 จัดตั้งสถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาขึ้นใหม่ทั้งหมด
5. โครงสร้างของสถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา
5.1 ชื่อ ควรใช้ชื่อว่า "ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา"
5.2 แหล่งอำนาจ ควรออกเป็นพระราชบัญญัติผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา สถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาจะต้องไม่ก้าวก่ายแทรกแซงอำนาจหน้าที่ของสถาบันการเมืองอื่น เช่น อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เป็นต้น
5.3 จำนวน จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ทั้งนี้ หากสามารถจัดหาบุคคลที่สามารถจะรับตำแหน่งหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมได้ก็สมควรให้มีคนเดียว โดยให้มีผู้ช่วยและกรรมการกลั่นกรองเรื่องราวต่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม การตำรงตำแหน่งนี้แต่เพียงคนเดียวอาจประสบปัญหาต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น การถูกขู่เข็นคุกคามจากผู้เสียประโยชน์ การสรรหาบุคคลที่มีความพร้อมในทุกด้าน เป็นต้น จึงอาจพิจารณากำหนดเป็นรูปคณะกรรมการ จำนวน 5 - 9 คน
5.4ผู้แต่งตั้งควรให้รัฐสภาคัดเลือกจากการเสนอขององค์การและหน่วยงานต่างๆ โดยการลงคะแนนเสียงแบบข้างมากเด็ดขาดหลักจากนั้นให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่งตั้ง และเป็นผู้รับสนองพระบรมราช-โองการ
5.5 วาระ ควรให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และเกษียณเมื่อมีอายุ 70 ปี (ถ้าสุขภาพสมบูรณ์) และดำรงตำแหน่งเกิน 2 สมัยติดต่อกันไม่ได้
5.6 การพ้นตำแหน่ง นอกจากการตาย ลาออก อายุครบ 70 ปี และสุขภาพไม่สมบูรณ์แล้วอาจถอดถอนโดยรัฐสภา ด้ายคะแนนเสียง 3 ใน 4 ครบองค์ประชุม แต่หากเป็นนอกสมัยประชุม ให้ถอดถอนโดยมติ 3 ใน 4 ของประธานกรรมาธิการทุกคณะของรัฐสภา หรือให้พักการปฏิบัติงานไว้ก่อนจนกว่าจะถึงสมัยเปิดประชุม
5.7 ขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ ควรมีอำนาจครอบคลุมข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท ทั้งทหาร พลเรือน รัฐวิสาหกิจ ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งฝ่ายตุลาการด้วย (ตรวจสอบในประเด็นของการประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เช่น ความล่าช้า เป็นต้น ไม่ใช่ประเด็นทางด้านเนื้อหาของการปฏิบัติหน้าที่) ประเด็นสำคัญในด้านอำนาจหน้าที่ก็คือ ถ้าควบคุมมากจนเกินไปก็จะเกิดภาวะซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของสถาบันอื่น ถ้าควบคุมน้อยก็อาจไม่เกิดประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญ
5.8 ความเป็นอิสระ สถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาควรมีอำนาจโดยอิสระ ไม่อยู่ใต้อาณัติของใคร ไม่ต้องแต่งตั้งผู้ใดไปควบคุมดูแลผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาอีก และควรให้ได้รับเงินเดือนเท่าประธานรัฐสภามีสิทธิเกียรติและศักดิ์ศรีเหมือนศาลแต่ให้มีกระบวนการตรวจสอบความประพฤติมิชอบและความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่โดยรัฐสภา
5.9 ผู้มีสิทธิร้องทุกข์ ผู้มีสิทธิร้องทุกข์อาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล นิติบุคคล คนต่างด้าวในราชอาณาจักร และผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณานำกรณีที่เห็นสมควรขึ้นมาตรวจสอบเองได้
5.10 ลักษณะคำร้องทุกข์ ลักษณะคำร้องทุกข์อาจเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีที่ไม่สามารถเขียนคำร้องทุกข์ได้เอง อาจให้เจ้าหน้าที่ของสถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาเขียนให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งนี้ ต้องระบุชื่อ และที่อยู่ให้ชัดเจน รวมทั้งเป็นผู้เสียหายเองด้วย
5.11 เงื่อนไขการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ให้ร้องทุกข์ภายใน 1 ปี นับแต่รู้เหตุเรื่องที่ร้องทุกข์ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล หรือเรื่องที่ศาลได้ตัดสินแล้ว
5.12 กระบวนการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจในการตรวจสอบเอกสาร ออกหมายเรียก ให้ผู้เกี่ยวข้องมาให้คำชี้แจงได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาควรดำเนินงานแบบ "ไม้นวม" พยายามหาทางแก้ไขการประพฤติมิชอบยิ่งกว่าการมุ่งลงโทษ ข้อสังเกตหรือความเห็นของผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาคือเป็นอันสิ้นสุด (โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ใดอีก)
5.13 การรายงานผล ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาสรุปและรายงานผลการพิจารณาต่อรัฐสภาและสื่อมวลชนในแต่ละเดือน และรวมสรุปเป็นรายงานประจำปีพิมพ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ การตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นภาระกิจสำคัญในการอาศัยอำนาจสาธารณะบังคับ (public sanction) ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามที่ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาได้ให้ข้อสังเกตไว้
5.14 ความคุ้มครอบ ผู้ตวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาจะต้องไม่ถูกติดตาม จับกุม คุมขัง หรือถูกพิพากษาในการกระทำ หรือการแสดงความคิดเห็นใด ๆ ซึ่งได้กระทำในขณะปฏิบัติหน้าที่
6. ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สถาบันผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาประสบความสำเร็จ
6.1 การกำหนดขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ (jurisdiction) โดยเน้นที่การประพฤติมิชอบในวงราชการ
6.2 รูปแบบของการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ โดยเน้นวิธีการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นทางการยิ่งกว่าการสอบสวนและลงโทษตามวิธีการทางศาล
6.3 การมีบุคลากรที่เหมาะสม และทำงานในหน้าที่นี้อย่างจริงจัง
6.4 การทำให้สถาบันเป็นที่ยอมรับของบุคคลและสถาบันอื่น
6.5 บุคลากรของสถาบันมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในหน้าที่เป็นอย่างดี
6.6 บุคลากรของสถาบันเข้าใจสถานการณ์ โดยเฉพาะปฏิกิริยาอันอาจจะเกินขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ต่าง ๆ
6.7 บุคลากรปฏิบัติหน้าที่อย่างมีทักษะและมีความละมุนละไม
6.8 สถาบันสามารถสร้างความเป็นสถาบันให้มีความเข็มแข็งขึ้นได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 พฤษภาคม 2538--