ทำเนียบรัฐบาล--11 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบงบทำการ และเห็นชอบงบลงทุนประจำปีงบประ มาณ 2538 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติพิจารณาเห็นชอบแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอดังนี้
1.งบทำการ
1.1 ประมาณการรายได้ 5,676.765 ล้านบาท
1.2 ประมาณการรายจ่าย 3,989.387 ล้านบาท
1.3 ประมาณการกำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,687.378 ล้านบาท
2.งบลงทุนประจำปี 2538 ทั้งสิ้นจำนวน 6,002.162 ล้านบาท แยกเป็น
2.1 งบลงทุนประจำปี จำนวน 1,305.105 ล้านบาท
2.2 งบลงทุนที่ขอผูกพัน จำนวน 4,697.057 ล้านบาท ทาง กทท.คาดว่าจะจ่ายได้ประมาณ 3,619.271 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 60.3 และขอเงินอุด หนุน และเงินยืมจากรัฐบาล จำนวน 6.641 และ 27.930 ล้านบาท ตามลำดับ
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้
1. จากผลการดำเนินงานด้านการลงทุนที่ผ่านมาของ กทท.ดำเนินการได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ ประมาณการไว้ โดยเฉพาะการลงทุนในปี 2537 สามารถดำเนินการได้จริงเพียงร้อยละ 5.37 จึงเห็น ควรเร่งรัดระบบการบริหารจัดการและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. เห็นควรให้ กทท.และกระทรวงคมนาคม ร่วมกันพิจารณาทบทวนโครงการปรับปรุง และ ขยายร่องน้ำสันดอน ว่ายังมีความเหมาะสมและจำเป็นมากน้อยเพียงใด รวมทั้งความสอดคล้องกับโครง การขุดลอกร่องน้ำทางเข้าท่าเรือกรุงเทพ ร่องที่ 2 ของกรมเจ้าท่าที่มีแผนจะดำเนินการด้วย
3. เห็นควรให้ กทท.จัดทำแผนการปรับปรุงบุคลากรให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการแนวทางดำ เนินการที่จำกัดปริมาณตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือกรุงเทพ และส่งเสริมให้มีการใช้ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังเพิ่มขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนแผนการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในด้านการบริการต่างๆ ด้วย
4.เห็นควรเร่งรัดขยายขีดความสามารถที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ดังนี้
4.1ให้กทท.เร่งรัดปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการแนวทางดำเนินการให้มีการใช้ท่าเรือพาณิชย์ แหลมฉบังเพิ่มขึ้น ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้แล้วเมื่อ 7 กันยายน 2536 เพื่อเป็นการลดปปัญหาการ จราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากท่าเรือพาณิชย์แหลม ฉบังมากขึ้น ทั้งนี้ให้มีการติดตามและรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว ต่อคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นระยะๆ ต่อไป
4.2 พิจารณาปรับปรุงโครงสร้างระบบการบริหารงานท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังให้มีอำนาจ บริหางานในลักษณะที่เป็นอิสระจาก กทท. เพื่อให้ประสิทธิภาพการให้บริการ และบริหารกิจการเป็นไป อย่างคล่องตัว ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้มีการใช้บริการท่าเรือเพิ่มมากขึ้น
4.3 เร่งรัดการก่อสร้างท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ท่าที่ 5 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่อง จากผลการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมายังไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร
4.4 พิจารณาทบทวนการใช้พื้นที่บริเวณท่าเทียบเรือพาณิชย์แหลมฉบังในปัจจุบัน (ขั้นที่ 1) ในส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามาถของท่า เรือคอนเทนเนอร์
4.5 เร่งรัดการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบก่อสร้างท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังขั้นที่ 2
ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการฯ ของ กทท.
--ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 เมษายน 2538--
คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบงบทำการ และเห็นชอบงบลงทุนประจำปีงบประ มาณ 2538 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติพิจารณาเห็นชอบแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอดังนี้
1.งบทำการ
1.1 ประมาณการรายได้ 5,676.765 ล้านบาท
1.2 ประมาณการรายจ่าย 3,989.387 ล้านบาท
1.3 ประมาณการกำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,687.378 ล้านบาท
2.งบลงทุนประจำปี 2538 ทั้งสิ้นจำนวน 6,002.162 ล้านบาท แยกเป็น
2.1 งบลงทุนประจำปี จำนวน 1,305.105 ล้านบาท
2.2 งบลงทุนที่ขอผูกพัน จำนวน 4,697.057 ล้านบาท ทาง กทท.คาดว่าจะจ่ายได้ประมาณ 3,619.271 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 60.3 และขอเงินอุด หนุน และเงินยืมจากรัฐบาล จำนวน 6.641 และ 27.930 ล้านบาท ตามลำดับ
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้
1. จากผลการดำเนินงานด้านการลงทุนที่ผ่านมาของ กทท.ดำเนินการได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ ประมาณการไว้ โดยเฉพาะการลงทุนในปี 2537 สามารถดำเนินการได้จริงเพียงร้อยละ 5.37 จึงเห็น ควรเร่งรัดระบบการบริหารจัดการและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. เห็นควรให้ กทท.และกระทรวงคมนาคม ร่วมกันพิจารณาทบทวนโครงการปรับปรุง และ ขยายร่องน้ำสันดอน ว่ายังมีความเหมาะสมและจำเป็นมากน้อยเพียงใด รวมทั้งความสอดคล้องกับโครง การขุดลอกร่องน้ำทางเข้าท่าเรือกรุงเทพ ร่องที่ 2 ของกรมเจ้าท่าที่มีแผนจะดำเนินการด้วย
3. เห็นควรให้ กทท.จัดทำแผนการปรับปรุงบุคลากรให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการแนวทางดำ เนินการที่จำกัดปริมาณตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือกรุงเทพ และส่งเสริมให้มีการใช้ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังเพิ่มขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนแผนการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในด้านการบริการต่างๆ ด้วย
4.เห็นควรเร่งรัดขยายขีดความสามารถที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ดังนี้
4.1ให้กทท.เร่งรัดปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการแนวทางดำเนินการให้มีการใช้ท่าเรือพาณิชย์ แหลมฉบังเพิ่มขึ้น ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้แล้วเมื่อ 7 กันยายน 2536 เพื่อเป็นการลดปปัญหาการ จราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากท่าเรือพาณิชย์แหลม ฉบังมากขึ้น ทั้งนี้ให้มีการติดตามและรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว ต่อคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นระยะๆ ต่อไป
4.2 พิจารณาปรับปรุงโครงสร้างระบบการบริหารงานท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังให้มีอำนาจ บริหางานในลักษณะที่เป็นอิสระจาก กทท. เพื่อให้ประสิทธิภาพการให้บริการ และบริหารกิจการเป็นไป อย่างคล่องตัว ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้มีการใช้บริการท่าเรือเพิ่มมากขึ้น
4.3 เร่งรัดการก่อสร้างท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ท่าที่ 5 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่อง จากผลการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมายังไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร
4.4 พิจารณาทบทวนการใช้พื้นที่บริเวณท่าเทียบเรือพาณิชย์แหลมฉบังในปัจจุบัน (ขั้นที่ 1) ในส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามาถของท่า เรือคอนเทนเนอร์
4.5 เร่งรัดการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบก่อสร้างท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังขั้นที่ 2
ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการฯ ของ กทท.
--ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 เมษายน 2538--