ทำเนียบรัฐบาล--22 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่น ครั้งที่ 23 สำหรับโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งโดยเฉพาะ จำนวน 7 โครงการ ในวงเงินรวม 67,737 ล้านเยน ดังนี้
1. รับหลักการของร่างหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินฯ ร่างสัญญาเงินกู้ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2. ให้กระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินในนามรัฐบาลไทยจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น สำหรับโครงการหมายเลข 2.2 2.3 2.4 และ 2.5 และให้รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินฯ เจ้าของโครงการกู้เงินจากกองทุนฯ สำหรับโครงการหมายเลข 2.1 2.6 และ 2.7 โดยมีรัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับหนังสือแลกเปลี่ยนฯ และกับกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น สำหรับสัญญาเงินกู้ สัญญาค้ำประกันเงินกู้ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเจรจาตกลงใน 1) หลักการของร่างหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น และ 2) รายละเอียดของร่างสัญญาเงินกู้และร่างสัญญาค้ำประกันเงินกู้ สำหรับโครงการเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่น ครั้งที่ 23 ทั้ง 7 โครงการ กับคณะผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่น และคณะผู้แทนกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น (Exchange of Notes)ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.1 รัฐบาลญี่ปุ่นตกลงที่จะให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งโดยเฉพาะกู้เงินโดยผ่านกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) จำนวน 67,737 ล้านเยน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 สำหรับใช้ในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 5 โครงการประกอบด้วย
วงเงิน
(ล้านเยน)
(1) โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก สายหัวลำโพง - ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ บางซื่อ 23,343
(สายสีน้ำเงิน) ขององค์การรถไฟฟ้ามหานคร
(2) แผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3 3,602
ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(3) โครงการเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นสาขาการวางแผนและจัดระบบจราจรของสำนักงาน 4,148
คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
(4) โครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรมของการนิคมอุตสาหกรรม 2,573
แห่งประเทศไทย
(5) โครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดินด้วยการพัฒนาการเกษตร 3,617
แบบผสมผสาน (ระยะที่ 1) ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
รวม 37,283
ส่วนที่ 2 สำหรับใช้เป็นสินเชื่อสำหรับสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งโดยเฉพาะ จำนวน 2 โครงการ คือ
วงเงิน
(ล้านเยน)
(1) โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 18,360
(2) โครงการเงินกู้จาก OECF ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 12,094
รวม 30,454
1.2 เงินกู้แต่ละรายที่กล่าวข้างต้นมีเงื่อนไข ดังนี้
(1) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ
1) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.2 ต่อปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (3) (5) และงานโยธาภายใต้โครงการส่วนที่ 1 (2)
2) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.7 ต่อปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (2) ในส่วนสนับสนุนสิ่งแวดล้อม
3) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.0 ต่อปี สำหรับโครงการส่วนที่ 2 (1) เฉพาะส่วนเพาะปลูก และโครงการส่วนที่ 2 (2) บางส่วน
4) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (4) (2) เฉพาะส่วนสนับสนุนสิ่งแวดล้อมโลก และโครงการส่วนที่ 2 (1) และ (2) บางส่วน
(2) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับการจ้างที่ปรึกษา อัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี
(3) ระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ 25 ปี รวมระยะปลอดหนี้ 7 ปี ยกเว้นโครงการหรือบางส่วนของโครงการที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อปี กำหนดระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ 40 ปี รวมระยะปลอดหนี้ 10 ปี
(4) เงื่อนไขการจัดซื้อสินค้าและบริการ ให้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของ OECF โดยจัดซื้อได้จากทุกประเทศ ยกเว้น 2 โครงการ คือ โครงการส่วนที่ 1 (2) ในส่วนศูนย์ศึกษาธรรมชาติ และ (4) ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นและ OECF ได้กำหนดเงื่อนไขกึ่งผูกมัด (partial - untied) โดยให้จัดซื้อจากประเทศกำลังพัฒนา และประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ
(5) เงื่อนไขการว่าจ้างที่ปรึกษา รัฐบาลญี่ปุ่นและ OECF ได้กำหนดเงื่อนไขผูกมัด (Tied) คือ
1) ให้ว่าจ้างบริษัทจากประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยมีเงื่อนไขว่า
- บริษัทที่ปรึกษาจะต้องมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นคนไทยหรือญี่ปุ่น
- ผู้อำนวยการที่ทำงานเต็มเวลา (full - time director) จะต้องมีสัญชาติไทยหรือญี่ปุ่น
- บริษัทที่ปรึกษาจะต้องจดทะเบียนในประเทศไทยหรือญี่ปุ่น
2) ในกรณีบริษัทที่ปรึกษาไม่เข้าเกณฑ์ในข้อใดข้อหนึ่งตามที่กล่าวข้างต้น ผู้กู้สามารถใช้เงินกู้ว่าจ้างบริษัทที่กล่าวได้ ถ้าจำนวนเวลาการว่าจ้าง (คน - เดือน) ต่ำกว่าร้อยละ 50
(6) การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใน 5 ปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (1) (3) และโครงการส่วนที่ 2 (1) ภายใน 6 ปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (5) และโครงการส่วนที่ 2 (2) ภายใน 7 ปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (2) และภายใน 8 ปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (4)
1.3 การใช้เงินกู้ภายใต้ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินสำหรับโครงการของรัฐวิสาหกิจ หรือของสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งโดยเฉพาะ จะต้องให้กระทรวงการคลังในนามรัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
1.4 การชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยภายใต้วงเงินกู้ดังกล่าว จะได้รับการยกเว้นในเรื่องภาษีอากร และเอกสิทธิ์ที่ใช้บังคับในราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลไทยจะต้องอนุญาตให้บุคคลสัญชาติญี่ปุ่นที่จำเป็นต้องเข้ามาในประเทศไทย เพื่อปฏิบัติงานตามงานโครงการเงินกู้ รวมทั้งพำนักอยู่ในประเทศไทยได้ตามกฎหมายเท่าที่จำเป็น
1.5 สำหรับการขนส่งทางเรือและประกันภัยทางทะเลของสินค้าที่จัดซื้อด้วยเงินกู้สำหรับโครงการในส่วนที่รัฐบาลไทยต้องงดเว้นการกำหนดข้อบังคับใด ๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรม ระหว่างบริษัทเดินเรือ บริษัทประกันภัยของประเทศทั้งสอง
2. ร่างสัญญาเงินกู้ (Loan Agreements)
กระทรวงการคลังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเจรจาในรายละเอียดของร่างสัญญาเงินกู้ สำหรับโครงการเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่น ครั้งที่ 23 จำนวน 7 โครงการ โดยมีสาระสำคัญสอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ดังกล่าวข้างต้นสำหรับรายละเอียดโครงการสรุปได้ ดังนี้
2.1 โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก สายหัวลำโพง - ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ บางซื่อ (สายสีน้ำเงิน) ขององค์การรถไฟฟ้ามหานคร วงเงินกู้จำนวน 23,343 ล้านเยน มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ลดปัญหามลพิษ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2.2 แผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยวงเงินกู้จำนวน 3,602 ล้านเยน มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และส่งเสริมการท่องเที่ยวในชนบท
2.3 โครงการเงินกู้ญี่ปุ่นสาขาการวางแผนและจัดระบบการจราจรของสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก วงเงินกู้จำนวน 4,148 ล้านเยน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการแก้ปัญหาการจราจรและการขนส่งให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 โครงการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรม ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วงเงินกู้จำนวน 2,573 ล้านเยน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรม ในแหล่งอุตสาหกรรม เพื่ออบรมและฝึกทักษะบุคลากรที่มีศักยภาพในภาคอุตสาหกรรม
2.5 โครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดินด้วยการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน (ระยะที่ 1) ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม วงเงินกู้จำนวน 3,617 ล้านเยน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินโดยการเพิ่มรายได้ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินและเขตใกล้เคียง และเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างงานโดยใช้การเกษตรแบบผสมผสาน
2.6 โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วงเงินกู้จำนวน 18,360 ล้านเยน มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาทางสังคมเนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาด้านการว่างงานในชนบท เพื่อเพิ่มผลผลิต และรายได้ของเกษตรกรขนาดเล็กในเขตชนบท และเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านการเกษตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
2.7 โครงการเงินกู้จาก OECF ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วงเงินกู้จำนวน 12,094 ล้านเยน มีวัตถุประสบค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการเพิ่มขีดความสามารถในภาคอุตสาหกรรม โดยจัดหาเงินกู้สำหรับการลงทุนระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในด้านต่าง ๆ ปรับปรุงเครื่องจักรให้ทันสมัย กระจายแรงงานจากแหล่งอุตสาหกรรมไปยังภูมิภาค และเพิ่มความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 กันยายน 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่น ครั้งที่ 23 สำหรับโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งโดยเฉพาะ จำนวน 7 โครงการ ในวงเงินรวม 67,737 ล้านเยน ดังนี้
1. รับหลักการของร่างหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินฯ ร่างสัญญาเงินกู้ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2. ให้กระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินในนามรัฐบาลไทยจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น สำหรับโครงการหมายเลข 2.2 2.3 2.4 และ 2.5 และให้รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินฯ เจ้าของโครงการกู้เงินจากกองทุนฯ สำหรับโครงการหมายเลข 2.1 2.6 และ 2.7 โดยมีรัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับหนังสือแลกเปลี่ยนฯ และกับกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น สำหรับสัญญาเงินกู้ สัญญาค้ำประกันเงินกู้ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเจรจาตกลงใน 1) หลักการของร่างหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น และ 2) รายละเอียดของร่างสัญญาเงินกู้และร่างสัญญาค้ำประกันเงินกู้ สำหรับโครงการเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่น ครั้งที่ 23 ทั้ง 7 โครงการ กับคณะผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่น และคณะผู้แทนกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น (Exchange of Notes)ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.1 รัฐบาลญี่ปุ่นตกลงที่จะให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งโดยเฉพาะกู้เงินโดยผ่านกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) จำนวน 67,737 ล้านเยน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 สำหรับใช้ในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 5 โครงการประกอบด้วย
วงเงิน
(ล้านเยน)
(1) โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก สายหัวลำโพง - ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ บางซื่อ 23,343
(สายสีน้ำเงิน) ขององค์การรถไฟฟ้ามหานคร
(2) แผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3 3,602
ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(3) โครงการเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นสาขาการวางแผนและจัดระบบจราจรของสำนักงาน 4,148
คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
(4) โครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรมของการนิคมอุตสาหกรรม 2,573
แห่งประเทศไทย
(5) โครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดินด้วยการพัฒนาการเกษตร 3,617
แบบผสมผสาน (ระยะที่ 1) ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
รวม 37,283
ส่วนที่ 2 สำหรับใช้เป็นสินเชื่อสำหรับสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งโดยเฉพาะ จำนวน 2 โครงการ คือ
วงเงิน
(ล้านเยน)
(1) โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 18,360
(2) โครงการเงินกู้จาก OECF ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 12,094
รวม 30,454
1.2 เงินกู้แต่ละรายที่กล่าวข้างต้นมีเงื่อนไข ดังนี้
(1) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ
1) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.2 ต่อปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (3) (5) และงานโยธาภายใต้โครงการส่วนที่ 1 (2)
2) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.7 ต่อปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (2) ในส่วนสนับสนุนสิ่งแวดล้อม
3) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.0 ต่อปี สำหรับโครงการส่วนที่ 2 (1) เฉพาะส่วนเพาะปลูก และโครงการส่วนที่ 2 (2) บางส่วน
4) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (4) (2) เฉพาะส่วนสนับสนุนสิ่งแวดล้อมโลก และโครงการส่วนที่ 2 (1) และ (2) บางส่วน
(2) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับการจ้างที่ปรึกษา อัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี
(3) ระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ 25 ปี รวมระยะปลอดหนี้ 7 ปี ยกเว้นโครงการหรือบางส่วนของโครงการที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อปี กำหนดระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ 40 ปี รวมระยะปลอดหนี้ 10 ปี
(4) เงื่อนไขการจัดซื้อสินค้าและบริการ ให้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของ OECF โดยจัดซื้อได้จากทุกประเทศ ยกเว้น 2 โครงการ คือ โครงการส่วนที่ 1 (2) ในส่วนศูนย์ศึกษาธรรมชาติ และ (4) ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นและ OECF ได้กำหนดเงื่อนไขกึ่งผูกมัด (partial - untied) โดยให้จัดซื้อจากประเทศกำลังพัฒนา และประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ
(5) เงื่อนไขการว่าจ้างที่ปรึกษา รัฐบาลญี่ปุ่นและ OECF ได้กำหนดเงื่อนไขผูกมัด (Tied) คือ
1) ให้ว่าจ้างบริษัทจากประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยมีเงื่อนไขว่า
- บริษัทที่ปรึกษาจะต้องมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นคนไทยหรือญี่ปุ่น
- ผู้อำนวยการที่ทำงานเต็มเวลา (full - time director) จะต้องมีสัญชาติไทยหรือญี่ปุ่น
- บริษัทที่ปรึกษาจะต้องจดทะเบียนในประเทศไทยหรือญี่ปุ่น
2) ในกรณีบริษัทที่ปรึกษาไม่เข้าเกณฑ์ในข้อใดข้อหนึ่งตามที่กล่าวข้างต้น ผู้กู้สามารถใช้เงินกู้ว่าจ้างบริษัทที่กล่าวได้ ถ้าจำนวนเวลาการว่าจ้าง (คน - เดือน) ต่ำกว่าร้อยละ 50
(6) การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใน 5 ปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (1) (3) และโครงการส่วนที่ 2 (1) ภายใน 6 ปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (5) และโครงการส่วนที่ 2 (2) ภายใน 7 ปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (2) และภายใน 8 ปี สำหรับโครงการส่วนที่ 1 (4)
1.3 การใช้เงินกู้ภายใต้ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินสำหรับโครงการของรัฐวิสาหกิจ หรือของสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งโดยเฉพาะ จะต้องให้กระทรวงการคลังในนามรัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
1.4 การชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยภายใต้วงเงินกู้ดังกล่าว จะได้รับการยกเว้นในเรื่องภาษีอากร และเอกสิทธิ์ที่ใช้บังคับในราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลไทยจะต้องอนุญาตให้บุคคลสัญชาติญี่ปุ่นที่จำเป็นต้องเข้ามาในประเทศไทย เพื่อปฏิบัติงานตามงานโครงการเงินกู้ รวมทั้งพำนักอยู่ในประเทศไทยได้ตามกฎหมายเท่าที่จำเป็น
1.5 สำหรับการขนส่งทางเรือและประกันภัยทางทะเลของสินค้าที่จัดซื้อด้วยเงินกู้สำหรับโครงการในส่วนที่รัฐบาลไทยต้องงดเว้นการกำหนดข้อบังคับใด ๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรม ระหว่างบริษัทเดินเรือ บริษัทประกันภัยของประเทศทั้งสอง
2. ร่างสัญญาเงินกู้ (Loan Agreements)
กระทรวงการคลังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเจรจาในรายละเอียดของร่างสัญญาเงินกู้ สำหรับโครงการเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่น ครั้งที่ 23 จำนวน 7 โครงการ โดยมีสาระสำคัญสอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ดังกล่าวข้างต้นสำหรับรายละเอียดโครงการสรุปได้ ดังนี้
2.1 โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก สายหัวลำโพง - ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ บางซื่อ (สายสีน้ำเงิน) ขององค์การรถไฟฟ้ามหานคร วงเงินกู้จำนวน 23,343 ล้านเยน มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ลดปัญหามลพิษ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2.2 แผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยวงเงินกู้จำนวน 3,602 ล้านเยน มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และส่งเสริมการท่องเที่ยวในชนบท
2.3 โครงการเงินกู้ญี่ปุ่นสาขาการวางแผนและจัดระบบการจราจรของสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก วงเงินกู้จำนวน 4,148 ล้านเยน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการแก้ปัญหาการจราจรและการขนส่งให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 โครงการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรม ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วงเงินกู้จำนวน 2,573 ล้านเยน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรม ในแหล่งอุตสาหกรรม เพื่ออบรมและฝึกทักษะบุคลากรที่มีศักยภาพในภาคอุตสาหกรรม
2.5 โครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดินด้วยการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน (ระยะที่ 1) ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม วงเงินกู้จำนวน 3,617 ล้านเยน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินโดยการเพิ่มรายได้ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินและเขตใกล้เคียง และเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างงานโดยใช้การเกษตรแบบผสมผสาน
2.6 โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วงเงินกู้จำนวน 18,360 ล้านเยน มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาทางสังคมเนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาด้านการว่างงานในชนบท เพื่อเพิ่มผลผลิต และรายได้ของเกษตรกรขนาดเล็กในเขตชนบท และเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านการเกษตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
2.7 โครงการเงินกู้จาก OECF ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วงเงินกู้จำนวน 12,094 ล้านเยน มีวัตถุประสบค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการเพิ่มขีดความสามารถในภาคอุตสาหกรรม โดยจัดหาเงินกู้สำหรับการลงทุนระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในด้านต่าง ๆ ปรับปรุงเครื่องจักรให้ทันสมัย กระจายแรงงานจากแหล่งอุตสาหกรรมไปยังภูมิภาค และเพิ่มความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 กันยายน 2541--