ทำเนียบรัฐบาล--19 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบและเห็นชอบการแก้ไข ปรับปรุง กฎ ระเบียบ มาตรการต่าง ๆ ของหน่วยราชการที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบแนวทางการแก้ไขทั้งมาตรการระยะยาว และระยะสั้น ตามที่กรมป่าไม้เสนอ ดังนี้
มาตรการระยะยาว
1) เรื่องการแก้ไขพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ตามที่คณะทำงานฯ เสนอให้แก้ไขโดยเพิ่มอนุ (6) ในมาตรา 50 การตั้งโรงงานแปรรูปไม้เพื่อแปรรูปไม้จากที่ปลูกขึ้น และการยกเลิกมาตรา 57 การจัดให้คนงานหรือผู้รับจ้างมีใบคู่มือแสดงฐานะเช่นนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่ควรแก้ไขในขณะนี้ ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหานี้ควรใช้พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 และร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แทน เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ และมีมาตรการในการตรวจสอบการได้มาของไม้จากสวนป่าไม้อย่างเหมาะสมแล้ว
2) เรื่องร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
3) เรื่องร่างพระราชบัญญัติเลื่อยยนต์ พ.ศ. ....
ทั้งข้อ 2) และข้อ 3) เห็นสมควรให้การสนับสนุนโดยจะเร่งดำเนินการผลักดันร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
มาตรการระยะสั้น
ได้พิจารณาตามที่คณะทำงานฯ เสนอ ทั้ง 6 มาตรการ โดยในขณะนี้ยังไม่ควรยกเลิกความในข้อ 9 แห่งข้อกำหนดฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2525) เกี่ยวกับการให้ผู้รับอนุญาตต้องทำบัญชีประจำโรงงานแปรรูปไม้ และต้องออกหนังสือกำกับไม้แปรรูปให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นอภิปรายของรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) จึงสรุปว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการตรวจสอบเพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการ
2. รับทราบตามที่คณะทำงานฯ ได้พิจารณาตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ ดังนี้
(ข้อ 3.3) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความเห็นว่า การแก้ไขฯ ควรจะพิจารณาครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมอื่นที่มีปัญหาในทำนองเดียวกัน เช่น ในอุตสาหกรรมกระดาษ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้ไม้ป่าปลูกไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้ อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ล้วนมีปัญหา ข้อจำกัดและอุปสรรคอันเนื่องมาจาก กฎ ระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้เสนอแนวทางการแก้ไขไว้แล้ว ทั้งมาตรการระยะยาวและระยะสั้น
(ข้อ 3.4) อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ได้ขอให้พิจารณาความเป็นไปได้ในการนำกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนเครื่องจักรในโรงงานมาใช้เพื่อจดทะเบียนเลื่อยยนต์ด้วยนั้น ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วไม่สามารถนำพระราชบัญญัติการจดทะเบียนเครื่องจักรในโรงงาน เพื่อใช้จดทะเบียนเลื่อยยนต์ได้ เนื่องจากขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ คณะทำงานฯ จึงเห็นควรให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่อนผันให้โรงงานไม้ยางพาราแปรรูปและไม้ป่าปลูกอื่น ๆ สามารถขออนุญาตนำเข้าเลื่อยยนต์ในราชอาณาจักรได้เป็นกรณีไปพลางก่อนในระหว่างรอพระราชบัญญัติเลื่อยยนต์มีผลบังคับใช้ ดังนั้น จึงเห็นควรเร่งรัดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการผลักดันร่างพระราชบัญญัติเลื่อยยนต์ พ.ศ. .... ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
3. เห็นชอบให้เร่งรัดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รีบไปดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขทั้งมาตรการระยะยาวและระยะสั้น ประกอบประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ และรายงานคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาภายใน 30 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 เมษายน 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบและเห็นชอบการแก้ไข ปรับปรุง กฎ ระเบียบ มาตรการต่าง ๆ ของหน่วยราชการที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบแนวทางการแก้ไขทั้งมาตรการระยะยาว และระยะสั้น ตามที่กรมป่าไม้เสนอ ดังนี้
มาตรการระยะยาว
1) เรื่องการแก้ไขพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ตามที่คณะทำงานฯ เสนอให้แก้ไขโดยเพิ่มอนุ (6) ในมาตรา 50 การตั้งโรงงานแปรรูปไม้เพื่อแปรรูปไม้จากที่ปลูกขึ้น และการยกเลิกมาตรา 57 การจัดให้คนงานหรือผู้รับจ้างมีใบคู่มือแสดงฐานะเช่นนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่ควรแก้ไขในขณะนี้ ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหานี้ควรใช้พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 และร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แทน เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ และมีมาตรการในการตรวจสอบการได้มาของไม้จากสวนป่าไม้อย่างเหมาะสมแล้ว
2) เรื่องร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
3) เรื่องร่างพระราชบัญญัติเลื่อยยนต์ พ.ศ. ....
ทั้งข้อ 2) และข้อ 3) เห็นสมควรให้การสนับสนุนโดยจะเร่งดำเนินการผลักดันร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
มาตรการระยะสั้น
ได้พิจารณาตามที่คณะทำงานฯ เสนอ ทั้ง 6 มาตรการ โดยในขณะนี้ยังไม่ควรยกเลิกความในข้อ 9 แห่งข้อกำหนดฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2525) เกี่ยวกับการให้ผู้รับอนุญาตต้องทำบัญชีประจำโรงงานแปรรูปไม้ และต้องออกหนังสือกำกับไม้แปรรูปให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นอภิปรายของรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) จึงสรุปว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการตรวจสอบเพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการ
2. รับทราบตามที่คณะทำงานฯ ได้พิจารณาตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ ดังนี้
(ข้อ 3.3) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความเห็นว่า การแก้ไขฯ ควรจะพิจารณาครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมอื่นที่มีปัญหาในทำนองเดียวกัน เช่น ในอุตสาหกรรมกระดาษ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้ไม้ป่าปลูกไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้ อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ล้วนมีปัญหา ข้อจำกัดและอุปสรรคอันเนื่องมาจาก กฎ ระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้เสนอแนวทางการแก้ไขไว้แล้ว ทั้งมาตรการระยะยาวและระยะสั้น
(ข้อ 3.4) อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ได้ขอให้พิจารณาความเป็นไปได้ในการนำกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนเครื่องจักรในโรงงานมาใช้เพื่อจดทะเบียนเลื่อยยนต์ด้วยนั้น ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วไม่สามารถนำพระราชบัญญัติการจดทะเบียนเครื่องจักรในโรงงาน เพื่อใช้จดทะเบียนเลื่อยยนต์ได้ เนื่องจากขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ คณะทำงานฯ จึงเห็นควรให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่อนผันให้โรงงานไม้ยางพาราแปรรูปและไม้ป่าปลูกอื่น ๆ สามารถขออนุญาตนำเข้าเลื่อยยนต์ในราชอาณาจักรได้เป็นกรณีไปพลางก่อนในระหว่างรอพระราชบัญญัติเลื่อยยนต์มีผลบังคับใช้ ดังนั้น จึงเห็นควรเร่งรัดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการผลักดันร่างพระราชบัญญัติเลื่อยยนต์ พ.ศ. .... ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
3. เห็นชอบให้เร่งรัดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รีบไปดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขทั้งมาตรการระยะยาวและระยะสั้น ประกอบประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ และรายงานคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาภายใน 30 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 เมษายน 2542--