ทำเนียบรัฐบาล--29 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการ
บรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนของหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
1. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้
มาตรการชะลอการเลิกจ้างและการแก้ไขปัญหาให้ผู้ถูกเลิกจ้าง(ข้อมูล ณ วันที่ 25 กันยายน 2540)
ดังนี้
1.1 สถานการณ์การเลิกจ้าง นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 19 กันยายน 2540 มี
ลูกจ้างถูกเลิกจ้างรวม 24,759 คน ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างในกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและสิ่งทอ
อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้รถยนต์และชิ้นส่วน
1.2 ผลการช่วยเหลือ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้กำหนดแนวทางป้อง
กันแก้ไขปัญหาคนงานถูกเลิกจ้างจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน แยกเป็น
2 มาตรการ คือ
(1) มาตรการชะลอการเลิกจ้าง
1) การบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง
การที่สถิติจำนวนคนงานถูกเลิกจ้างมีจำนวน 24,759 คน เนื่องจาก
นายจ้างส่วนมากอยู่ระหว่างการใช้ "มาตรการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง" ซึ่งเป็นมาตรการที่กระ-
ทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอให้หสถานประกอบการต่าง ๆ นำไปใช้เมื่อมีการหารือคนงาน
แล้ว ทั้งนี้ มาตรการในการลดค่าใช้จ่ายการผลิต ประกอบด้วย การลดวันเวลาทำงาน การลด
สวัสดิการ การลดค่าจ้าง ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้มีการประเมินว่า
สภาวะการณ์ชะลอการเลิกจ้างที่เป็นอยู่ขณะนี้ อาจจะตรึงต่อไปได้อีกประมาณ 6 เดือน หากสถาน-
การณ์ค่าเงินบาทไม่ดีขึ้น หากงบปลายปี 2540 ของธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งจะแสดงปรากฏตัวเลขประมาณ
เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2541 ไม่ดี คาดว่าการเลิกจ้างจำนวนมากจะเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน
2541
2) การเสริมสภาพคล่อง
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้มีการประสานงาน กับ BOI
ในการให้ความสนับสนุน สถานประกอบการที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน และมีลูกจ้างจำนวนมาก
โดยจะแจ้งข้อมูลที่คณะตรวจเยี่ยมสถานประกอบการของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ข้า-
ราชการระดับ 9 - 10 เป็นหัวหน้าคณะ) ได้รับ ให้ทาง BOI ทราบเป็นระยะ ๆ
3) การแรงงานสัมพันธ์
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ปรับแนวทางการดำเนินงาน
ด้านแรงงานสัมพันธ์ โดยเน้นการให้ความรู้ทั่วไปแก่ สหภาพแรงงานและสมาชิก เน้นการให้สหภาพ
แรงงานร่วมมือกับนายจ้างเพื่อฟันฝ่าปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักแทนการเรียกร้อง เน้นบท
บาททางสร้างสรรค์ของสหภาพแรงงาน ขยายให้แรงงานในภูมิภาคมีบทบาทด้านไตรภาคีมากขึ้น ทั้งนี้
ได้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับสหภาพแรงงาน 350 สหภาพ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2540
แล้ว และจะขยายการดำเนินงานตามย่านอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่อไป
4) การสวัสดิการและค่าจ้าง
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และ
สหภาพแรงงาน จัดคาราวานสินค้าราคาถูกให้สหภาพแรงงานนำออกจำหน่ายแก่สมาชิก และประชาชน
ทั่วไป โดยแผนงานในระหว่างวันที่ 3 กันยายน - 3 ตุลาคม 2540 จะมีการจำหน่ายสินค้าตามโครง
การนี้รวม 13 จุด เพื่อบริการคนงานไม่ต่ำกว่า 21,500 คน
(2) มาตรการแก้ไขปัญหา
มาตรการระยะสั้น
1) การบรรเทาความเดือดร้อน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้
เร่งรัดดำเนินการให้คนงานที่ถูกเลิกจ้าง ได้รับค่าจ้างค้างจ่าย/ชดเชยตามกฎหมายโดยเร็วที่สุดจนถึง
วันที่ 24 กันยายน 2540 คนงานที่ถูกเลิกจ้างได้รับเงินแล้วรวม 417 ล้านบาท
อนึ่ง คนงานที่ถูกเลิกจ้างจะยังคงได้รับสิทธิด้านการประกันสังคม จาก
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมต่อไปอีกเป็นเวลา 6 เดือน
2) การบรรจุงานและการปรับฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิ-
การสังคมได้ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น หนังสือพิมพ์ The Nations สมาคมนักข่าวแห่ง
ประเทศไทย ฯลฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบรรจุงานให้แก่คนงานที่ถูกเลิกจ้าง โดยการเชื่อมโยง
เครือข่ายข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ได้จัดทีมงานพิเศษดูแลการรับสมัครงาน/การบรรจุ
งานให้แก่กลุ่มพนักงานในสำนักงาน (White Collar) ผ่านโฮมเพจ WWW.doe.go.th ด้วย ซึ่งทำ
ให้สถิติการบรรจุงานให้คนงานที่ถูกเลิกจ้างตั้งแต่ต้นปีมีจำนวนรวม 13,977 คนส่วนใหญ่เป็นการบรรจุ
งานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาปรับยกระดับฝีมือแรงงานคนงานที่ถูกเลิกจ้าง
ให้สามารถบรรจุงานใหม่ได้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการแล้ว 8,900 คน
มาตรการระยะกลางและระยะยาว
1) การขยายแหล่งงานในต่างประเทศ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการ
สังคมได้ประสานงานกับเอกชนในการหาตำแหน่งงานในต่างประเทศไว้แล้ว 66,252 ตำแหน่ง โดยมี
ตลาดแรงงานที่สำคัญ คือ อิสราเอล ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ นอกจากนี้ได้มีการปรับเงื่อนไข
ให้นายจ้างสามารถส่งคนงานไปฝึกงาน ณ บริษัทแม่ในต่างประเทศโดยสะดวกและแจ้งขอความร่วมมือ
สภาอุตสาหกรรมฯ ในการกระตุ้นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมฯ ให้มีการส่งคนงานไปฝึกงานแทนการ
เลิกจ้างคนงานอีกทางหนึ่งด้วย
2) การส่งเสริมธุรกิจส่วนตัว กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อยู่
ระหว่างการเตรียมแผนงานในรายละเอียดเกี่ยวกับการขยายการสนับสนุนโครงการรับงานไปทำที่บ้าน
การเสนอขอให้ธุรกิจอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตจากเมืองสู่ชนบทได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษการสนับ
สนุนด้านการตลาดแก่ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผลิตในชนบท ฯลฯ ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเห็น
ว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้เกิดการจ้างแรงงานถาวรในชนบท เกิดการสร้างรายได้แก่คนชนบทและเป็น
การเพิ่มกำลังซื้อซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ
2. สถานการณ์ราคาน้ำมันในประเทศ (หลังอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว)
2.1 นับตั้งแต่รัฐบาล ได้เปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว ตั้งแต่ต้น
เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา จนถึงวันที่ 26 กันยายน 2540 ได้มีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและ
ดีเซลรวม 9 ครั้ง อันเป็นผลมาจากการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก มาอยู่ในระดับ 37 บาท/เหรียญ
สหรัฐ และได้มีการปรับราคาขายปลีกขึ้นอีก 1 ครั้ง จากการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 10%
รวมเป็น 10 ครั้ง ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน และดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้น 2.01 - 2.03 บาท/
ลิตรตามลำดับ
2.2 การปรับราคาขายปลีกครั้งหลังสุด เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2540 น้ำมันเบนซิน
พิเศษไร้สารตะกั่ว ธรรมดาไร้สารตะกั่ว และดีเซลหมุนเร็ว ได้ปรับขึ้น 25 สตางค์/ลิตร มาอยู่ใน
ระดับ 11.47, 11.08, และ 10.31 บาท/ลิตร ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการปรับอัตราแลกเปลี่ยน
จาก 35.9 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ในระดับ 37 บาท/เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นต้นทุนราคาน้ำมันที่
เพิ่มขึ้น 15 สตางค์/ลิตร และราคาน้ำมันดีเซลในตลาดโลกที่สูงขึ้นประมาณ 1 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล
หรือ 20 สตางค์/ลิตร ซึ่งหมายถึงการปรับราคาขึ้นของน้ำมันดีเซลยังต่ำกว่าต้นทุนจริงอยู่ ในขณะที่
ราคาน้ำมันเบนซินสูงกว่าต้นทุนที่เพิ่มเล็กน้อย เพื่อนำไปชดเชยราคาน้ำมันดีเซล
2.3 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้น 1
และ 0.5 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลหรือประมาณ 20 และ 10 สตางค์/ลิตร ตามลำดับ ในขณะที่ค่าเงิน
บาทได้กลับแข็งตัวขึ้นมาอยู่ใน ระดับ 36 บาท/เหรียญสหรัฐ ต้นทุนราคาน้ำมัน เนื่องจากอัตราแลก
เปลี่ยนจึงลดลงประมาณ 15 สตางค์/ลิตร ซึ่งเมื่อรวมผลจากการปรับราคาขายปลีกที่ผ่านมาจึงคาดว่า
ในสัปดาห์นี้ ถ้าค่าเงินบาทยังคงอยู่ในระดับนี้ผู้ค้าน้ำมันจะปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลงประมาณ
5 - 10 สตางค์/ลิตร ในขณะที่ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงและถ้าค่าเงินบาท
ได้แข็งตัวขึ้นมามากกว่าระดับ 36 บาท/เหรียญสหรัฐในปัจจุบัน ก็คาดว่าราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลก็จะ
ปรับลดลงด้วย
3. กระทรวงพาณิชย์ รายงานการดำเนินงานภายใต้แผนดูแลราคาสินค้าหลังการใช้ระบบ
อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวและการปรับ VAT: (วันจันทร์ที่ 15 กันยายน - วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน
2540) ดังนี้
ส่วนที่ 1 : ผลการดำเนินงานตามแผน
1. แผนปฏิบัติการด้านราคาและปริมาณ
การจัดจำหน่ายสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้ (กันยายน 2540)
กิจกรรม มิย.-สค. 40 จำนวนร้านค้า เพิ่ม (+) ลด (-) ในแต่ละสัปดาห์ รวม
1-7 8-14 15-21 22-28 (ราย)
1. สินค้าอุปโภคบริโภค (ธงฟ้า-ราคาประหยัด)
1.1 มุมธงฟ้า (ในห้างสรรพสินค้า/ร้านค้า)
- ส่วนกลาง 69 - - +3 72
- ส่วนภูมิภาค 259 - +32 +18 309
1.2 ร้านค้าย่อย อคส. 15 - - - 15
1.3 งานจำหน่ายสินค้าธงฟ้า-ราคาประหยัด
1.3.1 กรมการค้าภายใน
- ส่วนกลาง 10 - +2 +1 13
- ส่วนภูมิภาค - - - - -
1.3.2 กรมการค้าภายในร่วมกับหน่วยงานอื่น
- ส่วนกลาง 33 +3 +15 +5 56
- ส่วนภูมิภาค 128 +41 +43 +54 266
2. สินค้าอาหารสำเร็จรูป (ร้านธงฟ้า)
2.1 ร้านอาหารสำเร็จรูป
- ส่วนกลาง 818 - -8 +5 815
- ส่วนภูมิภาค 1,600 +1 +9 +17 1,627
2.2 ศูนย์อาหาร 32 - - - 32
2.3 ร้านอาหารในส่วนราชการ/สถานศึกษา
- ส่วนกลาง 30 +4 - +1 35
- ส่วนภูมิภาค 11 - +1 +3 15
2.4 รถเข็น/แผงลอย
- ส่วนกลาง 1,117 - - - 1,117
- ส่วนภูมิภาค 703 +26 +21 +8 758
รวม 4,825 +75 +115 +115 5,130
*หน่วยงานอื่น : หอการค้า/สมาคม กองทัพบก กรุงเทพมหานคร สำนักนายกรัฐมนตรี ฯลฯ
2. แผนปฏิบัติการตรวจสอบและติดตามราคาสินค้า
เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้ (กันยายน 2540)
กิจกรรม มิย.-สค. 40 จำนวนร้านค้า เพิ่ม (+) ลด (-) ในแต่ละสัปดาห์ รวม
1-7 8-14 15-21 22-28 (ราย)
การตรวจสอบภาวะราคาสินค้า(ศูนย์เฉพาะกิจ) 11,536 +1,890 +1,720 +1,626 16,772
การรับเรื่องร้องเรียน (ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน) 372 +16 +16 +13 417
การดำเนินการกับผู้กระทำผิด 291 +27 +28 +23 369
การปรับผู้กระทำผิด (จำนวนเงิน/บาท) (104,800) (6,800) (5,600) (5,200) (122,400)
รวม 12,199 1,933 1,764 1,662 17,558
3. แผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์
เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้ (กันยายน 2540)
กิจกรรม มิย.-สค. 40 จำนวนร้านค้า เพิ่ม (+) ลด (-) ในแต่ละสัปดาห์ รวม
1-7 8-14 15-21 22-28 (ราย)
การชี้แจงข้อเท็จจริงทางโทรทัศน์/วิทยุ/ข่าวแจก 45 +2 +1 +3 51
การประชุมผู้ประกอบการ/ผู้ค้า 13 - +1 - 14
การรายงานราคาสินค้าผ่านสื่อ
- โทรทัศน์ 272 +37 +38 +37 384
- วิทยุ 302 +59 +59 +59 479
- หนังสือพิมพ์ 213 +25 +27 +25 290
- Internet 38 +5 +5 +5 53
การนำสื่อมวลชนออกตรวจสถานการณ์ 11 - - - 11
ร่วมกับเจ้าหน้าที่
รวม 894 128 131 129 1,282
ส่วนที่ 2 : สรุปสถานการณ์ประจำสัปดาห์
1. ภาวะการจำหน่ายสินค้าโดยทั่วไป ยังคงอยู่ในระดับเดียวกับสัปดาห์ก่อน ผู้บริโภคซื้อ
สินค้าเท่าที่จำเป็นต่อการครองชีพ ทั้งนี้เมื่อดูถึงสินค้าในกลุ่มอุปโภคบริโภคทั่วไปและอาหารสดแล้วพบว่า
สินค้าอุปโภคบริโภค ราคาจำหน่ายปลีกเคลื่อนไหวในระดับปกติสอดคล้องกับการเปลี่ยน
แปลงค่าเงินบาทและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับร้านค้าปลีกซึ่งส่วนมากยังคงจำหน่ายสินค้าในราคาเดิม
เนื่องจากเป็นสต๊อคเก่า มีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้นตามสินค้าที่สั่งซื้อเข้ามาใหม่ในปลายเดือนกันยายนนี้
สินค้าอาหารสด ราคาเป็นไปตามภาวะตลาดปกติ หมวดเนื้อสัตว์ทรงตัวต่อเนื่องจาก
สัปดาห์ก่อน ยกเว้นไก่เนื้อลดลงเหลือ 40 - 45 บาท/กก.หลังจากทรงตัวติดต่อกันมา 2 สัปดาห์ที่
42 - 45 บาท/กก. สำหรับสัปดาห์หน้าคาดว่าสินค้าหมวดนี้จะปรับตัวลดลงเนื่องจากภาวะการจำหน่าย
ไม่คล่องตัว ส่วนผักสดราคาทรงตัวใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน ยกเว้นผักชีปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิต
ใกล้หมดรุ่น ส่วนส้มเขียวหวานผลผลิตรุ่นใหม่ทะยอยเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ราคาโน้มต่ำลง สัปดาห์หน้าคาด
ว่า ผักคะน้า ผักบุ้งจีน และกะหล่ำปลี ราคาอาจสูงขึ้น เนื่องจากช่วงนี้ฝนตกชุก เป็นเหตุให้ผักเน่าเสีย
หาย และเป็นอุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยวและขนส่ง
2. การร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนลดลงจากสัปดาห์ก่อนเหลือ 13 ราย ซึ่งเป็น
เรื่องทั่ว ๆ ไป สำหรับการตรวจสอบผู้กระทำผิดพบผู้ฝ่าฝืนไม่ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายปลีก (เนื้อสุกร
ชำแหละ อาหารที่ปรุงแต่งแล้ว น้ำตาลทราย และน้ำดื่มบรรจุภาชนะ) รวม 23 ราย เปรียบเทียบปรับ
เป็นเงิน 5,200 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 29 กันยายน 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการ
บรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนของหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
1. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้
มาตรการชะลอการเลิกจ้างและการแก้ไขปัญหาให้ผู้ถูกเลิกจ้าง(ข้อมูล ณ วันที่ 25 กันยายน 2540)
ดังนี้
1.1 สถานการณ์การเลิกจ้าง นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 19 กันยายน 2540 มี
ลูกจ้างถูกเลิกจ้างรวม 24,759 คน ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างในกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและสิ่งทอ
อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้รถยนต์และชิ้นส่วน
1.2 ผลการช่วยเหลือ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้กำหนดแนวทางป้อง
กันแก้ไขปัญหาคนงานถูกเลิกจ้างจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน แยกเป็น
2 มาตรการ คือ
(1) มาตรการชะลอการเลิกจ้าง
1) การบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง
การที่สถิติจำนวนคนงานถูกเลิกจ้างมีจำนวน 24,759 คน เนื่องจาก
นายจ้างส่วนมากอยู่ระหว่างการใช้ "มาตรการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง" ซึ่งเป็นมาตรการที่กระ-
ทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอให้หสถานประกอบการต่าง ๆ นำไปใช้เมื่อมีการหารือคนงาน
แล้ว ทั้งนี้ มาตรการในการลดค่าใช้จ่ายการผลิต ประกอบด้วย การลดวันเวลาทำงาน การลด
สวัสดิการ การลดค่าจ้าง ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้มีการประเมินว่า
สภาวะการณ์ชะลอการเลิกจ้างที่เป็นอยู่ขณะนี้ อาจจะตรึงต่อไปได้อีกประมาณ 6 เดือน หากสถาน-
การณ์ค่าเงินบาทไม่ดีขึ้น หากงบปลายปี 2540 ของธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งจะแสดงปรากฏตัวเลขประมาณ
เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2541 ไม่ดี คาดว่าการเลิกจ้างจำนวนมากจะเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน
2541
2) การเสริมสภาพคล่อง
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้มีการประสานงาน กับ BOI
ในการให้ความสนับสนุน สถานประกอบการที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน และมีลูกจ้างจำนวนมาก
โดยจะแจ้งข้อมูลที่คณะตรวจเยี่ยมสถานประกอบการของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ข้า-
ราชการระดับ 9 - 10 เป็นหัวหน้าคณะ) ได้รับ ให้ทาง BOI ทราบเป็นระยะ ๆ
3) การแรงงานสัมพันธ์
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ปรับแนวทางการดำเนินงาน
ด้านแรงงานสัมพันธ์ โดยเน้นการให้ความรู้ทั่วไปแก่ สหภาพแรงงานและสมาชิก เน้นการให้สหภาพ
แรงงานร่วมมือกับนายจ้างเพื่อฟันฝ่าปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักแทนการเรียกร้อง เน้นบท
บาททางสร้างสรรค์ของสหภาพแรงงาน ขยายให้แรงงานในภูมิภาคมีบทบาทด้านไตรภาคีมากขึ้น ทั้งนี้
ได้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับสหภาพแรงงาน 350 สหภาพ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2540
แล้ว และจะขยายการดำเนินงานตามย่านอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่อไป
4) การสวัสดิการและค่าจ้าง
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และ
สหภาพแรงงาน จัดคาราวานสินค้าราคาถูกให้สหภาพแรงงานนำออกจำหน่ายแก่สมาชิก และประชาชน
ทั่วไป โดยแผนงานในระหว่างวันที่ 3 กันยายน - 3 ตุลาคม 2540 จะมีการจำหน่ายสินค้าตามโครง
การนี้รวม 13 จุด เพื่อบริการคนงานไม่ต่ำกว่า 21,500 คน
(2) มาตรการแก้ไขปัญหา
มาตรการระยะสั้น
1) การบรรเทาความเดือดร้อน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้
เร่งรัดดำเนินการให้คนงานที่ถูกเลิกจ้าง ได้รับค่าจ้างค้างจ่าย/ชดเชยตามกฎหมายโดยเร็วที่สุดจนถึง
วันที่ 24 กันยายน 2540 คนงานที่ถูกเลิกจ้างได้รับเงินแล้วรวม 417 ล้านบาท
อนึ่ง คนงานที่ถูกเลิกจ้างจะยังคงได้รับสิทธิด้านการประกันสังคม จาก
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมต่อไปอีกเป็นเวลา 6 เดือน
2) การบรรจุงานและการปรับฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิ-
การสังคมได้ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น หนังสือพิมพ์ The Nations สมาคมนักข่าวแห่ง
ประเทศไทย ฯลฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบรรจุงานให้แก่คนงานที่ถูกเลิกจ้าง โดยการเชื่อมโยง
เครือข่ายข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ได้จัดทีมงานพิเศษดูแลการรับสมัครงาน/การบรรจุ
งานให้แก่กลุ่มพนักงานในสำนักงาน (White Collar) ผ่านโฮมเพจ WWW.doe.go.th ด้วย ซึ่งทำ
ให้สถิติการบรรจุงานให้คนงานที่ถูกเลิกจ้างตั้งแต่ต้นปีมีจำนวนรวม 13,977 คนส่วนใหญ่เป็นการบรรจุ
งานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาปรับยกระดับฝีมือแรงงานคนงานที่ถูกเลิกจ้าง
ให้สามารถบรรจุงานใหม่ได้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการแล้ว 8,900 คน
มาตรการระยะกลางและระยะยาว
1) การขยายแหล่งงานในต่างประเทศ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการ
สังคมได้ประสานงานกับเอกชนในการหาตำแหน่งงานในต่างประเทศไว้แล้ว 66,252 ตำแหน่ง โดยมี
ตลาดแรงงานที่สำคัญ คือ อิสราเอล ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ นอกจากนี้ได้มีการปรับเงื่อนไข
ให้นายจ้างสามารถส่งคนงานไปฝึกงาน ณ บริษัทแม่ในต่างประเทศโดยสะดวกและแจ้งขอความร่วมมือ
สภาอุตสาหกรรมฯ ในการกระตุ้นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมฯ ให้มีการส่งคนงานไปฝึกงานแทนการ
เลิกจ้างคนงานอีกทางหนึ่งด้วย
2) การส่งเสริมธุรกิจส่วนตัว กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อยู่
ระหว่างการเตรียมแผนงานในรายละเอียดเกี่ยวกับการขยายการสนับสนุนโครงการรับงานไปทำที่บ้าน
การเสนอขอให้ธุรกิจอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตจากเมืองสู่ชนบทได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษการสนับ
สนุนด้านการตลาดแก่ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผลิตในชนบท ฯลฯ ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเห็น
ว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้เกิดการจ้างแรงงานถาวรในชนบท เกิดการสร้างรายได้แก่คนชนบทและเป็น
การเพิ่มกำลังซื้อซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ
2. สถานการณ์ราคาน้ำมันในประเทศ (หลังอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว)
2.1 นับตั้งแต่รัฐบาล ได้เปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว ตั้งแต่ต้น
เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา จนถึงวันที่ 26 กันยายน 2540 ได้มีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและ
ดีเซลรวม 9 ครั้ง อันเป็นผลมาจากการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก มาอยู่ในระดับ 37 บาท/เหรียญ
สหรัฐ และได้มีการปรับราคาขายปลีกขึ้นอีก 1 ครั้ง จากการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 10%
รวมเป็น 10 ครั้ง ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน และดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้น 2.01 - 2.03 บาท/
ลิตรตามลำดับ
2.2 การปรับราคาขายปลีกครั้งหลังสุด เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2540 น้ำมันเบนซิน
พิเศษไร้สารตะกั่ว ธรรมดาไร้สารตะกั่ว และดีเซลหมุนเร็ว ได้ปรับขึ้น 25 สตางค์/ลิตร มาอยู่ใน
ระดับ 11.47, 11.08, และ 10.31 บาท/ลิตร ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการปรับอัตราแลกเปลี่ยน
จาก 35.9 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ในระดับ 37 บาท/เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นต้นทุนราคาน้ำมันที่
เพิ่มขึ้น 15 สตางค์/ลิตร และราคาน้ำมันดีเซลในตลาดโลกที่สูงขึ้นประมาณ 1 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล
หรือ 20 สตางค์/ลิตร ซึ่งหมายถึงการปรับราคาขึ้นของน้ำมันดีเซลยังต่ำกว่าต้นทุนจริงอยู่ ในขณะที่
ราคาน้ำมันเบนซินสูงกว่าต้นทุนที่เพิ่มเล็กน้อย เพื่อนำไปชดเชยราคาน้ำมันดีเซล
2.3 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้น 1
และ 0.5 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลหรือประมาณ 20 และ 10 สตางค์/ลิตร ตามลำดับ ในขณะที่ค่าเงิน
บาทได้กลับแข็งตัวขึ้นมาอยู่ใน ระดับ 36 บาท/เหรียญสหรัฐ ต้นทุนราคาน้ำมัน เนื่องจากอัตราแลก
เปลี่ยนจึงลดลงประมาณ 15 สตางค์/ลิตร ซึ่งเมื่อรวมผลจากการปรับราคาขายปลีกที่ผ่านมาจึงคาดว่า
ในสัปดาห์นี้ ถ้าค่าเงินบาทยังคงอยู่ในระดับนี้ผู้ค้าน้ำมันจะปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลงประมาณ
5 - 10 สตางค์/ลิตร ในขณะที่ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงและถ้าค่าเงินบาท
ได้แข็งตัวขึ้นมามากกว่าระดับ 36 บาท/เหรียญสหรัฐในปัจจุบัน ก็คาดว่าราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลก็จะ
ปรับลดลงด้วย
3. กระทรวงพาณิชย์ รายงานการดำเนินงานภายใต้แผนดูแลราคาสินค้าหลังการใช้ระบบ
อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวและการปรับ VAT: (วันจันทร์ที่ 15 กันยายน - วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน
2540) ดังนี้
ส่วนที่ 1 : ผลการดำเนินงานตามแผน
1. แผนปฏิบัติการด้านราคาและปริมาณ
การจัดจำหน่ายสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้ (กันยายน 2540)
กิจกรรม มิย.-สค. 40 จำนวนร้านค้า เพิ่ม (+) ลด (-) ในแต่ละสัปดาห์ รวม
1-7 8-14 15-21 22-28 (ราย)
1. สินค้าอุปโภคบริโภค (ธงฟ้า-ราคาประหยัด)
1.1 มุมธงฟ้า (ในห้างสรรพสินค้า/ร้านค้า)
- ส่วนกลาง 69 - - +3 72
- ส่วนภูมิภาค 259 - +32 +18 309
1.2 ร้านค้าย่อย อคส. 15 - - - 15
1.3 งานจำหน่ายสินค้าธงฟ้า-ราคาประหยัด
1.3.1 กรมการค้าภายใน
- ส่วนกลาง 10 - +2 +1 13
- ส่วนภูมิภาค - - - - -
1.3.2 กรมการค้าภายในร่วมกับหน่วยงานอื่น
- ส่วนกลาง 33 +3 +15 +5 56
- ส่วนภูมิภาค 128 +41 +43 +54 266
2. สินค้าอาหารสำเร็จรูป (ร้านธงฟ้า)
2.1 ร้านอาหารสำเร็จรูป
- ส่วนกลาง 818 - -8 +5 815
- ส่วนภูมิภาค 1,600 +1 +9 +17 1,627
2.2 ศูนย์อาหาร 32 - - - 32
2.3 ร้านอาหารในส่วนราชการ/สถานศึกษา
- ส่วนกลาง 30 +4 - +1 35
- ส่วนภูมิภาค 11 - +1 +3 15
2.4 รถเข็น/แผงลอย
- ส่วนกลาง 1,117 - - - 1,117
- ส่วนภูมิภาค 703 +26 +21 +8 758
รวม 4,825 +75 +115 +115 5,130
*หน่วยงานอื่น : หอการค้า/สมาคม กองทัพบก กรุงเทพมหานคร สำนักนายกรัฐมนตรี ฯลฯ
2. แผนปฏิบัติการตรวจสอบและติดตามราคาสินค้า
เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้ (กันยายน 2540)
กิจกรรม มิย.-สค. 40 จำนวนร้านค้า เพิ่ม (+) ลด (-) ในแต่ละสัปดาห์ รวม
1-7 8-14 15-21 22-28 (ราย)
การตรวจสอบภาวะราคาสินค้า(ศูนย์เฉพาะกิจ) 11,536 +1,890 +1,720 +1,626 16,772
การรับเรื่องร้องเรียน (ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน) 372 +16 +16 +13 417
การดำเนินการกับผู้กระทำผิด 291 +27 +28 +23 369
การปรับผู้กระทำผิด (จำนวนเงิน/บาท) (104,800) (6,800) (5,600) (5,200) (122,400)
รวม 12,199 1,933 1,764 1,662 17,558
3. แผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์
เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้ (กันยายน 2540)
กิจกรรม มิย.-สค. 40 จำนวนร้านค้า เพิ่ม (+) ลด (-) ในแต่ละสัปดาห์ รวม
1-7 8-14 15-21 22-28 (ราย)
การชี้แจงข้อเท็จจริงทางโทรทัศน์/วิทยุ/ข่าวแจก 45 +2 +1 +3 51
การประชุมผู้ประกอบการ/ผู้ค้า 13 - +1 - 14
การรายงานราคาสินค้าผ่านสื่อ
- โทรทัศน์ 272 +37 +38 +37 384
- วิทยุ 302 +59 +59 +59 479
- หนังสือพิมพ์ 213 +25 +27 +25 290
- Internet 38 +5 +5 +5 53
การนำสื่อมวลชนออกตรวจสถานการณ์ 11 - - - 11
ร่วมกับเจ้าหน้าที่
รวม 894 128 131 129 1,282
ส่วนที่ 2 : สรุปสถานการณ์ประจำสัปดาห์
1. ภาวะการจำหน่ายสินค้าโดยทั่วไป ยังคงอยู่ในระดับเดียวกับสัปดาห์ก่อน ผู้บริโภคซื้อ
สินค้าเท่าที่จำเป็นต่อการครองชีพ ทั้งนี้เมื่อดูถึงสินค้าในกลุ่มอุปโภคบริโภคทั่วไปและอาหารสดแล้วพบว่า
สินค้าอุปโภคบริโภค ราคาจำหน่ายปลีกเคลื่อนไหวในระดับปกติสอดคล้องกับการเปลี่ยน
แปลงค่าเงินบาทและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับร้านค้าปลีกซึ่งส่วนมากยังคงจำหน่ายสินค้าในราคาเดิม
เนื่องจากเป็นสต๊อคเก่า มีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้นตามสินค้าที่สั่งซื้อเข้ามาใหม่ในปลายเดือนกันยายนนี้
สินค้าอาหารสด ราคาเป็นไปตามภาวะตลาดปกติ หมวดเนื้อสัตว์ทรงตัวต่อเนื่องจาก
สัปดาห์ก่อน ยกเว้นไก่เนื้อลดลงเหลือ 40 - 45 บาท/กก.หลังจากทรงตัวติดต่อกันมา 2 สัปดาห์ที่
42 - 45 บาท/กก. สำหรับสัปดาห์หน้าคาดว่าสินค้าหมวดนี้จะปรับตัวลดลงเนื่องจากภาวะการจำหน่าย
ไม่คล่องตัว ส่วนผักสดราคาทรงตัวใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน ยกเว้นผักชีปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิต
ใกล้หมดรุ่น ส่วนส้มเขียวหวานผลผลิตรุ่นใหม่ทะยอยเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ราคาโน้มต่ำลง สัปดาห์หน้าคาด
ว่า ผักคะน้า ผักบุ้งจีน และกะหล่ำปลี ราคาอาจสูงขึ้น เนื่องจากช่วงนี้ฝนตกชุก เป็นเหตุให้ผักเน่าเสีย
หาย และเป็นอุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยวและขนส่ง
2. การร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนลดลงจากสัปดาห์ก่อนเหลือ 13 ราย ซึ่งเป็น
เรื่องทั่ว ๆ ไป สำหรับการตรวจสอบผู้กระทำผิดพบผู้ฝ่าฝืนไม่ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายปลีก (เนื้อสุกร
ชำแหละ อาหารที่ปรุงแต่งแล้ว น้ำตาลทราย และน้ำดื่มบรรจุภาชนะ) รวม 23 ราย เปรียบเทียบปรับ
เป็นเงิน 5,200 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 29 กันยายน 2540--