แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ศุภชัย พานิชภักดิ์
กระทรวงการคลัง
กรมบัญชีกลาง
นายกรัฐมนตรี
รัฐวิสาหกิจ
ทำเนียบรัฐบาล--8 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) เป็นประธาน รายงานความก้าวหน้าด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินงานของคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ ในการประชุม 5 ครั้งแรก คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2540 ได้มีมติสำคัญเกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
1.1 เห็นชอบกรอบแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จำแนกเป็น 6 สาขาหลัก ประกอบด้วย พลังงาน สื่อสารขนส่งทางอากาศ ขนส่งทางน้ำ ขนส่งทางบก และน้ำประปา และเสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (Regulatory Body)
1.2 เห็นชอบแผนเร่งรัดการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนที่สามารถดำเนินการในระยะสั้น (1 - 3 ปี) ใน 2 แนวทาง คือ
1) การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทจำกัด
2) การให้สัมปทานในโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งต้องดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และมีโครงการที่เข้าข่ายอยู่ในปัจจุบัน รวม 9 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบผลิตน้ำประปาภูเก็ต โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 (กทพ.) โครงการทางด่วนสายพญาไท - พุทธมณฑล - นครปฐม (กทพ.) โครงการทางด่วนสายศรีนครินทร์ - บางนา - สมุทรปราการ (กทพ.) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 4 (กทพ.) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 5 (กทพ.) โครงการทางด่วนสายดาวคะนอง - บางขุนเทียน - สมุทรสาคร โครงการท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 โครงการให้เอกชนสร้างโรงผลิตน้ำประปา 6 จังหวัดในภูมิภาค
1.3 เห็นชอบแนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ดังนี้
1) การจำหน่ายหุ้นบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2) แนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี
3) ยุบเลิกองค์การทอผ้า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541
4) ยุบเลิกองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี
5) ให้องค์การแบตเตอรี่ร่วมทุนกับเอกชน ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี
6) ให้องค์การแก้วร่วมทุนกับเอกชน ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี
7) ยุบเลิกองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี8) แนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในบริษัทไม้อัดไทยจำกัด ให้ร่วมทุนกับเอกชนบางส่วน ส่วนที่เหลือให้ยุบเลิก โดยให้บริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาเพิ่มเติม แล้วนำมาเสนอยัง กนร. โดยด่วน
1.4 กนร. ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... และคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่24 กุมภาพันธ์ 2541 ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว โดยมีการแก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติเป็น "ร่างพระราชบัญญัติแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ...." และอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
1.5 กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางได้พิจารณาคัดเลือกบริษัที่ปรึกษาเพื่อศึกษารายละเอียดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้รอบคอบชัดเจนเสร็จแล้ว เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 โดยบริษัทที่ปรึกษาจะช่วยดำเนินการและสนับสนุนงานของ กนร.
1.6 กรมบัญชีกลางได้รับแผนปฏิบัติการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้วจำนวน 40 แห่ง และอยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อเสนอตามแผนปฏิบัติการที่รัฐวิสาหกิจจัดส่งมา เพื่อจัดประชุมหารือระหว่างรัฐวิสาหกิจและกระทรวงเจ้าสังกัด ก่อนเสนอที่ประชุม กนร. ต่อไป
2. การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานอื่น ๆ
2.1 บริษัท บางจากปิโตรเลียม ขณะนี้อยู่ระหว่างกระทรวงการคลังขอหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เพื่อขอรับนโยบายว่าจะดำเนินการขายหุ้นอย่างไร
2.2 โรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนการปรับโครงสร้างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอคณะกรรมการบริหารของ กฟผ.
2.3 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิต จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างดำเนินการ Road Show ในต่างประเทศ และคาดว่าจะจำหน่ายจนเสร็จสิ้นประมาณปลายปี 2541 ถึงต้นปี 2542
2.4 บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำ Due Dilligence ของนักลงทุนที่สนใจ คาดว่าจะคัดเลือกนักลงทุนที่เหมาะสมที่สุดได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2541
2.5 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) อยู่ระหว่างดำเนินการการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัด
3. แผนการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการแปรรูปรัฐวิสหกิจในขณะนี้
3.1 กระทรวงการคลัง ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และบริษัทที่ปรึกษาของธนาคารโลก ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งองค์กรกลางอิสระเพื่อกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจรายสาขา และเสนอต่อ กนร. และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
3.2 กนร. จะร่วมกับกระทรวงเจ้าสังกัดรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้ประชาชนทั่วไปและพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
3.3 กนร. จะเร่งรัดการแปรรูปรัฐวิสหกิจ โดยพยายามปรับวิธีการทำงานของ กนร. เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วและเกิดผลที่เป็นรูปธรรมต่อไป
3.4 กระทรวงการคลัง และ สศช. จะร่วมกับกระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจ และรัฐวิสาหกิจจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization Action Plan) ภายใต้กรอบแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และนำเสนอให้ กนร. และคณะรัฐมนตรีพิจารณา
4. ความก้าวหน้าเพิ่มเติม
4.1 ในคราวประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสหกิจ ครั้งที่ 6/2541 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 สศช.ได้เสนอเรื่องสถานะปัจจุบันการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยรวบรวมแนวทางการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานสาขาต่าง ๆ ที่มีอยู่รวม 6 สาขา ได้แก่ พลังงาน สื่อสาร ขนส่งทางอากาศ ขนส่งทางน้ำ ขนส่งทางบก และน้ำประปา รวมทั้งรายงานสถานะการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในปัจจุบัน ตลอดจนแนวทางการดำเนินการและประเด็นที่ต้องสร้างความชัดเจนในแต่ละสาขาซึ่งที่ประชุมได้มีการหารือในประเด็นการขายหุ้นของบริษัทบางจากปิโตรเลียมฯ และการจัดตั้งกลไกกำกับดูแลรายสาขา และ กนร. ได้มีมติรับทราบตามที่ สศช. เสนอ โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับไปดำเนินการติดตาม/เร่งรัดการแปรรูปตามแนวทางดังกล่าว
4.2 โดยที่การดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานสาขาต่าง ๆ ยังมีหลายประเด็นที่ต้องสร้างความชัดเจนเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ จะจัดทำรายงานสถานะการดำเนินการ เป้าหมายการดำเนินงาน ระยะเวลา และประเด็นนโยบายรายสาขา เพื่อนำเสนอ กนร. พิจารณาต่อไป
4.3 ในการประฃุม กนร. ในครั้งต่อไป ในวันที่ 19 มิถุนายน 2541 จะได้มีการพิจารณาแนวทางดำเนินการและประเด็นสำคัญที่ต้องสร้างความชัดเจนในสาขาสื่อสาร เช่น
1) การแก้ไขกฎหมายด้านโทรคมนาคม เพื่อยกเลิกการผูกขาดของรัฐ
2) การจัดตั้งบริษัทเงินทุน (Holding Company) ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ
3) การเตรียมการจัดตั้งคณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติ (กสช.)
4) การเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดเสรี เช่น เตรียมการยกร่างหลักเกณฑ์การกำกับดูแลในเรื่องสำคัญ ๆ ไว้ก่อน
5) การขายหุ้นขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
- ขั้นตอน ระเบียบ/กฎหมายในการขายหุ้นของบริษัท ทศท. และบริษัท กสท. ให้แก่พันธมิตรร่วมทุน (Strategic Partner) และผู้ลงทุนเฉพาะราย (Private Placement)
- ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการขายหุ้นของ ทศท. และ กสท.
6) การแปรสัญญาสัมปทานของ ทศท. และ กสท.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 มิถุนายน 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) เป็นประธาน รายงานความก้าวหน้าด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินงานของคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ ในการประชุม 5 ครั้งแรก คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2540 ได้มีมติสำคัญเกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
1.1 เห็นชอบกรอบแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จำแนกเป็น 6 สาขาหลัก ประกอบด้วย พลังงาน สื่อสารขนส่งทางอากาศ ขนส่งทางน้ำ ขนส่งทางบก และน้ำประปา และเสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (Regulatory Body)
1.2 เห็นชอบแผนเร่งรัดการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนที่สามารถดำเนินการในระยะสั้น (1 - 3 ปี) ใน 2 แนวทาง คือ
1) การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทจำกัด
2) การให้สัมปทานในโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งต้องดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และมีโครงการที่เข้าข่ายอยู่ในปัจจุบัน รวม 9 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบผลิตน้ำประปาภูเก็ต โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 (กทพ.) โครงการทางด่วนสายพญาไท - พุทธมณฑล - นครปฐม (กทพ.) โครงการทางด่วนสายศรีนครินทร์ - บางนา - สมุทรปราการ (กทพ.) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 4 (กทพ.) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 5 (กทพ.) โครงการทางด่วนสายดาวคะนอง - บางขุนเทียน - สมุทรสาคร โครงการท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 โครงการให้เอกชนสร้างโรงผลิตน้ำประปา 6 จังหวัดในภูมิภาค
1.3 เห็นชอบแนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ดังนี้
1) การจำหน่ายหุ้นบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2) แนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี
3) ยุบเลิกองค์การทอผ้า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541
4) ยุบเลิกองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี
5) ให้องค์การแบตเตอรี่ร่วมทุนกับเอกชน ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี
6) ให้องค์การแก้วร่วมทุนกับเอกชน ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี
7) ยุบเลิกองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี8) แนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในบริษัทไม้อัดไทยจำกัด ให้ร่วมทุนกับเอกชนบางส่วน ส่วนที่เหลือให้ยุบเลิก โดยให้บริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาเพิ่มเติม แล้วนำมาเสนอยัง กนร. โดยด่วน
1.4 กนร. ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... และคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่24 กุมภาพันธ์ 2541 ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว โดยมีการแก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติเป็น "ร่างพระราชบัญญัติแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ...." และอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
1.5 กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางได้พิจารณาคัดเลือกบริษัที่ปรึกษาเพื่อศึกษารายละเอียดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้รอบคอบชัดเจนเสร็จแล้ว เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 โดยบริษัทที่ปรึกษาจะช่วยดำเนินการและสนับสนุนงานของ กนร.
1.6 กรมบัญชีกลางได้รับแผนปฏิบัติการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้วจำนวน 40 แห่ง และอยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อเสนอตามแผนปฏิบัติการที่รัฐวิสาหกิจจัดส่งมา เพื่อจัดประชุมหารือระหว่างรัฐวิสาหกิจและกระทรวงเจ้าสังกัด ก่อนเสนอที่ประชุม กนร. ต่อไป
2. การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานอื่น ๆ
2.1 บริษัท บางจากปิโตรเลียม ขณะนี้อยู่ระหว่างกระทรวงการคลังขอหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เพื่อขอรับนโยบายว่าจะดำเนินการขายหุ้นอย่างไร
2.2 โรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนการปรับโครงสร้างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอคณะกรรมการบริหารของ กฟผ.
2.3 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิต จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างดำเนินการ Road Show ในต่างประเทศ และคาดว่าจะจำหน่ายจนเสร็จสิ้นประมาณปลายปี 2541 ถึงต้นปี 2542
2.4 บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำ Due Dilligence ของนักลงทุนที่สนใจ คาดว่าจะคัดเลือกนักลงทุนที่เหมาะสมที่สุดได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2541
2.5 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) อยู่ระหว่างดำเนินการการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัด
3. แผนการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการแปรรูปรัฐวิสหกิจในขณะนี้
3.1 กระทรวงการคลัง ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และบริษัทที่ปรึกษาของธนาคารโลก ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งองค์กรกลางอิสระเพื่อกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจรายสาขา และเสนอต่อ กนร. และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
3.2 กนร. จะร่วมกับกระทรวงเจ้าสังกัดรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้ประชาชนทั่วไปและพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
3.3 กนร. จะเร่งรัดการแปรรูปรัฐวิสหกิจ โดยพยายามปรับวิธีการทำงานของ กนร. เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วและเกิดผลที่เป็นรูปธรรมต่อไป
3.4 กระทรวงการคลัง และ สศช. จะร่วมกับกระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจ และรัฐวิสาหกิจจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization Action Plan) ภายใต้กรอบแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และนำเสนอให้ กนร. และคณะรัฐมนตรีพิจารณา
4. ความก้าวหน้าเพิ่มเติม
4.1 ในคราวประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสหกิจ ครั้งที่ 6/2541 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 สศช.ได้เสนอเรื่องสถานะปัจจุบันการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยรวบรวมแนวทางการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานสาขาต่าง ๆ ที่มีอยู่รวม 6 สาขา ได้แก่ พลังงาน สื่อสาร ขนส่งทางอากาศ ขนส่งทางน้ำ ขนส่งทางบก และน้ำประปา รวมทั้งรายงานสถานะการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในปัจจุบัน ตลอดจนแนวทางการดำเนินการและประเด็นที่ต้องสร้างความชัดเจนในแต่ละสาขาซึ่งที่ประชุมได้มีการหารือในประเด็นการขายหุ้นของบริษัทบางจากปิโตรเลียมฯ และการจัดตั้งกลไกกำกับดูแลรายสาขา และ กนร. ได้มีมติรับทราบตามที่ สศช. เสนอ โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับไปดำเนินการติดตาม/เร่งรัดการแปรรูปตามแนวทางดังกล่าว
4.2 โดยที่การดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานสาขาต่าง ๆ ยังมีหลายประเด็นที่ต้องสร้างความชัดเจนเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ จะจัดทำรายงานสถานะการดำเนินการ เป้าหมายการดำเนินงาน ระยะเวลา และประเด็นนโยบายรายสาขา เพื่อนำเสนอ กนร. พิจารณาต่อไป
4.3 ในการประฃุม กนร. ในครั้งต่อไป ในวันที่ 19 มิถุนายน 2541 จะได้มีการพิจารณาแนวทางดำเนินการและประเด็นสำคัญที่ต้องสร้างความชัดเจนในสาขาสื่อสาร เช่น
1) การแก้ไขกฎหมายด้านโทรคมนาคม เพื่อยกเลิกการผูกขาดของรัฐ
2) การจัดตั้งบริษัทเงินทุน (Holding Company) ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ
3) การเตรียมการจัดตั้งคณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติ (กสช.)
4) การเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดเสรี เช่น เตรียมการยกร่างหลักเกณฑ์การกำกับดูแลในเรื่องสำคัญ ๆ ไว้ก่อน
5) การขายหุ้นขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
- ขั้นตอน ระเบียบ/กฎหมายในการขายหุ้นของบริษัท ทศท. และบริษัท กสท. ให้แก่พันธมิตรร่วมทุน (Strategic Partner) และผู้ลงทุนเฉพาะราย (Private Placement)
- ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการขายหุ้นของ ทศท. และ กสท.
6) การแปรสัญญาสัมปทานของ ทศท. และ กสท.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 มิถุนายน 2541--