คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่าพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบัน มีบทบัญญัติหลายประการที่ก่อให้เกิดปัญหาความ ล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการและผู้รับบำนาญ สมควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การเบิกจ่ายมีความคล่องตัวรวดเร็ว เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน โดยร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า “เงินเดือน” และคำว่า “ข้าราชการ” ให้สอดคล้องกับการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสำนักงบประมาณในปัจจุบัน
2. ยกเลิกบัญชีถือจ่ายเงินเดือน และกำหนดวิธีการเบิกจ่ายเงินเดือนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด เพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
3. กำหนดให้อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่มิได้มาปฏิบัติ ราชการกรณีอื่นที่มิใช่กรณีหนีราชการหรือละทิ้งหน้าที่ราชการหรือกรณีที่มีกฎหมายยกเว้นไว้ แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อกระจายอำนาจและลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
4. กำหนดให้จ่ายเงินเดือนประจำเดือนในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายสามวันทำการ และให้จ่ายบำนาญประจำเดือนในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายห้าวันทำการ
5. ยกเลิกการแสดงตนของผู้รับบำนาญและกำหนดให้การตรวจสอบการมีชีวิตของผู้รับบำนาญเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการเบิกจ่ายและวันกำหนดจ่ายเงินเดือนตามข้อ 3
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่าพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบัน มีบทบัญญัติหลายประการที่ก่อให้เกิดปัญหาความ ล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการและผู้รับบำนาญ สมควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การเบิกจ่ายมีความคล่องตัวรวดเร็ว เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน โดยร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า “เงินเดือน” และคำว่า “ข้าราชการ” ให้สอดคล้องกับการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสำนักงบประมาณในปัจจุบัน
2. ยกเลิกบัญชีถือจ่ายเงินเดือน และกำหนดวิธีการเบิกจ่ายเงินเดือนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด เพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
3. กำหนดให้อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่มิได้มาปฏิบัติ ราชการกรณีอื่นที่มิใช่กรณีหนีราชการหรือละทิ้งหน้าที่ราชการหรือกรณีที่มีกฎหมายยกเว้นไว้ แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อกระจายอำนาจและลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
4. กำหนดให้จ่ายเงินเดือนประจำเดือนในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายสามวันทำการ และให้จ่ายบำนาญประจำเดือนในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายห้าวันทำการ
5. ยกเลิกการแสดงตนของผู้รับบำนาญและกำหนดให้การตรวจสอบการมีชีวิตของผู้รับบำนาญเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการเบิกจ่ายและวันกำหนดจ่ายเงินเดือนตามข้อ 3
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--