ทำเนียบรัฐบาล--25 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบการดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวและการปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
1. กระทรวงพาณิชย์ (18 -24 สค.2540)
1) สินค้าอาหารสด ราคาเป็นไปตามภาวะตลาดปกติ ไม่มีการปรับสูงขึ้นอย่างรุนแรง ไก่และผักสดบางชนิด ซึ่งปรับราคาสูงขึ้นในช่วงเทศกาลสารทจีน (16-17 สค.40) ได้โน้มตัวลดลงเป็นลำดับ และคาดว่าราคาจะลดลงอีกในสัปดาห์หน้า
2) สินค้าอุปโภคบริโภค การจำหน่ายไม่คึกคักเหมือนช่วงปรับ VAT ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าประเภทข้าวสาร น้ำตาลทราย น้ำมันพืช ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็นต่อการครองชีพมากขึ้น
3) ภาพรวมขงอราคาสินค้าปรับสูงขึ้นสอดคล้องกับอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 2.5-3 โดยห้างสรรพสินค้าได้ปรับราคาสินค้าสูงขึ้นทันทีหลังการใช้อัตราภาษีใหม่ ส่วนร้านค้าทั่วไปส่วนมากยังคงจำหน่ายในราคาเดิม ในส่วนของวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้รับผลกระทบจาก VAT และการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนได้ปรับราคาสูงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 16 สค.40 เป็นต้นไป
4) การร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องมีปริมาณสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการจำหน่ายสินค้าราคาเกินสมควร และไม่ปิดป้านแสดงราคาจำหน่าย
2. คณะทำงานประสานงานแก้ไขผลกระทบค่าเงินบาทต่อธุรกิจ (คกธ.) (ระหว่างวันที่ 18-22 สค.2540)
2.1 คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ร่วมกับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งแล้ว ได้พิจารณากำหนดแนวทางการผ่อนผันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งการชำระหนี้ค่าไฟฟ้า เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ดังต่อไปนี้
1) การไฟฟ้าจะขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่ธุรกิจและอุตสาหกรรม จากเดิมภายใน 15 วัน สำหรับเขตภูมิภาค และ 7 วัน สำหรับเขตนครหลวง เป็น 30 วัน ทั้งนี้ เฉพาะค่าไฟฟ้าช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2540 โดยขอให้ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาการเงินติดต่อการไฟฟ้าเป็นรายๆ ไป
2) การไฟฟ้าจะผ่อนคลายสถานการณ์การงดจ่ายไฟฟ้าในการใช้ประจำเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2540
2.2 คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบมาตรการทีได้ข้อสรุปและจะมีผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว ตามที่ได้หารือกับกรมสรรพสามิต ดังนี้
1) ยกเว้นภาษีสรรพสามิต สำหรับคริสตัลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ
2) ช่วยให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนผลิตเพื่อส่งออก ไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยกรมสรรพสามิตจะขยายเวลาการเสียภาษีให้ 1 ปี เพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการนำไปผลิตส่งออก เมื่อผู้ผลิตได้ส่งออกแล้วก็ให้นำหลักฐานการส่งออกมาหักลบ โดยบริษัทไม่ต้องเสียภาษีจริง สำหรับบริษัทใดที่เสียภาษีไปแล้วสามารถขอคืนได้
3) ผู้ผลิตแบตเตอรี่ในประเทศสามารถขยกเว้นภาษีสรรพสามิตได้ หากขายให้แก่ผู้ผลิตเพื่อส่งออก เช่น แบตเตอรี่ให้แก่ผู้ผลิตรถปิคอัพเพื่อส่งออก โดยถือว่าเป็นการส่งออกทางอ้อม
ทั้งนี้ กรมสรรพสามิตจะดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
3. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ข้อมูล ณ 22 สค.2540)
ได้กำหนดนโยบายในการดำเนินงานออกเป็น 4 ขั้นตอน โดยในแต่ละขั้นตอนได้กำหนดมาตรการและแนวทางที่ชัดเจน ดังนี้
3.1 นโยบายชะลอการเลิกจ้าง
1) กระทรวงแรงงานฯ ได้เสนอแนะมาตรการและแนวทางบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง ซึ่งได้เผยแพร่ให้แก่นายจ้างทั่วประเทศทราบแล้ว โดยมีมาตรการที่สำคัญ ๆ เช่น การลดค่าใช้จ่ายโดยความร่วมมือของลูกจ้าง ลดเวลาทำงาน ลดค่าจ้าง ในขณะเดียวกันได้ส่งเสริมให้มีการจัดสวัสดิการสินค้าราคาถูกให้แก่ลูกจ้างเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องค่าครองชีพ
2) ประสานงานกับกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่สถานประกอบการ ซึ่งจะช่วยให้สามารถดำเนินการต่อไปได้
3) ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมกำลังพิจารณาเพื่อช่วยลดรายจ่ายต่าง ๆ ของสถานประกอบการ เช่น การพิจารณาลดอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนจากไม่เกินร้อยละ 5 ของค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายแต่ละปีเหลือร้อยละ 2
3.2 นโยบายช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน
1) กระทรวงแรงงานฯ ได้เร่งรัดให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยตามกฎหมาย ซึ่งได้ดำเนินการเรียกร้องสิทธิให้กับลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 มกราคม - 21 สิงหาคม 2540 เป็นเงินจำนวน 219 ล้านบาท รวมทั้งได้ปรับระบบการทำงานให้สามารถบริการอย่างรวดเร็ว สะดวก ตลอดจนดำเนินคดีฟ้องร้องให้กับลูกจ้าง
2) สนับสนุนทุนประกอบอาชีพ โดยกรมประชาสงเคราะห์ได้อำนวยความสะดวกแก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างและประสงค์ขอกู้ยืมเงินเพื่อไปประกอบอาชีพได้จากเงินทุนหมุนเวียนประชาเศรษฐกิจสงเคราะห์ โดยติดต่อได้ที่ประชาสงเคราะห์จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ได้ขอให้กรมบัญชีกลาง โอนเงินทุนดังกล่าวให้จังหวัดที่มีปัญหาสถานประกอบการเลิกจ้างลูกจ้างรวม 7 จังหวัด คือ ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา นครปฐม และอยุธยา เป็นเงิน 4.62 แสนบาท สำหรับเงินทุนประกอบอาชีพดังกล่าว ขณะนี้มียอดคงเหลือสามารถให้บริการกู้ยืมได้เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 7.514 ล้านบาท
3) ให้ลูกจ้างคงได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมหลังถูกเลิกจ้างไปอีก 6 เดือน
3.3 นโยบายจัดหางานให้ใหม่
1) งานในประเทศ
- กระทรวงแรงงานฯ ได้เร่งรัดช่วยเหลือลูกจ้างให้มีงานทำโดยเร็ว ขณะนี้มีตำแหน่งงานที่ว่างประมาณ 20,000 อัตราเศษ นอกจากนี้ได้แนะแนวอาชีพและฝึกอาชีพให้แก่ลูกจ้างเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงาน ซึ่งได้มีผู้ถูกเลิกจ้างมาติดต่อและได้รับการช่วยเหลือไปแล้ว 315 คน
- กระทรวงแรงงานฯ ได้จัดทำโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานให้กับผู้ถูกเลิกจ้าง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาฝีมือแรงงาน 5,000 คน
2) งานในต่างประเทศ
กระทรวงแรงงานฯ ได้เร่งรัดสำนักงานแรงงานในต่างประเทศ ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 12 แห่ง เร่งหาตลาดแรงงานเพื่อรองรับแรงงานที่ถูกเลิกจ้างและประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งมีตลาดแรงงานที่สำคัญ เช่น อิสราเอล สิงค์โปร์ และไต้หวัน นอกจากนี้จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายล่วงหน้าให้แก่ผู้ประสงค์จะไปทำงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และให้ส่งใช้คืนเมื่อได้เข้าทำงานแล้ว
3.4 นโยบายขยายการจ้างงานในเมืองและชนบท
1) ส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน โดยกระทรงแรงงานฯ จะส่งเสริมการรวมกลุ่ม การฝึกอาชีพ เพื่อเพิ่มทักษะในการทำงาน ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหางานลงไปในพื้นที่ ซึ่งลูกจ้างสูงอายุที่ถูกเลิกจ้างและประสงค์กลับภูมิลำเนาจะได้รับประโยชน์ด้วย
2) ประสานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเร่งสร้างอุตสาหกรรมบริการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเพิ่มการจ้างงาน
อนึ่ง สำหรับการดำเนินการของกระทรวงแรงงานฯ เกี่ยวกับปัญหาพนักงานบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ มีดังนี้
1) กระทรวงแรงงานฯ โดยผู้บริหารระดับสูงได้พบปะหารือกับประธานสมาคมบริษัทเงินทุนและนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์พร้อมคณะ ทราบว่าบริษัทฯ มีปัญหา 58 บริษัท มีพนักงานเกี่ยวข้อง 18,451 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการควบกิจการหรือรวมกิจการเพื่อตั้งเป็นธนาคาร ซึ่งหากควบกิจการได้ พนักงานถูกเลิกจ้างจะไม่เกิน 11,994 คน หากสามารถจัดตั้งเป็นธนาคารได้ จำนวนพนักงานถูกเลิกจ้างจะไม่เกิน 7,712 คน
2) สมาคมพร้อมให้ความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานฯ ในการใช้มาตการต่าง ๆ ที่จะรักษาพนักงานไว้ในบริษัทฯ และจะใช้มาตรการเลิกจ้างเป็นขั้นตอนสุดท้ายเท่าที่จำเป็น
3) กระทรวงแรงงานฯ ได้จัดทำแบบสอบถามข้อมูลไปยังบริษัทฯ ทั้ง 58 แห่ง ครอบคลุมพนักงานทั้งหมดทุกคน เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการช่วยเหลือเรื่องเงินทุนประกอบอาชีพ การอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการประกอบการและความต้องการในการหางานใหม่ทำ ซึ่งได้กำหนดให้ส่งข้อมูลกลับมายังกระทรวงภายใน วันที่ 3 กันยายน 2540 และจะได้รายงานผลให้ทราบต่อไป
สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพคนงานนั้น กระทรวงแรงงานฯ ได้ประสานงานกับผู้แทนสภาองค์การลูกจ้างฯ กรมการค้าภายในและองค์การคลังสินค้าจัดโครงการคาราวานสินค้าราคาถูกไปจำหน่ายในแหล่งที่พักอาศัย ซึ่งมีผู้ใช้แรงงานพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยสภาองค์การลูกจ้างฯ จะเป็นผู้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ลูกจ้างในแหล่งที่จะจัดได้รับทราบ และกระทรวงแรงงานฯ โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะแจ้งไปยังสถานประกอบการต่าง ๆ ให้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกจ้างทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 25 สิงหาคม 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบการดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวและการปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
1. กระทรวงพาณิชย์ (18 -24 สค.2540)
1) สินค้าอาหารสด ราคาเป็นไปตามภาวะตลาดปกติ ไม่มีการปรับสูงขึ้นอย่างรุนแรง ไก่และผักสดบางชนิด ซึ่งปรับราคาสูงขึ้นในช่วงเทศกาลสารทจีน (16-17 สค.40) ได้โน้มตัวลดลงเป็นลำดับ และคาดว่าราคาจะลดลงอีกในสัปดาห์หน้า
2) สินค้าอุปโภคบริโภค การจำหน่ายไม่คึกคักเหมือนช่วงปรับ VAT ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าประเภทข้าวสาร น้ำตาลทราย น้ำมันพืช ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็นต่อการครองชีพมากขึ้น
3) ภาพรวมขงอราคาสินค้าปรับสูงขึ้นสอดคล้องกับอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 2.5-3 โดยห้างสรรพสินค้าได้ปรับราคาสินค้าสูงขึ้นทันทีหลังการใช้อัตราภาษีใหม่ ส่วนร้านค้าทั่วไปส่วนมากยังคงจำหน่ายในราคาเดิม ในส่วนของวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้รับผลกระทบจาก VAT และการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนได้ปรับราคาสูงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 16 สค.40 เป็นต้นไป
4) การร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องมีปริมาณสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการจำหน่ายสินค้าราคาเกินสมควร และไม่ปิดป้านแสดงราคาจำหน่าย
2. คณะทำงานประสานงานแก้ไขผลกระทบค่าเงินบาทต่อธุรกิจ (คกธ.) (ระหว่างวันที่ 18-22 สค.2540)
2.1 คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ร่วมกับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งแล้ว ได้พิจารณากำหนดแนวทางการผ่อนผันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งการชำระหนี้ค่าไฟฟ้า เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ดังต่อไปนี้
1) การไฟฟ้าจะขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่ธุรกิจและอุตสาหกรรม จากเดิมภายใน 15 วัน สำหรับเขตภูมิภาค และ 7 วัน สำหรับเขตนครหลวง เป็น 30 วัน ทั้งนี้ เฉพาะค่าไฟฟ้าช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2540 โดยขอให้ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาการเงินติดต่อการไฟฟ้าเป็นรายๆ ไป
2) การไฟฟ้าจะผ่อนคลายสถานการณ์การงดจ่ายไฟฟ้าในการใช้ประจำเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2540
2.2 คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบมาตรการทีได้ข้อสรุปและจะมีผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว ตามที่ได้หารือกับกรมสรรพสามิต ดังนี้
1) ยกเว้นภาษีสรรพสามิต สำหรับคริสตัลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ
2) ช่วยให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนผลิตเพื่อส่งออก ไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยกรมสรรพสามิตจะขยายเวลาการเสียภาษีให้ 1 ปี เพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการนำไปผลิตส่งออก เมื่อผู้ผลิตได้ส่งออกแล้วก็ให้นำหลักฐานการส่งออกมาหักลบ โดยบริษัทไม่ต้องเสียภาษีจริง สำหรับบริษัทใดที่เสียภาษีไปแล้วสามารถขอคืนได้
3) ผู้ผลิตแบตเตอรี่ในประเทศสามารถขยกเว้นภาษีสรรพสามิตได้ หากขายให้แก่ผู้ผลิตเพื่อส่งออก เช่น แบตเตอรี่ให้แก่ผู้ผลิตรถปิคอัพเพื่อส่งออก โดยถือว่าเป็นการส่งออกทางอ้อม
ทั้งนี้ กรมสรรพสามิตจะดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
3. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ข้อมูล ณ 22 สค.2540)
ได้กำหนดนโยบายในการดำเนินงานออกเป็น 4 ขั้นตอน โดยในแต่ละขั้นตอนได้กำหนดมาตรการและแนวทางที่ชัดเจน ดังนี้
3.1 นโยบายชะลอการเลิกจ้าง
1) กระทรวงแรงงานฯ ได้เสนอแนะมาตรการและแนวทางบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง ซึ่งได้เผยแพร่ให้แก่นายจ้างทั่วประเทศทราบแล้ว โดยมีมาตรการที่สำคัญ ๆ เช่น การลดค่าใช้จ่ายโดยความร่วมมือของลูกจ้าง ลดเวลาทำงาน ลดค่าจ้าง ในขณะเดียวกันได้ส่งเสริมให้มีการจัดสวัสดิการสินค้าราคาถูกให้แก่ลูกจ้างเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องค่าครองชีพ
2) ประสานงานกับกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่สถานประกอบการ ซึ่งจะช่วยให้สามารถดำเนินการต่อไปได้
3) ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมกำลังพิจารณาเพื่อช่วยลดรายจ่ายต่าง ๆ ของสถานประกอบการ เช่น การพิจารณาลดอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนจากไม่เกินร้อยละ 5 ของค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายแต่ละปีเหลือร้อยละ 2
3.2 นโยบายช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน
1) กระทรวงแรงงานฯ ได้เร่งรัดให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยตามกฎหมาย ซึ่งได้ดำเนินการเรียกร้องสิทธิให้กับลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 มกราคม - 21 สิงหาคม 2540 เป็นเงินจำนวน 219 ล้านบาท รวมทั้งได้ปรับระบบการทำงานให้สามารถบริการอย่างรวดเร็ว สะดวก ตลอดจนดำเนินคดีฟ้องร้องให้กับลูกจ้าง
2) สนับสนุนทุนประกอบอาชีพ โดยกรมประชาสงเคราะห์ได้อำนวยความสะดวกแก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างและประสงค์ขอกู้ยืมเงินเพื่อไปประกอบอาชีพได้จากเงินทุนหมุนเวียนประชาเศรษฐกิจสงเคราะห์ โดยติดต่อได้ที่ประชาสงเคราะห์จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ได้ขอให้กรมบัญชีกลาง โอนเงินทุนดังกล่าวให้จังหวัดที่มีปัญหาสถานประกอบการเลิกจ้างลูกจ้างรวม 7 จังหวัด คือ ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา นครปฐม และอยุธยา เป็นเงิน 4.62 แสนบาท สำหรับเงินทุนประกอบอาชีพดังกล่าว ขณะนี้มียอดคงเหลือสามารถให้บริการกู้ยืมได้เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 7.514 ล้านบาท
3) ให้ลูกจ้างคงได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมหลังถูกเลิกจ้างไปอีก 6 เดือน
3.3 นโยบายจัดหางานให้ใหม่
1) งานในประเทศ
- กระทรวงแรงงานฯ ได้เร่งรัดช่วยเหลือลูกจ้างให้มีงานทำโดยเร็ว ขณะนี้มีตำแหน่งงานที่ว่างประมาณ 20,000 อัตราเศษ นอกจากนี้ได้แนะแนวอาชีพและฝึกอาชีพให้แก่ลูกจ้างเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงาน ซึ่งได้มีผู้ถูกเลิกจ้างมาติดต่อและได้รับการช่วยเหลือไปแล้ว 315 คน
- กระทรวงแรงงานฯ ได้จัดทำโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานให้กับผู้ถูกเลิกจ้าง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาฝีมือแรงงาน 5,000 คน
2) งานในต่างประเทศ
กระทรวงแรงงานฯ ได้เร่งรัดสำนักงานแรงงานในต่างประเทศ ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 12 แห่ง เร่งหาตลาดแรงงานเพื่อรองรับแรงงานที่ถูกเลิกจ้างและประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งมีตลาดแรงงานที่สำคัญ เช่น อิสราเอล สิงค์โปร์ และไต้หวัน นอกจากนี้จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายล่วงหน้าให้แก่ผู้ประสงค์จะไปทำงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และให้ส่งใช้คืนเมื่อได้เข้าทำงานแล้ว
3.4 นโยบายขยายการจ้างงานในเมืองและชนบท
1) ส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน โดยกระทรงแรงงานฯ จะส่งเสริมการรวมกลุ่ม การฝึกอาชีพ เพื่อเพิ่มทักษะในการทำงาน ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหางานลงไปในพื้นที่ ซึ่งลูกจ้างสูงอายุที่ถูกเลิกจ้างและประสงค์กลับภูมิลำเนาจะได้รับประโยชน์ด้วย
2) ประสานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเร่งสร้างอุตสาหกรรมบริการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเพิ่มการจ้างงาน
อนึ่ง สำหรับการดำเนินการของกระทรวงแรงงานฯ เกี่ยวกับปัญหาพนักงานบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ มีดังนี้
1) กระทรวงแรงงานฯ โดยผู้บริหารระดับสูงได้พบปะหารือกับประธานสมาคมบริษัทเงินทุนและนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์พร้อมคณะ ทราบว่าบริษัทฯ มีปัญหา 58 บริษัท มีพนักงานเกี่ยวข้อง 18,451 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการควบกิจการหรือรวมกิจการเพื่อตั้งเป็นธนาคาร ซึ่งหากควบกิจการได้ พนักงานถูกเลิกจ้างจะไม่เกิน 11,994 คน หากสามารถจัดตั้งเป็นธนาคารได้ จำนวนพนักงานถูกเลิกจ้างจะไม่เกิน 7,712 คน
2) สมาคมพร้อมให้ความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานฯ ในการใช้มาตการต่าง ๆ ที่จะรักษาพนักงานไว้ในบริษัทฯ และจะใช้มาตรการเลิกจ้างเป็นขั้นตอนสุดท้ายเท่าที่จำเป็น
3) กระทรวงแรงงานฯ ได้จัดทำแบบสอบถามข้อมูลไปยังบริษัทฯ ทั้ง 58 แห่ง ครอบคลุมพนักงานทั้งหมดทุกคน เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการช่วยเหลือเรื่องเงินทุนประกอบอาชีพ การอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการประกอบการและความต้องการในการหางานใหม่ทำ ซึ่งได้กำหนดให้ส่งข้อมูลกลับมายังกระทรวงภายใน วันที่ 3 กันยายน 2540 และจะได้รายงานผลให้ทราบต่อไป
สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพคนงานนั้น กระทรวงแรงงานฯ ได้ประสานงานกับผู้แทนสภาองค์การลูกจ้างฯ กรมการค้าภายในและองค์การคลังสินค้าจัดโครงการคาราวานสินค้าราคาถูกไปจำหน่ายในแหล่งที่พักอาศัย ซึ่งมีผู้ใช้แรงงานพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยสภาองค์การลูกจ้างฯ จะเป็นผู้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ลูกจ้างในแหล่งที่จะจัดได้รับทราบ และกระทรวงแรงงานฯ โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะแจ้งไปยังสถานประกอบการต่าง ๆ ให้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกจ้างทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 25 สิงหาคม 2540--