คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีหลักการและเหตุผลดังนี้ ให้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์
การบริหารสินเชื่ออสังหาริม-ทรัพย์ โดยที่อสังหาริมทรัพย์ได้ประสบภาวะซบเซาอย่างกว้างขวาง อสังหา
ริมทรัพย์บางประเภทล้นตลาด และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ตลอดจนธุรกิจต่างๆ
ที่ต่อเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อป้องกันมิให้ปัญาลุกลามต่อไป อันจะบั่นทอนฐานะและความเชื่อมั่นในระบบ
การเงิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. หลักการและวัตถุประสงค์
การจัดตั้งองค์การขึ้น เรียกว่า “องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์” (Property
Loan Management Organization) เพื่อรับซื้อลูกหนี้อสังหาริมทรัพย์จากสถาลันการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน
และนำไปบริหารฟื้นฟูโดยองค์การฯ ไม่ต้องมีภาระให้การสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติมให้แก่ลูกหนี้อสังหา
ริมทรัพย์
2. รูปแบบองค์การ
เป็นองค์การของรัฐ จัดตั้งโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้ง
องค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496
3. ทุนดำเนินงาน จะมาจาก 3 แหล่ง ดังนี้
3.1 ทุนประเดิมจากงบประมาณของรัฐ จำนวน 1 ล้านบาท
3.2 เงินสมทบจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการรายละ 1 ล้านบาท ในการนี้ คาด
ว่าจะมีสถาบันการเงินเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 90-100 ราย จึงจะมีเงินสมทบประมาณ 90-100 ล้านบาท
3.3 องค์การฯ ออกพันธบัตร โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน โดยอาจจะออกเป็นพันธ
บัตรชนิดดอกเบี้ยทบต้น หรือพันธบัตรประเภทอื่นใดก็ได้ การออกพันธบัตรแต่ละครั้งให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติตาม
ความจำเป็นในการนี้ คาดว่าจะมีการออกพันธบัตรในวงเงินต้นประมาณไม่เกิน 100,000 ล้านบาท
4. การรับซื้อสินเชื่อ
องค์การฯ จะรับซื้อสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์จากสถาบันการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันตามหลักเกณฑ์
ต่อไปนี้
4.1 องค์การฯ จะจัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันตามสภาวะตลาดปัจจุบัน การประเมิน
จะดำเนินการโดยคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญอิสระ 3 ราย ที่มีมาตรฐาน และองค์การฯ จะซื้อสินเชื่อในราคาไม่
เกินราคาประเมินต่ำสุด หรือไม่เกินยอดหนี้เงินต้นคงค้างที่ไม่รวมดอกเบี้ย แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า
4.2 กรณีสถาบันการเงินที่ขายสินเชื่อมีผลขาดทุน ให้สถาบันการเงินนั้นตัดบัญชีผลขาดทุน
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด แต่ภายหลังหากสภาวะตลาดฟื้นตัว สถาบันการเงินสามารถซื้อลูกหนี้
คืนได้
4.3 องค์การฯ จะเอื้ออำนวยให้มีการร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินและลูกหนี้ให้มากที่สุด
เพื่อให้โครงการอสังหาริมทรัพย์สามารถดำเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ ดังนั้น องค์การฯ จะกำหนดเงื่อนไข
ให้สถาบันการเงินที่
ขายสินเชื่อต้องให้การสนับสนุนให้กู้ยืมเพิ่มเติมให้แก่บริษัทอสังหาริมทรัพย์หรือลูกค้าของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ก็ได้
4.4 องค์การฯ มีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ซื้อสินเชื่อรายที่เห็นว่า มีความเสี่ยงสูงเกินสมควร แต่
องค์การฯ จะไม่มีการให้กู้ยืมเงินเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ใด ๆ
4.5 สถาบันการเงินที่ขายสินเชื่อต้องค้ำประกันความเสียหายร้อยละ 50 ของราคาขาย
รวมทั้งดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในส่วนที่ค้ำประกันด้วย ส่วนสถาบันการเงินที่จะให้กู้ยืมเพิ่มเติมนั้น เมื่อ
ลูกหนี้ขายโครงการและทยอยชำระหนี้ องค์การฯ จะจัดสรรจำนวนเงินที่จะชำระหนี้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้
ยืมเพิ่มเติมนั้น และเจ้าหนี้อื่น (ถ้ามี) ตามสัดส่วนที่องค์การฯ กำหนด
4.6 องค์การฯ จะจัดโครงสร้างหนี้ใหม่ให้แก่ลูกหนี้ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราทบต้นตลอด
อายุสัญญาตามอัตราตลาด ชำระเมื่อสิ้นสุดโครงการหรือหรือเมื่อมีการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ การผ่อน
ปรนการชำระดอกเบี้ยดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหา Cash flow ของผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ลูกหนี้
จะต้องมีแผนแก้ปัญหาการตลาดที่ชัดเจน ทั้งด้านราคาและการส่งเสริมการขายอื่น ๆ
4.7 ลูกหนี้จะต้องจดจำนองหลักประกันต่อองค์การฯ หรือโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นกรรมสิทธิ์
ขององค์การฯ เพื่อเป็นหลักประกัน โดยไม่มีค่าตอบแทน กรณีที่ลูกหนี้ขายอสังหาริมทรัพย์ได้เป็นจำนวนเท่า
ใด หลังจากหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแล้ว ให้นำมาหักชำระหนี้ที่มีต่อองค์การฯ
5. รายได้ขององค์การฯ จะมีดังนี้
5.1 ค่าธรรมเนียมในการบริหารสินเชื่อ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.2 ต่อปี คิดจากลูกหนี้
และสถาบันการเงินในสัดส่วนที่เท่ากัน
5.2 ค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนหลักประกันจ่ายครั้งเดียว เป็นอัตราต่อยอดเงินที่ลูกหนี้
ชำระหนี้เพิ่มขึ้นเป็นอัตราก้าวหน้าทุกปี ตามระยะเวลานับแต่ลูกหนี้เข้าโครงการ
ปีที่ไถ่ถอน อัตราร้อยละ
ปีที่ 1 -
ปีที่ 2 0.25
ปีที่ 3 0.75
ปีที่ 4 1.50
ปีที่ 5 3.00
6. ประเภทของอสังหาริมทรัพย์
องค์การฯ จะรับซื้อสินเชื่อเฉพาะรายที่ไม่มีคดีความ และเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ระหว่าง
การพัฒนา เช่น โครงการที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ แต่จะไม่รับซื้อสินเชื่อที่มีหลักประกันเป็นที่ดินที่ยังไม่มี
การพัฒนา สำหรับวงเงินที่จะจัดสรรให้แก่สถาบันการเงินต่างๆ นั้น จะจัดสรรตามยอดสินเชื่ออสังหาริม
ทรัพย์ โดยจะให้ความสำคัญแก่บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มากกว่าธนาคารพาณิชย์ ซึ่งสอด
คล้องกับภาวะปัญหาของสถาบันการเงินทั้งสองกลุ่ม
7. ผลการดำเนินงานขององค์การฯ
องค์การฯ จะต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส โดยมีการเปิดเผยวิธีการประเมินค่าหลัก
ประกัน วงเงินที่รับซื้อสินเชื่อจากสถาบันการเงินแต่ละรายและแต่ละโครงการ มีการปิดบัญชีทุกรอบระยะ
เวลา 6 เดือน และประกาศงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนในที่เปิดเผย เงินสดขององค์การฯ ในระหว่าง
โครงการให้นำไปฝากไว้ที่สถาบันการเงินที่เป็นองค์กรของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือนำไปซื้อคืนพันธบัตร
ขององค์การฯ ในตลาดรอง
8. การบริหารองค์การฯ
ให้องค์การฯ อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง โดยมีคณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรี
แต่งตั้งไม่เกิน 11 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ
ไทย เป็นรองประธาน อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย ผู้แทนสมาคมบริษัท
เงินทุน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 2 ท่าน
เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการองค์การฯ ตามที่คณะกรรมการแต่งตั้ง เป็นกรรมการและเลขานุการ
กรรมการที่มิได้แต่งตั้งโดยตำแหน่งให้มีวาระ 2 ปี สำหรับบุคลากรที่จะทำหน้าที่ติดตามเรียกเก็บหนี้นั้น
ให้สถาบันการเงินที่ขายสินเชื่อ และร่วมค้ำประกันหนี้ส่งบุคลากรที่คุ้นเคยกับลูกหนี้มาช่วยบริหารงาน พร้อม
ทั้งรับผิดชอบค่าตอบแทนด้วย
9. การขอผ่อนผันเรื่องต่างๆ เพื่อให้การดำเนินโครงการนี้มีความคล่องตัว มีความจำเป็นจะ
ต้องขอผ่อนผันในเรื่องต่อไปนี้
9.1 ระเบียบของรัฐวิสาหกิจ
ขอยกเว้นไม่นำระเบียบของรัฐวิสาหกิจมาใช้บังคับในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างการ
จ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนแก่พนักงาน และให้ยกเว้นการนำส่งกำไรให้แก่รัฐ
9.2 ค่าธรรมเนียมของกรมที่ดิน
1) ขอยกเว้นหรือลดจนต่ำสุดค่าธรรมเนียมจดจำนองให้แก่องค์การฯ สถาบันการเงิน
และลูกหนี้ ทั้งกรณีที่องค์การฯ รับซื้อสินเชื่อ และกรณีที่หากสถาบันการเงินขอซื้อสินเชื่อกลับคืน
2) ขอยกเว้นหรือลดจนต่ำสุดค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ให้แก่
องค์การฯ สถาบันการเงิน และลูกหนี้ ทั้งในกรณีที่องค์การฯ รับโอนหลักประกัน และกรณีที่องค์การฯ โอน
หลักประกันดังกล่าวกลับคืนให้แก่ลูกหนี้ หรือโอนให้แก่สถาบันการเงิน
9.3 ภาษีอากร
1) ขอยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ในการโอนขายอสังหาริมทรัพย์ (ร้อยละ 3.0 จาก
รายรับ) ให้แก่องค์การฯ สถาบันการเงิน และลูกหนี้ ทั้งในกรณีที่องค์การฯ รับโอนหลักประกัน และกรณีที่
องค์การฯ โอนหลักประกันดังกล่าวกลับคืนให้แก่ลูกหนี้ หรือโอนให้แก่สถาบันการเงิน
2) ขอยกเว้นการติดอากรแสตมป์ในสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ สำหรับ
กรณีตาม 1) ข้างต้น
อนึ่ง ถึงแม้จะมีการจัดตั้งองค์การฯ นี้ก็ตาม หากสถาบันการเงินจะจัดตั้งโครงการบริหารสิน
เชื่ออสังหาริมทรัพย์กันเองในรูปแบบบริษัทจำกัด ก็ยังเปิดให้ดำเนินการได้เช่นเดิม โดยให้ได้รับสิทธิประ
โยชน์ในด้านค่าธรรมเนียมและภาษีอากรตามข้อ 9.2 และ 9.3
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 11 มีนาคม 2540--
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีหลักการและเหตุผลดังนี้ ให้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์
การบริหารสินเชื่ออสังหาริม-ทรัพย์ โดยที่อสังหาริมทรัพย์ได้ประสบภาวะซบเซาอย่างกว้างขวาง อสังหา
ริมทรัพย์บางประเภทล้นตลาด และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ตลอดจนธุรกิจต่างๆ
ที่ต่อเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อป้องกันมิให้ปัญาลุกลามต่อไป อันจะบั่นทอนฐานะและความเชื่อมั่นในระบบ
การเงิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. หลักการและวัตถุประสงค์
การจัดตั้งองค์การขึ้น เรียกว่า “องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์” (Property
Loan Management Organization) เพื่อรับซื้อลูกหนี้อสังหาริมทรัพย์จากสถาลันการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน
และนำไปบริหารฟื้นฟูโดยองค์การฯ ไม่ต้องมีภาระให้การสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติมให้แก่ลูกหนี้อสังหา
ริมทรัพย์
2. รูปแบบองค์การ
เป็นองค์การของรัฐ จัดตั้งโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้ง
องค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496
3. ทุนดำเนินงาน จะมาจาก 3 แหล่ง ดังนี้
3.1 ทุนประเดิมจากงบประมาณของรัฐ จำนวน 1 ล้านบาท
3.2 เงินสมทบจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการรายละ 1 ล้านบาท ในการนี้ คาด
ว่าจะมีสถาบันการเงินเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 90-100 ราย จึงจะมีเงินสมทบประมาณ 90-100 ล้านบาท
3.3 องค์การฯ ออกพันธบัตร โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน โดยอาจจะออกเป็นพันธ
บัตรชนิดดอกเบี้ยทบต้น หรือพันธบัตรประเภทอื่นใดก็ได้ การออกพันธบัตรแต่ละครั้งให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติตาม
ความจำเป็นในการนี้ คาดว่าจะมีการออกพันธบัตรในวงเงินต้นประมาณไม่เกิน 100,000 ล้านบาท
4. การรับซื้อสินเชื่อ
องค์การฯ จะรับซื้อสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์จากสถาบันการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันตามหลักเกณฑ์
ต่อไปนี้
4.1 องค์การฯ จะจัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันตามสภาวะตลาดปัจจุบัน การประเมิน
จะดำเนินการโดยคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญอิสระ 3 ราย ที่มีมาตรฐาน และองค์การฯ จะซื้อสินเชื่อในราคาไม่
เกินราคาประเมินต่ำสุด หรือไม่เกินยอดหนี้เงินต้นคงค้างที่ไม่รวมดอกเบี้ย แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า
4.2 กรณีสถาบันการเงินที่ขายสินเชื่อมีผลขาดทุน ให้สถาบันการเงินนั้นตัดบัญชีผลขาดทุน
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด แต่ภายหลังหากสภาวะตลาดฟื้นตัว สถาบันการเงินสามารถซื้อลูกหนี้
คืนได้
4.3 องค์การฯ จะเอื้ออำนวยให้มีการร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินและลูกหนี้ให้มากที่สุด
เพื่อให้โครงการอสังหาริมทรัพย์สามารถดำเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ ดังนั้น องค์การฯ จะกำหนดเงื่อนไข
ให้สถาบันการเงินที่
ขายสินเชื่อต้องให้การสนับสนุนให้กู้ยืมเพิ่มเติมให้แก่บริษัทอสังหาริมทรัพย์หรือลูกค้าของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ก็ได้
4.4 องค์การฯ มีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ซื้อสินเชื่อรายที่เห็นว่า มีความเสี่ยงสูงเกินสมควร แต่
องค์การฯ จะไม่มีการให้กู้ยืมเงินเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ใด ๆ
4.5 สถาบันการเงินที่ขายสินเชื่อต้องค้ำประกันความเสียหายร้อยละ 50 ของราคาขาย
รวมทั้งดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในส่วนที่ค้ำประกันด้วย ส่วนสถาบันการเงินที่จะให้กู้ยืมเพิ่มเติมนั้น เมื่อ
ลูกหนี้ขายโครงการและทยอยชำระหนี้ องค์การฯ จะจัดสรรจำนวนเงินที่จะชำระหนี้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้
ยืมเพิ่มเติมนั้น และเจ้าหนี้อื่น (ถ้ามี) ตามสัดส่วนที่องค์การฯ กำหนด
4.6 องค์การฯ จะจัดโครงสร้างหนี้ใหม่ให้แก่ลูกหนี้ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราทบต้นตลอด
อายุสัญญาตามอัตราตลาด ชำระเมื่อสิ้นสุดโครงการหรือหรือเมื่อมีการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ การผ่อน
ปรนการชำระดอกเบี้ยดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหา Cash flow ของผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ลูกหนี้
จะต้องมีแผนแก้ปัญหาการตลาดที่ชัดเจน ทั้งด้านราคาและการส่งเสริมการขายอื่น ๆ
4.7 ลูกหนี้จะต้องจดจำนองหลักประกันต่อองค์การฯ หรือโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นกรรมสิทธิ์
ขององค์การฯ เพื่อเป็นหลักประกัน โดยไม่มีค่าตอบแทน กรณีที่ลูกหนี้ขายอสังหาริมทรัพย์ได้เป็นจำนวนเท่า
ใด หลังจากหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแล้ว ให้นำมาหักชำระหนี้ที่มีต่อองค์การฯ
5. รายได้ขององค์การฯ จะมีดังนี้
5.1 ค่าธรรมเนียมในการบริหารสินเชื่อ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.2 ต่อปี คิดจากลูกหนี้
และสถาบันการเงินในสัดส่วนที่เท่ากัน
5.2 ค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนหลักประกันจ่ายครั้งเดียว เป็นอัตราต่อยอดเงินที่ลูกหนี้
ชำระหนี้เพิ่มขึ้นเป็นอัตราก้าวหน้าทุกปี ตามระยะเวลานับแต่ลูกหนี้เข้าโครงการ
ปีที่ไถ่ถอน อัตราร้อยละ
ปีที่ 1 -
ปีที่ 2 0.25
ปีที่ 3 0.75
ปีที่ 4 1.50
ปีที่ 5 3.00
6. ประเภทของอสังหาริมทรัพย์
องค์การฯ จะรับซื้อสินเชื่อเฉพาะรายที่ไม่มีคดีความ และเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ระหว่าง
การพัฒนา เช่น โครงการที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ แต่จะไม่รับซื้อสินเชื่อที่มีหลักประกันเป็นที่ดินที่ยังไม่มี
การพัฒนา สำหรับวงเงินที่จะจัดสรรให้แก่สถาบันการเงินต่างๆ นั้น จะจัดสรรตามยอดสินเชื่ออสังหาริม
ทรัพย์ โดยจะให้ความสำคัญแก่บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มากกว่าธนาคารพาณิชย์ ซึ่งสอด
คล้องกับภาวะปัญหาของสถาบันการเงินทั้งสองกลุ่ม
7. ผลการดำเนินงานขององค์การฯ
องค์การฯ จะต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส โดยมีการเปิดเผยวิธีการประเมินค่าหลัก
ประกัน วงเงินที่รับซื้อสินเชื่อจากสถาบันการเงินแต่ละรายและแต่ละโครงการ มีการปิดบัญชีทุกรอบระยะ
เวลา 6 เดือน และประกาศงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนในที่เปิดเผย เงินสดขององค์การฯ ในระหว่าง
โครงการให้นำไปฝากไว้ที่สถาบันการเงินที่เป็นองค์กรของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือนำไปซื้อคืนพันธบัตร
ขององค์การฯ ในตลาดรอง
8. การบริหารองค์การฯ
ให้องค์การฯ อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง โดยมีคณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรี
แต่งตั้งไม่เกิน 11 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ
ไทย เป็นรองประธาน อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย ผู้แทนสมาคมบริษัท
เงินทุน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 2 ท่าน
เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการองค์การฯ ตามที่คณะกรรมการแต่งตั้ง เป็นกรรมการและเลขานุการ
กรรมการที่มิได้แต่งตั้งโดยตำแหน่งให้มีวาระ 2 ปี สำหรับบุคลากรที่จะทำหน้าที่ติดตามเรียกเก็บหนี้นั้น
ให้สถาบันการเงินที่ขายสินเชื่อ และร่วมค้ำประกันหนี้ส่งบุคลากรที่คุ้นเคยกับลูกหนี้มาช่วยบริหารงาน พร้อม
ทั้งรับผิดชอบค่าตอบแทนด้วย
9. การขอผ่อนผันเรื่องต่างๆ เพื่อให้การดำเนินโครงการนี้มีความคล่องตัว มีความจำเป็นจะ
ต้องขอผ่อนผันในเรื่องต่อไปนี้
9.1 ระเบียบของรัฐวิสาหกิจ
ขอยกเว้นไม่นำระเบียบของรัฐวิสาหกิจมาใช้บังคับในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างการ
จ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนแก่พนักงาน และให้ยกเว้นการนำส่งกำไรให้แก่รัฐ
9.2 ค่าธรรมเนียมของกรมที่ดิน
1) ขอยกเว้นหรือลดจนต่ำสุดค่าธรรมเนียมจดจำนองให้แก่องค์การฯ สถาบันการเงิน
และลูกหนี้ ทั้งกรณีที่องค์การฯ รับซื้อสินเชื่อ และกรณีที่หากสถาบันการเงินขอซื้อสินเชื่อกลับคืน
2) ขอยกเว้นหรือลดจนต่ำสุดค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ให้แก่
องค์การฯ สถาบันการเงิน และลูกหนี้ ทั้งในกรณีที่องค์การฯ รับโอนหลักประกัน และกรณีที่องค์การฯ โอน
หลักประกันดังกล่าวกลับคืนให้แก่ลูกหนี้ หรือโอนให้แก่สถาบันการเงิน
9.3 ภาษีอากร
1) ขอยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ในการโอนขายอสังหาริมทรัพย์ (ร้อยละ 3.0 จาก
รายรับ) ให้แก่องค์การฯ สถาบันการเงิน และลูกหนี้ ทั้งในกรณีที่องค์การฯ รับโอนหลักประกัน และกรณีที่
องค์การฯ โอนหลักประกันดังกล่าวกลับคืนให้แก่ลูกหนี้ หรือโอนให้แก่สถาบันการเงิน
2) ขอยกเว้นการติดอากรแสตมป์ในสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ สำหรับ
กรณีตาม 1) ข้างต้น
อนึ่ง ถึงแม้จะมีการจัดตั้งองค์การฯ นี้ก็ตาม หากสถาบันการเงินจะจัดตั้งโครงการบริหารสิน
เชื่ออสังหาริมทรัพย์กันเองในรูปแบบบริษัทจำกัด ก็ยังเปิดให้ดำเนินการได้เช่นเดิม โดยให้ได้รับสิทธิประ
โยชน์ในด้านค่าธรรมเนียมและภาษีอากรตามข้อ 9.2 และ 9.3
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 11 มีนาคม 2540--