แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงการคลัง
กรมพัฒนาที่ดิน
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--21 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการของโครงการพัฒนาพื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และมอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการต่อไป และให้กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาดำเนินการตามโครงการพัฒนาพื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์
ทุ่งสัมฤทธิ์มีพื้นที่ประมาณ 1.24 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดบุรีรัมย์ มีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มทำนา มีแม่น้ำมูลไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ แต่เดิมเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งสำคัญในการผลิตข้าวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ในปัจจุบันพื้นที่นี้มีปัญหาเรื่องดินเค็มเพิ่มมากขึ้น สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลง อันเนื่องมาจากการเข้าไปปรับปรุงพัฒนาที่ดินอย่างสมบูรณ์แบบ และมีการใช้ที่ดินผิดประเภท ทำให้การผลิตข้าวมีผลผลิตลดลงมากในปัจจุบัน ซึ่งโครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ. 2541 -2544) มีเป้าหมาย ดังนี้
1. ควมคุมระดับน้ำใต้ดินในพื้นที่ทำนาในปัจจุบัน โดยในชั้นต้นจะทำการปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่ดอนประมาณ 66,500 ไร่
2. ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ชลประทานเพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายของดินเค็มในพื้นที่ที่พัฒนาไปแล้ว 180,000 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ชลประทานทุ่งสัมฤทธิ์ 170,000 ไร่ พื้นที่โครงการฝายชุมพวงของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน 10,000 ไร่
3. ป้องกันมิให้ดินเค็มเกิดขึ้นในพื้นที่การเกษตรประมาณ 190,000 ไร่
4. ฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ที่เป็นดินเค็มแล้วให้เหมาะสมแก่การทำการเกษตร โดยแบ่งเป็นพื้นที่ดินเค็มน้อย - ปานกลาง ประมาณ 350,000 ไร่ และพื้นที่ดินเค็มจัด 900 ไร่
5. พัฒนาพื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ไม่น้อยกว่า 787,400 ไร่ ให้เป็นเขตเกษตรกรรมแบบผสมผสาน และเน้นการผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออก
6. จัดตั้งและพัฒนาระบบสหกรณ์ จำนวน 3 สหกรณ์ โดยมีการจัดการด้วยมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9000) เพื่อการส่งออกข้าวสารหอมมะลิ
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ มีดังนี้
1. พื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ 1.24 ล้านไร่ ได้รับการปรับปรุงแก้ไขปัญหาดินเค็ม สามารถควบคุมการแพร่กระจายของดินเค็มไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 787,400 ไร่
2. คาดว่าจะสามารถผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีได้ประมาณ ปีละ 182,868 ตัน คิดเป็นรายได้ประมาณ ปีละ 2,194.42 ล้านบาท นอกจากนี้ เกษตรกรจะมีรายได้จากการทำไร่นาสวนผสมเพิ่มขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. เป็นพื้นที่ตัวอย่างที่จะถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรและสหกรณ์ให้เกษตรกรพื้นที่อื่นได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหา และการใช้ที่ดินที่เหมาะสมและผลประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่อื่นต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 21 ตุลาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการของโครงการพัฒนาพื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และมอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการต่อไป และให้กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาดำเนินการตามโครงการพัฒนาพื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์
ทุ่งสัมฤทธิ์มีพื้นที่ประมาณ 1.24 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดบุรีรัมย์ มีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มทำนา มีแม่น้ำมูลไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ แต่เดิมเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งสำคัญในการผลิตข้าวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ในปัจจุบันพื้นที่นี้มีปัญหาเรื่องดินเค็มเพิ่มมากขึ้น สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลง อันเนื่องมาจากการเข้าไปปรับปรุงพัฒนาที่ดินอย่างสมบูรณ์แบบ และมีการใช้ที่ดินผิดประเภท ทำให้การผลิตข้าวมีผลผลิตลดลงมากในปัจจุบัน ซึ่งโครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ. 2541 -2544) มีเป้าหมาย ดังนี้
1. ควมคุมระดับน้ำใต้ดินในพื้นที่ทำนาในปัจจุบัน โดยในชั้นต้นจะทำการปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่ดอนประมาณ 66,500 ไร่
2. ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ชลประทานเพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายของดินเค็มในพื้นที่ที่พัฒนาไปแล้ว 180,000 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ชลประทานทุ่งสัมฤทธิ์ 170,000 ไร่ พื้นที่โครงการฝายชุมพวงของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน 10,000 ไร่
3. ป้องกันมิให้ดินเค็มเกิดขึ้นในพื้นที่การเกษตรประมาณ 190,000 ไร่
4. ฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ที่เป็นดินเค็มแล้วให้เหมาะสมแก่การทำการเกษตร โดยแบ่งเป็นพื้นที่ดินเค็มน้อย - ปานกลาง ประมาณ 350,000 ไร่ และพื้นที่ดินเค็มจัด 900 ไร่
5. พัฒนาพื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ไม่น้อยกว่า 787,400 ไร่ ให้เป็นเขตเกษตรกรรมแบบผสมผสาน และเน้นการผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออก
6. จัดตั้งและพัฒนาระบบสหกรณ์ จำนวน 3 สหกรณ์ โดยมีการจัดการด้วยมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9000) เพื่อการส่งออกข้าวสารหอมมะลิ
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ มีดังนี้
1. พื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ 1.24 ล้านไร่ ได้รับการปรับปรุงแก้ไขปัญหาดินเค็ม สามารถควบคุมการแพร่กระจายของดินเค็มไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 787,400 ไร่
2. คาดว่าจะสามารถผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีได้ประมาณ ปีละ 182,868 ตัน คิดเป็นรายได้ประมาณ ปีละ 2,194.42 ล้านบาท นอกจากนี้ เกษตรกรจะมีรายได้จากการทำไร่นาสวนผสมเพิ่มขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. เป็นพื้นที่ตัวอย่างที่จะถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรและสหกรณ์ให้เกษตรกรพื้นที่อื่นได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหา และการใช้ที่ดินที่เหมาะสมและผลประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่อื่นต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 21 ตุลาคม 2540--