ทำเนียบรัฐบาล--17 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการประชุมชี้แจงมาตรการป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ เมื่อวันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ และมอบหมายให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ ถือปฏิบัติและดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. การแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้น ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ให้ส่วนราชการต้นสังกัดและรัฐวิสาหกิจตรวจสอบคุณสมบัติให้ครบถ้วน โดยจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ โดยเฉพาะคุณสมบัติที่จะต้องเป็นผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือดำเนินธุรกิจที่แข่งขันกับรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ และให้การรับรองความครบถ้วน ถูกต้องของข้อมูล ตามแบบฟอร์มประวัติผู้ขอรับการแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด
2. ให้กรรมการรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณของกรรมการรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ถือเป็นแนวปฏิบัติแล้ว เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541 อย่างเคร่งครัด นอกจากนั้น ให้กรรมการรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
2.1 กรรมการรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผู้แทนของหน่วยงานจะต้องรายงานผลการประชุมและผลการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจให้ต้นสังกัดทราบทุกครั้งที่เข้าร่วมประชุม
2.2 ควรจัดระบบการตรวจสอบภายในระหว่างกรรมการรัฐวิสาหกิจด้วยกันเอง โดยเมื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจเข้ารับตำแหน่งจะต้องได้รับทราบถึงขอบเขต ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ ตลอดจนความรับผิดอันอาจจะมีขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ทั้งในทางแพ่งและทางอาญา รวมทั้งจะต้องแจ้งเวียนประวัติกรรมการรัฐวิสาหกิจ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งของกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจทราบด้วย
2.3 การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการรัฐวิสาหกิจจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกรรมการรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งจะต้องไม่ใช้ความลับ ทรัพย์สิน หรือเงินทุนของรัฐวิสาหกิจไปในทางมิชอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น รวมทั้งจะต้องไม่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน หรือเป็นการแข่งขันกับรัฐวิสาหกิจนั้น และเมื่อจะดำเนินการใด ๆ กับรัฐวิสาหกิจนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นก่อน และเมื่อเกิดกรณีผลประโยชน์ส่วนตนหรือสมาชิกในครอบครัวขัดแย้งกับผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ กรรมการรัฐวิสาหกิจคนนั้นจะต้องแจ้งคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นอย่างเป็นทางการ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ
2.4 การลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ จะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากมตินั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง จะต้องกระทำด้วยความโปร่งใส สุจริต เมื่อเห็นว่ามีความไม่โปร่งใส ก็ให้คัดค้านหรือทักท้วง ไม่ควรเพิกเฉย และให้จดบันทึกไว้ในรายงานการประชุมด้วยทุกครั้ง
2.5 ให้กรรมการรัฐวิสาหกิจที่มาจากบุคคลภายนอกทุกคนปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน ตามแบบที่ ป.ป.ป. กำหนด ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งและพ้นจากตำแหน่ง
3. เห็นควรมอบให้กระทรวงการคลังรับเป็นเจ้าของเรื่อง จัดให้ประธานกรรมการ กรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจได้ร่วมประชุมกันเป็นระยะๆ โดยสม่ำเสมอ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นประสบการณ์ ปัญหาการทำงาน ตลอดจนแนวทางและมาตรการแก้ไข ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างและพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
4. ให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสำรวจ ตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีทุก ๆ สัปดาห์ เพื่อรวบรวมมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรืออาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ หรือ กรรมการรัฐวิสาหกิจ โดยให้รวบรวมมติคณะรัฐมนตรีเหล่านี้ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อแจ้งที่ประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจทราบ และใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจหรือลงมติในเรื่องต่างๆ ของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
5. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเร่งรัดดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 ที่ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกร่างกฎหมายที่มีบทบัญญัติในทางป้องกันเกี่ยวกับการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นกรรมการในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ เพื่อใช้เป็นกฎหมายกลางสำหรับรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยให้ครอบคลุมถึงข้าราชการด้วยนั้นให้แล้วเสร็จ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วน
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2520
อนึ่ง การประชุมชี้แจงมาตรการป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจัดสัมมนาซักซ้อมความเข้าใจกับกรรมการรัฐวิสาหกิจต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ หรือ การมีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ หรือมีผลประโยชน์ส่วนตนขัดแย้งกับผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจนั้น (Conflict of interest)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 มีนาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการประชุมชี้แจงมาตรการป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ เมื่อวันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ และมอบหมายให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ ถือปฏิบัติและดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. การแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้น ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ให้ส่วนราชการต้นสังกัดและรัฐวิสาหกิจตรวจสอบคุณสมบัติให้ครบถ้วน โดยจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ โดยเฉพาะคุณสมบัติที่จะต้องเป็นผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือดำเนินธุรกิจที่แข่งขันกับรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ และให้การรับรองความครบถ้วน ถูกต้องของข้อมูล ตามแบบฟอร์มประวัติผู้ขอรับการแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด
2. ให้กรรมการรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณของกรรมการรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ถือเป็นแนวปฏิบัติแล้ว เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541 อย่างเคร่งครัด นอกจากนั้น ให้กรรมการรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
2.1 กรรมการรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผู้แทนของหน่วยงานจะต้องรายงานผลการประชุมและผลการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจให้ต้นสังกัดทราบทุกครั้งที่เข้าร่วมประชุม
2.2 ควรจัดระบบการตรวจสอบภายในระหว่างกรรมการรัฐวิสาหกิจด้วยกันเอง โดยเมื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจเข้ารับตำแหน่งจะต้องได้รับทราบถึงขอบเขต ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ ตลอดจนความรับผิดอันอาจจะมีขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ทั้งในทางแพ่งและทางอาญา รวมทั้งจะต้องแจ้งเวียนประวัติกรรมการรัฐวิสาหกิจ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งของกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจทราบด้วย
2.3 การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการรัฐวิสาหกิจจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกรรมการรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งจะต้องไม่ใช้ความลับ ทรัพย์สิน หรือเงินทุนของรัฐวิสาหกิจไปในทางมิชอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น รวมทั้งจะต้องไม่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน หรือเป็นการแข่งขันกับรัฐวิสาหกิจนั้น และเมื่อจะดำเนินการใด ๆ กับรัฐวิสาหกิจนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นก่อน และเมื่อเกิดกรณีผลประโยชน์ส่วนตนหรือสมาชิกในครอบครัวขัดแย้งกับผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ กรรมการรัฐวิสาหกิจคนนั้นจะต้องแจ้งคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นอย่างเป็นทางการ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ
2.4 การลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ จะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากมตินั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง จะต้องกระทำด้วยความโปร่งใส สุจริต เมื่อเห็นว่ามีความไม่โปร่งใส ก็ให้คัดค้านหรือทักท้วง ไม่ควรเพิกเฉย และให้จดบันทึกไว้ในรายงานการประชุมด้วยทุกครั้ง
2.5 ให้กรรมการรัฐวิสาหกิจที่มาจากบุคคลภายนอกทุกคนปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน ตามแบบที่ ป.ป.ป. กำหนด ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งและพ้นจากตำแหน่ง
3. เห็นควรมอบให้กระทรวงการคลังรับเป็นเจ้าของเรื่อง จัดให้ประธานกรรมการ กรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจได้ร่วมประชุมกันเป็นระยะๆ โดยสม่ำเสมอ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นประสบการณ์ ปัญหาการทำงาน ตลอดจนแนวทางและมาตรการแก้ไข ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างและพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
4. ให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสำรวจ ตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีทุก ๆ สัปดาห์ เพื่อรวบรวมมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรืออาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ หรือ กรรมการรัฐวิสาหกิจ โดยให้รวบรวมมติคณะรัฐมนตรีเหล่านี้ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อแจ้งที่ประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจทราบ และใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจหรือลงมติในเรื่องต่างๆ ของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
5. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเร่งรัดดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 ที่ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกร่างกฎหมายที่มีบทบัญญัติในทางป้องกันเกี่ยวกับการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นกรรมการในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ เพื่อใช้เป็นกฎหมายกลางสำหรับรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยให้ครอบคลุมถึงข้าราชการด้วยนั้นให้แล้วเสร็จ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วน
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2520
อนึ่ง การประชุมชี้แจงมาตรการป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจัดสัมมนาซักซ้อมความเข้าใจกับกรรมการรัฐวิสาหกิจต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ หรือ การมีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ หรือมีผลประโยชน์ส่วนตนขัดแย้งกับผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจนั้น (Conflict of interest)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 มีนาคม 2541--