ทำเนียบรัฐบาล--24 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบแผนการส่งเสริมและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
2. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยมีรองนายก-รัฐมนตรีที่ดูแลงานกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นรองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีก 29 คน มีอำนาจหน้าที่รวม5 ประการ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ศึกษาเกี่ยวกับสภาพการจ้าง สภาพการทำงานข้อเท็จจริงของผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการบริหารแรงงานโดยได้รับความร่วมมือจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตลอดมา โดยเฉพาะการดำเนินการโครงการศึกษาและพิจารณาแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมและเป็นธรรมในการส่งเสริมพัฒนาและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อจัดทำแผนโดยนำมาตรการในร่างนโยบายส่งเสริมและคุ้มครอง มาจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ประกอบด้วย 3 มาตรการ
1.1 ให้การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือและวิชาชีพแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
1.2 ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการจัดการแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านและผู้เกี่ยวข้อง
1.3 ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน
2. พัฒนากลไกของรัฐในการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ประกอบด้วย 4 มาตรการ
2.1 ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบ และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานให้มีขอบเขตการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
2.2 ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
2.3 รณรงค์สร้างจิตสำนึกในเรื่องการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านแก่ผู้ประกอบการ ผู้ว่าจ้าง คนกลาง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.4 ให้มีการตรวจตรา ดูแล การบังคับใช้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
3. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการส่งเสริมและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ประกอบด้วย3 มาตรการ
3.1 ให้มีหน่วยงานของรัฐให้การส่งเสริมและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านโดยตรง
3.2 สำรวจจัดทำและพัฒนาสถิติข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อกำหนดมาตรการในการคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาที่ชัดเจน
3.3 จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติและระดับจังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 มีนาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบแผนการส่งเสริมและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
2. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยมีรองนายก-รัฐมนตรีที่ดูแลงานกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นรองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีก 29 คน มีอำนาจหน้าที่รวม5 ประการ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ศึกษาเกี่ยวกับสภาพการจ้าง สภาพการทำงานข้อเท็จจริงของผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการบริหารแรงงานโดยได้รับความร่วมมือจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตลอดมา โดยเฉพาะการดำเนินการโครงการศึกษาและพิจารณาแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมและเป็นธรรมในการส่งเสริมพัฒนาและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อจัดทำแผนโดยนำมาตรการในร่างนโยบายส่งเสริมและคุ้มครอง มาจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ประกอบด้วย 3 มาตรการ
1.1 ให้การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือและวิชาชีพแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
1.2 ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการจัดการแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านและผู้เกี่ยวข้อง
1.3 ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน
2. พัฒนากลไกของรัฐในการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ประกอบด้วย 4 มาตรการ
2.1 ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบ และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานให้มีขอบเขตการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
2.2 ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
2.3 รณรงค์สร้างจิตสำนึกในเรื่องการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านแก่ผู้ประกอบการ ผู้ว่าจ้าง คนกลาง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.4 ให้มีการตรวจตรา ดูแล การบังคับใช้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
3. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการส่งเสริมและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ประกอบด้วย3 มาตรการ
3.1 ให้มีหน่วยงานของรัฐให้การส่งเสริมและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านโดยตรง
3.2 สำรวจจัดทำและพัฒนาสถิติข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อกำหนดมาตรการในการคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาที่ชัดเจน
3.3 จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติและระดับจังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 มีนาคม 2541--