แท็ก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
มาตรการช่วยเหลือ
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี
เกษตรกร
ธ.ก.ส.
ทำเนียบรัฐบาล--28 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานการให้ความช่วยเหลือของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย ในฤดูการผลิตปี 2541/2542 สรุปได้ดังนี้
1. การช่วยเหลือด้วยการรับซื้อเช็คค่าบำรุงอ้อยในระยะที่ 1
1.1 หลักการและเหตุผล
เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยและอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในการแบ่งเบาภาระปัญหาการขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนใช้จ่ายในการบำรุงอ้อย สำหรับฤดูการผลิตปี 2541/2542 (อ้อยข้ามแล้ง) โดย ธ.ก.ส. เข้าดำเนินการรับซื้อลดเช็คค่าบำรุงอ้อย (เช็คเกี๊ยว) ของโรงงานน้ำตาลแทนธนาคารพาณิชย์ (ตามมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในคราวประชุมวันที่ 26 ธันวาคม 2540)1.2 วิธีการดำเนินงาน
1) ธ.ก.ส. จัดสรรเงินทุนจำนวนไม่เกิน 1,000 ล้านบาท มารับซื้อลดเช็คเกี๊ยว โดยคิดอัตราซื้อลดร้อยละ 15.00ต่อปี ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณารับซื้อลดเช็ค โดยจะมุ่งเน้นในตัวเกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและทำการผลิตอ้อยส่งโรงงานจริง
2) กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจะจัดสรรเงินฝากประจำกับ ธ.ก.ส. ในวงเงินเบื้องต้นไม่เกิน 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12.00 ต่อปี และต้องมีจำนวนเงินฝากดำรงไว้ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินตามเช็คที่ ธ.ก.ส. รับซื้อลด ตลอดระยะเวลาครบกำหนดตามเช็ค
3) เงื่อนไขหลักประกันในการรับซื้อลดเช็ค นอกเหนือจากโรงงานน้ำตาลจะต้องรับผิดชอบในฐานะผู้สั่งจ่ายแล้วกำหนดให้มีหลักประกันเพิ่ม ดังนี้
(1) ให้บริษัทผู้ส่งออกน้ำตาลทำหนังสือค้ำประกันหนี้ตามเช็ค โดยสามารถหักชำระหนี้ให้แก่ ธ.ก.ส. จากเงินที่ได้รับจากการขายน้ำตาลโควต้า ข. (น้ำตาลส่งออก) ซึ่งโรงงานน้ำตาลต้องให้ความยินยอมแก่บริษัทผู้ส่งออกด้วย
(2) ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย และ/หรือหัวหน้าโควต้าส่งอ้อยให้โรงงานน้ำตาลจัดหาบุคคลและ/หรือหลักทรัพย์มาค้ำประกันแก่ธนาคารตามความเหมาะสม
4) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ให้มีการทำบันทึกข้อตกลงในการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยโรงงานน้ำตาลจะเข้าร่วมดำเนินการตามความพร้อมของแต่ละโรงงานน้ำตาล ทั้งนี้ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจะเข้ามากำกับดูแลภายใต้อำนาจตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย
1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย 2) คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย 3) โรงงานน้ำตาลที่เข้าร่วมโครงการ4) บริษัทผู้ส่งออกน้ำตาล
2. การช่วยเหลือด้วยการรับซื้อเช็คค่าบำรุงอ้อยในระยะที่ 2
2.1 หลักการและเหตุผล
เนื่องจากปัญหาการขาดสภาพคล่องของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายยังไม่บรรเทาและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่จำเป็นต้องใช้เงินทุนเพื่อนำไปบำรุงรักษาอ้อยที่ปลูก ดังนั้น ธ.ก.ส. จึงได้ขยายขอบเขตพื้นที่และปริมาณเม็ดเงินเพื่อช่วยเหลือชาวไร่อ้อยในฤดูการผลิตปี 2541/2542 โดยการรับซื้อลดเช็คค่าบำรุงอ้อย (เช็คเกี๊ยว)เพิ่มเติมจากระยะที่ 1 (ตามมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในคราวประชุมวันที่ 8 มิถุนายน 2541)
2.2 วิธีการดำเนินงาน
1) ธ.ก.ส. จัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมอีก 2,000 ล้านบาท (รวมกับระยะที่ 1 เป็น 3,000 ล้านบาท) เพื่อรับซื้อลดเช็คเกี๊ยวทั่วพื้นที่การผลิต
2) กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจัดสรรเงินมาฝากกับ ธ.ก.ส. ในเงื่อนไขเดียวกับระยะที่ 1 เพิ่มเติมอีก 1,000ล้านบาท
3) เพิ่มเติมเงื่อนไขการดำเนินงานและการเรียกหลักประกันในการรับซื้อลดเช็คฯ จากระยะที่ 1 ดังนี้
(1) บริษัทผู้ส่งออกสามารถหักชำระหนี้ให้แก่ ธ.ก.ส. จากการขายน้ำตาลโควต้า ค. ของโรงงานน้ำตาลได้ด้วย
(2) ให้บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี เข้ามารับผิดชอบรับเรือนหนี้และชำระหนี้แทนภายใน 30 วัน หลังได้รับแจ้งจาก ธ.ก.ส. เฉพาะกรณีโรงงานน้ำตาลเปิดหีบไม่ได้ (ครอบคลุมความรับผิดชอบระยะที่ 1 ด้วย)
4) กรณี ธ.ก.ส. ได้รับเงินช่วยเหลือจากธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่มเติม ก็ให้ถือใช้หลักเกณฑ์ดำเนินงานทำนองเดียวกัน โดยไม่ต้องมีการสมทบเงินทุนเพิ่มเติมจาก ธ.ก.ส.
2.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย และหน่วยงานเดิมที่เกี่ยวข้องในโครงการระยะที่ 1
3. การช่วยเหลือในขอบเขตการดำเนินงานปกติ
นอกเหนือจากการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยด้วยการรับซื้อเช็คค่าบำรุงอ้อยแล้ว ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศในลักษณะการให้สินเชื่อเพื่อการผลิตและลงทุนในการเพาะปลูกอ้อยโดยตรง โดยได้จ่ายสินเชื่อประเภทนี้ไปแล้วประมาณ 5,985 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541) ซึ่งเป็นวงเงินแยกจากวงเงินใช้รับซื้อเช็คค่าบำรุงอ้อยตามข้อ 1 และ 2
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กรกฎาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานการให้ความช่วยเหลือของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย ในฤดูการผลิตปี 2541/2542 สรุปได้ดังนี้
1. การช่วยเหลือด้วยการรับซื้อเช็คค่าบำรุงอ้อยในระยะที่ 1
1.1 หลักการและเหตุผล
เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยและอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในการแบ่งเบาภาระปัญหาการขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนใช้จ่ายในการบำรุงอ้อย สำหรับฤดูการผลิตปี 2541/2542 (อ้อยข้ามแล้ง) โดย ธ.ก.ส. เข้าดำเนินการรับซื้อลดเช็คค่าบำรุงอ้อย (เช็คเกี๊ยว) ของโรงงานน้ำตาลแทนธนาคารพาณิชย์ (ตามมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในคราวประชุมวันที่ 26 ธันวาคม 2540)1.2 วิธีการดำเนินงาน
1) ธ.ก.ส. จัดสรรเงินทุนจำนวนไม่เกิน 1,000 ล้านบาท มารับซื้อลดเช็คเกี๊ยว โดยคิดอัตราซื้อลดร้อยละ 15.00ต่อปี ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณารับซื้อลดเช็ค โดยจะมุ่งเน้นในตัวเกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและทำการผลิตอ้อยส่งโรงงานจริง
2) กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจะจัดสรรเงินฝากประจำกับ ธ.ก.ส. ในวงเงินเบื้องต้นไม่เกิน 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12.00 ต่อปี และต้องมีจำนวนเงินฝากดำรงไว้ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินตามเช็คที่ ธ.ก.ส. รับซื้อลด ตลอดระยะเวลาครบกำหนดตามเช็ค
3) เงื่อนไขหลักประกันในการรับซื้อลดเช็ค นอกเหนือจากโรงงานน้ำตาลจะต้องรับผิดชอบในฐานะผู้สั่งจ่ายแล้วกำหนดให้มีหลักประกันเพิ่ม ดังนี้
(1) ให้บริษัทผู้ส่งออกน้ำตาลทำหนังสือค้ำประกันหนี้ตามเช็ค โดยสามารถหักชำระหนี้ให้แก่ ธ.ก.ส. จากเงินที่ได้รับจากการขายน้ำตาลโควต้า ข. (น้ำตาลส่งออก) ซึ่งโรงงานน้ำตาลต้องให้ความยินยอมแก่บริษัทผู้ส่งออกด้วย
(2) ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย และ/หรือหัวหน้าโควต้าส่งอ้อยให้โรงงานน้ำตาลจัดหาบุคคลและ/หรือหลักทรัพย์มาค้ำประกันแก่ธนาคารตามความเหมาะสม
4) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ให้มีการทำบันทึกข้อตกลงในการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยโรงงานน้ำตาลจะเข้าร่วมดำเนินการตามความพร้อมของแต่ละโรงงานน้ำตาล ทั้งนี้ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจะเข้ามากำกับดูแลภายใต้อำนาจตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย
1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย 2) คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย 3) โรงงานน้ำตาลที่เข้าร่วมโครงการ4) บริษัทผู้ส่งออกน้ำตาล
2. การช่วยเหลือด้วยการรับซื้อเช็คค่าบำรุงอ้อยในระยะที่ 2
2.1 หลักการและเหตุผล
เนื่องจากปัญหาการขาดสภาพคล่องของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายยังไม่บรรเทาและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่จำเป็นต้องใช้เงินทุนเพื่อนำไปบำรุงรักษาอ้อยที่ปลูก ดังนั้น ธ.ก.ส. จึงได้ขยายขอบเขตพื้นที่และปริมาณเม็ดเงินเพื่อช่วยเหลือชาวไร่อ้อยในฤดูการผลิตปี 2541/2542 โดยการรับซื้อลดเช็คค่าบำรุงอ้อย (เช็คเกี๊ยว)เพิ่มเติมจากระยะที่ 1 (ตามมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในคราวประชุมวันที่ 8 มิถุนายน 2541)
2.2 วิธีการดำเนินงาน
1) ธ.ก.ส. จัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมอีก 2,000 ล้านบาท (รวมกับระยะที่ 1 เป็น 3,000 ล้านบาท) เพื่อรับซื้อลดเช็คเกี๊ยวทั่วพื้นที่การผลิต
2) กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจัดสรรเงินมาฝากกับ ธ.ก.ส. ในเงื่อนไขเดียวกับระยะที่ 1 เพิ่มเติมอีก 1,000ล้านบาท
3) เพิ่มเติมเงื่อนไขการดำเนินงานและการเรียกหลักประกันในการรับซื้อลดเช็คฯ จากระยะที่ 1 ดังนี้
(1) บริษัทผู้ส่งออกสามารถหักชำระหนี้ให้แก่ ธ.ก.ส. จากการขายน้ำตาลโควต้า ค. ของโรงงานน้ำตาลได้ด้วย
(2) ให้บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี เข้ามารับผิดชอบรับเรือนหนี้และชำระหนี้แทนภายใน 30 วัน หลังได้รับแจ้งจาก ธ.ก.ส. เฉพาะกรณีโรงงานน้ำตาลเปิดหีบไม่ได้ (ครอบคลุมความรับผิดชอบระยะที่ 1 ด้วย)
4) กรณี ธ.ก.ส. ได้รับเงินช่วยเหลือจากธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่มเติม ก็ให้ถือใช้หลักเกณฑ์ดำเนินงานทำนองเดียวกัน โดยไม่ต้องมีการสมทบเงินทุนเพิ่มเติมจาก ธ.ก.ส.
2.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย และหน่วยงานเดิมที่เกี่ยวข้องในโครงการระยะที่ 1
3. การช่วยเหลือในขอบเขตการดำเนินงานปกติ
นอกเหนือจากการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยด้วยการรับซื้อเช็คค่าบำรุงอ้อยแล้ว ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศในลักษณะการให้สินเชื่อเพื่อการผลิตและลงทุนในการเพาะปลูกอ้อยโดยตรง โดยได้จ่ายสินเชื่อประเภทนี้ไปแล้วประมาณ 5,985 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541) ซึ่งเป็นวงเงินแยกจากวงเงินใช้รับซื้อเช็คค่าบำรุงอ้อยตามข้อ 1 และ 2
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กรกฎาคม 2541--