แท็ก
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--18 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนแม่บทการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ (ปี พ.ศ. 2542 - 2551) ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ทั้งนี้เป็นการดำเนินตามพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2540 ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว โดยมีข้อเสนอเพิ่มเติมในการเร่งรัดให้สถาบันฯ จัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อรองรับแผนแม่บทฯ ดังกล่าวโดยเร็ว
สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ (ปี พ.ศ.2542-2551) เป็นการวางแนวทางในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของประเทศ เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยได้กำหนดแผนงาน งาน และโครงการให้ครอบคลุมระบบมาตรวิทยาทั้งที่เป็นงานที่ดำเนินการโดยสถาบันฯ เอง และงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ประกอบด้วย 5 แผนงาน 1 โครงการ คือ แผนงานพัฒนาด้านนโยบาย แผนงานพัฒนาสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ แผนงานพัฒนาเครือข่ายห้องปฏิบัติการสอบเทียบ แผนงานพัฒนาสภาวะแวดล้อมเพื่อเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ แผนงานพัฒนากลุ่มผู้ใช้บริการ และโครงการก่อสร้างอาคารห้องปฏิบัติการและจัดหามาตรฐานแห่งชาติ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานของสถาบันฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้ปฏิบัติและสถาบันฯ สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันถึงเป้าหมายของการพัฒนาระบบมาตรวิทยา อันจะนำมาซึ่งความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ
3. เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของประเทศ โดยมีเป้าหมายทิศทางที่ชัดเจน
4. เพื่อให้ภาครัฐสามารถจัดสรรทรัพยากรให้สถาบันฯ ได้อย่างเหมาะสม ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อใช้อ้างอิงให้แก่ภาคอุตสาหกรรมได้ จะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการขอการรับรองตามมาตรฐาน ISO-9000
2. ระบบมาตรวิทยาแห่งชาติทำให้ช่วยลดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ลดความสูญเสียจากการผลิต เป็นการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และลดต้นทุนในการผลิต อันนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอีกทางหนึ่ง
3. ในการปรับโครงสร้างทางอุตสาหกรรมของประเทศ จะเป็นการปรับเปลี่ยนจากการผลิตที่เน้นแรงงานหรือทรัพยากรธรรมชาติไปสู่การผลิตที่เน้นขีดความสามารถทางเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ โดยเน้นความละเอียด แม่นยำในการวัด
4. เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศจะมีข้อกำหนดทางเทคนิคหรือมาตรฐานใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคประการหนึ่งในการค้าขายระหว่างประเทศของไทย ดังนั้น การพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติจะเป็นองค์ประกอบในการสร้างความมั่นใจต่อระบบการตรวจสอบ ระบบทดสอบ อันเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการค้าระหว่างประเทศ
5. ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO-9000 ประมาณ 900 หน่วย งาน มีห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง ISO/Guide 25 อีกหลายสิบแห่ง และจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หน่วยงานเหล่านี้มีความจำเป็นต้องสร้างหลักประกันให้เกิดการสอบย้อนไปสู่มาตรฐานแห่งชาติ และมาตรฐานสากลในที่สุด ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานแห่งชาติ จึงมีหน่วยงานจำนวนหนึ่งต้องนำเครื่องมือไปทำการทดสอบย้อนกับมาตรฐานแห่งชาติในประเทศอื่นๆ ซึ่งนับเป็นการสูญเสียเงินตราต่างประเทศหลายสิบล้านบาทต่อปี
6. เนื่องจากบุคลากรด้านมาตรวิทยามีความขาดแคลนอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และมีแผนงาน เพื่อสามารถจัดสรรบุคลากรให้ครอบคลุมในหน่วยวัดต่างๆ ได้ครบถ้วน ขณะเดียวกันก็สามารถครอบคลุมลักษณะงาน ตั้งแต่การให้บริการสอบเทียบ การดูแลรักษา และการพัฒนามาตรฐานแห่งชาติ การวิจัยพัฒนาเทคนิคการวัดใหม่ ๆ เป็นต้น
7. มาตรวิทยามีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพของสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นต้นว่า ด้านการซื้อขายในชีวิตประจำวัน (ชั่ง ตวง วัด) ด้านการดูแลความปลอดภัยในท้องถนน (การวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจ การวัดปริมาณ COx Nox ในไอเสีย) ด้านการดูแลสุขภาพอนามัย (การวัดค่าทางการแพทย์ เช่น คลื่นหัวใจ คลื่นสมอง)
8. ประเทศไทยจะมีอาคารห้องปฏิบัติการ และเครื่องวัดที่ได้มาตรฐานสากล และทำให้สถาบันฯ สามารถทำหน้าที่พัฒนาระบบมาตรวิทยา ตามนัยแห่งมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2540 ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 พฤษภาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนแม่บทการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ (ปี พ.ศ. 2542 - 2551) ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ทั้งนี้เป็นการดำเนินตามพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2540 ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว โดยมีข้อเสนอเพิ่มเติมในการเร่งรัดให้สถาบันฯ จัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อรองรับแผนแม่บทฯ ดังกล่าวโดยเร็ว
สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ (ปี พ.ศ.2542-2551) เป็นการวางแนวทางในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของประเทศ เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยได้กำหนดแผนงาน งาน และโครงการให้ครอบคลุมระบบมาตรวิทยาทั้งที่เป็นงานที่ดำเนินการโดยสถาบันฯ เอง และงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ประกอบด้วย 5 แผนงาน 1 โครงการ คือ แผนงานพัฒนาด้านนโยบาย แผนงานพัฒนาสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ แผนงานพัฒนาเครือข่ายห้องปฏิบัติการสอบเทียบ แผนงานพัฒนาสภาวะแวดล้อมเพื่อเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ แผนงานพัฒนากลุ่มผู้ใช้บริการ และโครงการก่อสร้างอาคารห้องปฏิบัติการและจัดหามาตรฐานแห่งชาติ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานของสถาบันฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้ปฏิบัติและสถาบันฯ สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันถึงเป้าหมายของการพัฒนาระบบมาตรวิทยา อันจะนำมาซึ่งความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ
3. เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของประเทศ โดยมีเป้าหมายทิศทางที่ชัดเจน
4. เพื่อให้ภาครัฐสามารถจัดสรรทรัพยากรให้สถาบันฯ ได้อย่างเหมาะสม ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อใช้อ้างอิงให้แก่ภาคอุตสาหกรรมได้ จะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการขอการรับรองตามมาตรฐาน ISO-9000
2. ระบบมาตรวิทยาแห่งชาติทำให้ช่วยลดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ลดความสูญเสียจากการผลิต เป็นการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และลดต้นทุนในการผลิต อันนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอีกทางหนึ่ง
3. ในการปรับโครงสร้างทางอุตสาหกรรมของประเทศ จะเป็นการปรับเปลี่ยนจากการผลิตที่เน้นแรงงานหรือทรัพยากรธรรมชาติไปสู่การผลิตที่เน้นขีดความสามารถทางเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ โดยเน้นความละเอียด แม่นยำในการวัด
4. เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศจะมีข้อกำหนดทางเทคนิคหรือมาตรฐานใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคประการหนึ่งในการค้าขายระหว่างประเทศของไทย ดังนั้น การพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติจะเป็นองค์ประกอบในการสร้างความมั่นใจต่อระบบการตรวจสอบ ระบบทดสอบ อันเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการค้าระหว่างประเทศ
5. ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO-9000 ประมาณ 900 หน่วย งาน มีห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง ISO/Guide 25 อีกหลายสิบแห่ง และจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หน่วยงานเหล่านี้มีความจำเป็นต้องสร้างหลักประกันให้เกิดการสอบย้อนไปสู่มาตรฐานแห่งชาติ และมาตรฐานสากลในที่สุด ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานแห่งชาติ จึงมีหน่วยงานจำนวนหนึ่งต้องนำเครื่องมือไปทำการทดสอบย้อนกับมาตรฐานแห่งชาติในประเทศอื่นๆ ซึ่งนับเป็นการสูญเสียเงินตราต่างประเทศหลายสิบล้านบาทต่อปี
6. เนื่องจากบุคลากรด้านมาตรวิทยามีความขาดแคลนอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และมีแผนงาน เพื่อสามารถจัดสรรบุคลากรให้ครอบคลุมในหน่วยวัดต่างๆ ได้ครบถ้วน ขณะเดียวกันก็สามารถครอบคลุมลักษณะงาน ตั้งแต่การให้บริการสอบเทียบ การดูแลรักษา และการพัฒนามาตรฐานแห่งชาติ การวิจัยพัฒนาเทคนิคการวัดใหม่ ๆ เป็นต้น
7. มาตรวิทยามีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพของสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นต้นว่า ด้านการซื้อขายในชีวิตประจำวัน (ชั่ง ตวง วัด) ด้านการดูแลความปลอดภัยในท้องถนน (การวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจ การวัดปริมาณ COx Nox ในไอเสีย) ด้านการดูแลสุขภาพอนามัย (การวัดค่าทางการแพทย์ เช่น คลื่นหัวใจ คลื่นสมอง)
8. ประเทศไทยจะมีอาคารห้องปฏิบัติการ และเครื่องวัดที่ได้มาตรฐานสากล และทำให้สถาบันฯ สามารถทำหน้าที่พัฒนาระบบมาตรวิทยา ตามนัยแห่งมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2540 ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 พฤษภาคม 2542--