ทำเนียบรัฐบาล--5 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ ดังนี้ คือ ให้ความเห็นชอบในการเข้า เป็นสมาชิกความตกลงกาแฟระหว่างประเทศ ฉบับปี ค.ศ. 1994 ของประเทศไทย และให้กระทรวง การต่างประเทศลงนามการให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีความตกลง ฉบับปี ค.ศ. 1994 ของประเทศไทย ภายในวันที่ 26 กันยายน 2537
ทั้งนี้ ความตกลงกาแฟฯ ฉบับปี ค.ศ. 1993 จะสิ้นสุทดลงในวันที่ 30 กันยายน 2537 องค์ การกาแฟระหว่างประเทศ จึงได้จัดทำความตกลงกาแฟฯ ฉบับปี ค.ศ. 1994 และส่งให้เลขา ธิการสหประชาชาติเพื่อให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ลงนามให้สัตยาบันภายในวันที่ 26 กันยายน 2537 โดยความตกลงฯ ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2537 โดยความตกลงดังกล่าวมี สาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้มีการร่วมมือกันระหว่างประเทศ สมาชิก เพื่อก่อให้เกิดความสมดุลด้านการผลิตและ การค้ากาแฟระหว่างประเทศ อันจะเป็นช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ที่ต้องพึ่งผลผลิตและ การค้ากาแฟเป็นหลัก ตลอดจนคุ้มครองผู้บริโภคกาแฟให้ไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาและ การค้ากาแฟ
2. การดำเนินงานขององค์การกาแฟฯ จะเน้นเฉพาะความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งการประชุมหารือ และให้การศึกษา โดยอาจจะมีการเจรจาปรับปรุงกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการผลิต และการค้ากาแฟระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาการผลิตและการค้ากาแฟประเทศสมาชิก ซึ่งแตกต่าง จากความตกลงฯ ฉบับปี ค.ศ. 1983 เนื่องจากไม่มีการกำหนดกลไกทางการค้ากาแฟในตลาดโลก
3. องค์การกาแฟฯ จะยังคงเป็นแหล่งรวบรวมสถิติการส่งออกและนำเข้าของประเทศสมาชิก โดยให้ประเทศสมาชิกจัดส่งใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าให้กับองค์การฯ และติดตามความเคลื่อนไหว ราคากาแฟระหว่างประเทศ รวมทั้งทำการวิจัยด้านการผลิตและการตลาดกาแฟ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกจะ ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการผลิตและการค้าต่อไป
4. ความตกลงกาแฟฯ ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2537 ถึงวัน ที่ 30 กันยายน 2542 ยกเว้นประเทศสมาชิกผู้ผลิตและผู้บริโภคจะลงมติด้วยคะแนนเสียงไทยต้องจ่ายเงิน สมทบเข้างบบริหารองค์การกาแฟฯ ประมาณปีละ 400,000 บาท เท่ากับความตกลงกาฟแฯ ฉบับปัจจุบัน
นอกจากนี้ ความตกลงกาแฟฯ ดังกล่าว จะช่วยให้ไทยสามารถปกป้องผลประโยชน์ของผู้ ส่งออกการแฟไทยในเวทีธุรกิจกาแฟระหว่างประเทศได้อย่างดี โดยการร่วมกลุ่มได้ช่วยเสริมอำนาจ การต่อรองของประเทศผู้ผลิตให้มีน้ำหนักและมีประสิทธิภาพมากกว่าการกระทำโดยลำพัง รวมถึงจะเป็น การเปิดโอกาสให้ไทยได้เข้าถึงข้อมูล ข้อสนเทศเกี่ยวกับปัญหาหรืออุปสรรคในวงการธุรกิจกาแฟของ โลก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องได้อย่างทันท่วงที อันจะช่วยเสริมประสิทธิภาพ ของรัฐบาลในการกำหนดนโยบาย และมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ประกอบกับใน ระยะ 5 ปี ข้างหน้า (2538 - 2542) ผลผลิตกาแฟของประเทศยังต้องพึ่งตลาดต่างประเทศเป็นสำคัญ ถึงแม้ว่าจะมีโครงการลดฟื้นที่ปลูกกาแฟตามแผนปรับโครงสร้าง และระบบการผลิตการเกษตร แต่การปรับ ปรุงประสิทธิภาพการผลิตจะมีผลให้ผลิตกาแฟได้เกินความต้องการภายในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะมี ประมาณปีละ 35,000 - 45,000 ตัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ตุลาคม 2537--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ ดังนี้ คือ ให้ความเห็นชอบในการเข้า เป็นสมาชิกความตกลงกาแฟระหว่างประเทศ ฉบับปี ค.ศ. 1994 ของประเทศไทย และให้กระทรวง การต่างประเทศลงนามการให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีความตกลง ฉบับปี ค.ศ. 1994 ของประเทศไทย ภายในวันที่ 26 กันยายน 2537
ทั้งนี้ ความตกลงกาแฟฯ ฉบับปี ค.ศ. 1993 จะสิ้นสุทดลงในวันที่ 30 กันยายน 2537 องค์ การกาแฟระหว่างประเทศ จึงได้จัดทำความตกลงกาแฟฯ ฉบับปี ค.ศ. 1994 และส่งให้เลขา ธิการสหประชาชาติเพื่อให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ลงนามให้สัตยาบันภายในวันที่ 26 กันยายน 2537 โดยความตกลงฯ ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2537 โดยความตกลงดังกล่าวมี สาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้มีการร่วมมือกันระหว่างประเทศ สมาชิก เพื่อก่อให้เกิดความสมดุลด้านการผลิตและ การค้ากาแฟระหว่างประเทศ อันจะเป็นช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ที่ต้องพึ่งผลผลิตและ การค้ากาแฟเป็นหลัก ตลอดจนคุ้มครองผู้บริโภคกาแฟให้ไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาและ การค้ากาแฟ
2. การดำเนินงานขององค์การกาแฟฯ จะเน้นเฉพาะความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งการประชุมหารือ และให้การศึกษา โดยอาจจะมีการเจรจาปรับปรุงกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการผลิต และการค้ากาแฟระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาการผลิตและการค้ากาแฟประเทศสมาชิก ซึ่งแตกต่าง จากความตกลงฯ ฉบับปี ค.ศ. 1983 เนื่องจากไม่มีการกำหนดกลไกทางการค้ากาแฟในตลาดโลก
3. องค์การกาแฟฯ จะยังคงเป็นแหล่งรวบรวมสถิติการส่งออกและนำเข้าของประเทศสมาชิก โดยให้ประเทศสมาชิกจัดส่งใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าให้กับองค์การฯ และติดตามความเคลื่อนไหว ราคากาแฟระหว่างประเทศ รวมทั้งทำการวิจัยด้านการผลิตและการตลาดกาแฟ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกจะ ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการผลิตและการค้าต่อไป
4. ความตกลงกาแฟฯ ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2537 ถึงวัน ที่ 30 กันยายน 2542 ยกเว้นประเทศสมาชิกผู้ผลิตและผู้บริโภคจะลงมติด้วยคะแนนเสียงไทยต้องจ่ายเงิน สมทบเข้างบบริหารองค์การกาแฟฯ ประมาณปีละ 400,000 บาท เท่ากับความตกลงกาฟแฯ ฉบับปัจจุบัน
นอกจากนี้ ความตกลงกาแฟฯ ดังกล่าว จะช่วยให้ไทยสามารถปกป้องผลประโยชน์ของผู้ ส่งออกการแฟไทยในเวทีธุรกิจกาแฟระหว่างประเทศได้อย่างดี โดยการร่วมกลุ่มได้ช่วยเสริมอำนาจ การต่อรองของประเทศผู้ผลิตให้มีน้ำหนักและมีประสิทธิภาพมากกว่าการกระทำโดยลำพัง รวมถึงจะเป็น การเปิดโอกาสให้ไทยได้เข้าถึงข้อมูล ข้อสนเทศเกี่ยวกับปัญหาหรืออุปสรรคในวงการธุรกิจกาแฟของ โลก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องได้อย่างทันท่วงที อันจะช่วยเสริมประสิทธิภาพ ของรัฐบาลในการกำหนดนโยบาย และมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ประกอบกับใน ระยะ 5 ปี ข้างหน้า (2538 - 2542) ผลผลิตกาแฟของประเทศยังต้องพึ่งตลาดต่างประเทศเป็นสำคัญ ถึงแม้ว่าจะมีโครงการลดฟื้นที่ปลูกกาแฟตามแผนปรับโครงสร้าง และระบบการผลิตการเกษตร แต่การปรับ ปรุงประสิทธิภาพการผลิตจะมีผลให้ผลิตกาแฟได้เกินความต้องการภายในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะมี ประมาณปีละ 35,000 - 45,000 ตัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ตุลาคม 2537--