ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการจัดลำดับเครดิตของประเทศไทย โดยบริษัท Standard and poor's (S&P) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สำหรับปี 2537 S&P ได้แจ้งผลการจัดลำดับเครดิตของประเทศไทยจากระดับ A- เป็น A สำหรับเครดิตระยะยาว และยืนยันเครดิตในระดับ A-1 สำหรับเครดิตระยะสั้นโดยเหตุผลที่ S&P จัดลำดับเครดิตของประเทศไทยสูงขึ้นสรุปได้ ดังนี้
1. ประเทศไทยคงความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศได้ดีและอย่างต่อเนื่องมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ควบคุมได้ มีการกระจายการผลิต การส่งออก และการลงทุน ไปสู่ส่วนภูมิภาค ทั้งโครงสร้างพื้นฐานของสังคมไทยยังมีความมั่นคง ไม่มีความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนา และความแข็งแกร่งของภาคเอกชนและบุคลากรในภาครัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การจัดลำดับเครดิตของประเทศไทย ยังมีข้อจำกัดอันเนื่องจากความต้องการเงินเพื่อลงทุนในโครงการพื้นฐานการพัฒนาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จึงยังจำเป็นต้องพึ่งพาการกู้เงินจากต่างประเทศในวงเงินค่อนข้างสูง
2. สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยมีความมั่นคงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลพลเรือนได้รับการสนับสนุนและความยินยอมต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าความก้าวหน้าในการแก้ไข รัฐธรรมนูญและโครงสร้างพื้นฐานหลักในกรุงเทพฯ จะช้ากว่าที่คาดหวังไว้ นอกจากนั้น โอกาสที่ กองทัพจะเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองในอนาคตอีกคงจะไม่มี
3. แม้ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาความผันผวนทางการเมืองในบางช่วง แต่ด้วยเหตุที่ประเทศไทยมีกลุ่มผู้นำทางเศรษฐกิจที่มีความสามารถ จึงทำให้ระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับที่น่าพอใจโดยมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำกว่าตัวเลขสองหลักเพียงเล็กน้อยในช่วงปลายทศวรรษ1980 การขยายฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย จึงกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมามีผลกระทบต่อความต่อเนื่องของนโยบายเศรษฐกิจน้อยมาก นอกจากนั้น ยังมีฐานะการเงินเกินดุลติดต่อกันมาถึง 6 ปี โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2537 มียอดเกินดุลเทียบเท่าร้อยละ 1.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
4.S&P ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีก 4 ประการ คือ
(1) แม้ว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดยังอยู่ในระดับร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แต่ก็สามารถชดเชยได้ด้วยเงินลงทุนจากต่างประเทศ
(2) แม้ว่าภาระหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนจะทำให้สัดส่วนของหนี้สินต่างประเทศสุทธิต่อการส่งออกสูงขึ้นจากร้อยละ 31.8 เป็น 46.4 เมื่อเทียบกับในช่วง 5 ปีที่แล้วมา แต่สัดส่วนดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้และเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่าในช่วงทศวรรษที่แล้ว
(3) แม้ว่าการกู้ยืมจากต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจสูงขึ้น แต่ก็ส่งผลให้ภาระหนี้ต่าง-ประเทศของภาครัฐสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
(4) ระดับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ส่งผลให้สถานะของภาครัฐแข็งแกร่งคือ มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 32.5 ของการส่งออก
5. กล่าวได้ว่า ลำดับเครดิตของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะมีความมั่นคงต่อไป คือ ในระยะปานกลางจะยังคงอยู่ในสถานะที่น่าพอใจ โดยคาดว่าในอนาคตรัฐบาลจะปรับนโยบายเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นจากประเทศในภูมิภาคนี้ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าและมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์การที่ S&P ได้จัดลำดับเครดิตของประเทศไทยสูงขึ้นจะส่งผลให้ประเทศไทยได้รับความเชื่อถือจากนักลงทุนในตลาดเงินทุนต่างประเทศสูงขึ้น โดยจะสามารถกู้เงินจากตลาดเงินทุนต่างประเทศได้ในเงื่อนไขที่ดีขึ้น ทั้งในแง่วงเงิน ระยะเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ย กล่าวคือ จะสามารถกู้เงินได้ในวงเงินที่สูงขึ้น โดยมีระยะเงินกู้ยาวขึ้น และมีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
เงื่อนไข ก่อนปรับ หลังปรับ
วงเงิน (ล้าน US$) 300-500 500-1,000
ระยะเงินกู้ (ปี) 10-20 10-30
อัตราดอกเบี้ย (Basis Point) T+(80-100) T+(75-85) หมายเหตุ : T หมายถึง US Treasury Bond Yield ขณะนี้ T=7.83% - 7.87% สำหรับพันธบัตร
ระยะ 10 และ 30 ปี ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มกราคม 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการจัดลำดับเครดิตของประเทศไทย โดยบริษัท Standard and poor's (S&P) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สำหรับปี 2537 S&P ได้แจ้งผลการจัดลำดับเครดิตของประเทศไทยจากระดับ A- เป็น A สำหรับเครดิตระยะยาว และยืนยันเครดิตในระดับ A-1 สำหรับเครดิตระยะสั้นโดยเหตุผลที่ S&P จัดลำดับเครดิตของประเทศไทยสูงขึ้นสรุปได้ ดังนี้
1. ประเทศไทยคงความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศได้ดีและอย่างต่อเนื่องมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ควบคุมได้ มีการกระจายการผลิต การส่งออก และการลงทุน ไปสู่ส่วนภูมิภาค ทั้งโครงสร้างพื้นฐานของสังคมไทยยังมีความมั่นคง ไม่มีความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนา และความแข็งแกร่งของภาคเอกชนและบุคลากรในภาครัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การจัดลำดับเครดิตของประเทศไทย ยังมีข้อจำกัดอันเนื่องจากความต้องการเงินเพื่อลงทุนในโครงการพื้นฐานการพัฒนาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จึงยังจำเป็นต้องพึ่งพาการกู้เงินจากต่างประเทศในวงเงินค่อนข้างสูง
2. สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยมีความมั่นคงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลพลเรือนได้รับการสนับสนุนและความยินยอมต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าความก้าวหน้าในการแก้ไข รัฐธรรมนูญและโครงสร้างพื้นฐานหลักในกรุงเทพฯ จะช้ากว่าที่คาดหวังไว้ นอกจากนั้น โอกาสที่ กองทัพจะเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองในอนาคตอีกคงจะไม่มี
3. แม้ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาความผันผวนทางการเมืองในบางช่วง แต่ด้วยเหตุที่ประเทศไทยมีกลุ่มผู้นำทางเศรษฐกิจที่มีความสามารถ จึงทำให้ระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับที่น่าพอใจโดยมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำกว่าตัวเลขสองหลักเพียงเล็กน้อยในช่วงปลายทศวรรษ1980 การขยายฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย จึงกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมามีผลกระทบต่อความต่อเนื่องของนโยบายเศรษฐกิจน้อยมาก นอกจากนั้น ยังมีฐานะการเงินเกินดุลติดต่อกันมาถึง 6 ปี โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2537 มียอดเกินดุลเทียบเท่าร้อยละ 1.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
4.S&P ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีก 4 ประการ คือ
(1) แม้ว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดยังอยู่ในระดับร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แต่ก็สามารถชดเชยได้ด้วยเงินลงทุนจากต่างประเทศ
(2) แม้ว่าภาระหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนจะทำให้สัดส่วนของหนี้สินต่างประเทศสุทธิต่อการส่งออกสูงขึ้นจากร้อยละ 31.8 เป็น 46.4 เมื่อเทียบกับในช่วง 5 ปีที่แล้วมา แต่สัดส่วนดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้และเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่าในช่วงทศวรรษที่แล้ว
(3) แม้ว่าการกู้ยืมจากต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจสูงขึ้น แต่ก็ส่งผลให้ภาระหนี้ต่าง-ประเทศของภาครัฐสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
(4) ระดับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ส่งผลให้สถานะของภาครัฐแข็งแกร่งคือ มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 32.5 ของการส่งออก
5. กล่าวได้ว่า ลำดับเครดิตของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะมีความมั่นคงต่อไป คือ ในระยะปานกลางจะยังคงอยู่ในสถานะที่น่าพอใจ โดยคาดว่าในอนาคตรัฐบาลจะปรับนโยบายเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นจากประเทศในภูมิภาคนี้ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าและมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์การที่ S&P ได้จัดลำดับเครดิตของประเทศไทยสูงขึ้นจะส่งผลให้ประเทศไทยได้รับความเชื่อถือจากนักลงทุนในตลาดเงินทุนต่างประเทศสูงขึ้น โดยจะสามารถกู้เงินจากตลาดเงินทุนต่างประเทศได้ในเงื่อนไขที่ดีขึ้น ทั้งในแง่วงเงิน ระยะเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ย กล่าวคือ จะสามารถกู้เงินได้ในวงเงินที่สูงขึ้น โดยมีระยะเงินกู้ยาวขึ้น และมีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
เงื่อนไข ก่อนปรับ หลังปรับ
วงเงิน (ล้าน US$) 300-500 500-1,000
ระยะเงินกู้ (ปี) 10-20 10-30
อัตราดอกเบี้ย (Basis Point) T+(80-100) T+(75-85) หมายเหตุ : T หมายถึง US Treasury Bond Yield ขณะนี้ T=7.83% - 7.87% สำหรับพันธบัตร
ระยะ 10 และ 30 ปี ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มกราคม 2538--