ทำเนียบรัฐบาล--12 ม.ค.--บิสนิวส์18. เรื่อง การแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรมราชทัณฑ์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง การแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย ที่รายงานว่า ปัจจุบันกรมราชทัณฑ์ประสบปัญหาในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังยาเสพติดเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการป้องกัน การปราบปราม และการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ อันเนื่องมาจากจำนวนผู้ต้องขังยาเสพติดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 95,000 คน แต่มีสถานที่ควบคุมและบำบัดรักษาผู้ต้องขังติดยาเสพติดเป็นการเฉพาะ (ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ) เพียง 6 แห่ง สามารถรองรับผู้ต้องขังได้เพียง 7,900 คน ซึ่งไม่เพียงพอกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรมราชทัณฑ์อย่างเป็นระบบและครบวงจร กรมราชทัณฑ์จึงเสนอให้มีการจัดตั้งเรือนจำและทัณฑ-สถานเพื่อรองรับการขยายตัวของผู้ต้องขังคดียาเสพติดประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. โครงการนำร่อง
จัดทำศูนย์บำบัดยาเสพติดเขาพริก ในลักษณะเรือนจำการเกษตร มีความจุ 5,000 คน ดำเนินกิจกรรมบำบัดฟื้นฟูผู้ต้องขังคดียาเสพติดควบคู่ไปกับการทำงานด้านการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ 8,000 ไร่ เพื่อเป็นโครงการทดลองศึกษาผลดีผลเสียของการดำเนินการตามแนวทางการบำบัดฟื้นฟูในรูปแบบชุมชนบำบัด และการทำงานด้านการเกษตรของผู้ต้องขังโดยการขอสนับสนุนงบกลาง จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2542 ในวงเงิน 850 ล้านบาท และขอความร่วมมือจากหน่วยทหารมาดำเนินการก่อสร้างบางส่วนพร้อมจัดอัตรากำลังมาช่วยรักษาการณ์ภายนอกเรือนจำเมื่อเปิดดำเนินการแล้ว
2. โครงการหลัก
จัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น ด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรมราชทัณฑ์ ภายใต้โครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ OECF วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยการก่อสร้างศูนย์บำบัดผู้ติดยา ทัณฑสถานบำบัดพิเศษประจำภาคและเรือนจำความมั่นคงสูงประจำภาคเพื่อรองรับผู้ต้องขังยาเสพติดประเภทต่าง ๆ ที่จะเพิ่มขึ้น รวมทั้งโครงการที่จะเกื้อกูลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันได้แก่ ศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการ การจัดทำทะเบียนประวัติผู้ต้องขัง และโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่เป็นผลต่อเนื่องจากยาเสพติด เช่น โรคเอดส์ ซึ่งในชั้นต้นนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายวัฒนา อัศวเหม) ได้หารือความเป็นไปได้ของโครงการกับผู้เชี่ยวชาญไจก้า จาก OECF แล้ว
คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการโครงการนำร่อง โดยมอบให้กระทรวงมหาดไทยประสานงานกับสำนักงบประมาณ เพื่อหาแนวทางจัดสรรงบกลางต่อไป
สำหรับโครงการหลัก เนื่องจากระเบียบการก่อหนี้ต่างประเทศ พ.ศ. 2528 กำหนดไว้ว่า ส่วนราชการที่มีความประสงค์ที่จะดำเนินโครงการด้วยเงินกู้จากต่างประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจะต้องจัดทำโครงการเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการฯ กำหนด ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ. 2528 เห็นสมควรให้กระทรวงมหาดไทยนำเสนอโครงการต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพิจารณารายละเอียดและความเหมาะสมทางเศรษฐกิจของโครงการก่อนเมื่อโครงการได้รับความเห็นชอบแล้ว กระทรวงการคลังก็จะจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมให้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 มกราคม 2542--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง การแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย ที่รายงานว่า ปัจจุบันกรมราชทัณฑ์ประสบปัญหาในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังยาเสพติดเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการป้องกัน การปราบปราม และการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ อันเนื่องมาจากจำนวนผู้ต้องขังยาเสพติดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 95,000 คน แต่มีสถานที่ควบคุมและบำบัดรักษาผู้ต้องขังติดยาเสพติดเป็นการเฉพาะ (ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ) เพียง 6 แห่ง สามารถรองรับผู้ต้องขังได้เพียง 7,900 คน ซึ่งไม่เพียงพอกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรมราชทัณฑ์อย่างเป็นระบบและครบวงจร กรมราชทัณฑ์จึงเสนอให้มีการจัดตั้งเรือนจำและทัณฑ-สถานเพื่อรองรับการขยายตัวของผู้ต้องขังคดียาเสพติดประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. โครงการนำร่อง
จัดทำศูนย์บำบัดยาเสพติดเขาพริก ในลักษณะเรือนจำการเกษตร มีความจุ 5,000 คน ดำเนินกิจกรรมบำบัดฟื้นฟูผู้ต้องขังคดียาเสพติดควบคู่ไปกับการทำงานด้านการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ 8,000 ไร่ เพื่อเป็นโครงการทดลองศึกษาผลดีผลเสียของการดำเนินการตามแนวทางการบำบัดฟื้นฟูในรูปแบบชุมชนบำบัด และการทำงานด้านการเกษตรของผู้ต้องขังโดยการขอสนับสนุนงบกลาง จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2542 ในวงเงิน 850 ล้านบาท และขอความร่วมมือจากหน่วยทหารมาดำเนินการก่อสร้างบางส่วนพร้อมจัดอัตรากำลังมาช่วยรักษาการณ์ภายนอกเรือนจำเมื่อเปิดดำเนินการแล้ว
2. โครงการหลัก
จัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น ด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรมราชทัณฑ์ ภายใต้โครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ OECF วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยการก่อสร้างศูนย์บำบัดผู้ติดยา ทัณฑสถานบำบัดพิเศษประจำภาคและเรือนจำความมั่นคงสูงประจำภาคเพื่อรองรับผู้ต้องขังยาเสพติดประเภทต่าง ๆ ที่จะเพิ่มขึ้น รวมทั้งโครงการที่จะเกื้อกูลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันได้แก่ ศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการ การจัดทำทะเบียนประวัติผู้ต้องขัง และโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่เป็นผลต่อเนื่องจากยาเสพติด เช่น โรคเอดส์ ซึ่งในชั้นต้นนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายวัฒนา อัศวเหม) ได้หารือความเป็นไปได้ของโครงการกับผู้เชี่ยวชาญไจก้า จาก OECF แล้ว
คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการโครงการนำร่อง โดยมอบให้กระทรวงมหาดไทยประสานงานกับสำนักงบประมาณ เพื่อหาแนวทางจัดสรรงบกลางต่อไป
สำหรับโครงการหลัก เนื่องจากระเบียบการก่อหนี้ต่างประเทศ พ.ศ. 2528 กำหนดไว้ว่า ส่วนราชการที่มีความประสงค์ที่จะดำเนินโครงการด้วยเงินกู้จากต่างประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจะต้องจัดทำโครงการเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการฯ กำหนด ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ. 2528 เห็นสมควรให้กระทรวงมหาดไทยนำเสนอโครงการต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพิจารณารายละเอียดและความเหมาะสมทางเศรษฐกิจของโครงการก่อนเมื่อโครงการได้รับความเห็นชอบแล้ว กระทรวงการคลังก็จะจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมให้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 มกราคม 2542--