คณะรัฐมนตรีพิจารณาการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินการเพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติต่อไป ดังนี้
1. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2547 (เพิ่มเติม) รายการ งบกลางค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (59,000 ล้านบาท) เนื่องจากไม่อาจเบิกจ่ายเงินได้ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2547 และได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2548 แล้ว เพื่อเป็นการติดตามผลการเบิกจ่ายเงิน เห็นสมควรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรายงานสถานภาพการดำเนินการของโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ตามแบบรายงานที่กรมบัญชีกลางกำหนด
2. งบประมาณรายจ่ายลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548
2.1 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (23,400 ล้านบาท) ซึ่งยังไม่มีการเบิกจ่าย แต่เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติผ่อนผันให้ก่อหนี้ผูกพันหลังไตรมาสที่ 2 ได้จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2548 เห็นสมควรให้รายงานสถานภาพการดำเนินการของโครงการ ตามแบบรายงานที่กรมบัญชีกลางกำหนด
2.2 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 298,135 ล้านบาท ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ติดตามรวบรวมข้อมูลการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายลงทุนตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2548 ปรากฏว่าข้อมูลที่ได้รับรายงานจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีจำนวนเพียง 145,519 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60.31 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่ต้องมีการก่อหนี้ผูกพัน(241,300 ล้านบาท) โดยส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถก่อหนี้ผูกพันได้แล้ว ร้อยละ 54.71 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่ได้รับรายงาน (145,519 ล้านบาท) และยังไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ร้อยละ 45.29 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่ได้รับรายงาน (145,519 ล้านบาท) แต่เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติผ่อนผันให้ก่อหนี้ผูกพันหลังไตรามาสที่ 2 ได้จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2548 เห็นสมควรให้รายงานสถานภาพการดำเนินการของโครงการ ตามแบบรายงานที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ทั้งนี้การส่งรายงานตามข้อ 1 และ 2 ขอให้ส่งแบบรายงานให้กรมบัญชีกลาง ภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 หากไม่ส่งภายในระยะเวลาดังกล่าว กรมบัญชีกลางจะแจ้งสำนักงบประมาณให้ดำเนินการตาม
มาตรการงบประมาณต่อไป
อนึ่ง สำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง ชี้แจงว่า การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ล่าช้า มิได้เป็นผลมาจากขั้นตอนการปฏิบัติงานของสำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง เนื่องจากเมื่อสำนักงบประมาณได้รับแจ้งคำขอจัดสรรงบประมาณจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจแล้ว สำนักงบประมาณจะพิจารณารายละเอียด และใช้เวลาในการอนุมัติเงินประจำงวดให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นเวลา 3 วัน หลังจากที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว จะดำเนินการขอเบิกจ่ายเงินกับกรมบัญชีกลางผ่านระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) และเมื่อกรมบัญชีกลางได้รับข้อมูลที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตรวจรับรองความถูกต้องแล้ว จะอนุมัติให้เบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้ภายในวัดถัดไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2547 (เพิ่มเติม) รายการ งบกลางค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (59,000 ล้านบาท) เนื่องจากไม่อาจเบิกจ่ายเงินได้ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2547 และได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2548 แล้ว เพื่อเป็นการติดตามผลการเบิกจ่ายเงิน เห็นสมควรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรายงานสถานภาพการดำเนินการของโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ตามแบบรายงานที่กรมบัญชีกลางกำหนด
2. งบประมาณรายจ่ายลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548
2.1 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (23,400 ล้านบาท) ซึ่งยังไม่มีการเบิกจ่าย แต่เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติผ่อนผันให้ก่อหนี้ผูกพันหลังไตรมาสที่ 2 ได้จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2548 เห็นสมควรให้รายงานสถานภาพการดำเนินการของโครงการ ตามแบบรายงานที่กรมบัญชีกลางกำหนด
2.2 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 298,135 ล้านบาท ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ติดตามรวบรวมข้อมูลการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายลงทุนตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2548 ปรากฏว่าข้อมูลที่ได้รับรายงานจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีจำนวนเพียง 145,519 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60.31 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่ต้องมีการก่อหนี้ผูกพัน(241,300 ล้านบาท) โดยส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถก่อหนี้ผูกพันได้แล้ว ร้อยละ 54.71 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่ได้รับรายงาน (145,519 ล้านบาท) และยังไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ร้อยละ 45.29 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่ได้รับรายงาน (145,519 ล้านบาท) แต่เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติผ่อนผันให้ก่อหนี้ผูกพันหลังไตรามาสที่ 2 ได้จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2548 เห็นสมควรให้รายงานสถานภาพการดำเนินการของโครงการ ตามแบบรายงานที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ทั้งนี้การส่งรายงานตามข้อ 1 และ 2 ขอให้ส่งแบบรายงานให้กรมบัญชีกลาง ภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 หากไม่ส่งภายในระยะเวลาดังกล่าว กรมบัญชีกลางจะแจ้งสำนักงบประมาณให้ดำเนินการตาม
มาตรการงบประมาณต่อไป
อนึ่ง สำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง ชี้แจงว่า การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ล่าช้า มิได้เป็นผลมาจากขั้นตอนการปฏิบัติงานของสำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง เนื่องจากเมื่อสำนักงบประมาณได้รับแจ้งคำขอจัดสรรงบประมาณจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจแล้ว สำนักงบประมาณจะพิจารณารายละเอียด และใช้เวลาในการอนุมัติเงินประจำงวดให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นเวลา 3 วัน หลังจากที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว จะดำเนินการขอเบิกจ่ายเงินกับกรมบัญชีกลางผ่านระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) และเมื่อกรมบัญชีกลางได้รับข้อมูลที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตรวจรับรองความถูกต้องแล้ว จะอนุมัติให้เบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้ภายในวัดถัดไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--