แท็ก
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
ประกันสังคม
ทำเนียบรัฐบาล--29 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทน-ราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมายคณะที่ 7) ได้แก้ไขเพิ่มเติม มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สำหรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2541 เกี่ยวกับการขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากหกเดือนเป็นไม่น้อยกว่าหกเดือน แต่ไม่เกินสิบสองเดือน ซึ่งควรกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัตินี้ไว้เพียง 3 ปีนั้น ได้แก้ไขร่างมาตรา 38 วรรคสอง โดยวางหลักเกณฑ์ไว้ว่าในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้ผู้ประกันตนดังกล่าวมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง (ซึ่งเป็นหลักการของกฎหมายในปัจจุบัน) และถ้าในอนาคตรัฐบาลเห็นสมควรปรับปรุงหรือขยายระยะเวลาการมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนซึ่งสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว รัฐบาลอาจตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อขยายระยะเวลาเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม และตามที่รัฐบาลเห็นสมควร ทั้งนี้ ตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ แต่การขยายระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
2. สำหรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2541 เกี่ยวกับการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของรัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้แต่ละฝ่ายออกเงินสมทบแตกต่างกันได้นั้น เนื่องจากการกำหนดให้การออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงดังนั้น เมื่อมีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องออกเงินสมทบตามความสามารถและตามสภาวะทางเศรษฐกิจก็สามารถออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราการออกเงินสมทบในแต่ละกรณีได้ตามความเหมาะสม
3. ร่างมาตรา 75 ตรี เรื่องจำนวนบุตรที่จะได้รับการสงเคราะห์ เดิมกำหนดไว้ไม่เกินสองคน แก้เป็นไม่เกินคราวละสองคน เพราะคำว่าไม่เกินสองคนเป็นการกำหนดไว้แน่นอนตายตัว ไม่ว่าจะมีบุตรกี่คนก็จะรับกาารสงเคราะห์ได้เพียงสองคนเท่านั้นการแก้ไขดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนมากกว่า นอกจากนี้เรื่องอายุของบุตรที่จะได้รับการสงเคราะห์นั้นได้กำหนดอายุขั้นสูงไว้ให้ชัดเจนว่าต้องไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์
4. ร่างมาตรา 77 จัตวา เรื่องทายาทที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนเมื่อผู้ประกันตนตายไปก่อนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน ได้กำหนดส่วนแบ่งของทายาทแต่ละลำดับไว้ให้ชัดเจน โดยใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการกับได้เพิ่มหลักการให้ผู้ประกันตนซึ่งมีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพแต่ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินบำนาญชราภาพไป ถ้าได้ถึงแก่ความตายภายในหกสิบเดือนนับถัดจากเดือนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้ทายาทของผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพด้วย
นอกจากนี้ ได้แก้ไขเพิ่มเติมบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติฯ และจัดเรียงลำดับมาตราเสียใหม่ให้เป็นไปตามลำดับเหตุการณ์
5. โดยที่ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 29ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูยที่ให้อำนาจตรากฎหมายนั้นด้วย และคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมายคณะพิเศษ)ได้พิจารณากำหนดรูปแบบการระบุบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในกรณีดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบแล้ว (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2541) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้เพิ่มเติมร่างมาตรา 3 ทวิ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และในขณะนี้มีร่างพระราชบัญญัติบางฉบับที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว โดยมีการเพิ่มบทบัญญัติในเรื่องเดียวกันนี้ไว้ด้วย ซึ่งถ้อยคำที่ใช้ในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแตกต่างจากที่ปรากฏตามร่างพระราชบัญญัตินี้เล็กน้อย แต่เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติเหล่านั้นยังไม่ได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายในชั้นนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงถือปฏิบัติตามแนวทางที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะพิเศษ) กำหนดไว้ไปพลางก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กันยายน 2541--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทน-ราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมายคณะที่ 7) ได้แก้ไขเพิ่มเติม มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สำหรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2541 เกี่ยวกับการขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากหกเดือนเป็นไม่น้อยกว่าหกเดือน แต่ไม่เกินสิบสองเดือน ซึ่งควรกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัตินี้ไว้เพียง 3 ปีนั้น ได้แก้ไขร่างมาตรา 38 วรรคสอง โดยวางหลักเกณฑ์ไว้ว่าในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้ผู้ประกันตนดังกล่าวมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง (ซึ่งเป็นหลักการของกฎหมายในปัจจุบัน) และถ้าในอนาคตรัฐบาลเห็นสมควรปรับปรุงหรือขยายระยะเวลาการมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนซึ่งสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว รัฐบาลอาจตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อขยายระยะเวลาเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม และตามที่รัฐบาลเห็นสมควร ทั้งนี้ ตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ แต่การขยายระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
2. สำหรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2541 เกี่ยวกับการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของรัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้แต่ละฝ่ายออกเงินสมทบแตกต่างกันได้นั้น เนื่องจากการกำหนดให้การออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงดังนั้น เมื่อมีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องออกเงินสมทบตามความสามารถและตามสภาวะทางเศรษฐกิจก็สามารถออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราการออกเงินสมทบในแต่ละกรณีได้ตามความเหมาะสม
3. ร่างมาตรา 75 ตรี เรื่องจำนวนบุตรที่จะได้รับการสงเคราะห์ เดิมกำหนดไว้ไม่เกินสองคน แก้เป็นไม่เกินคราวละสองคน เพราะคำว่าไม่เกินสองคนเป็นการกำหนดไว้แน่นอนตายตัว ไม่ว่าจะมีบุตรกี่คนก็จะรับกาารสงเคราะห์ได้เพียงสองคนเท่านั้นการแก้ไขดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนมากกว่า นอกจากนี้เรื่องอายุของบุตรที่จะได้รับการสงเคราะห์นั้นได้กำหนดอายุขั้นสูงไว้ให้ชัดเจนว่าต้องไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์
4. ร่างมาตรา 77 จัตวา เรื่องทายาทที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนเมื่อผู้ประกันตนตายไปก่อนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน ได้กำหนดส่วนแบ่งของทายาทแต่ละลำดับไว้ให้ชัดเจน โดยใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการกับได้เพิ่มหลักการให้ผู้ประกันตนซึ่งมีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพแต่ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินบำนาญชราภาพไป ถ้าได้ถึงแก่ความตายภายในหกสิบเดือนนับถัดจากเดือนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้ทายาทของผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพด้วย
นอกจากนี้ ได้แก้ไขเพิ่มเติมบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติฯ และจัดเรียงลำดับมาตราเสียใหม่ให้เป็นไปตามลำดับเหตุการณ์
5. โดยที่ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 29ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูยที่ให้อำนาจตรากฎหมายนั้นด้วย และคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมายคณะพิเศษ)ได้พิจารณากำหนดรูปแบบการระบุบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในกรณีดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบแล้ว (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2541) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้เพิ่มเติมร่างมาตรา 3 ทวิ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และในขณะนี้มีร่างพระราชบัญญัติบางฉบับที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว โดยมีการเพิ่มบทบัญญัติในเรื่องเดียวกันนี้ไว้ด้วย ซึ่งถ้อยคำที่ใช้ในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแตกต่างจากที่ปรากฏตามร่างพระราชบัญญัตินี้เล็กน้อย แต่เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติเหล่านั้นยังไม่ได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายในชั้นนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงถือปฏิบัติตามแนวทางที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะพิเศษ) กำหนดไว้ไปพลางก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กันยายน 2541--