ทำเนียบรัฐบาล--9 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานคณะกรรมการร่วมระหว่างภาคราชการและผู้แทนสมัชชาเกษตรกรภาคอีสานตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยด่วนด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเกษตรกรภาคอีสานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีเอกภาพ ซึ่งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาคราชการและผู้แทนสมัชชาเกษตรกรภาคอีสานได้จัดการประชุมคณะกรรมการฯ มาแล้วรวม 3 ครั้ง และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่วนกลาง 5 คณะ ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการกลุ่มปัญหาหนี้สิน คณะอนุกรรมการกลุ่มปัญหาที่ดิน คณะอนุกรรมการพัฒนาสหกรณ์และวิถีชีวิตเกษตรกร คณะอนุกรรมการกลุ่มปัญหาป่าไม้และสิ่งแวดล้อม และคณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการร่วมแก้ไขปัญหาเกษตรกรภาคอีสาน นอกจากนี้ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด เพื่อเร่งรัดติดตามและประสานงานในการแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องของสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน และแต่งตั้งคณะทำงานระดับพื้นที่ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแต่ละปัญหา ได้พิจารณาปัญหาตามข้อเรียกร้องของสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน (สกอ.) และหลักการในการดำเนินการแก้ไข
ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน (สกอ.) ได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มปัญหา คือ 1) กลุ่มปัญหาป่าไม้และสิ่งแวดล้อม 2) กลุ่มปัญหาหนี้สินเกษตรกร 3) กลุ่มปัญหาพัฒนาสหกรณ์และวิถีชีวิตเกษตรกร 4) กลุ่มปัญหาที่ดิน ซึ่งคณะกรรมการร่วมฯ ได้มีมติดังนี้
1. การพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ดิน ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1) เห็นชอบหลักการในการแก้ไขปัญหาตามที่สรุปมานี้
2) หลักการในการพิจารณาในการแก้ไขปัญหาที่ต้องการรายละเอียดให้นำไปพิจารณาในคณะอนุกรรมการป่าไม้และสิ่งแวดล้อม คณะอนุกรรมการกลุ่มปัญหาที่ดิน และคณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการร่วมแก้ไขปัญหาเกษตรกรภาคอีสาน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในแต่ละปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
3) ปัญหาใดที่ใกล้เสร็จในระดับจังหวัดให้คณะอนุกรรมการในระดับจังหวัด เร่งรัดดำเนินการเสนอศูนย์อำนวยการร่วมแก้ไขปัญหาเกษตรกรภาคอีสาน เพื่อประมวลข้อมูลเสนอคณะกรรมการร่วมต่อไป
4) ปัญหาใดที่เป็นปัญหาใหม่ จะได้เร่งรัดแต่งตั้งคณะทำงานในพื้นที่เพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงในแต่ละปัญหาต่อไป
5) ให้คณะอนุกรรมการฯ คณะทำงานฯ ทั้งในส่วนกลางและระดับจังหวัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการข้อ 2 - ข้อ 4
6) และให้จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในแต่ละปัญหาในเบื้องต้นเป็นแผนปฏิบัติการภายใน 3 เดือน
7) หลักการกำหนดระเบียบวาระการประชุมระดับจังหวัดเรื่องใดที่จะนำเข้าพิจารณาขอให้ สกอ. แจ้งเรื่องให้เลขานุการระดับจังหวัดทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 1 สัปดาห์
2. การดำเนินการแก้ไขปัญหากลุ่มหนี้สินเกษตรกร วางแนวการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ดังนี้
1) จัดประชุมคณะอนุกรรมการร่วมฯ ระดับจังหวัดเพื่อชี้แจงแนวทางการสำรวจข้อมูลหนี้สินของเกษตรกร
2) นำเสนอข้อมูลต่อศูนย์อำนวยการร่วม/คณะอนุกรรมการ กลุ่มปัญหาหนี้สินเกษตรกรภายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2541
3) จัดให้มีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลหนี้สินเป็นรายบุคคล
4) สรุปข้อมูลรายอำเภอ และรายจังหวัดให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2541
5) นำเสนอข้อมูลต่อ กบส. และคณะกรรมการร่วมฯ เพื่อพิจารณาการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรตามข้อเรียกร้อง
3. การดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องของกลุ่มปัญหาการพัฒนาสหกรณ์และพัฒนาอาชีพ ได้วางแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1) การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรอย่างยั่งยืน ให้ สกอ. จัดทำรายละเอียดในการพัฒนาอาชีพของเกษตรกร และจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังให้เสร็จ แล้วจัดส่งประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาสหกรณ์และวิถีชีวิตเกษตรกร เพื่อจัดส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบไปดำเนินการ โดยยึดหลักบนพื้นฐานความเป็นธรรมแก่ทุกกลุ่มที่เรียกร้องในเรื่องนี้
2) ในกรณีที่สมาชิก สกอ. ไม่มีที่ดินทำกินอย่างเพียงพอให้ยื่นรายละเอียดเพื่อจัดส่งให้ สปก. รับไปดำเนินการ
3) ให้สหกรณ์เครือข่าย สกอ. ที่มีความประสงค์ขอโควต้าปุ๋ยในฤดูการผลิต ปี 41/42 ให้ยื่นความจำนงและส่งรายละเอียดให้สหกรณ์จังหวัด
4) การส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ขนาดเล็กให้ สกอ. ยื่นเรื่องมาแล้วจะพิจารณาอยู่บนพื้นฐานความถูกต้องความเหมาะสม และทุกกลุ่มที่เรียกร้องให้เรื่องนี้ทุกกลุ่มจะดำเนินการบนบรรทัดฐานเดียวกัน
4. การดำเนินการแก้ไขปัญหา กลุ่มปัญหาที่ดิน คณะอนุกรรมการกลุ่มปัญหาที่ดินซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายวัฒนา อัศวเหม) เป็นประธาน ได้ดำเนินการในการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1) จำนวนปัญหาที่ดินตามข้อเรียกร้องของ สกอ. มี 17 ปัญหา โดยแยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ จังหวัดศรีสะเกษ10 ปัญหา จังหวัดยโสธร 1 ปัญหา จังหวัดเลย 2 ปัญหา จังหวัดสุรินทร์ 1 ปัญหา จังหวัดอุบลราชธานี 1 ปัญหา จังหวัดมหาสารคาม2 ปัญหา
2) หลักการในการแก้ไขปัญหา
- หลักความเป็นจริง เรื่องที่จะนำมาพิจารณาในการแก้ไขปัญหาต้องเป็นเรื่องจริง
- หลักความถูกต้องเป็นธรรม ในการดำเนินการ จะต้องมีความถูกต้องและมีความเป็นธรรมทั้งฝ่ายราชการฝ่ายสมัชชา และประชาชนส่วนรวม
- หลักกฎหมาย ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของบ้านเมือง
ในกรณีที่มีการโต้สิทธิที่ดินจะต้องมีการรังวัดพิสูจน์สิทธิกันก่อน ทั้งนี้ โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ และพยานหลักฐานของทางราชการหรือพยานหลักฐานอื่นประกอบตามหลักเกณฑ์ที่ กบร. กำหนด
3) การดำเนินการแก้ไขปัญหา
- ให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานในระดับพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหา ประกอบด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและผู้แทนของ สกอ. ร่วมเป็นคณะทำงานในสัดส่วนที่ต่าง ๆ กัน
- เรื่องใดที่มีข้อยุติในคณะทำงานในระดับพื้นที่ ให้รายงานประธานกรรมการกลุ่มปัญหาที่ดินทราบการดำเนินการ
- เรื่องใดที่ไม่สามารถหาข้อยุติในคณะทำงานในระดับพื้นที่ ให้นำสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการร่วมฯโดยจัดส่งผ่านศูนย์อำนวยการร่วมแก้ไขปัญหาเกษตรกรภาคอีสาน (ท่าพระ)
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการทุกคณะทั้งส่วนกลางและระดับจังหวัด ตลอดจนคณะทำงานในระดับพื้นที่ ได้ดำเนินการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของเกษตรกรแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 มิถุนายน 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานคณะกรรมการร่วมระหว่างภาคราชการและผู้แทนสมัชชาเกษตรกรภาคอีสานตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยด่วนด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเกษตรกรภาคอีสานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีเอกภาพ ซึ่งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาคราชการและผู้แทนสมัชชาเกษตรกรภาคอีสานได้จัดการประชุมคณะกรรมการฯ มาแล้วรวม 3 ครั้ง และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่วนกลาง 5 คณะ ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการกลุ่มปัญหาหนี้สิน คณะอนุกรรมการกลุ่มปัญหาที่ดิน คณะอนุกรรมการพัฒนาสหกรณ์และวิถีชีวิตเกษตรกร คณะอนุกรรมการกลุ่มปัญหาป่าไม้และสิ่งแวดล้อม และคณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการร่วมแก้ไขปัญหาเกษตรกรภาคอีสาน นอกจากนี้ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด เพื่อเร่งรัดติดตามและประสานงานในการแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องของสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน และแต่งตั้งคณะทำงานระดับพื้นที่ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแต่ละปัญหา ได้พิจารณาปัญหาตามข้อเรียกร้องของสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน (สกอ.) และหลักการในการดำเนินการแก้ไข
ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน (สกอ.) ได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มปัญหา คือ 1) กลุ่มปัญหาป่าไม้และสิ่งแวดล้อม 2) กลุ่มปัญหาหนี้สินเกษตรกร 3) กลุ่มปัญหาพัฒนาสหกรณ์และวิถีชีวิตเกษตรกร 4) กลุ่มปัญหาที่ดิน ซึ่งคณะกรรมการร่วมฯ ได้มีมติดังนี้
1. การพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ดิน ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1) เห็นชอบหลักการในการแก้ไขปัญหาตามที่สรุปมานี้
2) หลักการในการพิจารณาในการแก้ไขปัญหาที่ต้องการรายละเอียดให้นำไปพิจารณาในคณะอนุกรรมการป่าไม้และสิ่งแวดล้อม คณะอนุกรรมการกลุ่มปัญหาที่ดิน และคณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการร่วมแก้ไขปัญหาเกษตรกรภาคอีสาน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในแต่ละปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
3) ปัญหาใดที่ใกล้เสร็จในระดับจังหวัดให้คณะอนุกรรมการในระดับจังหวัด เร่งรัดดำเนินการเสนอศูนย์อำนวยการร่วมแก้ไขปัญหาเกษตรกรภาคอีสาน เพื่อประมวลข้อมูลเสนอคณะกรรมการร่วมต่อไป
4) ปัญหาใดที่เป็นปัญหาใหม่ จะได้เร่งรัดแต่งตั้งคณะทำงานในพื้นที่เพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงในแต่ละปัญหาต่อไป
5) ให้คณะอนุกรรมการฯ คณะทำงานฯ ทั้งในส่วนกลางและระดับจังหวัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการข้อ 2 - ข้อ 4
6) และให้จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในแต่ละปัญหาในเบื้องต้นเป็นแผนปฏิบัติการภายใน 3 เดือน
7) หลักการกำหนดระเบียบวาระการประชุมระดับจังหวัดเรื่องใดที่จะนำเข้าพิจารณาขอให้ สกอ. แจ้งเรื่องให้เลขานุการระดับจังหวัดทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 1 สัปดาห์
2. การดำเนินการแก้ไขปัญหากลุ่มหนี้สินเกษตรกร วางแนวการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ดังนี้
1) จัดประชุมคณะอนุกรรมการร่วมฯ ระดับจังหวัดเพื่อชี้แจงแนวทางการสำรวจข้อมูลหนี้สินของเกษตรกร
2) นำเสนอข้อมูลต่อศูนย์อำนวยการร่วม/คณะอนุกรรมการ กลุ่มปัญหาหนี้สินเกษตรกรภายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2541
3) จัดให้มีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลหนี้สินเป็นรายบุคคล
4) สรุปข้อมูลรายอำเภอ และรายจังหวัดให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2541
5) นำเสนอข้อมูลต่อ กบส. และคณะกรรมการร่วมฯ เพื่อพิจารณาการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรตามข้อเรียกร้อง
3. การดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องของกลุ่มปัญหาการพัฒนาสหกรณ์และพัฒนาอาชีพ ได้วางแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1) การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรอย่างยั่งยืน ให้ สกอ. จัดทำรายละเอียดในการพัฒนาอาชีพของเกษตรกร และจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังให้เสร็จ แล้วจัดส่งประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาสหกรณ์และวิถีชีวิตเกษตรกร เพื่อจัดส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบไปดำเนินการ โดยยึดหลักบนพื้นฐานความเป็นธรรมแก่ทุกกลุ่มที่เรียกร้องในเรื่องนี้
2) ในกรณีที่สมาชิก สกอ. ไม่มีที่ดินทำกินอย่างเพียงพอให้ยื่นรายละเอียดเพื่อจัดส่งให้ สปก. รับไปดำเนินการ
3) ให้สหกรณ์เครือข่าย สกอ. ที่มีความประสงค์ขอโควต้าปุ๋ยในฤดูการผลิต ปี 41/42 ให้ยื่นความจำนงและส่งรายละเอียดให้สหกรณ์จังหวัด
4) การส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ขนาดเล็กให้ สกอ. ยื่นเรื่องมาแล้วจะพิจารณาอยู่บนพื้นฐานความถูกต้องความเหมาะสม และทุกกลุ่มที่เรียกร้องให้เรื่องนี้ทุกกลุ่มจะดำเนินการบนบรรทัดฐานเดียวกัน
4. การดำเนินการแก้ไขปัญหา กลุ่มปัญหาที่ดิน คณะอนุกรรมการกลุ่มปัญหาที่ดินซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายวัฒนา อัศวเหม) เป็นประธาน ได้ดำเนินการในการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1) จำนวนปัญหาที่ดินตามข้อเรียกร้องของ สกอ. มี 17 ปัญหา โดยแยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ จังหวัดศรีสะเกษ10 ปัญหา จังหวัดยโสธร 1 ปัญหา จังหวัดเลย 2 ปัญหา จังหวัดสุรินทร์ 1 ปัญหา จังหวัดอุบลราชธานี 1 ปัญหา จังหวัดมหาสารคาม2 ปัญหา
2) หลักการในการแก้ไขปัญหา
- หลักความเป็นจริง เรื่องที่จะนำมาพิจารณาในการแก้ไขปัญหาต้องเป็นเรื่องจริง
- หลักความถูกต้องเป็นธรรม ในการดำเนินการ จะต้องมีความถูกต้องและมีความเป็นธรรมทั้งฝ่ายราชการฝ่ายสมัชชา และประชาชนส่วนรวม
- หลักกฎหมาย ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของบ้านเมือง
ในกรณีที่มีการโต้สิทธิที่ดินจะต้องมีการรังวัดพิสูจน์สิทธิกันก่อน ทั้งนี้ โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ และพยานหลักฐานของทางราชการหรือพยานหลักฐานอื่นประกอบตามหลักเกณฑ์ที่ กบร. กำหนด
3) การดำเนินการแก้ไขปัญหา
- ให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานในระดับพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหา ประกอบด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและผู้แทนของ สกอ. ร่วมเป็นคณะทำงานในสัดส่วนที่ต่าง ๆ กัน
- เรื่องใดที่มีข้อยุติในคณะทำงานในระดับพื้นที่ ให้รายงานประธานกรรมการกลุ่มปัญหาที่ดินทราบการดำเนินการ
- เรื่องใดที่ไม่สามารถหาข้อยุติในคณะทำงานในระดับพื้นที่ ให้นำสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการร่วมฯโดยจัดส่งผ่านศูนย์อำนวยการร่วมแก้ไขปัญหาเกษตรกรภาคอีสาน (ท่าพระ)
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการทุกคณะทั้งส่วนกลางและระดับจังหวัด ตลอดจนคณะทำงานในระดับพื้นที่ ได้ดำเนินการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของเกษตรกรแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 มิถุนายน 2541--