คณะรัฐมนตรีรับทราบการตรวจราชการเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดเลยและจังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 7-8 เมษายน 2548 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นายกร ทัพพะรังสี) เสนอและให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รับข้อมูลและเรื่องดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในภาพรวมต่อไป สรุปผลได้ดังนี้
สถานการณ์และการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัด
สถานการณ์ในภาพรวมของทั้ง 2 จังหวัด ปัญหาความแห้งแล้งอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 2 จังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้ว โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด (50 ล้านบาท) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ.2546 จังหวัดเลย 29 ล้านบาท จังหวัดอุดรธานี 46.47 ล้านบาท งบอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและงบปกติของส่วนราชการ
ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มอบนโยบายให้จังหวัดเร่งรัดการให้ความช่วยเหลือให้ทันท่วงที โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่ดำเนินการเพื่อการกักเก็บน้ำที่จะต้องเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จประมาณกลางเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำได้ทันในฤดูฝนที่จะมาถึง โดยปัญหาอุปสรรคที่พบและเห็นสมควรให้มีการดำเนินการแก้ไข ดังนี้
1. เร่งรัดการส่งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการขุดลอกแหล่งน้ำลงสู่พื้นที่ เพื่อให้การดำเนินการแล้วเสร็จก่อนฤดูฝนจะมาถึงเพื่อให้การจัดเก็บน้ำสามารถทำได้ทันเวลา และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังเช่นทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่สามารถดำเนินการได้และต้องเลื่อนไปดำเนินการในปีถัดไป โดยเห็นสมควรให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกันรับผิดชอบในการพิจารณาคัดแยกโครงการเร่งด่วนเฉพาะหน้าเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ เพื่อให้งบประมาณสามารถจัดส่งลงถึงพื้นที่ได้ทันในปีนี้
2. หลักเกณฑ์การปฏิบัติสำหรับงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดโดยส่วนกลางเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงให้เกิดความยืดหยุ่น คล่องตัวและเหมาะสมกับพื้นที่ของท้องถิ่นนั้น ๆ
3. ปัญหาการถ่ายโอนภารกิจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการโอนทรัพย์สิน เช่น เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีปัญหาในการใช้งาน เครื่องสูบน้ำที่ใช้การไม่ได้แล้ว โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านการบริหารจัดการและการปฏิบัติ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เห็นควรให้หน่วยงานที่ถ่ายโอนภารกิจรับเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพลางก่อน
4. เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเกิดความสูญเปล่า เช่น กรณีรถบรรทุกน้ำที่มีอยู่ในแต่ละอำเภอที่ไม่สามารถใช้การได้ เนื่องจากหมดสภาพเพราะอายุการใช้งานมากแล้ว เห็นสมควรให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดสรรงบประมาณในการซ่อมแซม เพื่อให้สามารถใช้งานได้และให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรได้อย่างเต็มที่
5. เห็นควรให้มีการพิจารณาโครงการพระราชดำริ เช่น อ่างเก็บน้ำลำพันชาด อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้มีการดำเนินการและใช้งบประมาณไปแล้วถึงร้อยละ 75 แต่ขาดงบประมาณที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จสมบูรณ์เพื่อให้ใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้ต่อไป และเห็นสมควรให้มีการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวกับแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดเลยและอุดรธานีเพื่อดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--
สถานการณ์และการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัด
สถานการณ์ในภาพรวมของทั้ง 2 จังหวัด ปัญหาความแห้งแล้งอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 2 จังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้ว โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด (50 ล้านบาท) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ.2546 จังหวัดเลย 29 ล้านบาท จังหวัดอุดรธานี 46.47 ล้านบาท งบอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและงบปกติของส่วนราชการ
ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มอบนโยบายให้จังหวัดเร่งรัดการให้ความช่วยเหลือให้ทันท่วงที โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่ดำเนินการเพื่อการกักเก็บน้ำที่จะต้องเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จประมาณกลางเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำได้ทันในฤดูฝนที่จะมาถึง โดยปัญหาอุปสรรคที่พบและเห็นสมควรให้มีการดำเนินการแก้ไข ดังนี้
1. เร่งรัดการส่งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการขุดลอกแหล่งน้ำลงสู่พื้นที่ เพื่อให้การดำเนินการแล้วเสร็จก่อนฤดูฝนจะมาถึงเพื่อให้การจัดเก็บน้ำสามารถทำได้ทันเวลา และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังเช่นทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่สามารถดำเนินการได้และต้องเลื่อนไปดำเนินการในปีถัดไป โดยเห็นสมควรให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกันรับผิดชอบในการพิจารณาคัดแยกโครงการเร่งด่วนเฉพาะหน้าเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ เพื่อให้งบประมาณสามารถจัดส่งลงถึงพื้นที่ได้ทันในปีนี้
2. หลักเกณฑ์การปฏิบัติสำหรับงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดโดยส่วนกลางเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงให้เกิดความยืดหยุ่น คล่องตัวและเหมาะสมกับพื้นที่ของท้องถิ่นนั้น ๆ
3. ปัญหาการถ่ายโอนภารกิจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการโอนทรัพย์สิน เช่น เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีปัญหาในการใช้งาน เครื่องสูบน้ำที่ใช้การไม่ได้แล้ว โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านการบริหารจัดการและการปฏิบัติ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เห็นควรให้หน่วยงานที่ถ่ายโอนภารกิจรับเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพลางก่อน
4. เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเกิดความสูญเปล่า เช่น กรณีรถบรรทุกน้ำที่มีอยู่ในแต่ละอำเภอที่ไม่สามารถใช้การได้ เนื่องจากหมดสภาพเพราะอายุการใช้งานมากแล้ว เห็นสมควรให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดสรรงบประมาณในการซ่อมแซม เพื่อให้สามารถใช้งานได้และให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรได้อย่างเต็มที่
5. เห็นควรให้มีการพิจารณาโครงการพระราชดำริ เช่น อ่างเก็บน้ำลำพันชาด อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้มีการดำเนินการและใช้งบประมาณไปแล้วถึงร้อยละ 75 แต่ขาดงบประมาณที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จสมบูรณ์เพื่อให้ใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้ต่อไป และเห็นสมควรให้มีการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวกับแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดเลยและอุดรธานีเพื่อดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--