ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) รายงานเหตุเพลิงไหม้อาคารโรงแรมรอยัล จอมเทียน เขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ว่า เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2540 เวลาประมาณ 10.20 น. ได้เกิดถังแก๊สในห้องครัวระเบิดขึ้น ณ โรงแรมรอยัล จอมเทียน ตั้งอยู่เลขที่ 408 หมู่ 12 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงลุกไหม้อย่างรุนแรง ทำให้แขกผู้เข้าพักเสียชีวิต จำนวน 90 ราย และบาดเจ็บ 51 ราย โดยปรากฏรายละเอียด ดังนี้
1. พนักงานไฟฟ้าฝ่ายผลิต เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้นจำนวน 108 คน เสียชีวิตจำนวน 23 คน
2. พนักงานบริษัทซีแพค เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้นจำนวน 38 คน เสียชีวิตจำนวน 8 คน
3. พนักงานบริษัทเสริมสุข เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้นจำนวน 54 คน เสียชีวิตจำนวน 4 คน 4. ชาวต่างประเทศเสียชีวิต จำนวน 11 คน โดยแยกเป็น ชาวฮังการี จำนวน 6 คน ชาวเกาหลี จำนวน 3 คนชาวเบลเยี่ยม จำนวน 1 คน ไม่ทราบสัญชาติ จำนวน 1 คน
5. พนักงานโรงแรมเสียชีวิต จำนวน 31 คน
6. สภาพศพจำไม่ได้ จำนวน 13 คน (ได้นำส่งสถาบันนิติเวชเรียบร้อยแล้ว)
โรงแรมรอยัล จอมเทียน มีลักษณะเป็นอาคารสูง 16 ชั้น มีห้องพัก จำนวน 400 ห้อง ประกอบด้วย ห้องจัดเลี้ยงและห้องสัมมนา ดำเนินการโดยบริษัท เกียรติผล จำกัด โดยมีนายถาวร อุชชิน เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างในนามเจ้าของอาคาร ส่วนที่ดินเป็นของบริษัท เกียรติผล จำกัด ตามหนังสืออนุญาตเลขที่ 571/2531 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2531 ลงนามโดยนายจำลอง ปัญจะศิริ ปลัดเมืองพัทยา เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้อนุญาต ส่วนเจ้าของโรงแรมที่เกิดเหตุ คือนายโกอิน ดำรงวิทวัสพจน์
สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. ทางโรงแรมได้จัดเลี้ยงอาหารเช้ามีการทอดปรุงอาหารบริเวณจัดเลี้ยงแก่กลุ่มสัมมนา และแขกผู้เข้าพัก เมื่อแขกและกลุ่มสัมมนาเสร็จสิ้นจากการรับประทานอาหาร และแยกย้ายกันทำภารกิจ บางส่วนออกไปเที่ยวด้านนอก บางส่วนเข้าสัมมนา และบางส่วนพักผ่อนอยู่ในห้องพัก เจ้าหน้าที่ประจำห้องอาหารได้ถอดท่อสายยางแก๊สออกจากถังแก๊ส โดยมิได้ปิดวาวล์ ทำให้แก๊สพุ่งออกมาจากถัง ประกอบกับขณะนั้นได้มีประกายไฟจากการประกอบอาหารจากเตาแก๊สในบริเวณใกล้เคียง จึงทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้น และเปลวไฟได้ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพื้นห้องเป็นพรม และวัสดุตกแต่งภายในเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี อีกทั้งโรงแรมที่เกิดเหตุตั้งอยู่ติดกับทะเล ซึ่งมีลมแรง จึงทำให้เพลิงได้โหมลุกไหม้ยิ่งขึ้น
การดับเพลิงเบื้องต้นพนักงานของโรงแรมไม่สามารถดำเนินการดบเพลิงได้ทันที เนื่องจากอุปกรณ์ดับเพลิงมิได้วางไว้ในที่ที่เห็นชัด ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของโรงแรมไม่มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง และสปริงเกอร์ของโรงแรมใช้ไม่ได้ในขณะเพลิงลุกไหม้ ได้มีการตัดไฟทำให้สัญญาณเตือนภัยที่มีอยู่ตั้งแต่ชั้น 4 ถึงชั้น 16 ไม่สามารถใช้การได้ และในการแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต่อเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างล่าช้า ประกอบกับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของเมืองพัทยามีจำนวนน้อย ขาดประสบการณ์ ไม่ทันท่วงที และอุปกรณ์ผจญเพลิงล้าสมัย โดยเฉพาะรถดับเพลิงที่มีอยู่มีประสิทธิภาพในการดับเพลิงได้เพียงไม่เกิน 5 ชั้น และไม่มีรถกระเช้าที่จะเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในอาคารชั้นที่สูงได้ ประกอบกับการดับเพลิงขาดการประสานงานที่ดี การติดต่อสื่อสารขอความช่วยเหลือใช้เวลานาน
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ แนวทางการป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัยกับอาคารสูง ตามที่กปอ. เสนอ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์อันน่าสลดใจเช่นที่เกิดขึ้นในครั้งนี้อีก รวมทั้งเพื่อความมั่นใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเห็นควรดำเนินการเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนที่ 1 ก่อนเกิดเหตุ
1.1 ให้คณะรัฐมนตรีมีมติสั่งการให้ทุกจังหวัด กรุงเทพมหานคร รวมทั้งเมืองพัทยา เร่งทำการตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัยจากอัคคีภัย อันได้แก่ สัญญาณเตือนภัย ทางหนีไฟ อุปกรณ์ดับเพลิงและอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ว่ามีและใช้การได้ดีและปลอดภัย โดยเฉพาะทางหนีไฟจะต้องมีทางออกสู่ภายนอกอาคารโดยสะดวก ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัยในสถานที่ ดังนี้ 1) โรงแรม 2) ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า 3) โรงมหรสพ 4) อาคารชุด 5) หอพัก ตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป 6) โรงงานอุตสาหกรรม
ตามข้อ 1) ถึง 5) ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน เว้นแต่โรงงานอุตสาหกรรมให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน แล้วรายงานเสนอต่อคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วนต่อไป
1.2 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และปลัดเมืองพัทยา เร่งทำการตรวจสอบว่าผู้ใดเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า โรงมหรสพ อาคารชุด หอพักตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป และโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งการตรวจสอบ ควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด และให้รายงานต่อคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) สำนักนายกรัฐมนตรี ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน และ 90 วัน แล้วแต่กรณี
2. ขั้นตอนที่ 2 ขณะเกิดเหตุ ให้กำหนดผู้รับผิดชอบสั่งการปฏิบัติ การติดต่อสื่อสาร การประสานกับส่วนราชการ หน่วยงาน รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทุกกรณีให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน และ 90 วัน แล้วรายงานเสนอต่อคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วนต่อไป
3. ขั้นตอนที่ 3 หลังเกิดเหตุ ให้กำหนดตัวบุคคลหรือคณะบุคคลผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น การชดเชยค่าเสียหายเบื้องต้น การฌาปนกิจศพ การอำนวยความสะดวกในการส่งศพกลับภูมิลำเนา และอื่น ๆ ในกรณีผู้ประสบภัยเป็นชาวต่างประเทศ ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะ สมควรกำหนดวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว เพื่อภาพพจน์และชื่อเสียงของประเทศ แล้วรายงานเสนอต่อคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วนต่อไป
4. ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเร่งรัดสร้างภาพพจน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับปีรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ปี 2541-2542 (Amazing Thailand Year 1998-1999)
5. ให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) สำนักนายกรัฐมนตรี เร่งทำการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ในการป้องกันอุบัติภัยอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพื่อสร้างจิตสำนึก ดังคำขวัญ "ปลอดภัยไว้ก่อน"
6. ให้คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) พิจารณามาตรการที่จะให้อาคารสูงทุกแห่งทั่วประเทศ มีระบบการซักซ้อมเพื่อแสดงถึงความพร้อมทางด้านเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัคคีภัย และแสดงถึงความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาอัคคีภัย โดยให้คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) มีหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้อาคารเหล่านั้นแสดงถึงความพร้อม และมีการซักซ้อมอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 15 กรกฎาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) รายงานเหตุเพลิงไหม้อาคารโรงแรมรอยัล จอมเทียน เขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ว่า เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2540 เวลาประมาณ 10.20 น. ได้เกิดถังแก๊สในห้องครัวระเบิดขึ้น ณ โรงแรมรอยัล จอมเทียน ตั้งอยู่เลขที่ 408 หมู่ 12 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงลุกไหม้อย่างรุนแรง ทำให้แขกผู้เข้าพักเสียชีวิต จำนวน 90 ราย และบาดเจ็บ 51 ราย โดยปรากฏรายละเอียด ดังนี้
1. พนักงานไฟฟ้าฝ่ายผลิต เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้นจำนวน 108 คน เสียชีวิตจำนวน 23 คน
2. พนักงานบริษัทซีแพค เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้นจำนวน 38 คน เสียชีวิตจำนวน 8 คน
3. พนักงานบริษัทเสริมสุข เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้นจำนวน 54 คน เสียชีวิตจำนวน 4 คน 4. ชาวต่างประเทศเสียชีวิต จำนวน 11 คน โดยแยกเป็น ชาวฮังการี จำนวน 6 คน ชาวเกาหลี จำนวน 3 คนชาวเบลเยี่ยม จำนวน 1 คน ไม่ทราบสัญชาติ จำนวน 1 คน
5. พนักงานโรงแรมเสียชีวิต จำนวน 31 คน
6. สภาพศพจำไม่ได้ จำนวน 13 คน (ได้นำส่งสถาบันนิติเวชเรียบร้อยแล้ว)
โรงแรมรอยัล จอมเทียน มีลักษณะเป็นอาคารสูง 16 ชั้น มีห้องพัก จำนวน 400 ห้อง ประกอบด้วย ห้องจัดเลี้ยงและห้องสัมมนา ดำเนินการโดยบริษัท เกียรติผล จำกัด โดยมีนายถาวร อุชชิน เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างในนามเจ้าของอาคาร ส่วนที่ดินเป็นของบริษัท เกียรติผล จำกัด ตามหนังสืออนุญาตเลขที่ 571/2531 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2531 ลงนามโดยนายจำลอง ปัญจะศิริ ปลัดเมืองพัทยา เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้อนุญาต ส่วนเจ้าของโรงแรมที่เกิดเหตุ คือนายโกอิน ดำรงวิทวัสพจน์
สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. ทางโรงแรมได้จัดเลี้ยงอาหารเช้ามีการทอดปรุงอาหารบริเวณจัดเลี้ยงแก่กลุ่มสัมมนา และแขกผู้เข้าพัก เมื่อแขกและกลุ่มสัมมนาเสร็จสิ้นจากการรับประทานอาหาร และแยกย้ายกันทำภารกิจ บางส่วนออกไปเที่ยวด้านนอก บางส่วนเข้าสัมมนา และบางส่วนพักผ่อนอยู่ในห้องพัก เจ้าหน้าที่ประจำห้องอาหารได้ถอดท่อสายยางแก๊สออกจากถังแก๊ส โดยมิได้ปิดวาวล์ ทำให้แก๊สพุ่งออกมาจากถัง ประกอบกับขณะนั้นได้มีประกายไฟจากการประกอบอาหารจากเตาแก๊สในบริเวณใกล้เคียง จึงทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้น และเปลวไฟได้ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพื้นห้องเป็นพรม และวัสดุตกแต่งภายในเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี อีกทั้งโรงแรมที่เกิดเหตุตั้งอยู่ติดกับทะเล ซึ่งมีลมแรง จึงทำให้เพลิงได้โหมลุกไหม้ยิ่งขึ้น
การดับเพลิงเบื้องต้นพนักงานของโรงแรมไม่สามารถดำเนินการดบเพลิงได้ทันที เนื่องจากอุปกรณ์ดับเพลิงมิได้วางไว้ในที่ที่เห็นชัด ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของโรงแรมไม่มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง และสปริงเกอร์ของโรงแรมใช้ไม่ได้ในขณะเพลิงลุกไหม้ ได้มีการตัดไฟทำให้สัญญาณเตือนภัยที่มีอยู่ตั้งแต่ชั้น 4 ถึงชั้น 16 ไม่สามารถใช้การได้ และในการแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต่อเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างล่าช้า ประกอบกับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของเมืองพัทยามีจำนวนน้อย ขาดประสบการณ์ ไม่ทันท่วงที และอุปกรณ์ผจญเพลิงล้าสมัย โดยเฉพาะรถดับเพลิงที่มีอยู่มีประสิทธิภาพในการดับเพลิงได้เพียงไม่เกิน 5 ชั้น และไม่มีรถกระเช้าที่จะเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในอาคารชั้นที่สูงได้ ประกอบกับการดับเพลิงขาดการประสานงานที่ดี การติดต่อสื่อสารขอความช่วยเหลือใช้เวลานาน
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ แนวทางการป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัยกับอาคารสูง ตามที่กปอ. เสนอ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์อันน่าสลดใจเช่นที่เกิดขึ้นในครั้งนี้อีก รวมทั้งเพื่อความมั่นใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเห็นควรดำเนินการเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนที่ 1 ก่อนเกิดเหตุ
1.1 ให้คณะรัฐมนตรีมีมติสั่งการให้ทุกจังหวัด กรุงเทพมหานคร รวมทั้งเมืองพัทยา เร่งทำการตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัยจากอัคคีภัย อันได้แก่ สัญญาณเตือนภัย ทางหนีไฟ อุปกรณ์ดับเพลิงและอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ว่ามีและใช้การได้ดีและปลอดภัย โดยเฉพาะทางหนีไฟจะต้องมีทางออกสู่ภายนอกอาคารโดยสะดวก ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัยในสถานที่ ดังนี้ 1) โรงแรม 2) ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า 3) โรงมหรสพ 4) อาคารชุด 5) หอพัก ตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป 6) โรงงานอุตสาหกรรม
ตามข้อ 1) ถึง 5) ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน เว้นแต่โรงงานอุตสาหกรรมให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน แล้วรายงานเสนอต่อคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วนต่อไป
1.2 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และปลัดเมืองพัทยา เร่งทำการตรวจสอบว่าผู้ใดเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า โรงมหรสพ อาคารชุด หอพักตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป และโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งการตรวจสอบ ควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด และให้รายงานต่อคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) สำนักนายกรัฐมนตรี ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน และ 90 วัน แล้วแต่กรณี
2. ขั้นตอนที่ 2 ขณะเกิดเหตุ ให้กำหนดผู้รับผิดชอบสั่งการปฏิบัติ การติดต่อสื่อสาร การประสานกับส่วนราชการ หน่วยงาน รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทุกกรณีให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน และ 90 วัน แล้วรายงานเสนอต่อคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วนต่อไป
3. ขั้นตอนที่ 3 หลังเกิดเหตุ ให้กำหนดตัวบุคคลหรือคณะบุคคลผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น การชดเชยค่าเสียหายเบื้องต้น การฌาปนกิจศพ การอำนวยความสะดวกในการส่งศพกลับภูมิลำเนา และอื่น ๆ ในกรณีผู้ประสบภัยเป็นชาวต่างประเทศ ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะ สมควรกำหนดวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว เพื่อภาพพจน์และชื่อเสียงของประเทศ แล้วรายงานเสนอต่อคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วนต่อไป
4. ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเร่งรัดสร้างภาพพจน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับปีรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ปี 2541-2542 (Amazing Thailand Year 1998-1999)
5. ให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) สำนักนายกรัฐมนตรี เร่งทำการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ในการป้องกันอุบัติภัยอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพื่อสร้างจิตสำนึก ดังคำขวัญ "ปลอดภัยไว้ก่อน"
6. ให้คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) พิจารณามาตรการที่จะให้อาคารสูงทุกแห่งทั่วประเทศ มีระบบการซักซ้อมเพื่อแสดงถึงความพร้อมทางด้านเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัคคีภัย และแสดงถึงความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาอัคคีภัย โดยให้คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) มีหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้อาคารเหล่านั้นแสดงถึงความพร้อม และมีการซักซ้อมอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 15 กรกฎาคม 2540--