ทำเนียบรัฐบาล--4 ม.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนพื้นฟูและพัฒนา ตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอสรุปได้ดังนี้
1. กรมการบินพาณิชย์ ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างสนามบินพาณิชย์จังหวัดชุมพร ขณะนี้ ได้ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและออกแบบก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้มีการลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้างทางวิ่งทางขับ ลานจอดเครื่องบิน ระยะเวลา 800 วัน เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2537 ถึง 8 ธันวาคม 2539 และลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร หอบังคับการบินฯระยะเวลา 700 วัน เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2537 ถึง 30 สิงหาคม 2539
2. กรมทางหลวง ได้ดำเนินการดังนี้
2.1 โครงการปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร และทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 41 ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ให้เป็น 4 ช่องจราจร
(1) ทางหลวงหมายเลข 4 : ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ตอนประจวบคีรีขันธ์-ท่าแซะ ระยะทาง 115 กิโลเมตร ขณะนี้ ได้รับงบประมาณก่อสร้างและออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ พร้อมทั้งประกวดราคา เพื่อก่อสร้างบางตอนแล้ว และตอนอำเภอท่าแซะ-ชุมพร (สี่แยกปฐมพร) ระยะทาง 23 กิโลเมตร ขณะนี้ อยู่ระหว่างการก่อสร้างระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม 2537 - พฤษภาคม 2539
(2) ทางหลวงหมายเลข 41 : ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ตอนชุมพร-อำเภอหลังสวน ระยะทาง 67 กิโลเมตร ขณะนี้ ได้รับงบประมาณก่อสร้างแล้ว และอยู่ระหว่างการเจรจา เพื่อว่าจ้างออกแบบรายบละเอียดและตอนอำเภอไชยา-แยกเข้าสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 42 กิโลเมตร ขณะนี้ ได้รับงบประมาณก่อสร้างแล้ว และอยู่ระหว่างการเจรจา เพื่อว่าจ้างออกแบบรายละเอียด
2.2 โครงการปรับปรุงเพิ่มมาตรฐานทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ตอน ชุมพร-ระนอง ให้สามารถเดินทางได้ โดยสะดวกและลดเวลาการเดินทาง
(1) ตอนสี่แยกปฐมพร-อนุสาวรีย์ จปร. ระยะทาง 26 กิโลเมตร ขณะนี้ ได้ประกวดราคาแล้ว อยู่ระหว่างการขออนุมัติปรับราคาคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างบูรณะปรับปรุงได้ในเร็ว ๆ นี้
(2) ตอน อนุสาวรีย์ จปร. - อำเภอกระบุรี ระยะทาง 28 กิโลเมตร และ
(3) ตอน อำเภอกระบุรี-ระนอง ระยะทาง 65 กิโลเมตร ขณะนี้ได้รับงบประมาณก่อสร้างบูรณะปรับปรุงแล้ว และอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด
2.3 โครงการพิจารณาศึกษาลู่ทางให้เอกชนมาลงทุนในการก่อสร้างทางหลวงกรุงเทพฯ - ชุมพร (สายใหม่) โดยให้เป็นถนนเลี่ยงเมืองและในการออกแบบให้คำนึงถึงประโยชน์จากการใช้ถนนเป็นคันกั้นน้ำ เพื่อเก็บน้ำ ด้านตะวันตกและสามารถใช้เป็นทางวิ่งขึ้นลงฉุกเฉินของเครื่องบิน โดยให้มีระบบสัญญาณเตือนที่ครบถ้วน กรมทางหลวงได้มีแผนงานก่อสร้างทางหลวงพิเศษ (ทางด่วนระหว่างเมืองแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (2535-2539) มีแผนที่จะก่อสร้างในช่วงกรุงเทพฯ-เพชรบุรี ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมร่วมกับ JICA สำหรับทางหลวงพิเศษตอนบ้านโป่ง-เพชรบุรี-ชะอำ
3. กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินการดังนี้
3.1 โครงการก่อสร้างท่าเทียบหรือชุมพร จังหวัดชุมพร ขณะนี้ ได้ทำการศึกษาและความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม แล้วเสร็จและได้ประกาศเชิญชวนเอกชนให้มาดำเนินการลงทุน ปรากฎว่ามีผู้สนใจยื่นข้อเสนอ 1 ราย คือ บริษัทกีฏะ อินเตอร์แทรด จำกัด ซึ่งกรมเจ้าท่าพิจารณาแล้ว เห็นสมควรยอมรับข้อเสนอของบริษัทดังกล่าวได้ โดยบริษัทฯ เสนอออกแบบรายละเอียดเอง เนื่องจาก พื้นที่โครงการถูกประกาศเป็นของอุทยานแห่งชาติและไม่สอดคล้องกับผังเมือง ทั้งนี้ กรมเจ้าท่าได้นำเสนอกระทรวงคมนาคมก่อนดำเนินการต่อไป ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
3.2 โครงการก่อสร้าง เขื่อนกันทรายและคลื่นที่ร่องน้ำหลังสวนจังหวัดชุมพร ได้ลงนามว่าจ้างบริษัทเพื่อรับเหมาดำเนินการก่อสร้างแล้ว มีกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาในเดือนกรกฎาคม 2538 ปัจจุบันผลการดำเนินงานคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของงาน
4. การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินแผนงานปรับปรุงระบบสื่อสารโทรคมนาคมจังหวัดชุมพร โดยทำสัญญาซื้ออุปกรณ์ระบบเชื่อมโยง Digital Link และระบบ Optical Fiber รวมทั้งเสาอากาศ Self Support และดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมโยงเสร็จแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งจานและเสาอากาศส่วนเครื่อง Digital Multiplexer ขนาด 24 Channel 2 เครื่อง ได้ดำเนินการจัดซื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 มกราคม 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนพื้นฟูและพัฒนา ตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอสรุปได้ดังนี้
1. กรมการบินพาณิชย์ ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างสนามบินพาณิชย์จังหวัดชุมพร ขณะนี้ ได้ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและออกแบบก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้มีการลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้างทางวิ่งทางขับ ลานจอดเครื่องบิน ระยะเวลา 800 วัน เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2537 ถึง 8 ธันวาคม 2539 และลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร หอบังคับการบินฯระยะเวลา 700 วัน เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2537 ถึง 30 สิงหาคม 2539
2. กรมทางหลวง ได้ดำเนินการดังนี้
2.1 โครงการปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร และทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 41 ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ให้เป็น 4 ช่องจราจร
(1) ทางหลวงหมายเลข 4 : ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ตอนประจวบคีรีขันธ์-ท่าแซะ ระยะทาง 115 กิโลเมตร ขณะนี้ ได้รับงบประมาณก่อสร้างและออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ พร้อมทั้งประกวดราคา เพื่อก่อสร้างบางตอนแล้ว และตอนอำเภอท่าแซะ-ชุมพร (สี่แยกปฐมพร) ระยะทาง 23 กิโลเมตร ขณะนี้ อยู่ระหว่างการก่อสร้างระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม 2537 - พฤษภาคม 2539
(2) ทางหลวงหมายเลข 41 : ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ตอนชุมพร-อำเภอหลังสวน ระยะทาง 67 กิโลเมตร ขณะนี้ ได้รับงบประมาณก่อสร้างแล้ว และอยู่ระหว่างการเจรจา เพื่อว่าจ้างออกแบบรายบละเอียดและตอนอำเภอไชยา-แยกเข้าสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 42 กิโลเมตร ขณะนี้ ได้รับงบประมาณก่อสร้างแล้ว และอยู่ระหว่างการเจรจา เพื่อว่าจ้างออกแบบรายละเอียด
2.2 โครงการปรับปรุงเพิ่มมาตรฐานทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ตอน ชุมพร-ระนอง ให้สามารถเดินทางได้ โดยสะดวกและลดเวลาการเดินทาง
(1) ตอนสี่แยกปฐมพร-อนุสาวรีย์ จปร. ระยะทาง 26 กิโลเมตร ขณะนี้ ได้ประกวดราคาแล้ว อยู่ระหว่างการขออนุมัติปรับราคาคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างบูรณะปรับปรุงได้ในเร็ว ๆ นี้
(2) ตอน อนุสาวรีย์ จปร. - อำเภอกระบุรี ระยะทาง 28 กิโลเมตร และ
(3) ตอน อำเภอกระบุรี-ระนอง ระยะทาง 65 กิโลเมตร ขณะนี้ได้รับงบประมาณก่อสร้างบูรณะปรับปรุงแล้ว และอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด
2.3 โครงการพิจารณาศึกษาลู่ทางให้เอกชนมาลงทุนในการก่อสร้างทางหลวงกรุงเทพฯ - ชุมพร (สายใหม่) โดยให้เป็นถนนเลี่ยงเมืองและในการออกแบบให้คำนึงถึงประโยชน์จากการใช้ถนนเป็นคันกั้นน้ำ เพื่อเก็บน้ำ ด้านตะวันตกและสามารถใช้เป็นทางวิ่งขึ้นลงฉุกเฉินของเครื่องบิน โดยให้มีระบบสัญญาณเตือนที่ครบถ้วน กรมทางหลวงได้มีแผนงานก่อสร้างทางหลวงพิเศษ (ทางด่วนระหว่างเมืองแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (2535-2539) มีแผนที่จะก่อสร้างในช่วงกรุงเทพฯ-เพชรบุรี ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมร่วมกับ JICA สำหรับทางหลวงพิเศษตอนบ้านโป่ง-เพชรบุรี-ชะอำ
3. กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินการดังนี้
3.1 โครงการก่อสร้างท่าเทียบหรือชุมพร จังหวัดชุมพร ขณะนี้ ได้ทำการศึกษาและความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม แล้วเสร็จและได้ประกาศเชิญชวนเอกชนให้มาดำเนินการลงทุน ปรากฎว่ามีผู้สนใจยื่นข้อเสนอ 1 ราย คือ บริษัทกีฏะ อินเตอร์แทรด จำกัด ซึ่งกรมเจ้าท่าพิจารณาแล้ว เห็นสมควรยอมรับข้อเสนอของบริษัทดังกล่าวได้ โดยบริษัทฯ เสนอออกแบบรายละเอียดเอง เนื่องจาก พื้นที่โครงการถูกประกาศเป็นของอุทยานแห่งชาติและไม่สอดคล้องกับผังเมือง ทั้งนี้ กรมเจ้าท่าได้นำเสนอกระทรวงคมนาคมก่อนดำเนินการต่อไป ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
3.2 โครงการก่อสร้าง เขื่อนกันทรายและคลื่นที่ร่องน้ำหลังสวนจังหวัดชุมพร ได้ลงนามว่าจ้างบริษัทเพื่อรับเหมาดำเนินการก่อสร้างแล้ว มีกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาในเดือนกรกฎาคม 2538 ปัจจุบันผลการดำเนินงานคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของงาน
4. การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินแผนงานปรับปรุงระบบสื่อสารโทรคมนาคมจังหวัดชุมพร โดยทำสัญญาซื้ออุปกรณ์ระบบเชื่อมโยง Digital Link และระบบ Optical Fiber รวมทั้งเสาอากาศ Self Support และดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมโยงเสร็จแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งจานและเสาอากาศส่วนเครื่อง Digital Multiplexer ขนาด 24 Channel 2 เครื่อง ได้ดำเนินการจัดซื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 มกราคม 2538--