ทำเนียบรัฐบาล--22 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายทำงานชั่วคราว ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เสนอ ผลการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขแรงงานต่างด้าว ครั้งที่ 5/2541 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 และมีมติที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1. พิจารณาเกี่ยวกับการเพิ่มพื้นที่และกิจการที่นายจ้างร้องขอใช้แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบ ดังนี้
1.1 ให้เพิ่มพื้นที่การผ่อนผันอีก 2 จังหวัด คือ จังหวัดราชบุรี และจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนประเภทงานและกิจการที่จะผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวทำงานได้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พิจารณาตามความจำเป็น
1.2 ให้เพิ่มกิจการที่ขาดแคลนแรงงานไทย กิจการที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้สามารถจ้างแรงงานไทยได้ รวม 5 กิจการ คือ
1) กิจการสวนยางพารา ให้ทำงานได้ในอาชีพกรรมกรกรีดยางพารา ในพื้นที่ 13 จังหวัด คือ ตราด สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ นครพนม กระบี่ ชลบุรี ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี สตูล และสงขลา
2) กิจการไร่อ้อย ให้ทำงานได้ในอาชีพกรรมกร ในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ อุทัยธานี สระแก้ว กาญจนบุรี ราชบุรี และกำแพงเพชร
3) กิจการเลี้ยงหมู ให้ทำงานได้ในอาชีพกรรมกร ในพื้นที่ 11 จังหวัด คือ นครปฐม อุทัยธานี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี พิจิตร ลำพูน ขอนแก่น และนครราชสีมา4) กิจการโรงสีข้าว ให้ทำงานได้ในอาชีพกรรมกร ในพื้นที่ 34 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ชัยนาท ชลบุรี นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ สระบุรี อุทัยธานี ฉะเชิงเทรา ตราด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ พะเยา พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย นครพนม นครราชสีมา สุรินทร์ สตูล และสงขลา5) กิจการขนถ่ายสินค้าทางน้ำ ให้ทำงานได้ในอาชีพกรรมกร ในพื้นที่ 1 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร
1.3 ระยะเวลาในการผ่อนผัน 1 ปี
1.4 รายละเอียดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ซึ่งผ่อนผันใน 11 จังหวัดชายแดน และ 22 จังหวัดที่มีกิจการประมงทะเล แต่ทั้งนี้ให้เพิ่มในส่วนของเงินกองทุน ซึ่งนายจ้างจะต้องรับผิดชอบในอัตราที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนดต่อไป
2. ที่ประชุมมีมติกำหนดแผนดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 6 พฤษภาคม 2541
สำหรับการกำหนดประเภทงานและประเภทกิจการในพื้นที่จังหวัดชายแดน 11 จังหวัด ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว เป็นไปตามการพิจารณาของจังหวัด ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพความจำเป็น แต่อย่างไรก็ตามได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ในการดำเนินการต้องให้ความสำคัญต่อขั้นตอนการจัดแรงงานไทยเข้าทำงาน ซึ่งต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงผู้ว่างงานให้มากที่สุดทั้งภายในจังหวัดและนอกจังหวัด เพื่อให้แรงงานไทยได้มีงานทำให้มากที่สุดก่อนให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าว และมอบให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาอีกครั้งก่อนออกประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 กรกฎาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายทำงานชั่วคราว ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เสนอ ผลการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขแรงงานต่างด้าว ครั้งที่ 5/2541 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 และมีมติที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1. พิจารณาเกี่ยวกับการเพิ่มพื้นที่และกิจการที่นายจ้างร้องขอใช้แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบ ดังนี้
1.1 ให้เพิ่มพื้นที่การผ่อนผันอีก 2 จังหวัด คือ จังหวัดราชบุรี และจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนประเภทงานและกิจการที่จะผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวทำงานได้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พิจารณาตามความจำเป็น
1.2 ให้เพิ่มกิจการที่ขาดแคลนแรงงานไทย กิจการที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้สามารถจ้างแรงงานไทยได้ รวม 5 กิจการ คือ
1) กิจการสวนยางพารา ให้ทำงานได้ในอาชีพกรรมกรกรีดยางพารา ในพื้นที่ 13 จังหวัด คือ ตราด สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ นครพนม กระบี่ ชลบุรี ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี สตูล และสงขลา
2) กิจการไร่อ้อย ให้ทำงานได้ในอาชีพกรรมกร ในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ อุทัยธานี สระแก้ว กาญจนบุรี ราชบุรี และกำแพงเพชร
3) กิจการเลี้ยงหมู ให้ทำงานได้ในอาชีพกรรมกร ในพื้นที่ 11 จังหวัด คือ นครปฐม อุทัยธานี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี พิจิตร ลำพูน ขอนแก่น และนครราชสีมา4) กิจการโรงสีข้าว ให้ทำงานได้ในอาชีพกรรมกร ในพื้นที่ 34 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ชัยนาท ชลบุรี นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ สระบุรี อุทัยธานี ฉะเชิงเทรา ตราด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ พะเยา พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย นครพนม นครราชสีมา สุรินทร์ สตูล และสงขลา5) กิจการขนถ่ายสินค้าทางน้ำ ให้ทำงานได้ในอาชีพกรรมกร ในพื้นที่ 1 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร
1.3 ระยะเวลาในการผ่อนผัน 1 ปี
1.4 รายละเอียดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ซึ่งผ่อนผันใน 11 จังหวัดชายแดน และ 22 จังหวัดที่มีกิจการประมงทะเล แต่ทั้งนี้ให้เพิ่มในส่วนของเงินกองทุน ซึ่งนายจ้างจะต้องรับผิดชอบในอัตราที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนดต่อไป
2. ที่ประชุมมีมติกำหนดแผนดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 6 พฤษภาคม 2541
สำหรับการกำหนดประเภทงานและประเภทกิจการในพื้นที่จังหวัดชายแดน 11 จังหวัด ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว เป็นไปตามการพิจารณาของจังหวัด ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพความจำเป็น แต่อย่างไรก็ตามได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ในการดำเนินการต้องให้ความสำคัญต่อขั้นตอนการจัดแรงงานไทยเข้าทำงาน ซึ่งต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงผู้ว่างงานให้มากที่สุดทั้งภายในจังหวัดและนอกจังหวัด เพื่อให้แรงงานไทยได้มีงานทำให้มากที่สุดก่อนให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าว และมอบให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาอีกครั้งก่อนออกประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 กรกฎาคม 2541--