ทำเนียบรัฐบาล--6 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อบ้าน ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครายงานว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีบัญชาให้หามาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องการซื้อบ้าน ซึ่งเป็นปัญหามาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้รวบรวมมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อที่ดิน บ้านจัดสรรและอาคารชุด รวมเรียกว่ามาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคด้านที่อยู่อาศัย โดยแยกเป็นมาตรการของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งในส่วนที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว กับที่กำลังจะได้ดำเนินการต่อไป รวม 5 มาตรการ และมาตรการของหน่วยงานอื่นที่อยู่ในระหว่างดำเนินการของหน่วยงานนั้นกับมาตรการที่หน่วยงานนั้นควรดำเนินการรวม 3 มาตรการ คือ
1.1 มาตรการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านที่อยู่อาศัยของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 5 มาตรการ ดังนี้
1) มรตรการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
2) มาตรการควบคุมการโฆษณาขายอสังหาริมทรัพย์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในมาตรา 22 (5) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538)
3) มาตรการเจรจาไกล่เกลี่ย
4) มาตรการดำเนินคดีแทนผู้บริโภค
5) มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา (มาตรการที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะได้ดำเนินการต่อไป) คณะกรรมการว่าด้วยสัญญามีอำนาจกำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจควบคุมสัญญาได้
1.2 มาตรการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านที่อยู่อาศัยของหน่วยงานอื่น จำนวน 3 มาตรการ ดังนี้
1) มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับหลักประกันในการชำระเงินค่างวดซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นการนำมาตรการตามกฎหมาย ESCROW ACCOUNT เป็นมาตรการทางด้านกฎหมายที่จะให้หลักประกันการชำระเงินของผู้ซื้อ มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคตาม ESCROW ACCOUNT นี้ เป็นเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการของสำนักงานฯ
2) มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการจัดสรรที่ดิน กรมที่ดินได้ยกร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ....เพื่อแก้ไขปัญหาที่ผู้ซื้อที่ดินไม่ได้รับความเป็นธรรม ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการของกรมที่ดิน
3) มาตรการกำหนดทุนจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการจดทะเบียนนิติบุคคล ควรที่จะมีการควบคุมการจดทะเบียนธุรกิจบางประเภทที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคเป็นส่วนรวม ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และไม่ควรให้มีการจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจประเภทนี้ได้ง่ายเกินไปนอกจากนี้ ควรมีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนให้สอดคล้องกับขนาดของโครงการและธุรกิจด้วย
ในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2541 มีมติดังนี้
1. มอบหมายให้กรมทะเบียนการค้า พิจารณาหามาตรการในการกำหนดทุนจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบภายใน 30 วัน
2. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีหนังสือขอทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ตามกฎหมาย ESCROW ACCOUNT จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป
3. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อบ้านต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 พฤษภาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อบ้าน ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครายงานว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีบัญชาให้หามาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องการซื้อบ้าน ซึ่งเป็นปัญหามาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้รวบรวมมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อที่ดิน บ้านจัดสรรและอาคารชุด รวมเรียกว่ามาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคด้านที่อยู่อาศัย โดยแยกเป็นมาตรการของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งในส่วนที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว กับที่กำลังจะได้ดำเนินการต่อไป รวม 5 มาตรการ และมาตรการของหน่วยงานอื่นที่อยู่ในระหว่างดำเนินการของหน่วยงานนั้นกับมาตรการที่หน่วยงานนั้นควรดำเนินการรวม 3 มาตรการ คือ
1.1 มาตรการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านที่อยู่อาศัยของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 5 มาตรการ ดังนี้
1) มรตรการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
2) มาตรการควบคุมการโฆษณาขายอสังหาริมทรัพย์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในมาตรา 22 (5) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538)
3) มาตรการเจรจาไกล่เกลี่ย
4) มาตรการดำเนินคดีแทนผู้บริโภค
5) มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา (มาตรการที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะได้ดำเนินการต่อไป) คณะกรรมการว่าด้วยสัญญามีอำนาจกำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจควบคุมสัญญาได้
1.2 มาตรการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านที่อยู่อาศัยของหน่วยงานอื่น จำนวน 3 มาตรการ ดังนี้
1) มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับหลักประกันในการชำระเงินค่างวดซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นการนำมาตรการตามกฎหมาย ESCROW ACCOUNT เป็นมาตรการทางด้านกฎหมายที่จะให้หลักประกันการชำระเงินของผู้ซื้อ มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคตาม ESCROW ACCOUNT นี้ เป็นเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการของสำนักงานฯ
2) มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการจัดสรรที่ดิน กรมที่ดินได้ยกร่างพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ....เพื่อแก้ไขปัญหาที่ผู้ซื้อที่ดินไม่ได้รับความเป็นธรรม ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการของกรมที่ดิน
3) มาตรการกำหนดทุนจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการจดทะเบียนนิติบุคคล ควรที่จะมีการควบคุมการจดทะเบียนธุรกิจบางประเภทที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคเป็นส่วนรวม ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และไม่ควรให้มีการจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจประเภทนี้ได้ง่ายเกินไปนอกจากนี้ ควรมีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนให้สอดคล้องกับขนาดของโครงการและธุรกิจด้วย
ในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2541 มีมติดังนี้
1. มอบหมายให้กรมทะเบียนการค้า พิจารณาหามาตรการในการกำหนดทุนจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบภายใน 30 วัน
2. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีหนังสือขอทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ตามกฎหมาย ESCROW ACCOUNT จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป
3. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อบ้านต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 พฤษภาคม 2541--