ทำเนียบรัฐบาล--16 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือคนไทยผู้ตกทุกข์ได้ยากในประ เทศญี่ปุ่น ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ส่งเจ้าหน้าที่และนักสังคมสงเคราะห์ จำนวน 2 คน ไปปฏิบัติงานช่วยเหลือคนไทย ผู้ตกทุกข์ได้ยากในประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 24 สิงหาคม 2538 เป็นระยะเวลา 180 วัน (6 เดือน) ซึ่งปรากฏผลของการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2538 ได้สัมภาษณ์ สอบข้อเท็จจริง ตรวจสอบเอกสาร ให้คำแนะนำแก่คนไทยที่มามอบตัวที่สถานเอก อัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว จำนวน 545 คน และผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ที่กองตรวจคนเข้าเมือง จำนวน 112 คน ส่งคนไทยเข้าพักชั่วคราวที่องค์การเอกชนของประเทศญี่ปุ่น เพื่อรอส่งตัวกลับประเทศไทย จำ นวน 7 คน ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อติดต่อขอรับศพคนงานชายไทย จำนวน 2 คน และรับอัฐิ คนงานชายไทย 1 คน และให้การช่วยเหลือคนป่วยเดินทางกลับประเทศไทย จำนวน 3 คน รวมทั้งไป ศาลเพื่อฟังคดีหญิงไทยจำนวน 3 คน ซึ่งถูกจับข้อหาฆ่ามาม่าซังคนไทยตาย ซึ่งศาลตัดสินจำคุก 10 ปี อยู่ระหว่างอุทธรณ์ คดีนี้ได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มทนายความชาวญี่ปุ่น จำนวน 6 คน โดยรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นผู้จ่ายเงินในการว่าความ
2. คณะผู้แทนกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมไปปฏิบัติงานประสานในระดับนโยบาย และติดตามผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือคนไทยผู้ตกทุกข์ได้ยากในประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 22 - 27 มิถุนายน 2538 โดยประสานงานในระดับนโยบายกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว และ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้าและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนของประ เทศญี่ปุ่น พร้อมกับติดตามการปฏิบัติงานการให้ความช่วยเหลือคนไทย ที่ตกทุกข์ได้ยากในญี่ปุ่นด้วย
3. สถานการณ์ทั่วไปในปัจจุบัน จำนวนคนไทยที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นอย่างผิดกฎหมาย คือ ใบ ตรวจลงตรา (วีซ่า) หมดอายุ มีจำนวนลดลง โดยในกรุงโตเกียวและบริเวณใกล้เคียงลดลง 40% หรือ ประมาณ 2 หมื่นคนส่วนในนครโอซาก้า และบริเวณใกล้เคียงลดลง 60% หรือประมาณ 3 หมื่นคน สภาพปัญหาเปลี่ยนแปลงจากคนไทยเป็นชาติอื่น ได้แก่ พม่า จีน โคลัมเบีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เริ่มมี ปัญหาโสเภณีชายไทยเกิดขึ้น และชาวพม่าที่เข้าไปประเทศญี่ปุ่นใช้หนังสือเดินทางไทยเป็นส่วนใหญ่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 15 สิงหาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือคนไทยผู้ตกทุกข์ได้ยากในประ เทศญี่ปุ่น ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ส่งเจ้าหน้าที่และนักสังคมสงเคราะห์ จำนวน 2 คน ไปปฏิบัติงานช่วยเหลือคนไทย ผู้ตกทุกข์ได้ยากในประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 24 สิงหาคม 2538 เป็นระยะเวลา 180 วัน (6 เดือน) ซึ่งปรากฏผลของการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2538 ได้สัมภาษณ์ สอบข้อเท็จจริง ตรวจสอบเอกสาร ให้คำแนะนำแก่คนไทยที่มามอบตัวที่สถานเอก อัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว จำนวน 545 คน และผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ที่กองตรวจคนเข้าเมือง จำนวน 112 คน ส่งคนไทยเข้าพักชั่วคราวที่องค์การเอกชนของประเทศญี่ปุ่น เพื่อรอส่งตัวกลับประเทศไทย จำ นวน 7 คน ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อติดต่อขอรับศพคนงานชายไทย จำนวน 2 คน และรับอัฐิ คนงานชายไทย 1 คน และให้การช่วยเหลือคนป่วยเดินทางกลับประเทศไทย จำนวน 3 คน รวมทั้งไป ศาลเพื่อฟังคดีหญิงไทยจำนวน 3 คน ซึ่งถูกจับข้อหาฆ่ามาม่าซังคนไทยตาย ซึ่งศาลตัดสินจำคุก 10 ปี อยู่ระหว่างอุทธรณ์ คดีนี้ได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มทนายความชาวญี่ปุ่น จำนวน 6 คน โดยรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นผู้จ่ายเงินในการว่าความ
2. คณะผู้แทนกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมไปปฏิบัติงานประสานในระดับนโยบาย และติดตามผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือคนไทยผู้ตกทุกข์ได้ยากในประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 22 - 27 มิถุนายน 2538 โดยประสานงานในระดับนโยบายกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว และ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้าและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนของประ เทศญี่ปุ่น พร้อมกับติดตามการปฏิบัติงานการให้ความช่วยเหลือคนไทย ที่ตกทุกข์ได้ยากในญี่ปุ่นด้วย
3. สถานการณ์ทั่วไปในปัจจุบัน จำนวนคนไทยที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นอย่างผิดกฎหมาย คือ ใบ ตรวจลงตรา (วีซ่า) หมดอายุ มีจำนวนลดลง โดยในกรุงโตเกียวและบริเวณใกล้เคียงลดลง 40% หรือ ประมาณ 2 หมื่นคนส่วนในนครโอซาก้า และบริเวณใกล้เคียงลดลง 60% หรือประมาณ 3 หมื่นคน สภาพปัญหาเปลี่ยนแปลงจากคนไทยเป็นชาติอื่น ได้แก่ พม่า จีน โคลัมเบีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เริ่มมี ปัญหาโสเภณีชายไทยเกิดขึ้น และชาวพม่าที่เข้าไปประเทศญี่ปุ่นใช้หนังสือเดินทางไทยเป็นส่วนใหญ่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 15 สิงหาคม 2538--