ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้มีอำนาจลงนามต่อท้ายความตกลงพื้นฐานว่าด้วยโครงการร่วมลงทุนทางอุตสาหกรรมของอาเซียน ฉบับที่ 3 และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เฉพาะยี่ห้อและรุ่นของอาเซียนซึ่งพิธีสารทั้งสองฉบับจะมีผลบังคับใช้เมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดได้ลงนามในขั้นสุดท้ายแล้ว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 22 - 23 กันยายน 2537 ณ จังหวัดเชียงใหม่ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามย่อในพิธีสารแก้ไขความตกลงพื้นฐาน ฉบับปรับปรุงใหม่ (ฉบับที่ 3) และพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เฉพาะยี่ห้อและรุ่นของอาเซียนได้มีการลงนามโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2531 โดยมีประเทศที่เข้าร่วมโครงการ 3 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ ซึ่งการแก้ไขพิธีสารทั้งสองฉบับดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. พิธีสารแก้ไขความตกลงพื้นฐานฯ ฉบับที่ 3 มีสาระสำคัญของการแก้ไข 2 ประเด็น คือ
ก. ขยายระยะเวลาผ่อนปรนให้ประเทศนอกอาเซียนสามารถถือหุ้นในโครงการได้ 60%ออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 หลังจากเวลาดังกล่าว ประเทศนอกอาเซียนสามารถถือหุ้นในโครงการได้พียง 49% ข. เปลี่ยนแปลงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าของผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการ ซึ่งเดิมยืดตามความตกลงว่าด้วยการใช้สิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (PTA) ที่กำหนดให้สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศอาเซียนประเทศเดียวหรือหลายประเทศจะต้องมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบจากอาเซียน (ASEAN Content) ไม่น้อยกว่า 50% หรือ 60% ตามลำดับ เป็นการใช้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าตามความตกลง CEPT for AFTA ซึ่งกำหนดให้สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศอาเซียนทั้งจากประเทศเดียวหรือหลายประเทศจะต้องมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 40%
2. พิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ฯ ได้เพิ่มอินโดนีเซียเข้าร่วมในโครงการฯ ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มกราคม 2538--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้มีอำนาจลงนามต่อท้ายความตกลงพื้นฐานว่าด้วยโครงการร่วมลงทุนทางอุตสาหกรรมของอาเซียน ฉบับที่ 3 และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เฉพาะยี่ห้อและรุ่นของอาเซียนซึ่งพิธีสารทั้งสองฉบับจะมีผลบังคับใช้เมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดได้ลงนามในขั้นสุดท้ายแล้ว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 22 - 23 กันยายน 2537 ณ จังหวัดเชียงใหม่ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามย่อในพิธีสารแก้ไขความตกลงพื้นฐาน ฉบับปรับปรุงใหม่ (ฉบับที่ 3) และพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เฉพาะยี่ห้อและรุ่นของอาเซียนได้มีการลงนามโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2531 โดยมีประเทศที่เข้าร่วมโครงการ 3 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ ซึ่งการแก้ไขพิธีสารทั้งสองฉบับดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. พิธีสารแก้ไขความตกลงพื้นฐานฯ ฉบับที่ 3 มีสาระสำคัญของการแก้ไข 2 ประเด็น คือ
ก. ขยายระยะเวลาผ่อนปรนให้ประเทศนอกอาเซียนสามารถถือหุ้นในโครงการได้ 60%ออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 หลังจากเวลาดังกล่าว ประเทศนอกอาเซียนสามารถถือหุ้นในโครงการได้พียง 49% ข. เปลี่ยนแปลงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าของผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการ ซึ่งเดิมยืดตามความตกลงว่าด้วยการใช้สิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (PTA) ที่กำหนดให้สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศอาเซียนประเทศเดียวหรือหลายประเทศจะต้องมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบจากอาเซียน (ASEAN Content) ไม่น้อยกว่า 50% หรือ 60% ตามลำดับ เป็นการใช้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าตามความตกลง CEPT for AFTA ซึ่งกำหนดให้สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศอาเซียนทั้งจากประเทศเดียวหรือหลายประเทศจะต้องมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 40%
2. พิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ฯ ได้เพิ่มอินโดนีเซียเข้าร่วมในโครงการฯ ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มกราคม 2538--