ทำเนียบรัฐบาล--25 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบกรอบแนวทางการวิเคราะห์งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2541 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจทุกแห่งรับแนวทางการวิเคราะห์งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจไปเป็นแนวปฏิบัติสำหรับงบประมาณปี 2541 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กรอบแนวทางการวิเคราะห์งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2541 มีหลักการและเหตุผล ดังนี้
1.1 ภายใต้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังประสบภาวะชะลอตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายเข้มงวดทางด้านการคลังเพื่อให้เศรษฐกิจปรับตัวสู่เสถียรภาพโดยเร็ว
1.2 รัฐวิสาหกิจเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในระบบเศรษฐกิจ และมีขนาดของงบประมาณเทียบเท่ากับงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน จำเป็นจะต้องมีการปรับบทบาทและมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยการควบคุมการใช้จ่ายและจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนให้สอดคล้องกับความจำเป็นเร่งด่วน
2. กรอบแนวทางการวิเคราะห์งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2541 เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้
2.1 กรอบระยะเวลาการส่งงบลงทุนประจำปีให้รัฐวิสาหกิจที่อยู่ในข่ายต้องส่งงบลงทุนให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ส่งตรงตามกำหนดเวลา
2.2 การวิเคราะห์การลงทุน
1) ให้ชะลอการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือก่อให้เกิดรายได้น้อยไม่คุ้มค่าการลงทุน (Unproductive) ทั้งการลงทุนเพื่อทดแทนหรือเพิ่มเติม โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (เช่น การจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้าง ปรับปรุง และต่อเติมอาคาร) ยานพาหนะ เครื่องใช้สำนักงาน
2) ให้ทบทวนการลงทุนที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศสูง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ
3) เร่งรัดการลงทุนในโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้ต่อรัฐในระยะยาว และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงิน รวมทั้งสนับสนุนให้เอกชนเข้าดำเนินโครงการใหม่ที่ใช้วงเงินลงทุนสูง เพื่อแบ่งเบาภาระทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ
4) ให้รัฐวิสาหกิจลงทุนตามขีดความสามารถในการบริหารงบลงทุนและฐานะการเงิน โดยเฉพาะความพร้อมของรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก
2.3 การควบคุมค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน
1) ควบคุมสัดส่วนค่าใช้จ่ายบุคลากรต่อค่าใช้จ่ายรวมให้ไม่สูงกว่าปี 2540 และให้พยายามลดค่าใช้จ่ายบุคลากร โดยบรรจุพนักงานเพิ่มหรือทดแทนตามความจำเป็น รวมทั้งให้จัดทำโครงการเกษียณก่อนอายุ (Early Retirement) และการว่าจ้างใชับริการจากเอกชน เพื่อลดการทำงานล่วงเวลาไม่ให้เกินร้อยละ 10 ของเงินเดือนค่าจ้าง
2) ควบคุมค่าใช้จ่ายสำนักงานให้อยู่ในวงเงินไม่สูงกว่าปี 2540 โดยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภค รวมทั้งค่าใช้สอยและวัสดุสิ้นเปลือง เช่น ค่าใช้จ่ายเดินทาง ค่ารับรอง และค่าบริจาค เป็นต้น
3) ให้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2536 ที่ให้รัฐวิสาหกิจจัดสรรเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของกำไรสุทธิเป็นงบประมาณเพื่อการพัฒนาบุคลากรนั้น ขอให้มีการจัดทำแผนงานพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานที่ชัดเจน และให้การสนับสนุนหน่วยงานภายนอกที่ทำการวิจัย พัฒนา และการพัฒนาบุคลากรที่เป็นประโยชน์กับประเทศโดยส่วนรวม
4) ให้จัดทำบัญชีต้นทุน และงบการเงินให้อยู่ในรูปของศูนย์กำไร ประกอบการเสนองบให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจรับรอง เพื่อให้เห็นผลการดำเนินงานที่แท้จริงของแต่ละกิจกรรม ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีการคิดอัตราค่าบริการที่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการ
2.4 การเพิ่มบทบาทภาคเอกชน เร่งรัดการจัดทำแผนปฏิบัติการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนให้แล้วเสร็จ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้ และนำเสนอคณะกรรมการกำกับนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจให้แล้วเสร็จตามกำหนด ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการและบรรลุผลในทางปฏิบัติได้โดยเร็วในขณะเดียวกันให้เร่งรัดดำเนินการสร้างความเข้าใจภายในองค์กรให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานต่อไป
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจมีมติเพิ่มเติม ดังนี้
1. ให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งเสนองบประมาณประจำปี ให้ตรงตามปีปฏิทินงบประมาณ เพื่อเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม เช่นเดียวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีของทางราชการ
2. ให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อคณะรัฐมนตรีพร้อมกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีของทางราชการ เพื่อที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ หรือที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ทั้งนี้ มอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับไปดำเนินการศึกษาในรายละเอียด ให้แล้วเสร็จทันเพื่อเริ่มต้นภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2542 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 25 สิงหาคม 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบกรอบแนวทางการวิเคราะห์งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2541 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจทุกแห่งรับแนวทางการวิเคราะห์งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจไปเป็นแนวปฏิบัติสำหรับงบประมาณปี 2541 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กรอบแนวทางการวิเคราะห์งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2541 มีหลักการและเหตุผล ดังนี้
1.1 ภายใต้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังประสบภาวะชะลอตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายเข้มงวดทางด้านการคลังเพื่อให้เศรษฐกิจปรับตัวสู่เสถียรภาพโดยเร็ว
1.2 รัฐวิสาหกิจเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในระบบเศรษฐกิจ และมีขนาดของงบประมาณเทียบเท่ากับงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน จำเป็นจะต้องมีการปรับบทบาทและมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยการควบคุมการใช้จ่ายและจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนให้สอดคล้องกับความจำเป็นเร่งด่วน
2. กรอบแนวทางการวิเคราะห์งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2541 เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้
2.1 กรอบระยะเวลาการส่งงบลงทุนประจำปีให้รัฐวิสาหกิจที่อยู่ในข่ายต้องส่งงบลงทุนให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ส่งตรงตามกำหนดเวลา
2.2 การวิเคราะห์การลงทุน
1) ให้ชะลอการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือก่อให้เกิดรายได้น้อยไม่คุ้มค่าการลงทุน (Unproductive) ทั้งการลงทุนเพื่อทดแทนหรือเพิ่มเติม โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (เช่น การจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้าง ปรับปรุง และต่อเติมอาคาร) ยานพาหนะ เครื่องใช้สำนักงาน
2) ให้ทบทวนการลงทุนที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศสูง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ
3) เร่งรัดการลงทุนในโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้ต่อรัฐในระยะยาว และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงิน รวมทั้งสนับสนุนให้เอกชนเข้าดำเนินโครงการใหม่ที่ใช้วงเงินลงทุนสูง เพื่อแบ่งเบาภาระทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ
4) ให้รัฐวิสาหกิจลงทุนตามขีดความสามารถในการบริหารงบลงทุนและฐานะการเงิน โดยเฉพาะความพร้อมของรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก
2.3 การควบคุมค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน
1) ควบคุมสัดส่วนค่าใช้จ่ายบุคลากรต่อค่าใช้จ่ายรวมให้ไม่สูงกว่าปี 2540 และให้พยายามลดค่าใช้จ่ายบุคลากร โดยบรรจุพนักงานเพิ่มหรือทดแทนตามความจำเป็น รวมทั้งให้จัดทำโครงการเกษียณก่อนอายุ (Early Retirement) และการว่าจ้างใชับริการจากเอกชน เพื่อลดการทำงานล่วงเวลาไม่ให้เกินร้อยละ 10 ของเงินเดือนค่าจ้าง
2) ควบคุมค่าใช้จ่ายสำนักงานให้อยู่ในวงเงินไม่สูงกว่าปี 2540 โดยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภค รวมทั้งค่าใช้สอยและวัสดุสิ้นเปลือง เช่น ค่าใช้จ่ายเดินทาง ค่ารับรอง และค่าบริจาค เป็นต้น
3) ให้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2536 ที่ให้รัฐวิสาหกิจจัดสรรเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของกำไรสุทธิเป็นงบประมาณเพื่อการพัฒนาบุคลากรนั้น ขอให้มีการจัดทำแผนงานพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานที่ชัดเจน และให้การสนับสนุนหน่วยงานภายนอกที่ทำการวิจัย พัฒนา และการพัฒนาบุคลากรที่เป็นประโยชน์กับประเทศโดยส่วนรวม
4) ให้จัดทำบัญชีต้นทุน และงบการเงินให้อยู่ในรูปของศูนย์กำไร ประกอบการเสนองบให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจรับรอง เพื่อให้เห็นผลการดำเนินงานที่แท้จริงของแต่ละกิจกรรม ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีการคิดอัตราค่าบริการที่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการ
2.4 การเพิ่มบทบาทภาคเอกชน เร่งรัดการจัดทำแผนปฏิบัติการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนให้แล้วเสร็จ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้ และนำเสนอคณะกรรมการกำกับนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจให้แล้วเสร็จตามกำหนด ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการและบรรลุผลในทางปฏิบัติได้โดยเร็วในขณะเดียวกันให้เร่งรัดดำเนินการสร้างความเข้าใจภายในองค์กรให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานต่อไป
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจมีมติเพิ่มเติม ดังนี้
1. ให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งเสนองบประมาณประจำปี ให้ตรงตามปีปฏิทินงบประมาณ เพื่อเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม เช่นเดียวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีของทางราชการ
2. ให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อคณะรัฐมนตรีพร้อมกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีของทางราชการ เพื่อที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ หรือที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ทั้งนี้ มอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับไปดำเนินการศึกษาในรายละเอียด ให้แล้วเสร็จทันเพื่อเริ่มต้นภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2542 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 25 สิงหาคม 2540--