แท็ก
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--10 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกีฬามวยอาชีพ พ.ศ. .... ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานว่า เนื่องจากกีฬามวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้และเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมทั้งการแข่งขันมวยไทยได้กลายเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมควบคู่ไปกับการแข่งขันมวยสากลอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นการประกอบกิจการเพื่อการอาชีพหนึ่งของไทยแต่โดยที่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการควบคุมกีฬามวยอาชีพและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งยังไม่มีมาตรการเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนการกีฬามวยอาชีพให้มีความเป็นมาตรฐานและสอดส่องให้นักมวยและบุคลในการกีฬามวยอาชีพได้มีสวัสดิการและสวัสดิภาพที่เหมาะสม จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยให้มีกฎหมายว่าด้วยกีฬามวยอาชีพขึ้นใช้บังคับ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการกีฬามวยอาชีพ" โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
2. คณะกรรมการฯ มีอำนาจให้ทุนหรือทรัพย์สินช่วยเหลือแก่บุคคลในการกีฬามวยอาชีพ รวมถึงสิทธิหรือประโยชน์เกี่ยวกับการกีฬามวยอาชีพอย่างใดด้วยก็ได้
3. กำหนดให้สถานที่ซึ่งดำเนินการแข่งขันชกมวยหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการจัดแข่งขันชกมวย รวมถึงผู้จัดรายการแข่งขัน หัวหน้าค่ายมวย ผู้ฝึกสอนหรือนักมวยต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการฯ ก่อน จึงจะดำเนินการหรือประกอบกิจการต่อไปได้
4. กำหนดบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนโดยมีโทษจำคุกหรือโทษปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 มีนาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกีฬามวยอาชีพ พ.ศ. .... ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานว่า เนื่องจากกีฬามวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้และเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมทั้งการแข่งขันมวยไทยได้กลายเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมควบคู่ไปกับการแข่งขันมวยสากลอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นการประกอบกิจการเพื่อการอาชีพหนึ่งของไทยแต่โดยที่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการควบคุมกีฬามวยอาชีพและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งยังไม่มีมาตรการเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนการกีฬามวยอาชีพให้มีความเป็นมาตรฐานและสอดส่องให้นักมวยและบุคลในการกีฬามวยอาชีพได้มีสวัสดิการและสวัสดิภาพที่เหมาะสม จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยให้มีกฎหมายว่าด้วยกีฬามวยอาชีพขึ้นใช้บังคับ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการกีฬามวยอาชีพ" โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
2. คณะกรรมการฯ มีอำนาจให้ทุนหรือทรัพย์สินช่วยเหลือแก่บุคคลในการกีฬามวยอาชีพ รวมถึงสิทธิหรือประโยชน์เกี่ยวกับการกีฬามวยอาชีพอย่างใดด้วยก็ได้
3. กำหนดให้สถานที่ซึ่งดำเนินการแข่งขันชกมวยหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการจัดแข่งขันชกมวย รวมถึงผู้จัดรายการแข่งขัน หัวหน้าค่ายมวย ผู้ฝึกสอนหรือนักมวยต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการฯ ก่อน จึงจะดำเนินการหรือประกอบกิจการต่อไปได้
4. กำหนดบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนโดยมีโทษจำคุกหรือโทษปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 มีนาคม 2541--