ทำเนียบรัฐบาล--27 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ยกร่าง เพื่อแก้ไขและป้องกันการสมยอมในการเสนอราคา แล้วมีมติรับในหลักการ แต่ยืนยันให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาตามแนวทางที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้เคยนำเสนอ และคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราช-บัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการสมยอมในการเสนอราคา เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2541 โดยยึดแนวการเป็นกฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง ก่อนส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ยกร่างซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้ผู้ที่ร่วมตกลงกันในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ โดยมีความประสงค์จะแสวงหาประโยชน์ร่วมกันหรือให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้ทำสัญญา หรือหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคา หรือกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการ หรือเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นการกระทำในลักษณะการสมยอมในการเสนอราคา ต้องมีความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี โดยเทียบกับความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา แต่สำหรับโทษปรับได้กำหนดให้สัมพันธ์กับผลประโยชน์ที่ผู้กระทำความผิดจะได้รับจากการเสนอราคาในครั้งนั้น
2. กำหนดความผิดสำหรับผู้ลงมือกระทำการในลักษณะต่าง ๆ อันเป็นการมุ่งหมายให้มีการสมยอมในการเสนอราคาหรือทำให้การเสนอราคาไม่เป็นความจริงอันเป็นการเสียหายต่อรัฐ
3. กรรมการหรือผู้จัดการของนิติบุคคลผู้เสนอราคาต้องร่วมรับผิดชอบด้วยกับนิติบุคคลที่สมยอมในการเสนอราคา เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นการกระทำนั้น
4. กำหนดความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ร่วมมือกับผู้สมยอมในการเสนอราคาให้ชัดเจนไว้โดยเฉพาะ โดยเทียบเคียงอัตราโทษเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตในการจัดซื้อหรือจัดจ้างที่บัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายอาญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 ตุลาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ยกร่าง เพื่อแก้ไขและป้องกันการสมยอมในการเสนอราคา แล้วมีมติรับในหลักการ แต่ยืนยันให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาตามแนวทางที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้เคยนำเสนอ และคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราช-บัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการสมยอมในการเสนอราคา เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2541 โดยยึดแนวการเป็นกฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง ก่อนส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ยกร่างซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้ผู้ที่ร่วมตกลงกันในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ โดยมีความประสงค์จะแสวงหาประโยชน์ร่วมกันหรือให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้ทำสัญญา หรือหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคา หรือกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการ หรือเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นการกระทำในลักษณะการสมยอมในการเสนอราคา ต้องมีความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี โดยเทียบกับความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา แต่สำหรับโทษปรับได้กำหนดให้สัมพันธ์กับผลประโยชน์ที่ผู้กระทำความผิดจะได้รับจากการเสนอราคาในครั้งนั้น
2. กำหนดความผิดสำหรับผู้ลงมือกระทำการในลักษณะต่าง ๆ อันเป็นการมุ่งหมายให้มีการสมยอมในการเสนอราคาหรือทำให้การเสนอราคาไม่เป็นความจริงอันเป็นการเสียหายต่อรัฐ
3. กรรมการหรือผู้จัดการของนิติบุคคลผู้เสนอราคาต้องร่วมรับผิดชอบด้วยกับนิติบุคคลที่สมยอมในการเสนอราคา เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นการกระทำนั้น
4. กำหนดความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ร่วมมือกับผู้สมยอมในการเสนอราคาให้ชัดเจนไว้โดยเฉพาะ โดยเทียบเคียงอัตราโทษเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตในการจัดซื้อหรือจัดจ้างที่บัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายอาญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 ตุลาคม 2541--