คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยสรุปสถานการณ์และผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน กับจังหวัดที่ประสบภัยจากเหตุการณ์พายุดีเปรสชั่นและพายุโซนร้อน "วีเซนเต" (ข้อมูลถึงวันที่ 19 กันยายน 2548) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากพายุดีเปรสชั่นและที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง(วันที่ 13—15 ก.ย.2548)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 30 จังหวัด 113 อำเภอ 6 กิ่งอำเภอ 380 ตำบล 1,050 หมู่บ้านได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ นครสวรรค์ ตาก อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี นครปฐม กาญจนบุรี สระแก้ว สระบุรี และกรุงเทพฯ
1.2 ความเสียหาย
1) ด้านชีวิต ราษฎรเดือดร้อน 194,971 คน 56,792 ครัวเรือน เสียชีวิต 4 คน (ลำปาง 2 คน ปทุมธานี 2 คน)
2) ด้านทรัพย์สิน ถนน 468 สาย สะพาน 22 แห่ง พื้นที่การเกษตร 206,323 ไร่ ฝาย/พนังกั้นน้ำ 25 แห่ง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2,158 หลัง ปศุสัตว์ 1,500 ตัว บ่อปลา 25 บ่อ
3) มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน
1.3.1 จังหวัดที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว จำนวน 24 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด ระยอง ชัยนาท เชียงใหม่ สระแก้ว สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ ลำปาง บุรีรัมย์ กาญจนบุรี ลพบุรี ชลบุรี นนทบุรี นครปฐม นครนายก ปทุมธานี สุโขทัย แม่ฮ่องสอน อุบลราชธานี และสุพรรณบุรี โดยยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มเป็นบางแห่งเท่านั้น
1.3.2 สถานการณ์อุทกภัยจากพายุดีเปรสชั่นที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง (เมื่อวันที่ 13-15 ก.ย. 2548) รวม 6 จังหวัด ได้แก่
1) จังหวัดสมุทรปราการ มีน้ำท่วมขัง 2 อำเภอ ได้แก่
- อ.บางพลี น้ำท่วมขังที่หมู่บ้านบางแก้ว รวมทั้งบริเวณหน้าโรงเรียนราชวินิต ระดับน้ำสูง ประมาณ 0.10 เมตร รถสัญจรผ่านได้ อบต.บางแก้ว และชลประทาน ศูนย์ ปภ. เขต 1 ปทุมธานีได้สนับสนุนกระสอบทราย และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อเร่งทำการสูบน้ำออกจากพื้นที่ประสบภัยแล้ว แต่เนื่องจากมีสภาพน้ำทะเลหนุน ทำให้การระบายน้ำเป็นไปด้วยความล่าช้า
- อ.บางบ่อ น้ำท่วมขังบริเวณหน้าปากทางเข้าหมู่บ้านชวนชื่น ระดับน้ำสูง ประมาณ 0.20 เมตร การระบายน้ำเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากบางเวลามีน้ำทะเลหนุน เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการสูบน้ำ ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อเร่งทำการสูบน้ำออกจากพื้นที่ประสบภัยแล้ว
2) กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกรุงเทพมหานครได้ระดมเครื่องสูบน้ำ ระบายน้ำออกจากถนนสายหลัก ซึ่งในเวลานี้ไม่มีน้ำท่วมขังผิวจราจรในถนนสายหลักแต่อย่างใด มีท่วมขังบนผิวทางตามซอยแยกและในชุมชนหมู่บ้านจัดสรรหลายแห่ง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะย่านซอยรามคำแหง เคหะร่มเกล้า หมู่บ้านทุ่งเศรษฐี ชุมชนสามัคคีพัฒนา ถนนนวมินทร์ ฯลฯ ในพื้นที่เขตประเวศ คันนายาว ลาดกระบัง บึงกุ่ม บางกะปิ สะพานสูง คลองสามวา หนองจอก สวนหลวง มีนบุรี ลาดพร้าว ปริมาณน้ำที่สูบผ่านคลองแสนแสบ คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองพระโขนงลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แต่เนื่องจากปริมาณน้ำมีมากทำให้พื้นที่คลองไม่สามารถรองรับน้ำได้อย่างเพียงพอ ทำให้การระบายน้ำออกเป็นไปอย่างล่าช้า
3) จังหวัดปราจีนบุรี มีน้ำท่วมขัง 1 อำเภอ ได้แก่ อ.กบินทร์บุรี ชุมชนตลาดเก่า ในเขตเทศบาล ซึ่งเป็นชุมชนริมแม่น้ำ (พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก) ได้รับผลกระทบจากแม่น้ำปราจีนบุรีได้ท่วมเอ่อล้น ระดับน้ำลดลงสูงประมาณ 0.30 เมตร ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 157 ครัวเรือน
การช่วยเหลือ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 3 ปราจีนบุรี และเทศบาลตำบลกบินทร์บุรี ได้จัดส่งเรือท้องแบน จำนวน 4 ลำ ไปช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบภัยแล้ว
4) จังหวัดพิษณุโลก มีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอบางระกำ รวม 6 ตำบล โดยท่วมขังบริเวณชุมชนริมแม่น้ำยม พื้นที่การเกษตร(ส่วนใหญ่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว) และถนนสายตะแบกงาม ต.ชุมแสง เป็นช่วง ๆ ระดับน้ำสูง 0.10 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 18 ก.ย.48 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัย พร้อมมอบสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 110 ชุด ให้กับประชาชนที่ประสบภัย
5) จังหวัดตาก มีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มของ อ.บ้านตาก รวม 7 ตำบล ได้แก่ ต.ท้องฟ้า ต.ทุ่งกระเชาะ ต.ตากออก ต.ตากตก ต.สมอโพน ต.แม่สลิด และ ต.เกาะตะเภา สาเหตุเกิดจากน้ำจากแม่น้ำวังไหลมาจากอ.สามเงา ทำให้เอ่อล้นตลิ่ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 ม. มีแนวโน้มลดลง
การให้ความช่วยเหลือ ผู้ว่าราชการจังหวัด เหล่ากาชาดจังหวัดร่วมกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ได้นำถุงยังชีพอีก 5,000 ชุด เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ อ.บ้านตากแล้ว
6) จังหวัดฉะเชิงเทรา มีน้ำท่วมขัง 1 อำเภอ อ.บ้านโพธิ์ ได้เกิดน้ำไหลหลากจาก อ.สนามชัยเขต เข้าท่วมพื้นที่ ต.แหลมประดู่ ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 เมตร การช่วยเหลือ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอบ้านโพธิ์ ร่วมกับกองพันทหารช่างที่ 2 และอบต.แหลมประดู่ นำเรือท้องแบน 5 ลำ พร้อมแจกจ่ายถุงยังชีพ 400 ชุด เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว สำนักงานชลประทานฯ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งทำการสูบน้ำออกแล้ว
การช่วยเหลือ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 ปทุมธานี สนับสนุนถุงยังชีพ จำนวน 600 ชุด เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
1.4 การให้ความช่วยเหลือและการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
1) สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานกับกรมตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และได้มีวิทยุแจ้งเตือนไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก และศูนย์ ปภ. เขต ในพื้นที่แล้วตั้งแต่วันที่ 12 และ 13 ก.ย. 2548 เพื่อให้ติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและให้เตรียมการช่วยเหลือประชาชน พร้อมกับระดมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เรือท้องแบนจากทุกหน่วยงาน ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นรวมทั้งจัดเตรียมอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค สำหรับแจกจ่ายแก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยและจุดที่เป็นสถานที่รองรับการอพยพ
2) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยและเยี่ยมประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในการนี้ได้แจกจ่ายถุงยังชีพและน้ำดื่มให้แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัย ณ วัดโป่งช้าง ม.11 ต.มวกค้าง อ.สันกำแพง ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ อำเภอสันกำแพง อำเภอสันทราย อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสารภี อำเภอฮอด อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่แตง อำเภอแม่ริม และอำเภอเมืองฯ รวม 3,600 ชุด
3) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้สั่งการให้จังหวัดที่ประสบอุทกภัยและกรุงเทพมหานครแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่างๆ ที่ยังมีน้ำท่วมขังในเขตชุมชน/หมู่บ้านจัดสรร และถนน/ตรอก/ซอยในหลายพื้นที่เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนโดยดำเนินการ ดังนี้
(1) ระดมเครื่องสูบน้ำจากทุกหน่วยงานทำการสูบน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร ถนน/ตรอก/ซอยในเขตเทศบาล/เขตให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ก.ย. 2548
(2) ภายหลังจากที่น้ำลดลงหมดแล้ว ให้ระดมเครื่องจักรกลจากหน่วยงานในพื้นที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนในการล้างทำความสะอาดดินโคลนบนถนน อาคารบ้านเรือนของประชาชน จัดเก็บขยะที่ค้าง
(3) ทั้งนี้ ให้ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน จากสภาวะน้ำท่วมขังให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด
4) สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งให้จังหวัดทุกจังหวัดเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและโคลนถล่มและสาธารณภัยอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลทางเวบไซท์ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามการพยากรณ์อากาศ รายงานอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด ปริมาณน้ำฝน ข้อมูลกลุ่มฝนจากเรดาร์ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้จังหวัดสามารถประเมินวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องและเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและช่วยเหลืออพยพประชาชนได้ทันต่อ เหตุการณ์ โดยผ่านทางเวบไซท์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน หน่วยงานสำรวจเชิงภูมิศาสตร์ประเทศสหรัฐอเมริกา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำชับ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ใช้ประโยชน์ในการบูรณาการข้อมูลต่างๆจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางเว็บไซต์ดังกล่าวข้างต้น และให้นำข้อมูลจากเวบไซท์ต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ ประเมินและคาดการณ์แนวโน้มการเกิดสาธารณภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ
2. สรุปสถานการณ์จากพายุโซนร้อน”วีเซนเต”
2.1 สาเหตุการเกิด
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 ได้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีการพัฒนาความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นพายุดีเปรสชั่นและพายุโซนร้อนตามลำดับ โดยในวันที่ 18 กันยายน 2548 พายุโซนร้อน “วีเซนเต” มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้เคลื่อนตัวทางตะวันตกและขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม บริเวณเมืองดองฮอย และเคลื่อนตัวผ่านตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณตอนบนของจังหวัดหนองคาย และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ได้เคลื่อนเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย และเชียงใหม่ ตามลำดับ และได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศพม่าต่อไป ทำให้ประเทศไทยโดยเฉพาะบริเวณตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง
2.2 สถานการณ์อุทกภัยในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 19 กันยายน 2548)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์โดยประสานกับจังหวัดที่ได้รับอิทธิพลจากพายุในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอย่างต่อเนื่อง ได้รับรายงานมีจังหวัดที่ประสบภัยจากพายุโซนร้อน“วีเซนเต” รวม 5 จังหวัด(ข้อมูล ณ วันที่ 19 กันยายน 2548 เวลา 17.00 น.)ดังนี้
1) จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- อำเภอขุนยวม ทำให้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ช่วง กม.25 ขาด 1 ช่องจราจรระยะทาง 100 เมตร และสะพานเชื่อมทางหลวงแผ่นดินในบริเวณดังกล่าวเสียหาย การเดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอนไม่สามารถสัญจรไป-มาได้ แขวงการทางได้ส่งเครื่องจักรกลเข้าไปซ่อมแซมแล้ว
- อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน มีน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน (ต.ห้วยโป่ง ต.ผาป่อง) ความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
2) จังหวัดเชียงใหม่
- อำเภอแม่แจ่ม ได้เกิดโคลนถล่มในพื้นที่บ้านยางซ่าน ม.8 และบ้านยางหลวง ม.6 ต.ท่าผา บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายเนื่องจากเศษดินโคลนจากน้ำแม่แรกเข้าไปในบ้านเรือนราษฎรที่อาศัยอยู่ริมน้ำ โดยมีผู้ประสบภัย จำนวนประมาณ 75 ครัวเรือน ทางราชการได้อพยพราษฎรไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว
- อำเภอพร้าว ได้เกิดดินโคลนถล่มในพื้นที่ตำบลแม่แวน ม.8 ดินสไลด์ทับผิวจราจร เส้นทางสัญจรระหว่างหมู่บ้านและทับบ้านเรือนราษฎรเสียหาย จำนวน 1 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ม.11 ดินสไลด์ทับผิวจราจรทางสัญจรระหว่างหมู่บ้าน ความเสียหายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
3) จังหวัดลำปาง ได้รับความเสียหาย จำนวน 2 อำเภอ 7 ตำบล 33 หมู่บ้าน
- อำเภอเถิน ถนนสายเถิน-วังชิ้น และถนนสายเถิน-ทุ่งเสลี่ยม คอสะพาน 2 แห่ง
- อำเภอวังเหนือ สะพานไม้ 4 แห่ง ฝาย 4 แห่ง น้ำกัดเซาะตลิ่งเสียหาย 4แห่ง
4) จังหวัดเลย ได้รับความเสียหาย จำนวน 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเชียงคาน โดยถนนในหมู่บ้าน/ตำบลเสียหาย 1 สาย คอสะพาน 1 แห่ง ความเสียหายด้านการเกษตร อยู่ระหว่างการสำรวจ
5) จังหวัดศรีสะเกษ ได้รับความเสียหายเนื่องจากลมพายุฝน จำนวน 1 อำเภอ ที่อำเภอห้วยทับทัน (ต.ห้วยทับทัน ต.เมืองหลวง) บ้านเรือนเสียหาย 57 หลัง ราษฎรเดือดร้อน 155 คน วัด 2 แห่ง การให้ความช่วยเหลืออำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
2.4 การให้ความช่วยเหลือและการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดส่งเรือท้องแบนไปประจำไว้ที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยใน จ.นครพนม 14 ลำ จ.มุกดาหาร 8 ลำ จ.อุบลราชธานี 13 ลำ จ.หนองคาย 10 ลำ และสำรองไว้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 6 ขอนแก่น 20 ลำ และเขต 7 สกลนคร 8 ลำ พร้อมได้จัดส่งเครื่องมืออุปกรณ์และถุงยังชีพให้แก่จังหวัดดังกล่าวอีกส่วนหนึ่ง เพื่อเตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันที
2) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.อ.อ คงศักดิ์ วันทนา) ได้เป็นประธานในการประชุมเพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายอนุชา โมกขะเวส) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดปริมณฑล 5 จังหวัด ผู้แทนกรมชลประทานและผู้แทนศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก / กองทัพเรือ / กองทัพอากาศ ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการบูรณาการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภาวะน้ำท่วมขัง โดยมีแนวทางปฏิบัติร่วมกันดังนี้
(1) เนื่องจากขณะนี้ปริมาณน้ำเหนือที่ผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ณ วันที่ 19 กันยายน 2548 มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,810 ลบม./วินาที และผ่านเขื่อนพระรามหก 140 ลบม./วินาที เมื่อรวมกันแล้ว เท่ากับ 1,950 ลบม./วินาที ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น ทำให้การระบายน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างล่าช้า จึงให้กรมชลประทานชะลอและควบคุมการระบายน้ำที่คลอง 13 และผันน้ำออกคลอง 14 ที่จะลงแม่น้ำบางปะกง กับขอให้เร่งสูบน้ำที่คลองด่าน และคลองชายทะเลลงสู่ทะเลเพื่อลดระดับน้ำในคลองพระโขนง คลองแสนแสบ คลองประเวศบุรีรมย์
(2) ให้กรุงเทพมหานคร มีการประสานการปฏิบัติกับจังหวัดปริมณฑลและกรมชลประทานอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างประชาชน เนื่องจากเมื่อปิดประตูน้ำ หรือแนวป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในเขตจังหวัดปริมณฑล
(3) ให้กระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นเจ้าภาพ เชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทาง วิธีการบริหารจัดการน้ำในช่วงน้ำมากโดยคิดคำนวณปริมาณน้ำในแต่ละลุ่มน้ำให้ชัดเจนเพื่อการผันน้ำและการระบายน้ำ และกำหนดพื้นที่รองรับน้ำในกรณีปริมาณน้ำในน้ำเจ้าพระยามีจำนวนมากเกิน 2,500 ล้านลูกบาศก์เมตร/วินาที โดยรัฐอาจต้อง ยินยอมชดเชยค่าเสียโอกาส/ค่าเสียหายในการเพาะปลูกให้แก่เกษตรกร เพื่อป้องกันมิให้เขตพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศได้รับความเสียหาย สำหรับในช่วงน้ำน้อยให้บูรณาการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของทุกภาคส่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กันยายน 2548--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากพายุดีเปรสชั่นและที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง(วันที่ 13—15 ก.ย.2548)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 30 จังหวัด 113 อำเภอ 6 กิ่งอำเภอ 380 ตำบล 1,050 หมู่บ้านได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ นครสวรรค์ ตาก อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี นครปฐม กาญจนบุรี สระแก้ว สระบุรี และกรุงเทพฯ
1.2 ความเสียหาย
1) ด้านชีวิต ราษฎรเดือดร้อน 194,971 คน 56,792 ครัวเรือน เสียชีวิต 4 คน (ลำปาง 2 คน ปทุมธานี 2 คน)
2) ด้านทรัพย์สิน ถนน 468 สาย สะพาน 22 แห่ง พื้นที่การเกษตร 206,323 ไร่ ฝาย/พนังกั้นน้ำ 25 แห่ง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2,158 หลัง ปศุสัตว์ 1,500 ตัว บ่อปลา 25 บ่อ
3) มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน
1.3.1 จังหวัดที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว จำนวน 24 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด ระยอง ชัยนาท เชียงใหม่ สระแก้ว สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ ลำปาง บุรีรัมย์ กาญจนบุรี ลพบุรี ชลบุรี นนทบุรี นครปฐม นครนายก ปทุมธานี สุโขทัย แม่ฮ่องสอน อุบลราชธานี และสุพรรณบุรี โดยยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มเป็นบางแห่งเท่านั้น
1.3.2 สถานการณ์อุทกภัยจากพายุดีเปรสชั่นที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง (เมื่อวันที่ 13-15 ก.ย. 2548) รวม 6 จังหวัด ได้แก่
1) จังหวัดสมุทรปราการ มีน้ำท่วมขัง 2 อำเภอ ได้แก่
- อ.บางพลี น้ำท่วมขังที่หมู่บ้านบางแก้ว รวมทั้งบริเวณหน้าโรงเรียนราชวินิต ระดับน้ำสูง ประมาณ 0.10 เมตร รถสัญจรผ่านได้ อบต.บางแก้ว และชลประทาน ศูนย์ ปภ. เขต 1 ปทุมธานีได้สนับสนุนกระสอบทราย และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อเร่งทำการสูบน้ำออกจากพื้นที่ประสบภัยแล้ว แต่เนื่องจากมีสภาพน้ำทะเลหนุน ทำให้การระบายน้ำเป็นไปด้วยความล่าช้า
- อ.บางบ่อ น้ำท่วมขังบริเวณหน้าปากทางเข้าหมู่บ้านชวนชื่น ระดับน้ำสูง ประมาณ 0.20 เมตร การระบายน้ำเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากบางเวลามีน้ำทะเลหนุน เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการสูบน้ำ ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อเร่งทำการสูบน้ำออกจากพื้นที่ประสบภัยแล้ว
2) กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกรุงเทพมหานครได้ระดมเครื่องสูบน้ำ ระบายน้ำออกจากถนนสายหลัก ซึ่งในเวลานี้ไม่มีน้ำท่วมขังผิวจราจรในถนนสายหลักแต่อย่างใด มีท่วมขังบนผิวทางตามซอยแยกและในชุมชนหมู่บ้านจัดสรรหลายแห่ง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะย่านซอยรามคำแหง เคหะร่มเกล้า หมู่บ้านทุ่งเศรษฐี ชุมชนสามัคคีพัฒนา ถนนนวมินทร์ ฯลฯ ในพื้นที่เขตประเวศ คันนายาว ลาดกระบัง บึงกุ่ม บางกะปิ สะพานสูง คลองสามวา หนองจอก สวนหลวง มีนบุรี ลาดพร้าว ปริมาณน้ำที่สูบผ่านคลองแสนแสบ คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองพระโขนงลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แต่เนื่องจากปริมาณน้ำมีมากทำให้พื้นที่คลองไม่สามารถรองรับน้ำได้อย่างเพียงพอ ทำให้การระบายน้ำออกเป็นไปอย่างล่าช้า
3) จังหวัดปราจีนบุรี มีน้ำท่วมขัง 1 อำเภอ ได้แก่ อ.กบินทร์บุรี ชุมชนตลาดเก่า ในเขตเทศบาล ซึ่งเป็นชุมชนริมแม่น้ำ (พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก) ได้รับผลกระทบจากแม่น้ำปราจีนบุรีได้ท่วมเอ่อล้น ระดับน้ำลดลงสูงประมาณ 0.30 เมตร ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 157 ครัวเรือน
การช่วยเหลือ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 3 ปราจีนบุรี และเทศบาลตำบลกบินทร์บุรี ได้จัดส่งเรือท้องแบน จำนวน 4 ลำ ไปช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบภัยแล้ว
4) จังหวัดพิษณุโลก มีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอบางระกำ รวม 6 ตำบล โดยท่วมขังบริเวณชุมชนริมแม่น้ำยม พื้นที่การเกษตร(ส่วนใหญ่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว) และถนนสายตะแบกงาม ต.ชุมแสง เป็นช่วง ๆ ระดับน้ำสูง 0.10 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 18 ก.ย.48 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัย พร้อมมอบสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 110 ชุด ให้กับประชาชนที่ประสบภัย
5) จังหวัดตาก มีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มของ อ.บ้านตาก รวม 7 ตำบล ได้แก่ ต.ท้องฟ้า ต.ทุ่งกระเชาะ ต.ตากออก ต.ตากตก ต.สมอโพน ต.แม่สลิด และ ต.เกาะตะเภา สาเหตุเกิดจากน้ำจากแม่น้ำวังไหลมาจากอ.สามเงา ทำให้เอ่อล้นตลิ่ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 ม. มีแนวโน้มลดลง
การให้ความช่วยเหลือ ผู้ว่าราชการจังหวัด เหล่ากาชาดจังหวัดร่วมกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ได้นำถุงยังชีพอีก 5,000 ชุด เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ อ.บ้านตากแล้ว
6) จังหวัดฉะเชิงเทรา มีน้ำท่วมขัง 1 อำเภอ อ.บ้านโพธิ์ ได้เกิดน้ำไหลหลากจาก อ.สนามชัยเขต เข้าท่วมพื้นที่ ต.แหลมประดู่ ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 เมตร การช่วยเหลือ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอบ้านโพธิ์ ร่วมกับกองพันทหารช่างที่ 2 และอบต.แหลมประดู่ นำเรือท้องแบน 5 ลำ พร้อมแจกจ่ายถุงยังชีพ 400 ชุด เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว สำนักงานชลประทานฯ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งทำการสูบน้ำออกแล้ว
การช่วยเหลือ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 ปทุมธานี สนับสนุนถุงยังชีพ จำนวน 600 ชุด เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
1.4 การให้ความช่วยเหลือและการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
1) สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานกับกรมตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และได้มีวิทยุแจ้งเตือนไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก และศูนย์ ปภ. เขต ในพื้นที่แล้วตั้งแต่วันที่ 12 และ 13 ก.ย. 2548 เพื่อให้ติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและให้เตรียมการช่วยเหลือประชาชน พร้อมกับระดมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เรือท้องแบนจากทุกหน่วยงาน ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นรวมทั้งจัดเตรียมอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค สำหรับแจกจ่ายแก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยและจุดที่เป็นสถานที่รองรับการอพยพ
2) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยและเยี่ยมประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในการนี้ได้แจกจ่ายถุงยังชีพและน้ำดื่มให้แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัย ณ วัดโป่งช้าง ม.11 ต.มวกค้าง อ.สันกำแพง ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ อำเภอสันกำแพง อำเภอสันทราย อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสารภี อำเภอฮอด อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่แตง อำเภอแม่ริม และอำเภอเมืองฯ รวม 3,600 ชุด
3) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้สั่งการให้จังหวัดที่ประสบอุทกภัยและกรุงเทพมหานครแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่างๆ ที่ยังมีน้ำท่วมขังในเขตชุมชน/หมู่บ้านจัดสรร และถนน/ตรอก/ซอยในหลายพื้นที่เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนโดยดำเนินการ ดังนี้
(1) ระดมเครื่องสูบน้ำจากทุกหน่วยงานทำการสูบน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร ถนน/ตรอก/ซอยในเขตเทศบาล/เขตให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ก.ย. 2548
(2) ภายหลังจากที่น้ำลดลงหมดแล้ว ให้ระดมเครื่องจักรกลจากหน่วยงานในพื้นที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนในการล้างทำความสะอาดดินโคลนบนถนน อาคารบ้านเรือนของประชาชน จัดเก็บขยะที่ค้าง
(3) ทั้งนี้ ให้ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน จากสภาวะน้ำท่วมขังให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด
4) สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งให้จังหวัดทุกจังหวัดเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและโคลนถล่มและสาธารณภัยอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลทางเวบไซท์ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามการพยากรณ์อากาศ รายงานอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด ปริมาณน้ำฝน ข้อมูลกลุ่มฝนจากเรดาร์ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้จังหวัดสามารถประเมินวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องและเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและช่วยเหลืออพยพประชาชนได้ทันต่อ เหตุการณ์ โดยผ่านทางเวบไซท์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน หน่วยงานสำรวจเชิงภูมิศาสตร์ประเทศสหรัฐอเมริกา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำชับ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ใช้ประโยชน์ในการบูรณาการข้อมูลต่างๆจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางเว็บไซต์ดังกล่าวข้างต้น และให้นำข้อมูลจากเวบไซท์ต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ ประเมินและคาดการณ์แนวโน้มการเกิดสาธารณภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ
2. สรุปสถานการณ์จากพายุโซนร้อน”วีเซนเต”
2.1 สาเหตุการเกิด
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 ได้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีการพัฒนาความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นพายุดีเปรสชั่นและพายุโซนร้อนตามลำดับ โดยในวันที่ 18 กันยายน 2548 พายุโซนร้อน “วีเซนเต” มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้เคลื่อนตัวทางตะวันตกและขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม บริเวณเมืองดองฮอย และเคลื่อนตัวผ่านตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณตอนบนของจังหวัดหนองคาย และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ได้เคลื่อนเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย และเชียงใหม่ ตามลำดับ และได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศพม่าต่อไป ทำให้ประเทศไทยโดยเฉพาะบริเวณตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง
2.2 สถานการณ์อุทกภัยในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 19 กันยายน 2548)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์โดยประสานกับจังหวัดที่ได้รับอิทธิพลจากพายุในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอย่างต่อเนื่อง ได้รับรายงานมีจังหวัดที่ประสบภัยจากพายุโซนร้อน“วีเซนเต” รวม 5 จังหวัด(ข้อมูล ณ วันที่ 19 กันยายน 2548 เวลา 17.00 น.)ดังนี้
1) จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- อำเภอขุนยวม ทำให้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ช่วง กม.25 ขาด 1 ช่องจราจรระยะทาง 100 เมตร และสะพานเชื่อมทางหลวงแผ่นดินในบริเวณดังกล่าวเสียหาย การเดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอนไม่สามารถสัญจรไป-มาได้ แขวงการทางได้ส่งเครื่องจักรกลเข้าไปซ่อมแซมแล้ว
- อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน มีน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน (ต.ห้วยโป่ง ต.ผาป่อง) ความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
2) จังหวัดเชียงใหม่
- อำเภอแม่แจ่ม ได้เกิดโคลนถล่มในพื้นที่บ้านยางซ่าน ม.8 และบ้านยางหลวง ม.6 ต.ท่าผา บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายเนื่องจากเศษดินโคลนจากน้ำแม่แรกเข้าไปในบ้านเรือนราษฎรที่อาศัยอยู่ริมน้ำ โดยมีผู้ประสบภัย จำนวนประมาณ 75 ครัวเรือน ทางราชการได้อพยพราษฎรไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว
- อำเภอพร้าว ได้เกิดดินโคลนถล่มในพื้นที่ตำบลแม่แวน ม.8 ดินสไลด์ทับผิวจราจร เส้นทางสัญจรระหว่างหมู่บ้านและทับบ้านเรือนราษฎรเสียหาย จำนวน 1 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ม.11 ดินสไลด์ทับผิวจราจรทางสัญจรระหว่างหมู่บ้าน ความเสียหายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
3) จังหวัดลำปาง ได้รับความเสียหาย จำนวน 2 อำเภอ 7 ตำบล 33 หมู่บ้าน
- อำเภอเถิน ถนนสายเถิน-วังชิ้น และถนนสายเถิน-ทุ่งเสลี่ยม คอสะพาน 2 แห่ง
- อำเภอวังเหนือ สะพานไม้ 4 แห่ง ฝาย 4 แห่ง น้ำกัดเซาะตลิ่งเสียหาย 4แห่ง
4) จังหวัดเลย ได้รับความเสียหาย จำนวน 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเชียงคาน โดยถนนในหมู่บ้าน/ตำบลเสียหาย 1 สาย คอสะพาน 1 แห่ง ความเสียหายด้านการเกษตร อยู่ระหว่างการสำรวจ
5) จังหวัดศรีสะเกษ ได้รับความเสียหายเนื่องจากลมพายุฝน จำนวน 1 อำเภอ ที่อำเภอห้วยทับทัน (ต.ห้วยทับทัน ต.เมืองหลวง) บ้านเรือนเสียหาย 57 หลัง ราษฎรเดือดร้อน 155 คน วัด 2 แห่ง การให้ความช่วยเหลืออำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
2.4 การให้ความช่วยเหลือและการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดส่งเรือท้องแบนไปประจำไว้ที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยใน จ.นครพนม 14 ลำ จ.มุกดาหาร 8 ลำ จ.อุบลราชธานี 13 ลำ จ.หนองคาย 10 ลำ และสำรองไว้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 6 ขอนแก่น 20 ลำ และเขต 7 สกลนคร 8 ลำ พร้อมได้จัดส่งเครื่องมืออุปกรณ์และถุงยังชีพให้แก่จังหวัดดังกล่าวอีกส่วนหนึ่ง เพื่อเตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันที
2) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.อ.อ คงศักดิ์ วันทนา) ได้เป็นประธานในการประชุมเพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายอนุชา โมกขะเวส) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดปริมณฑล 5 จังหวัด ผู้แทนกรมชลประทานและผู้แทนศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก / กองทัพเรือ / กองทัพอากาศ ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการบูรณาการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภาวะน้ำท่วมขัง โดยมีแนวทางปฏิบัติร่วมกันดังนี้
(1) เนื่องจากขณะนี้ปริมาณน้ำเหนือที่ผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ณ วันที่ 19 กันยายน 2548 มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,810 ลบม./วินาที และผ่านเขื่อนพระรามหก 140 ลบม./วินาที เมื่อรวมกันแล้ว เท่ากับ 1,950 ลบม./วินาที ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น ทำให้การระบายน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างล่าช้า จึงให้กรมชลประทานชะลอและควบคุมการระบายน้ำที่คลอง 13 และผันน้ำออกคลอง 14 ที่จะลงแม่น้ำบางปะกง กับขอให้เร่งสูบน้ำที่คลองด่าน และคลองชายทะเลลงสู่ทะเลเพื่อลดระดับน้ำในคลองพระโขนง คลองแสนแสบ คลองประเวศบุรีรมย์
(2) ให้กรุงเทพมหานคร มีการประสานการปฏิบัติกับจังหวัดปริมณฑลและกรมชลประทานอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างประชาชน เนื่องจากเมื่อปิดประตูน้ำ หรือแนวป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในเขตจังหวัดปริมณฑล
(3) ให้กระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นเจ้าภาพ เชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทาง วิธีการบริหารจัดการน้ำในช่วงน้ำมากโดยคิดคำนวณปริมาณน้ำในแต่ละลุ่มน้ำให้ชัดเจนเพื่อการผันน้ำและการระบายน้ำ และกำหนดพื้นที่รองรับน้ำในกรณีปริมาณน้ำในน้ำเจ้าพระยามีจำนวนมากเกิน 2,500 ล้านลูกบาศก์เมตร/วินาที โดยรัฐอาจต้อง ยินยอมชดเชยค่าเสียโอกาส/ค่าเสียหายในการเพาะปลูกให้แก่เกษตรกร เพื่อป้องกันมิให้เขตพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศได้รับความเสียหาย สำหรับในช่วงน้ำน้อยให้บูรณาการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของทุกภาคส่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กันยายน 2548--จบ--