ทำเนียบรัฐบาล--6 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรก
2541 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่ง-
ประเทศไทย (ธปท.) ได้รวบรวมเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรก 2541 และประเมินสถาน
การณ์เศรษฐกิจไทย โดยสรุปดังนี้
1. สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกของปี 2541 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ในรอบ 1 ปี หลังจากเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว เมื่อวันที่ 2
กรกฎาคม 2540 เศรษฐกิจไทยประสบกับความผันผวนของเงินบาทที่อ่อนตัวลงจนถึงต้นปี 2541 อัตรา
เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นและการไหลออกสุทธิของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศสร้างความตึงตัวในระบบ
การเงินของประเทศจนเป็นอุปสรรคต่อการผลิตและการส่งออก อย่างไรก็ตาม มีเครื่องชี้เสถียรภาพ
เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งลดลงอย่างรวดเร็ว
- ค่าเงินบาทเริ่มมีความมั่นคงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2541 แต่สภาพคล่องที่ตึงตัว
อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างกระทันหันในปี 2540 ส่งผลต่อเนื่อง
ให้การบริโภค การผลิตและการลงทุนในประเทศหดตัว ในขณะที่การว่างงานเพิ่มขึ้น แสดงถึงผลกระทบ
ของปัญหาระบบการเงินต่อภาคเศรษฐกิจจริงที่รุนแรง
- ในครึ่งหลังของปี 2541 ความเสี่ยงของความผันผวนของค่าเงินเยน และดอลลาร์
สหรัฐ ซึ่งอาจกระทบค่าเงินบาทยังคงมีอยู่ นอกจากนั้นเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ชะลอตัวยังคงเป็นข้อจำกัด
ด้านตลาดส่งออก ดังนั้น จึงต้องเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ต่างประเทศโดยแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง
และใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2542
2. สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกของปี 2541 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย
1. ภาพรวมเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจโลกชะลอตัวกว่าที่คาดไว้เดิม กองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ(IMF) ได้ประมาณการเศรษฐกิจโลกครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 ว่าจะขยาย
ตัวร้อยละ 3.1 ชะลอตัวกว่าที่คาดไว้เดิม (ณ ธันวาคม 2540) ที่ร้อยละ 3.5 เนื่องจากภาวะวิกฤต
ทางการเงินของภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ชะลอตัวลง มากกว่าที่คาดไว้เกือบทุก
ประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจญี่ปุ่น มีผลให้การส่งออกของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นและอาเซียนรวมอินโดจีน
(สัดส่วนร้อยละ 33.0 ของมูลค่าส่งออกรวมปี 2540) ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ลดลงถึงร้อยละ 19
จากช่วงเดียวกันปีก่อน การส่งออกของประเทศคู่ค้า/คู่แข่งในภูมิภาค (ตารางที่ 2) มูลค่าการส่งออก
ของประเทศในภูมิภาคในไตรมาสแรกปี 2541 ส่วนใหญ่ลดลงเช่นเดียวกับไทย (อาทิ อินโดนีเซีย
สิงค์โปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน และฮ่องกง) และในส่วนของประเทศที่การส่งออกยังขยายตัว เช่น จีน
เกาหลี และฟิลิปปินส์ ก็ยังมีความเสี่ยงที่การส่งออกอาจจะซบเซาลงจากการที่ค่าเงินของประเทศคู่แข่ง
/คู้ค้าทั้งในและนอกภูมิภาคอ่อนลง ดังนั้น ความจำเป็นต่องเร่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในทุก ๆ
ด้านจึงเป็นประเด็นสำคัญ
ตารางที่ 2 : เปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
( %*จากระยะเดียวกันปีก่อน : ดอลลาร์ สรอ.)
ประเทศ 2540 2541
ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย.
ไทย 7.9 2.2 11.5 11.7 0.8 7.8 -7.9 3.2 -3.5 -2.0
มาเลเซีย 4.4 2.5 0.8 -2.2 -2.2 -10.1 -23.9 9.2 -13.2 n.a.
อินโดนีเซีย 12.7 9.0 8.7 12.0 5.0 5.6 -2.2 -4.0 n.a. n.a.
ฟิลิปปินส์ 22.0 27.3 24.6 23.5 24.8 18.4 25.0 22.9 23.6 n.a.
สิงคโปร์ 3.3 -0.5 7.4 -2.4 -4.0 -5.4 -22.7 9.3 -2.8 -13.5
ฮ่องกง 3.5 3.6 0.5 10.0 5.2 6.5 -4.2 -1.2 2.9 n.a.
จีน 25.0 13.4 23.4 17.1 22.8 4.7 8.5 24.4 10.8 7.9
เกาหลีใต้ 25.0 13.4 23.4 17.6 3.8 1.7 -0.2 20.1 6.5 6.6
ไต้หวัน 10.6 -6.6 5.5 -1.5 11.2 2.1 -26.4 12.0 -0.5 n.a.
ที่มา ข่าวของทางการแต่ละประเทศที่ประกาศใน Reuters
2. วิกฤตการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในสินค้าออกของไทย มูลค่าการ
ส่งออกของไทยในรูปดอลล่าร์ สรอ. ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ลดลงร้อยละ 2.7 จากระยะเดียวกัน
ปีก่อน โดยหมวดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 7.2 และ 4.1 ตามลำดับ ขณะที่การส่ง
ออกสินค้าประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ทั้งนี้การส่งออกที่ลดลงเป็นผลของการลดลงของราคาในรูปดอลลาร์
สรอ. ร้อยละ 15.9 ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลงและภาวะแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงขึ้น อย่างไร
ก็ตาม ปริมาณการส่งออกขยายตัวร้อยละ 5.7 ซึ่งสะท้อนถึงการตอบสนองของธุรกิจต่อแรงจูงใจของ
ราคาส่งออกในรูปบาทที่สูงขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
- มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงลดลงร้อยละ 12.2 โดยการส่ง
ออกของเล่น อุปกรณ์กีฬา เครื่องประดับและอัญมณีลดลงมาก ส่วนการส่งออกสิ่งทอเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสินค้า
อุตสาหกรรมหมวดที่ใช้วัตถุดิบในประเทศลดลงร้อยละ 9.9 โดยเฉพาะ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และ
น้ำตาล โดยการส่งออกน้ำตาลลดลงเพราะขาดเแคลนวัตถุดิบ ขณะที่การส่งออกอาหารทะเลกระป๋อง
และผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง
ยังคงขยายตัวร้อยละ 0.6
3. อุปสงค์ภายในประเทศหดตัวต่อเนื่อง
- การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ยังคงลดลง
- การลงทุนภาคเอกชนในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ลดลงรุนแรง การลงทุนโดยตรง
(Foreign Direct Investment - FDI) จากต่างประเทศสุทธิในรูปดอลลาร์ สรอ. ในช่วง 4
เดือนแรกของปีนี้ อยู่ในระดับ 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (91.7 พันล้านบาท) เทียบกับ 0.9 พัน
ล้านดอลลาร์ สรอ. (24.5 พันล้านบาท) ในช่วงเดียวกันปีก่อน
4. ภาคการผลิต
- ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ยังอยู่ในทิศทางขาลง โดยดัชนีผล
ผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 16.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้การปรับตัวในระดับจุลภาคยังมีหลาย
สาขาที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตเพื่อการส่งออก เช่น แผนวงจรไฟฟ้าชะลอลงและเครื่องใช้
ไฟฟ้าลดลง รวมทั้งมีแนวโน้มการส่งออกสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจสะท้อนการผลิตของอุตสาหกรรม
ปลายน้ำที่ลดลงทั้งนี้เป็นผลจากอุปสงค์ภายในประเทศที่หดตัวและปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน
ตลอดจนปัญหาอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าชะลอตัวลง
5. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1) เสถียรภาพต่างประเทศ
- ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้น ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541 เกินดุล 5.1
พันล้าน ดอลลาร์ สรอ. ตามดุลการค้าที่เกินดุล 3.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการเกินดุลต่อ
เนื่องจากเดือนกันยายน 2540 อันเป็นผลจากการลดลงของการนำเข้าเป็นสำคัญ ขณะที่ศักยภาพของ
การส่งออกในการผลักดันให้เศรษฐกิจ โดยรวมฟื้นตัวถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การ
เกินดุลการค้าในเดือนเมษายนปรับลดลง
- เงินทุนเคลื่อนย้ายยังคงเป็นการไหลออกสุทธิในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541
แต่เงินทุนไหลออกสุทธิของภาคเอกชนเริ่มชะลอตัวลง สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจของนักลงทุนในการ
แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้สามารถต่ออายุหนี้ต่างประเทศ (Roll-over) ได้เพิ่มขึ้น
- ค่าเงินบาทในช่วงต้นปี 2541 อ่อนตัวลงมากโดยมีค่าเฉลี่ย 53.71 บาท ต่อ
ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมกราคม จากการเร่งชำระหนี้ และเร่งซื้อประกันความเสี่ยงของภาคเอกชน
รวมทั้งการทำกำไรค่าเงินของนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทได้ปรับตัวแข็งขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม
และในเดือนพฤษภาคม ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 39.14 บาทต่อดอลลาร์
- ฐานะหนี้ต่างประเทศ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541 หนี้ภาคเอกชนมีแนว
โน้มลดลงต่อเนื่องโดยหนี้ระยะยาวมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ทางการมียอดหนี้เพิ่มขึ้นจากโครงการกู้เพื่อการ
ฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างหนี้ของประเทศไทยโดยรวมปรับไปสู่ทิศทางที่น่าพอใจ โดยสัด
ส่วนหนี้ระยะยาวต่อหนี้ระยะสั้นในเดือนเมษายนเท่ากับร้อยละ 71.1 ต่อ 28.9 เทียบกับสัดส่วนร้อยละ
67.4 ต่อ 32.6 ในเดือนธันวาคมปีก่อน
2) เสถียรภาพภายในประเทศ
- อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปี 2541 เร่งตัวขึ้นจากครึ่งหลังของปีก่อน
ตามราคาทั้งหมวดอาหาร และหมวดที่มิใช่อาหาร
- แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไป คาดว่าจะยังสูงขึ้นจนถึงช่วงกรกฎาคม -
สิงหาคมก่อนที่จะลดลง โดยทางการไทยและกองทุนการเงินระหว่างประเทศประมาณว่าจะลดลงไปอยู่
ในระดับร้อยละ 10 ในเดือนธันวาคมทำให้ทั้งปีเงินเฟ้อเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 10.5 ซึ่งจัดว่าค่อนข้างต่ำ
เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่ประสบวิกฤตการณ์ค่าเงินในระดับใกล้เคียงกันและพัฒนาการเดือนต่อเดือน
พบว่ามีความเสี่ยงน้อยที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าเป้าหมายหากค่าเงินบาทยังคงมีเสถียรภาพต่อไป
6. ฐานะการคลัง
- แม้ฐานะการคลังรัฐบาลในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณขาดดุลเงินสด 18,661
ล้านบาท แต่เกินดุลตลอดช่วง 4 เดือนหลัง จากการที่รายได้โดยเฉพาะภาษีนิติบุคคลไม่ลดลงมากเท่าที่
คาดไว้กอปรกับมีการนำส่งกำไรของรัฐวิสาหกิจส่วนหนึ่ง โดยรัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 491,232 ล้าน
บาท ในขณะเดียวกันการใช้จ่ายก็ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยลดลงร้อยละ 5.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในระยะเดียวกันในปีงบประมาณก่อน
7. ภาวะสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงิน
- สภาพคล่องในตลาดเงินช่วง 5 เดือนแรกของปียังคงตึงตัว แต่มีแนวโน้มดีขึ้นในระ
ยะหลัง ทำให้ทางการสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (R/P) ลง ได้ระดับหนึ่งเนื่อง
จากสถานการณ์ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อพันธบัตร (R/P) ประเภท
อายุ 1 วัน ได้ลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 17.5 เมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคมและร้อยละ 15.6 ต่อปี ณ สิ้น
เดือนมิถุนายน เทียบกับร้อยละ 19.75 เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม และร้อยละ 20.5 เมื่อสิ้นเดือนมกราคม
- แม้ว่าสภาพคล่องในตลาดเงินจะคลายความตึงตัวลง แต่ภาคธุรกิจเอกชนยังคงประ
สบปัญหาขาดสภาพคล่องค่อนข้างรุนแรง โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541 เม็ดเงินจากแหล่งต่างๆ
ที่เป็นเงินทุนให้แก่ภาคเอกชนมีปริมาณเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ทั้งในส่วนของการเพิ่มทุน การออกตราสาร
หนี้ และการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะยังมีเงินทุนไหลออกจากภาคเอกชนที่ไม่ใช่
ธนาคารอีกด้วย
8. สรุปปัญหาสำคัญที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัว
ปัจจัยภายนอก
(1) ภาวะเศรษฐกิจโลกขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การ
เงินในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และต้นทุนการกู้ยืมเงินของธุรกิจไทย
(2) อุปสงค์ของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาค และ
การแข่งขันที่รุนแรงในตลาดโลก จากประเทศที่ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ความสามารถ
ของการส่งออกที่จะผลักดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมยังมีความเสี่ยง
ปัจจัยภายใน ภาคธุรกิจประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่สถาบัน
การเงินเพิ่มความระมัดระวังในการให้กู้ยืม เนื่องจากข้อจำกัดด้านแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ การต้อง
เพิ่มทุนและปฏิบัติตามเกณฑ์ด้านความมั่นคงของสถาบันการเงินและข้อจำกัดด้านลูกหนี้ รวมทั้งสถาบันการ
เงินไทยยังขาดความชำนาญและบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 กรกฎาคม 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรก
2541 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่ง-
ประเทศไทย (ธปท.) ได้รวบรวมเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรก 2541 และประเมินสถาน
การณ์เศรษฐกิจไทย โดยสรุปดังนี้
1. สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกของปี 2541 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ในรอบ 1 ปี หลังจากเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว เมื่อวันที่ 2
กรกฎาคม 2540 เศรษฐกิจไทยประสบกับความผันผวนของเงินบาทที่อ่อนตัวลงจนถึงต้นปี 2541 อัตรา
เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นและการไหลออกสุทธิของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศสร้างความตึงตัวในระบบ
การเงินของประเทศจนเป็นอุปสรรคต่อการผลิตและการส่งออก อย่างไรก็ตาม มีเครื่องชี้เสถียรภาพ
เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งลดลงอย่างรวดเร็ว
- ค่าเงินบาทเริ่มมีความมั่นคงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2541 แต่สภาพคล่องที่ตึงตัว
อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างกระทันหันในปี 2540 ส่งผลต่อเนื่อง
ให้การบริโภค การผลิตและการลงทุนในประเทศหดตัว ในขณะที่การว่างงานเพิ่มขึ้น แสดงถึงผลกระทบ
ของปัญหาระบบการเงินต่อภาคเศรษฐกิจจริงที่รุนแรง
- ในครึ่งหลังของปี 2541 ความเสี่ยงของความผันผวนของค่าเงินเยน และดอลลาร์
สหรัฐ ซึ่งอาจกระทบค่าเงินบาทยังคงมีอยู่ นอกจากนั้นเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ชะลอตัวยังคงเป็นข้อจำกัด
ด้านตลาดส่งออก ดังนั้น จึงต้องเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ต่างประเทศโดยแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง
และใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2542
2. สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกของปี 2541 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย
1. ภาพรวมเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจโลกชะลอตัวกว่าที่คาดไว้เดิม กองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ(IMF) ได้ประมาณการเศรษฐกิจโลกครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 ว่าจะขยาย
ตัวร้อยละ 3.1 ชะลอตัวกว่าที่คาดไว้เดิม (ณ ธันวาคม 2540) ที่ร้อยละ 3.5 เนื่องจากภาวะวิกฤต
ทางการเงินของภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ชะลอตัวลง มากกว่าที่คาดไว้เกือบทุก
ประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจญี่ปุ่น มีผลให้การส่งออกของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นและอาเซียนรวมอินโดจีน
(สัดส่วนร้อยละ 33.0 ของมูลค่าส่งออกรวมปี 2540) ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ลดลงถึงร้อยละ 19
จากช่วงเดียวกันปีก่อน การส่งออกของประเทศคู่ค้า/คู่แข่งในภูมิภาค (ตารางที่ 2) มูลค่าการส่งออก
ของประเทศในภูมิภาคในไตรมาสแรกปี 2541 ส่วนใหญ่ลดลงเช่นเดียวกับไทย (อาทิ อินโดนีเซีย
สิงค์โปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน และฮ่องกง) และในส่วนของประเทศที่การส่งออกยังขยายตัว เช่น จีน
เกาหลี และฟิลิปปินส์ ก็ยังมีความเสี่ยงที่การส่งออกอาจจะซบเซาลงจากการที่ค่าเงินของประเทศคู่แข่ง
/คู้ค้าทั้งในและนอกภูมิภาคอ่อนลง ดังนั้น ความจำเป็นต่องเร่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในทุก ๆ
ด้านจึงเป็นประเด็นสำคัญ
ตารางที่ 2 : เปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
( %*จากระยะเดียวกันปีก่อน : ดอลลาร์ สรอ.)
ประเทศ 2540 2541
ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย.
ไทย 7.9 2.2 11.5 11.7 0.8 7.8 -7.9 3.2 -3.5 -2.0
มาเลเซีย 4.4 2.5 0.8 -2.2 -2.2 -10.1 -23.9 9.2 -13.2 n.a.
อินโดนีเซีย 12.7 9.0 8.7 12.0 5.0 5.6 -2.2 -4.0 n.a. n.a.
ฟิลิปปินส์ 22.0 27.3 24.6 23.5 24.8 18.4 25.0 22.9 23.6 n.a.
สิงคโปร์ 3.3 -0.5 7.4 -2.4 -4.0 -5.4 -22.7 9.3 -2.8 -13.5
ฮ่องกง 3.5 3.6 0.5 10.0 5.2 6.5 -4.2 -1.2 2.9 n.a.
จีน 25.0 13.4 23.4 17.1 22.8 4.7 8.5 24.4 10.8 7.9
เกาหลีใต้ 25.0 13.4 23.4 17.6 3.8 1.7 -0.2 20.1 6.5 6.6
ไต้หวัน 10.6 -6.6 5.5 -1.5 11.2 2.1 -26.4 12.0 -0.5 n.a.
ที่มา ข่าวของทางการแต่ละประเทศที่ประกาศใน Reuters
2. วิกฤตการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในสินค้าออกของไทย มูลค่าการ
ส่งออกของไทยในรูปดอลล่าร์ สรอ. ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ลดลงร้อยละ 2.7 จากระยะเดียวกัน
ปีก่อน โดยหมวดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 7.2 และ 4.1 ตามลำดับ ขณะที่การส่ง
ออกสินค้าประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ทั้งนี้การส่งออกที่ลดลงเป็นผลของการลดลงของราคาในรูปดอลลาร์
สรอ. ร้อยละ 15.9 ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลงและภาวะแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงขึ้น อย่างไร
ก็ตาม ปริมาณการส่งออกขยายตัวร้อยละ 5.7 ซึ่งสะท้อนถึงการตอบสนองของธุรกิจต่อแรงจูงใจของ
ราคาส่งออกในรูปบาทที่สูงขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
- มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงลดลงร้อยละ 12.2 โดยการส่ง
ออกของเล่น อุปกรณ์กีฬา เครื่องประดับและอัญมณีลดลงมาก ส่วนการส่งออกสิ่งทอเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสินค้า
อุตสาหกรรมหมวดที่ใช้วัตถุดิบในประเทศลดลงร้อยละ 9.9 โดยเฉพาะ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และ
น้ำตาล โดยการส่งออกน้ำตาลลดลงเพราะขาดเแคลนวัตถุดิบ ขณะที่การส่งออกอาหารทะเลกระป๋อง
และผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง
ยังคงขยายตัวร้อยละ 0.6
3. อุปสงค์ภายในประเทศหดตัวต่อเนื่อง
- การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ยังคงลดลง
- การลงทุนภาคเอกชนในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ลดลงรุนแรง การลงทุนโดยตรง
(Foreign Direct Investment - FDI) จากต่างประเทศสุทธิในรูปดอลลาร์ สรอ. ในช่วง 4
เดือนแรกของปีนี้ อยู่ในระดับ 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (91.7 พันล้านบาท) เทียบกับ 0.9 พัน
ล้านดอลลาร์ สรอ. (24.5 พันล้านบาท) ในช่วงเดียวกันปีก่อน
4. ภาคการผลิต
- ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ยังอยู่ในทิศทางขาลง โดยดัชนีผล
ผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 16.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้การปรับตัวในระดับจุลภาคยังมีหลาย
สาขาที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตเพื่อการส่งออก เช่น แผนวงจรไฟฟ้าชะลอลงและเครื่องใช้
ไฟฟ้าลดลง รวมทั้งมีแนวโน้มการส่งออกสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจสะท้อนการผลิตของอุตสาหกรรม
ปลายน้ำที่ลดลงทั้งนี้เป็นผลจากอุปสงค์ภายในประเทศที่หดตัวและปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน
ตลอดจนปัญหาอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าชะลอตัวลง
5. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1) เสถียรภาพต่างประเทศ
- ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้น ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541 เกินดุล 5.1
พันล้าน ดอลลาร์ สรอ. ตามดุลการค้าที่เกินดุล 3.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการเกินดุลต่อ
เนื่องจากเดือนกันยายน 2540 อันเป็นผลจากการลดลงของการนำเข้าเป็นสำคัญ ขณะที่ศักยภาพของ
การส่งออกในการผลักดันให้เศรษฐกิจ โดยรวมฟื้นตัวถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การ
เกินดุลการค้าในเดือนเมษายนปรับลดลง
- เงินทุนเคลื่อนย้ายยังคงเป็นการไหลออกสุทธิในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541
แต่เงินทุนไหลออกสุทธิของภาคเอกชนเริ่มชะลอตัวลง สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจของนักลงทุนในการ
แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้สามารถต่ออายุหนี้ต่างประเทศ (Roll-over) ได้เพิ่มขึ้น
- ค่าเงินบาทในช่วงต้นปี 2541 อ่อนตัวลงมากโดยมีค่าเฉลี่ย 53.71 บาท ต่อ
ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมกราคม จากการเร่งชำระหนี้ และเร่งซื้อประกันความเสี่ยงของภาคเอกชน
รวมทั้งการทำกำไรค่าเงินของนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทได้ปรับตัวแข็งขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม
และในเดือนพฤษภาคม ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 39.14 บาทต่อดอลลาร์
- ฐานะหนี้ต่างประเทศ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541 หนี้ภาคเอกชนมีแนว
โน้มลดลงต่อเนื่องโดยหนี้ระยะยาวมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ทางการมียอดหนี้เพิ่มขึ้นจากโครงการกู้เพื่อการ
ฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างหนี้ของประเทศไทยโดยรวมปรับไปสู่ทิศทางที่น่าพอใจ โดยสัด
ส่วนหนี้ระยะยาวต่อหนี้ระยะสั้นในเดือนเมษายนเท่ากับร้อยละ 71.1 ต่อ 28.9 เทียบกับสัดส่วนร้อยละ
67.4 ต่อ 32.6 ในเดือนธันวาคมปีก่อน
2) เสถียรภาพภายในประเทศ
- อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปี 2541 เร่งตัวขึ้นจากครึ่งหลังของปีก่อน
ตามราคาทั้งหมวดอาหาร และหมวดที่มิใช่อาหาร
- แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไป คาดว่าจะยังสูงขึ้นจนถึงช่วงกรกฎาคม -
สิงหาคมก่อนที่จะลดลง โดยทางการไทยและกองทุนการเงินระหว่างประเทศประมาณว่าจะลดลงไปอยู่
ในระดับร้อยละ 10 ในเดือนธันวาคมทำให้ทั้งปีเงินเฟ้อเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 10.5 ซึ่งจัดว่าค่อนข้างต่ำ
เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่ประสบวิกฤตการณ์ค่าเงินในระดับใกล้เคียงกันและพัฒนาการเดือนต่อเดือน
พบว่ามีความเสี่ยงน้อยที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าเป้าหมายหากค่าเงินบาทยังคงมีเสถียรภาพต่อไป
6. ฐานะการคลัง
- แม้ฐานะการคลังรัฐบาลในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณขาดดุลเงินสด 18,661
ล้านบาท แต่เกินดุลตลอดช่วง 4 เดือนหลัง จากการที่รายได้โดยเฉพาะภาษีนิติบุคคลไม่ลดลงมากเท่าที่
คาดไว้กอปรกับมีการนำส่งกำไรของรัฐวิสาหกิจส่วนหนึ่ง โดยรัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 491,232 ล้าน
บาท ในขณะเดียวกันการใช้จ่ายก็ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยลดลงร้อยละ 5.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในระยะเดียวกันในปีงบประมาณก่อน
7. ภาวะสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงิน
- สภาพคล่องในตลาดเงินช่วง 5 เดือนแรกของปียังคงตึงตัว แต่มีแนวโน้มดีขึ้นในระ
ยะหลัง ทำให้ทางการสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (R/P) ลง ได้ระดับหนึ่งเนื่อง
จากสถานการณ์ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อพันธบัตร (R/P) ประเภท
อายุ 1 วัน ได้ลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 17.5 เมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคมและร้อยละ 15.6 ต่อปี ณ สิ้น
เดือนมิถุนายน เทียบกับร้อยละ 19.75 เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม และร้อยละ 20.5 เมื่อสิ้นเดือนมกราคม
- แม้ว่าสภาพคล่องในตลาดเงินจะคลายความตึงตัวลง แต่ภาคธุรกิจเอกชนยังคงประ
สบปัญหาขาดสภาพคล่องค่อนข้างรุนแรง โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2541 เม็ดเงินจากแหล่งต่างๆ
ที่เป็นเงินทุนให้แก่ภาคเอกชนมีปริมาณเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ทั้งในส่วนของการเพิ่มทุน การออกตราสาร
หนี้ และการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะยังมีเงินทุนไหลออกจากภาคเอกชนที่ไม่ใช่
ธนาคารอีกด้วย
8. สรุปปัญหาสำคัญที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัว
ปัจจัยภายนอก
(1) ภาวะเศรษฐกิจโลกขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การ
เงินในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และต้นทุนการกู้ยืมเงินของธุรกิจไทย
(2) อุปสงค์ของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาค และ
การแข่งขันที่รุนแรงในตลาดโลก จากประเทศที่ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ความสามารถ
ของการส่งออกที่จะผลักดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมยังมีความเสี่ยง
ปัจจัยภายใน ภาคธุรกิจประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่สถาบัน
การเงินเพิ่มความระมัดระวังในการให้กู้ยืม เนื่องจากข้อจำกัดด้านแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ การต้อง
เพิ่มทุนและปฏิบัติตามเกณฑ์ด้านความมั่นคงของสถาบันการเงินและข้อจำกัดด้านลูกหนี้ รวมทั้งสถาบันการ
เงินไทยยังขาดความชำนาญและบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 กรกฎาคม 2541--