ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการค้าไทย - สหรัฐฯตามที่คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้มาตรา 301 สหรัฐฯ ได้ประกาศถอนประเทศไทยออกจากบัญชี รายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด (Priority Watch List : PWL) มาอยู่ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List : WL) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ซึ่งจะมีผลให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการถูกตอบโต้ทางการค้าหากคงสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเช่นนี้ต่อไป
2. เรื่องสิทธิพิเศษ GSP
2.1 การขอคืนสิทธิพิเศษ GSP จำนวน 16 รายการ สหรัฐฯ ได้รับว่าจะพิจารณาทบทวนคืนสิทธิพิเศษ GSP จำนวน 16 รายการให้แก่ไทย หลังจากที่ไทยขอคืนสิทธิอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2537 ซึ่งสหรัฐฯ ได้เพิกถอน GSP ไปเมื่อ 19 มกราคม 2532 โดยอ้างว่าไทยไม่ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
2.2 เรื่องสิทธิแรงงานภายใต้โครงการสิทธิพิเศษ GSP ตามที่สหรัฐฯ ได้สอบสวนไทยตามข้อเรียกร้องของสหพันธ์แรงงานสหรัฐฯ และสภาองค์การอุตสาหกรรม (AFL-CIO) ได้เพิกถอนสิทธิพิเศษ GSP ที่ให้กับไทย โดยอ้างว่าประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 54 และพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 จำกัดสิทธิแรงงานไทยอย่างร้ายแรงหลายประการ แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศเลื่อนผลการสอบสวนออกไปโดยไม่มีกำหนด เพื่อให้โอกาสแก่ประเทศไทยในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ในการนี้ ประธานคณะกรรมการนโยบาย-เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้มีหนังสือถึงนายแคนเตอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) แจ้งความคืบหน้าการแก้ไขพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ว่าสภาผู้แทนราษฎรได้รับหลักการในวาระที่ 1 แล้ว เมื่อวันที่ 18กันยายน 2537 แต่สหรัฐฯ ยังไม่ได้สรุปผลการพิจารณาดังกล่าว
3.การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยสหรัฐฯ คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2537 โดยมี นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการและมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักวิชาการเป็นอนุกรรมการ ทำหน้าที่พิจารณาศึกษาแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหรัฐฯ และพิจารณาทบทวนสนธิสัญญาทางไมตรีฯ ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ฉบับ พ.ศ. 2509 ในขณะนี้กำลังพิจารณาท่าทีของไทยในปัญหาเรื่องการเปิดสาขาของบริษัทไพศาลประกันภัย จำกัด โดยได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความประเด็นกฎหมายในเรื่องนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--31 มกราคม 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการค้าไทย - สหรัฐฯตามที่คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้มาตรา 301 สหรัฐฯ ได้ประกาศถอนประเทศไทยออกจากบัญชี รายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด (Priority Watch List : PWL) มาอยู่ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List : WL) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ซึ่งจะมีผลให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการถูกตอบโต้ทางการค้าหากคงสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเช่นนี้ต่อไป
2. เรื่องสิทธิพิเศษ GSP
2.1 การขอคืนสิทธิพิเศษ GSP จำนวน 16 รายการ สหรัฐฯ ได้รับว่าจะพิจารณาทบทวนคืนสิทธิพิเศษ GSP จำนวน 16 รายการให้แก่ไทย หลังจากที่ไทยขอคืนสิทธิอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2537 ซึ่งสหรัฐฯ ได้เพิกถอน GSP ไปเมื่อ 19 มกราคม 2532 โดยอ้างว่าไทยไม่ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
2.2 เรื่องสิทธิแรงงานภายใต้โครงการสิทธิพิเศษ GSP ตามที่สหรัฐฯ ได้สอบสวนไทยตามข้อเรียกร้องของสหพันธ์แรงงานสหรัฐฯ และสภาองค์การอุตสาหกรรม (AFL-CIO) ได้เพิกถอนสิทธิพิเศษ GSP ที่ให้กับไทย โดยอ้างว่าประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 54 และพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 จำกัดสิทธิแรงงานไทยอย่างร้ายแรงหลายประการ แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศเลื่อนผลการสอบสวนออกไปโดยไม่มีกำหนด เพื่อให้โอกาสแก่ประเทศไทยในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ในการนี้ ประธานคณะกรรมการนโยบาย-เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้มีหนังสือถึงนายแคนเตอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) แจ้งความคืบหน้าการแก้ไขพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ว่าสภาผู้แทนราษฎรได้รับหลักการในวาระที่ 1 แล้ว เมื่อวันที่ 18กันยายน 2537 แต่สหรัฐฯ ยังไม่ได้สรุปผลการพิจารณาดังกล่าว
3.การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยสหรัฐฯ คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2537 โดยมี นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการและมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักวิชาการเป็นอนุกรรมการ ทำหน้าที่พิจารณาศึกษาแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหรัฐฯ และพิจารณาทบทวนสนธิสัญญาทางไมตรีฯ ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ฉบับ พ.ศ. 2509 ในขณะนี้กำลังพิจารณาท่าทีของไทยในปัญหาเรื่องการเปิดสาขาของบริษัทไพศาลประกันภัย จำกัด โดยได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความประเด็นกฎหมายในเรื่องนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--31 มกราคม 2538--