ทำเนียบรัฐบาล--24 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เรื่อง แผนปฏิบัติการของทบวงมหาวิทยาลัยในการปรับเปลี่ยนให้มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล (ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2541-กรกฎาคม 2542) ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ ดังนี้
1. นโยบายรัฐบาล
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ดังนี้
1.1 เห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติงานของทบวงมหาวิทยาลัยในการปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล โดยส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการดังกล่าวนั้น มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐจะดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จนถึงขั้นเสนอร่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล จำนวน 20 แห่ง ภายในปี 2542 - 2545
1.2 รับทราบเงื่อนไขที่ทบวงมหาวิทยาลัยขอให้รัฐบาลสนับสนุนในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการของทบวงมหาวิทยาลัย ได้แก่
1) การสนับสนุนด้านงบประมาณ
2) การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
3) รัฐบาลควรสร้างความเข้าใจกับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อให้การพิจารณาพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลเป็นไปอย่างราบรื่น และเสร็จทันภายในกำหนด
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้ขอให้ทบวงมหาวิทยาลัยรับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
2. ผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค
2.1 ผลการดำเนินงาน
1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้ปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล เมื่อเดือนมีนาคม 2541 ภายในกำหนดเวลาตามนโยบายรัฐบาลที่กำหนดไว้ให้ปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลอย่างน้อย 1 แห่ง ภายในเดือนธันวาคม 2541
2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล เมื่อเดือนกรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นไปตามแผนปฏิบัติการของทบวงมหาวิทยาลัย
3) มหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ พยายามดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ด้วยการจัดประชุมสัมมนา ระดมความคิด ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงานภายในให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเร่งรัดแก้ไขพระราชบัญญัติเพื่อเสนอรัฐบาลให้ทันตามแผนปฏิบัติการ
4) ออกระเบียบทบวงมหาวิทยาลัยว่าด้วยการโอนเงินประจำงวดของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ไม่ใช่หมวดเงินเดือนได้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 ในระหว่างที่ยังไม่ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกับกับรัฐบาล (ดำเนินการตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541)
5) พัฒนาระบบการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล ในรูปแบบเงินอุดหนุนทั่วไป (Block Grant) โดยใช้ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล พัฒนาวิธีการจัดสรรงบประมาณในส่วนงบลงทุนละงบวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งพัฒนาระบบการติดตามประเมินผล โดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จในปี 2542
2.2 ปัญหาอุปสรรค
1) บุคลากรจำนวนหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ยังไม่เข้าใจหลักการของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลอย่างชัดเจน และไม่มีความมั่นใจในเรื่องความเป็นธรรมของระบบบริหารงานบุคคลใหม่
2) มหาวิทยาลัยของรัฐยังไม่มั่นใจในการสนับสนุนเชิงนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งยังไม่มีกลไกหรือมาตรการที่ชัดเจนในการสร้างแรงจูงใจให้ปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล
3) ยังมีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลว่าจะให้มีระบบคู่ขนานหรือไม่เพียงใด รวมทั้งกรณีการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และการคงสมาชิกภาพในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
3. ประเด็นเชิงนโยบายที่ต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาล
3.1 รัฐบาลต้องยืนยันนโยบายที่จะสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยของรัฐปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล ภายในปี 2545 โดยการสนับสนุนการแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล ทั้งเรื่อง กบข. และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.2 รัฐบาลต้องการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการสนับสนุนงบประมาณหมวดเงินเดือนและสวัสดิการให้เพิ่มขึ้นเท่าใด แล้วให้อิสระแก่มหาวิทยาลัยในการกำหนดบัญชีเงินเดือนและสวัสดิการให้แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยที่ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล เพื่อเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาไปสู่เป้าหมายตามนโยบายรัฐบาลโดยเร็ว
3.3 รัฐบาลควรเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเร่งรัดพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. …. ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 สิงหาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เรื่อง แผนปฏิบัติการของทบวงมหาวิทยาลัยในการปรับเปลี่ยนให้มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล (ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2541-กรกฎาคม 2542) ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ ดังนี้
1. นโยบายรัฐบาล
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ดังนี้
1.1 เห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติงานของทบวงมหาวิทยาลัยในการปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล โดยส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการดังกล่าวนั้น มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐจะดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จนถึงขั้นเสนอร่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล จำนวน 20 แห่ง ภายในปี 2542 - 2545
1.2 รับทราบเงื่อนไขที่ทบวงมหาวิทยาลัยขอให้รัฐบาลสนับสนุนในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการของทบวงมหาวิทยาลัย ได้แก่
1) การสนับสนุนด้านงบประมาณ
2) การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
3) รัฐบาลควรสร้างความเข้าใจกับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อให้การพิจารณาพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลเป็นไปอย่างราบรื่น และเสร็จทันภายในกำหนด
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้ขอให้ทบวงมหาวิทยาลัยรับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
2. ผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค
2.1 ผลการดำเนินงาน
1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้ปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล เมื่อเดือนมีนาคม 2541 ภายในกำหนดเวลาตามนโยบายรัฐบาลที่กำหนดไว้ให้ปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลอย่างน้อย 1 แห่ง ภายในเดือนธันวาคม 2541
2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล เมื่อเดือนกรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นไปตามแผนปฏิบัติการของทบวงมหาวิทยาลัย
3) มหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ พยายามดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ด้วยการจัดประชุมสัมมนา ระดมความคิด ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงานภายในให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเร่งรัดแก้ไขพระราชบัญญัติเพื่อเสนอรัฐบาลให้ทันตามแผนปฏิบัติการ
4) ออกระเบียบทบวงมหาวิทยาลัยว่าด้วยการโอนเงินประจำงวดของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ไม่ใช่หมวดเงินเดือนได้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 ในระหว่างที่ยังไม่ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกับกับรัฐบาล (ดำเนินการตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541)
5) พัฒนาระบบการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล ในรูปแบบเงินอุดหนุนทั่วไป (Block Grant) โดยใช้ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล พัฒนาวิธีการจัดสรรงบประมาณในส่วนงบลงทุนละงบวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งพัฒนาระบบการติดตามประเมินผล โดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จในปี 2542
2.2 ปัญหาอุปสรรค
1) บุคลากรจำนวนหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ยังไม่เข้าใจหลักการของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลอย่างชัดเจน และไม่มีความมั่นใจในเรื่องความเป็นธรรมของระบบบริหารงานบุคคลใหม่
2) มหาวิทยาลัยของรัฐยังไม่มั่นใจในการสนับสนุนเชิงนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งยังไม่มีกลไกหรือมาตรการที่ชัดเจนในการสร้างแรงจูงใจให้ปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล
3) ยังมีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลว่าจะให้มีระบบคู่ขนานหรือไม่เพียงใด รวมทั้งกรณีการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และการคงสมาชิกภาพในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
3. ประเด็นเชิงนโยบายที่ต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาล
3.1 รัฐบาลต้องยืนยันนโยบายที่จะสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยของรัฐปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล ภายในปี 2545 โดยการสนับสนุนการแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล ทั้งเรื่อง กบข. และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.2 รัฐบาลต้องการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการสนับสนุนงบประมาณหมวดเงินเดือนและสวัสดิการให้เพิ่มขึ้นเท่าใด แล้วให้อิสระแก่มหาวิทยาลัยในการกำหนดบัญชีเงินเดือนและสวัสดิการให้แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยที่ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล เพื่อเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาไปสู่เป้าหมายตามนโยบายรัฐบาลโดยเร็ว
3.3 รัฐบาลควรเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเร่งรัดพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. …. ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 สิงหาคม 2542--