ทำเนียบรัฐบาล--16 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวง แรงงาน และสวัสดิการสังคมเสนอ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการยกเลิกกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 105 และประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับดังกล่าว และนำสาระสำคัญของประกาศของคณะปฏิวัติและประกาศกระทรวงมหาดไทยในส่วนที่ สมควรใช้บังคับต่อไป มากำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติ และกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ใน การคุ้มครองแรงงานไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการยอมรับกฎหมาย และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมใน การคุ้มครองแรงงานยิ่งขึ้น
สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้คือ
1. การใช้แรงงานทั่วไป
1.1 เวลาทำงานปกติ ทุกประเภทงานไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ กำหนดเวลาทำ งานปกติต่อวันของแต่ละประเภทงานให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับ มาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และการกำหนดชั่วโมงทำงานต่อวัน เพื่อให้เหมาะสมตาม ประเภทงานที่ทำ
1.2 การจัดที่นั่งทำงานให้ลูกจ้าง เพิ่มหลักการให้นายจ้างจัดที่นั่งทำงานให้แก่ลูกจ้างในงาน ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (เช่น งานขายของหน้าร้าน งานทอผ้า) ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัย ของลูกจ้าง
1.3 การทำงานล่วงเวลาในวันทำงานหรือการทำงานในวันหยุด ให้
1) การทำงานล่วงเวลาในวันทำงานไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง และห้ามทำติดต่อกันเกิน 5 วัน
2) การทำงานในวันหยุดไม่เกินวันละ 12 ชั่วโมง
3) ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง เว้นแต่งานต้องทำติดต่อกันไป งานฉุกเฉินและกิจการ ที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคตาม 1) และ 2) ข้างต้น นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา และหรือ ในวันหยุดได้เลย แต่ชั่วโมงทำงานต้องไม่เกินที่กล่าวในข้อ 1) และ 2) ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพ อนามัยของลูกจ้างมิให้ต้องตรากตรำเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานติดต่อยาวนานเกินไป
1.4 เวลาพัก ให้นายจ้างจัดเวลาพักให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมงหลังจากทำงาน แล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง และเพิ่มหลักการให้ตกลงกำหนดเวลาพักเป็นอย่างอื่นได้ถ้าเป็นประโยชน์แก่ ลูกจ้าง และถ้ามีการทำงานล่วงเวลา ต้องให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 20 นาที ก่อนเริ่มทำงานล่วง เวลา ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง และการกำหนดในเชิงยืดหยุ่นในทางที่เป็นคุณแก่ ลูกจ้าง
1.5 วันลา ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยไม่เกินปีละ 30 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง วันลาเพื่อ รับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาหทารหรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมซึ่งเป็นไป ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร โดยกำหนดให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างไม่เกินปีละ 60 วัน วันลา คลอดได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน และได้เพิ่มสิทธิลาเพื่อทำหมันตามกำ หนดระยะเวลาที่แพทย์กำหนด และวันลากิจไม่เกินปีละ 3 วันทำงาน
2. การใช้แรงงานหญิง กำหนดสถานที่ที่ห้ามหญิงทำงาน และเพิ่มหลักการเพื่อให้ความคุ้ม ครองลูกจ้างหญิงมีครรภ์เป็นพิเศษ เช่น กำหนดงานที่ห้ามให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำ การเปลี่ยนงานที่ เหมาะสมให้เป็นการชั่วคราว ถ้าลูกจ้างหญิงซึ่งมีครรภ์ไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้ และข้อห้ามเลิก จ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ ทั้งนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองที่เหมาะสมต่อสภาพทางเพศ วัย และกายภาพ ของหญิง
3. การใช้แรงงานเด็ก
3.1 การรับเด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 15 ปีเป็นลูกจ้าง กำหนดงานเบาที่ ใช้เด็กในวัยดังกล่าวทำได้ไว้ในกฎกระทรวง
3.2 ชั่วโมงการทำงานของลูกจ้างเด็ก ไม่เกิน 6 ชั่วโมง/วัน และไม่เกิน 36 ชั่วโมง/ สัปดาห์ สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 13 ปีแต่ยังไม่ถึง 15 ปี โดยให้เด็กทำงานได้เฉพาะในระหว่างเวลา 08.00 - 17.00 น. ถ้าให้ทำในเวลาอื่นต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี
3.3 เวลาพักของลูกจ้างเด็ก ให้จัดเวลาพักไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง หลังจากลูกจ้าง เด็กได้ทำงานมาแล้วไม่เกิน 3 ชั่วโมงติดต่อกัน ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของลูกจ้างเด็ก
4. ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด การจ่ายเงินช่วยเหลือการครองชีพของลูกจ้างขณะนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว ถ้านายจ้างหยุด กิจการชั่วคราว (มิใช่เลิกกิจการ) โดยเหตุซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้ไม่น้อยกว่า 50% ของค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างมิให้ต้องขาดรายได้เพื่อใช้ใน การดำรงชีพในช่วงที่ต้องหยุดงาน
5. การหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดเพื่อชำระหนี้สิน กำหนดกรณีที่ นายจ้างสามารถหักเงินดังกล่าวได้ เช่น หักเพื่อชำระภาษีเงินได้ หรือเงินอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้ ชำ ระเงินค่าบำรุงสหภาพแรงงาน การชำระหนี้สวัสดิการ เพื่อเป็นเงินประกันและเพื่อเป็นเงินสะสม นอกจากที่กำหนดไว้จะนำมาหักหนี้ไม่ได้ และได้กำหนดวงเงินที่จะหักได้ไว้ด้วย ยกเว้น ภาษีเงินได้ หรือ เงินอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้ โดยแต่ละกรณีหักได้ไม่เกิน 10% และรวมทุกกรณีไม่เกิน1 ใน 5 ของเงิน ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับในแต่ละงวดการจ่าย
6. สวัสดิการ กำหนดให้นายจ้างจัดเฉพาะปัจจัยพื้นฐาน เช่น น้ำดื่ม ห้องน้ำ ห้องส้วม ปัจจัยปฐมพยาบาล และให้จัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น จัดที่พักชั่วคราวให้แก่ลูกจ้างซึ่งรอเข้าทำงานกะ หรืองานที่ทำในเวลากลางวัน สถานที่รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การให้บริการรับเลี้ยงดูบุตร สถานที่สำหรับผลัดเปลี่ยนชุดทำงาน การกำหนดมาตรฐานหอพักที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง และการจัดตั้ง คณะกรรมการสวัสดิการขึ้นในสถานประกอบการ
7. ความปลอดภัยในการทำงาน เพิ่มหลักการให้พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจสั่งให้ นายจ้างปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน จัดทำหรือแก้ไขเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ให้ถูกต้องตาม มาตรฐานที่กำหนด และสั่งให้ลูกจ้างหยุดทำงานในสภาพที่ไม่ปลอดภัย และกำหนดให้นายจ้างจ่ายเงิน แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานขณะที่หยุดงาน
8. การสั่งพักงานเพื่อสอบสวนความผิด ให้นายจ้างแจ้งเป็นหนังสือระบุความผิดและกำหนด เวลาพักงานให้ลูกจ้างทราบ ถ้าพักงานเกิน 15 วัน ให้นายจ้างจ่ายเงินไม่น้อยกว่า 50% ของค่าจ้างนับ แต่วันที่ 16 เป็นต้นไป และถ้าผลการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างไม่ผิด ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเต็มจำ นวนย้อนหลังตั้งแต่วันที่ถูกสั่งพักงานจนถึงวันที่ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน
9. ค่าชดเชย เพิ่มข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก 2 กรณีคือ
9.1 ลูกจ้างซึ่งเข้าทำงานในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับและออกจากงานเพราะเกษียณ อายุ ซึ่งนายจ้างจ่ายเงินบำเหน็จหรือบำนาญหรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (เงินที่นายจ้างให้ฝ่ายเดียว ไม่รวมถึงเงินสะสม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบด้วย) ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า ค่าชดเชยหรือน้อยกว่าแต่นายจ้างได้จ่ายเงินเพิ่มจนเท่าจำนวนค่าชดเชยแล้ว แต่ไม่กระทบถึงลูกจ้างที่ เข้าทำงานก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงมีสิทธิได้รับทั้งค่าชดเชย และเงินบำเหน็จบำนาญต่อไป แม้จะออกจากงานในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้วก็ตาม
9.2 ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามกฎหมายว่าด้วยการประกัน สังคม
10. กองทุนสงเคราะห์ เพิ่มหลักการจัดตั้งกองทุน เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่เดือดร้อนจาก การที่นายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างหรือค่าชดเชย และไม่สามารถติดตามเอาจากนายจ้างได้ เช่น ล้มละลาย แหล่งเงินของกองทุนจะมาจากเงินเปรียบเทียบผู้กระทำผิด เงินที่นายจ้างนำมาวางไว้ชำระหนี้แล้ว ลูกจ้างไม่มารับภายในกำหนด
11. สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่ น ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวัน หยุด เงินเพิ่มหรือค่าชดเชยจากทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งเป็นลูกจ้างในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่า จ้างของลูกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
12. การเรียกและการคืนเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำ งาน ไม่ให้นายจ้างเรียกเงินประกันการทำงาน หรือเงินประกันความเสียหาย เว้นแต่งานที่ลูกจ้างทำจะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินซึ่งนายจ้างอาจได้รับความเสียหายได้ และให้นายจ้างต้องคืน เงินประกันพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างภายใน 30 วัน เมื่อสิ้นสุดการทำงาน
13. ผู้รับเหมาค่าแรง เพิ่มหลักการให้ผู้ประกอบกิจการต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาค่าแรงใน บรรดาหนี้เงินตามร่างพระราชบัญญัตินี้ต่อลูกจ้างเช่นเดียวกับผู้รับเหมา และผู้รับเหมาชั้นต้น ซึ่งต้องร่วม รับผิดกับผู้รับเหมาช่วงที่เป็นนายจ้าง
14. การเปลี่ยนแปลงนายจ้าง เพิ่มหลักการให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ นายจ้างเดิมเคยมีต่อลูกจ้างทุกประการ
15. บทกำหนดโทษ ปรับปรุงบทกำหนดโทษหนักเบาตามความผิดที่ได้กระทำ โดยมีอัตรา โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และโทษต่ำสุดปรับไม่ เกิน 5,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 15 สิงหาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวง แรงงาน และสวัสดิการสังคมเสนอ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการยกเลิกกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 105 และประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับดังกล่าว และนำสาระสำคัญของประกาศของคณะปฏิวัติและประกาศกระทรวงมหาดไทยในส่วนที่ สมควรใช้บังคับต่อไป มากำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติ และกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ใน การคุ้มครองแรงงานไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการยอมรับกฎหมาย และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมใน การคุ้มครองแรงงานยิ่งขึ้น
สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้คือ
1. การใช้แรงงานทั่วไป
1.1 เวลาทำงานปกติ ทุกประเภทงานไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ กำหนดเวลาทำ งานปกติต่อวันของแต่ละประเภทงานให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับ มาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และการกำหนดชั่วโมงทำงานต่อวัน เพื่อให้เหมาะสมตาม ประเภทงานที่ทำ
1.2 การจัดที่นั่งทำงานให้ลูกจ้าง เพิ่มหลักการให้นายจ้างจัดที่นั่งทำงานให้แก่ลูกจ้างในงาน ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (เช่น งานขายของหน้าร้าน งานทอผ้า) ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัย ของลูกจ้าง
1.3 การทำงานล่วงเวลาในวันทำงานหรือการทำงานในวันหยุด ให้
1) การทำงานล่วงเวลาในวันทำงานไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง และห้ามทำติดต่อกันเกิน 5 วัน
2) การทำงานในวันหยุดไม่เกินวันละ 12 ชั่วโมง
3) ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง เว้นแต่งานต้องทำติดต่อกันไป งานฉุกเฉินและกิจการ ที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคตาม 1) และ 2) ข้างต้น นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา และหรือ ในวันหยุดได้เลย แต่ชั่วโมงทำงานต้องไม่เกินที่กล่าวในข้อ 1) และ 2) ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพ อนามัยของลูกจ้างมิให้ต้องตรากตรำเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานติดต่อยาวนานเกินไป
1.4 เวลาพัก ให้นายจ้างจัดเวลาพักให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมงหลังจากทำงาน แล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง และเพิ่มหลักการให้ตกลงกำหนดเวลาพักเป็นอย่างอื่นได้ถ้าเป็นประโยชน์แก่ ลูกจ้าง และถ้ามีการทำงานล่วงเวลา ต้องให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 20 นาที ก่อนเริ่มทำงานล่วง เวลา ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง และการกำหนดในเชิงยืดหยุ่นในทางที่เป็นคุณแก่ ลูกจ้าง
1.5 วันลา ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยไม่เกินปีละ 30 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง วันลาเพื่อ รับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาหทารหรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมซึ่งเป็นไป ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร โดยกำหนดให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างไม่เกินปีละ 60 วัน วันลา คลอดได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน และได้เพิ่มสิทธิลาเพื่อทำหมันตามกำ หนดระยะเวลาที่แพทย์กำหนด และวันลากิจไม่เกินปีละ 3 วันทำงาน
2. การใช้แรงงานหญิง กำหนดสถานที่ที่ห้ามหญิงทำงาน และเพิ่มหลักการเพื่อให้ความคุ้ม ครองลูกจ้างหญิงมีครรภ์เป็นพิเศษ เช่น กำหนดงานที่ห้ามให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำ การเปลี่ยนงานที่ เหมาะสมให้เป็นการชั่วคราว ถ้าลูกจ้างหญิงซึ่งมีครรภ์ไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้ และข้อห้ามเลิก จ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ ทั้งนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองที่เหมาะสมต่อสภาพทางเพศ วัย และกายภาพ ของหญิง
3. การใช้แรงงานเด็ก
3.1 การรับเด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 15 ปีเป็นลูกจ้าง กำหนดงานเบาที่ ใช้เด็กในวัยดังกล่าวทำได้ไว้ในกฎกระทรวง
3.2 ชั่วโมงการทำงานของลูกจ้างเด็ก ไม่เกิน 6 ชั่วโมง/วัน และไม่เกิน 36 ชั่วโมง/ สัปดาห์ สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 13 ปีแต่ยังไม่ถึง 15 ปี โดยให้เด็กทำงานได้เฉพาะในระหว่างเวลา 08.00 - 17.00 น. ถ้าให้ทำในเวลาอื่นต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี
3.3 เวลาพักของลูกจ้างเด็ก ให้จัดเวลาพักไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง หลังจากลูกจ้าง เด็กได้ทำงานมาแล้วไม่เกิน 3 ชั่วโมงติดต่อกัน ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของลูกจ้างเด็ก
4. ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด การจ่ายเงินช่วยเหลือการครองชีพของลูกจ้างขณะนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว ถ้านายจ้างหยุด กิจการชั่วคราว (มิใช่เลิกกิจการ) โดยเหตุซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้ไม่น้อยกว่า 50% ของค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างมิให้ต้องขาดรายได้เพื่อใช้ใน การดำรงชีพในช่วงที่ต้องหยุดงาน
5. การหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดเพื่อชำระหนี้สิน กำหนดกรณีที่ นายจ้างสามารถหักเงินดังกล่าวได้ เช่น หักเพื่อชำระภาษีเงินได้ หรือเงินอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้ ชำ ระเงินค่าบำรุงสหภาพแรงงาน การชำระหนี้สวัสดิการ เพื่อเป็นเงินประกันและเพื่อเป็นเงินสะสม นอกจากที่กำหนดไว้จะนำมาหักหนี้ไม่ได้ และได้กำหนดวงเงินที่จะหักได้ไว้ด้วย ยกเว้น ภาษีเงินได้ หรือ เงินอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้ โดยแต่ละกรณีหักได้ไม่เกิน 10% และรวมทุกกรณีไม่เกิน1 ใน 5 ของเงิน ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับในแต่ละงวดการจ่าย
6. สวัสดิการ กำหนดให้นายจ้างจัดเฉพาะปัจจัยพื้นฐาน เช่น น้ำดื่ม ห้องน้ำ ห้องส้วม ปัจจัยปฐมพยาบาล และให้จัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น จัดที่พักชั่วคราวให้แก่ลูกจ้างซึ่งรอเข้าทำงานกะ หรืองานที่ทำในเวลากลางวัน สถานที่รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การให้บริการรับเลี้ยงดูบุตร สถานที่สำหรับผลัดเปลี่ยนชุดทำงาน การกำหนดมาตรฐานหอพักที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง และการจัดตั้ง คณะกรรมการสวัสดิการขึ้นในสถานประกอบการ
7. ความปลอดภัยในการทำงาน เพิ่มหลักการให้พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจสั่งให้ นายจ้างปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน จัดทำหรือแก้ไขเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ให้ถูกต้องตาม มาตรฐานที่กำหนด และสั่งให้ลูกจ้างหยุดทำงานในสภาพที่ไม่ปลอดภัย และกำหนดให้นายจ้างจ่ายเงิน แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานขณะที่หยุดงาน
8. การสั่งพักงานเพื่อสอบสวนความผิด ให้นายจ้างแจ้งเป็นหนังสือระบุความผิดและกำหนด เวลาพักงานให้ลูกจ้างทราบ ถ้าพักงานเกิน 15 วัน ให้นายจ้างจ่ายเงินไม่น้อยกว่า 50% ของค่าจ้างนับ แต่วันที่ 16 เป็นต้นไป และถ้าผลการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างไม่ผิด ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเต็มจำ นวนย้อนหลังตั้งแต่วันที่ถูกสั่งพักงานจนถึงวันที่ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน
9. ค่าชดเชย เพิ่มข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก 2 กรณีคือ
9.1 ลูกจ้างซึ่งเข้าทำงานในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับและออกจากงานเพราะเกษียณ อายุ ซึ่งนายจ้างจ่ายเงินบำเหน็จหรือบำนาญหรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (เงินที่นายจ้างให้ฝ่ายเดียว ไม่รวมถึงเงินสะสม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบด้วย) ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า ค่าชดเชยหรือน้อยกว่าแต่นายจ้างได้จ่ายเงินเพิ่มจนเท่าจำนวนค่าชดเชยแล้ว แต่ไม่กระทบถึงลูกจ้างที่ เข้าทำงานก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงมีสิทธิได้รับทั้งค่าชดเชย และเงินบำเหน็จบำนาญต่อไป แม้จะออกจากงานในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้วก็ตาม
9.2 ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามกฎหมายว่าด้วยการประกัน สังคม
10. กองทุนสงเคราะห์ เพิ่มหลักการจัดตั้งกองทุน เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่เดือดร้อนจาก การที่นายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างหรือค่าชดเชย และไม่สามารถติดตามเอาจากนายจ้างได้ เช่น ล้มละลาย แหล่งเงินของกองทุนจะมาจากเงินเปรียบเทียบผู้กระทำผิด เงินที่นายจ้างนำมาวางไว้ชำระหนี้แล้ว ลูกจ้างไม่มารับภายในกำหนด
11. สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่ น ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวัน หยุด เงินเพิ่มหรือค่าชดเชยจากทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งเป็นลูกจ้างในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่า จ้างของลูกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
12. การเรียกและการคืนเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำ งาน ไม่ให้นายจ้างเรียกเงินประกันการทำงาน หรือเงินประกันความเสียหาย เว้นแต่งานที่ลูกจ้างทำจะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินซึ่งนายจ้างอาจได้รับความเสียหายได้ และให้นายจ้างต้องคืน เงินประกันพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างภายใน 30 วัน เมื่อสิ้นสุดการทำงาน
13. ผู้รับเหมาค่าแรง เพิ่มหลักการให้ผู้ประกอบกิจการต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาค่าแรงใน บรรดาหนี้เงินตามร่างพระราชบัญญัตินี้ต่อลูกจ้างเช่นเดียวกับผู้รับเหมา และผู้รับเหมาชั้นต้น ซึ่งต้องร่วม รับผิดกับผู้รับเหมาช่วงที่เป็นนายจ้าง
14. การเปลี่ยนแปลงนายจ้าง เพิ่มหลักการให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ นายจ้างเดิมเคยมีต่อลูกจ้างทุกประการ
15. บทกำหนดโทษ ปรับปรุงบทกำหนดโทษหนักเบาตามความผิดที่ได้กระทำ โดยมีอัตรา โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และโทษต่ำสุดปรับไม่ เกิน 5,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 15 สิงหาคม 2538--